http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

ทำไง? เงินเดือนคนใหม่ แซงคนเก่า

จากประชาชาติธุรกิจ

เงินเดือนคนใหม่ แซงคนเก่า

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com

 

ผมเขียนเรื่องนี้มาจากที่เห็นคำถามอย่างสม่ำเสมอของพนักงานที่ทำงานในบริษัทมานานหลาย ๆ ปี และเมื่อเวลาผ่านไป คนเก่าที่ทำงานมานานจะพบว่าพนักงานที่เข้ามาใหม่ได้รับเงินเดือนที่ใกล้เคียงกับตัวเอง หรือเผลอ ๆ ได้มากกว่าเสียอีก ก็เลยทำให้มีกระทู้คำถามบนโลกออนไลน์หรือในห้องอบรมอยู่บ่อย ๆ

ผมจึงมาคิดทบทวนดูต้นสายปลายเหตุของปัญหานี้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จึงสรุปสาเหตุของปัญหาที่เป็นหัวเรื่องในวันนี้ได้อย่างนี้ครับ

1.เปอร์เซ็นต์การเติบโตของค่าจ้าง/เงินเดือนภายนอกสูงกว่าเปอร์เซ็นต์การเติบโตภายในบริษัท ยกตัวอย่างเช่น ในปีนี้กระทรวงแรงงานประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจาก 310 เป็น 325 บาท ก็ขึ้นมาประมาณ 4.8 เปอร์เซ็นต์ ปีนี้เงินเฟ้อประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์

บริษัทส่วนใหญ่ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ หักลบกลบกันแล้วพนักงานได้ขึ้นเงินเดือนติดลบ 0.8 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นอย่างนี้จะไม่ให้คนนอกเงินเดือนจี้หลังคนเก่าได้ยังไงละครับ เพราะนี่คิดแค่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่านั้น ยังไม่รวมเปอร์เซ็นต์การเติบโตของค่าจ้างของตลาดแข่งขันที่เพิ่มขึ้นมากบ้างน้อยบ้างตามกลุ่มงานต่าง ๆ

แน่นอนว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ต้องไปปรับอัตราเริ่มต้นตามคุณวุฒิ ปวช., ปวส., ปริญญาตรีสำหรับคนจบใหม่เพื่อหนีค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะมีผลกระทบกับคนเก่าที่ทำงานมาก่อนอยู่แล้วครับ

2.บริษัทส่วนใหญ่ไม่มีโครงสร้างเงินเดือน หรือแม้จะมี แต่ก็ไม่เคย update โครงสร้างเงินเดือน จึงทำให้ไม่มีกติกาในการบริหารเงินเดือน และค่าตอบแทนตัวอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับเงินเดือนอย่างชัดเจน เปรียบเสมือนกับการเตะฟุตบอลโดยไม่มีกติกาแหละครับ พอไม่มีกติกา หรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาอ้างอิง หรือไม่มีหลักที่จะใช้นำมาวางแผนเกี่ยวกับเงินเดือนได้เลย ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้คนใหม่เงินเดือนไล่หลังคนเก่าหรือมากกว่าคนเก่าเพราะไม่มีกติกานั่นเอง

3.ผู้บริหารจ่ายเงินเดือนแบบ “ตามใจฉัน” คือตามใจ MD หรือตามใจเถ้าแก่ ซึ่งในใจของเถ้าแก่ หรือในใจของ MD มักจะคิดเข้าข้างตัวเองว่าเราจ่ายให้กับพนักงานเท่านี้ก็เยอะพอแล้ว เลยกดเงินเดือนพนักงานเอาไว้ ซึ่งถ้าบริษัทที่มีการจ่ายแบบตามใจฉันนี้ ได้มีการสำรวจตลาดแข่งขัน และทำโครงสร้างเงินเดือนขึ้นมาก็มักจะพบว่าบริษัทของเราจ่ายต่ำกว่าตลาด

