http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

แก้ปัญหา ต้องศึกษาเชิงระบบ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR Talk
โดย สุรีพันธุ์ เสนานุช สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ


ข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลที่มีตัวเลขแสดงให้เห็นว่าขณะนี้มีการปล่อยกู้ฉุกเฉินไปแล้ว 2.28 แสนราย เป็นเงิน 1.01 หมื่นล้านบาทโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในขณะที่ผ่านมากรมการพัฒนาชุมชนเองก็มีการตั้งหน่วยงานแก้ไขปัญหาหนี้สินในความรับผิดชอบของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีวัตถุประสงค์คือแก้ปัญหาหนี้สินที่มีกระจายในหลายกองรวมทั้งหนี้นอกระบบของคนจนให้มารวมอยู่ในสัญญาเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ ซึ่งได้กำหนดตัวชี้วัดคือ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา 10,000 ครัวเรือนในปี 2560

ทำให้นึกถึงคำกล่าวของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ที่ว่า…เราไม่สามารถใช้วิธีคิดและการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ โดยหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างออกไป เพราะว่ามีรัฐบาลหลายสมัยมาแล้วที่ใช้วิธีหว่านเงินลงไปเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ก็ยังคงอยู่เหมือนเชื้อโรคดื้อยา

เช่นเดียวกับการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพครู” ของ “คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา” (กอปศ.) การแก้ปัญหาเฉพาะจุด โดยไม่ได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งระบบ ทำ
ให้คาดหวังความเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก

ถ้าพยายามหาจุดตั้งต้นของปัญหาหนี้สินคือเกิดจากรายรับไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ซึ่งต้องหาข้อมูลต่อไปว่ารายรับกับค่าใช้จ่ายนั้นมีช่องว่างแค่ไหน ทำไมรายรับจึงไม่พอกับรายจ่าย ทำอย่างไรที่จะเพิ่มรายรับให้มากขึ้น มีรายจ่ายส่วนใดบ้างที่เกินความจำเป็น ทำอย่างไรจะลดรายจ่ายลงได้บ้าง การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบจะทำให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้น และนำไปสู่วิธีคิดแบบใหม่ได้ในที่สุด

แต่ถ้าไม่มีการแก้ไขปัญหาจากสาเหตุ เพียงเอาเงินก้อนใหม่เข้าไปทดแทนเหมือนการใช้บัตรเครดิตใบใหม่ไปล้างหนี้ใบเก่า หนี้สินก็เพียงเปลี่ยนที่ยืนเท่านั้น แต่มันยังคงอยู่ และพองตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ

เป้าหมายความยั่งยืน 17 ประการมีส่วนในการกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจหันมาปรับแนวทางการทำ CSR ให้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การมองระบบของปัญหาจะช่วยให้การวางแนวทางการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายและตอบตรงโจทย์รายงานความยั่งยืนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขจัดความยากจน การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในวัตถุประสงค์ของการทำ CSR ขององค์กรอยู่แล้ว เพียงแต่ทำอย่างไรให้เกิดผลที่วัดได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าประเด็นใดก็ตามการมองปัญหาเชิงระบบจะทำให้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้

ดังเช่น การประกาศเจตนารมณ์ของกลุ่มเทสโก้ ธุรกิจค้าปลีกในสหราชอาณาจักรจะไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ โดยบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดให้กับองค์กรการกุศลและกลุ่มชุมชนกว่า 5,000 องค์กรเพื่อนำสินค้าที่บริจาคไปประกอบเป็นอาหารให้กับผู้ยากไร้ เป็นการลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว

ในประเทศไทยเรื่องของการจัดการขยะเป็นประเด็นหลักขององค์กรที่ทำโครงการลดโลกร้อน แต่ที่ผ่านมากิจกรรมที่เห็นคือการรณรงค์ให้มีการแยกขยะ และพยายามนำเอาขยะมาใช้ประโยชน์ มากกว่าที่จะให้ความสนใจในการหาวิธีการในการลดขยะ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่าการสร้างขยะของคนไทยต่อครัวเรือนในปี 2559 โดยเฉลี่ยคิดเป็น 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน จากทั้งหมด 27.06 ล้านตัน และเกินกว่าครึ่งเป็นขยะอาหาร ซึ่งมีผลกระทบต่อการปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 14 เท่า

การมองปัญหาให้เห็นความเชื่อมโยงดังกล่าวจะทำให้เห็นผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ ดังคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้กระเทือนถึงดวงดาว” อย่างชัดเจน เพราะคนส่วนใหญ่คงไม่คิดว่าอาหารที่เหลืออยู่ในจานเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นเดินทางไปสู่การทำลายชั้นบรรยากาศของโลกได้อย่างไร

ขณะที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทำการสำรวจหนี้สินครัวเรือนไทยปี 2560 ที่ผ่านมาพบว่า หนี้สินครัวเรือนไทยสูงสุดรอบ 10 ปี 91.1% ของครัวเรือนมีหนี้สิน นอกจากนี้ ยังพบว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ 79.3% เคยผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากสินค้ามีราคาแพง เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว สถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และยังนำเสนอด้วยว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องทำทั้งเรื่องค่าครองชีพ สวัสดิการประชาชน การเพิ่มรายได้ จัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

นี่คือการมองการแก้ปัญหาเชิงระบบ ที่นำไปต่อยอดในการทำ CSR ได้ ด้วยการสร้างองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งมีหลายชุมชนประสบความสำเร็จและควรเรียนรู้ 


#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,๒ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แก้ปัญหา ศึกษาเชิงระบบ

view

*

view