สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ในวันที่อะไรต่ออะไรยังไม่ชัดเจน ผมพอจะจำได้ว่าตอนประกาศร่างกฎหมายที่ดินออกมาได้ไม่นาน ก็มีกูรูหลายคนออกมาพูดถึงเรื่องนี้เยอะแบบกลัวตกกระแส ว่าการวางแผนภาษีที่ดินควรจะจัดตั้งเป็นนิติบุคคล และในเดือนนั้นกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายอดการจดทะเบียนบริษัทเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ไม่นานมานี้ธนาคารและบริษัทสัมมนาใหญ่มีการจัดสัมมนาเพื่อให้ผู้ประกอบการจัดการเกี่ยวกับภาษีที่ดินที่มีอยู่ก่อนปี 61 เพื่อประโยชน์ทางภาษี แนะนำให้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลและให้จัดการทำธรรมนูญครอบครัวเพื่อการจัดการที่ดินให้ชัดเจน ผมมีข้อสงสัยว่าในวันที่อะไรก็ยังไม่ชัดเจนเราจะจัดการทรัพย์สินให้ชัดเจนโดยมีผลประโยชน์ทางภาษีได้อย่างไร

ถ้าผมสมมุติว่าถ้าอะไรต่ออะไรชัดเจนแล้ว การจัดตั้งนิติบุคคลจะมีประโยชน์ทางด้านภาษีจริงหรือไม่
ลองพิจารณาดู ถ้าจัดตั้งเป็นนิติบุคคลโดยการโอนทีดินทั้งหมดไปอยู่ในนิติบุคคล เมื่อขายมีกำไรหากต้องการนำเงินออกจะนำเงินออกมาได้อย่างไรโดยไม่เสียภาษี ไปๆมาๆ อาจเสียภาษีมากกว่าเดิมเพราะหากจะนำเงินออกในลักษณะเงินปันผล ก็ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้ง จึงไม่น่าจะเป็นการประหยัดภาษีที่ดีที่สุดอย่างที่เขาว่ากัน

ถ้าบริษัทไม่ดีอาจเสียภาษีมาก ควรเป็นบุคคลธรรมดาหรือไม่ เรื่องนี้ก็ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า จะดีกว่าหรือไม่เนื่องจากบุคคลธรรมดาถ้าเป็นบ้านหลังแรกได้รับยกเว้น แต่หลังจากนั้นก็ต้องเสียภาษีตามปกติ หากที่ดินที่มีอยู่ไม่ได้ทำอะไร ก็ต้องเสียภาษีในอัตราที่รกร้างว่างเปล่าซึ่งเป็นอัตราที่สูง อาจจะดีตรงการขายสามารถใช้ตามที่ถูกหักภาษีไว้ณ.กรมที่ดิน ไม่ต้องนำเงินได้จากการขายมารวมกับเงินได้ประเภทอื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี คำตอบคือ การเก็บเป็นชื่อบุคคลก็อาจจะไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด
ดังนั้นถึงจะเป็นวันที่อะไรๆชัดเจน ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าการถือครองที่ดินในรูปแบบไหนจะมีประโยชน์ที่สุด

ไม่มีหน่วยภาษีแบบไหนที่เหมาะสมที่สุด นอกจากคุณจะรู้ว่าที่ดินส่วนไหนจะเอาไปทำอะไร จึงออกแบบภาษีที่เหมาะสมได้ ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

Tags : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

view