เมื่อบริษัทเหล่านี้ไม่เคยสำรวจตลาดแข่งขัน ไม่เคยมีโครงสร้างเงินเดือน และกดเงินเดือนพนักงานเก่าเอาไว้ เมื่อจำเป็นจะต้องรับพนักงานใหม่จากภายนอกเข้ามา จึงพบว่าเงินเดือนคนใหม่จี้หลังหรือมากกว่าคนเก่า

4.บริษัทขาดการ “วางแผนบริหารเงินเดือนเชิงรุก” เช่น การคำนวณอัตราการเติบโตล่วงหน้าของเงินเดือนพนักงานที่มีผลการทำงานดี, มีความสามารถจะเติบโตก้าวหน้าไปกับบริษัทได้ รวมไปจนถึงพนักงานกลุ่ม talent ให้สอดคล้องกับ ca-reer path จึงทำให้บริษัทเหล่านี้มีแต่เพียงงาน routine หลักคือการขึ้นเงินเดือนประจำปี ปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ และทำปีละครั้ง ปีต่อปี

5.บริษัทมีนโยบายแบบอนุรักษนิยมมากเกินไป ไม่มีนโยบายในการจ่ายให้เหนือกว่าตลาดแข่งขัน (ไม่ได้หมายความว่าจะต้องจ่ายให้สูงกว่าตลาดจนเวอร์เกินไปนะครับ) เพราะกลัวว่า staff cost จะสูงเกินไป คือไปกังวลกับ staff cost มากจนไม่กล้าจะปรับเงินเดือนให้กับคนเก่าที่มีความสามารถ

แต่ลืมนึกไปว่าถ้าคนเก่ามีความสามารถลาออก จะทำให้บริษัทต้องมี staff cost ในการหาคนมาทดแทน รวมทั้งต้นทุนที่สร้างคนเก่ามากี่ปีจนวันที่เขาลาออกไปสูงกว่าการปรับเงินเดือนให้ก่อนที่เขาจะลาออกเสียอีก

6.คนเก่าไม่ยอมพัฒนาตัวเอง นี่ก็เป็นปัญหาที่ตัวพนักงานเก่าที่มักจะเจออยู่บ่อย ๆ คือพนักงานที่ทำงานมานาน แต่พอบริษัทจะมอบหมายงานให้ทำงานมากขึ้น ให้รับผิดชอบมากขึ้น หรือจะ promote เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น จะบ่ายเบี่ยง จะปฏิเสธ บริษัทจะส่งไปฝึกอบรมเพื่อพัฒนาให้มีความรู้ มีทักษะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ยอมไปอบรมเพื่อพัฒนาตัวเอง แต่จะอ้างเสมอ ๆ ว่างานยุ่ง งานเยอะ ไม่มีเวลาไปอบรม อายุมากแล้วเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง รู้หมดทุกเรื่องแล้วไม่ต้องไปอบรมหรอก ฯลฯ

บริษัทมักจะขึ้นเงินเดือนพนักงานประเภทนี้ไปเท่าค่าเฉลี่ย คือปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ ปีละครั้ง จนในที่สุดคนใหม่เข้ามาจะเงินเดือนเท่ากับ (หรือสูงกว่า) พนักงานเก่าเหล่านี้ในที่สุด และพนักงานเหล่านี้มักจะตั้งคำถามต่อว่า ผู้บริหารว่าไม่ยุติธรรมไม่เห็นความสำคัญของคนเก่าที่ทำงานมานาน ฯลฯ

พอรู้สาเหตุของปัญหาอย่างนี้แล้ว ผมหวังว่าบริษัทที่มีปัญหานี้ คงจะเริ่มคิดหาทางแก้ปัญหาเพื่อรักษาคนเก่าที่มีฝีมือ มีความรู้ความสามารถ เอาไว้บ้างแล้ว

เริ่มต้นจาก HR ควรจะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุที่ผมบอกมาข้างต้นทั้งหมด เพื่อมาวิเคราะห์ หากลยุทธ์ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมในการนำเสนอกับฝ่ายบริหารได้แล้วนะครับ


#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ทำไง #เงินเดือนคนใหม่ #คนเก่า

view

*

view