สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไพรินทร์ แจงต่อสัญญาทางด่วน 15 ปี ล้างหนี้ 5.9 หมื่นล้านแถมยกเลิกฟ้องร้อง โยนรัฐบาลอดีตเบี้ยวเอกชนทำแพ้คดี

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม



“ไพรินทร์” แจงที่มาปัญหาทางด่วน เหตุรัฐบาลในอดีตไม่ทำตามสัญญาร่วมทุน ถูกเอกชนฟ้อง ขณะที่หลักกฎหมายแพ้ชั้นอนุญาโตตุลาการ ชั้นศาลโอกาสกลับคำตัดสินยาก ฝากรัฐบาลใหม่หากไม่เจรจา กทพ.ไม่พ้นแบกหนี้กว่าแสนล้าน แจงข้อเท็จจริงต่อสัญญา 15 ปี ล้างหนี้ 5.9 หมื่นล้าน พร้อมเซตซีโร่ทุกคดี-เพิ่มเงื่อนไขต้องก่อสร้างทางด่วน 2 ชั้น ถึงจะต่ออีก 15 ปี

จากกรณีที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีข้อพิพาททางด่วนกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และ บริษัท ทางด่วนเหนือ จำกัด (NECL) จนนำไปสู่การพิจารณาขยายสัมปทานโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน A, B, C), ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (C บวก) ออกไป 30 ปี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ทางกระทรวงคมนาคม โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ส่งเรื่องผลการพิจารณาต่อสัญญาทางด่วนดังกล่าวกลับไปยังคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.แล้ว เพื่อให้ดำเนินการตามข้อสังเกตที่มีการทักท้วงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนรอบคอบ

นายไพรินทร์ได้อธิบายถึงสัญญาทางด่วนว่า ที่ผ่านมา กทพ.มีปัญหา 2 เรื่องหลัก คือ 1. การเติบโตช้า ก่อตั้งมากว่า 40 ปี แต่มีเส้นทาง 200 กว่า กม.เท่านั้น ถือว่าน้อย ขณะที่ปัจจุบันปริมาณรถมีจำนวนมากจึงเกิดปัญหารถติด รถเต็มความจุ เพราะไม่มีการสร้างทางเพิ่ม 2. ปัญหาด้านการฟ้องร้องเป็นคดีความกับเอกชนผู้รับสัมปทาน ซึ่งปัญหาคดีพิพาทมี 2 กลุ่ม คือ 1. เรื่องทางแข่งขัน มีที่มาจากการขยายทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ของกรมทางหลวงไปทับซ้อนกับทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ที่ กทพ.ให้ บริษัท ทางด่วนเหนือ จำกัด (NECL) เป็นผู้ลงทุนก่อน เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ซึ่งมีปริมาณรถไม่มาก ดังนั้นจึงมีเงื่อนไขในสัญญากับรัฐบาลว่า ห้ามมีทางแข่งขัน จึงเกิดข้อพิพาท ซึ่งทุกวันนี้ทั้ง 2 สายมีปริมาณต่ำกว่าเป้าหมาย และผู้ลงทุนยังขาดทุน 

2. ข้อพิพาทการปรับค่าผ่านทาง ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมามีนโยบายไม่ให้ปรับค่าผ่านทาง หรือการคำนวนแล้วปัดเศษไม่ตรงกัน มีเรื่องอยู่ในอนุญาโตตุลาการ และศาลปกครองหลายคดี หลายวาระ ซึ่งกรณีไม่ปรับค่าผ่านทางเป็นปัญหาสะสมเพราะมีวงรอบในการปรับ เมื่อรอบเก่าไม่ได้ปรับ รอบใหม่จะสะสมมูลฟ้องไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องจากอดีตก่อนรัฐบาล คสช.ทั้งสิ้น 

ซึ่งข้อพิพาทคดีปรับค่าผ่านทางที่ยังไม่สิ้นสุดมีมูลหนี้กว่า 1.37 แสนล้านบาท ส่วนคดีทางแข่งขันศาลตัดสินให้ กทพ.ชดใช้ค่าเสียหาย 4,200 ล้านบาท รวมดอกเบี้ยแล้วมีค่าเสียหายทั้งสิ้นกว่า 6,000 ล้านบาท 

@ ยันไม่มีการแปลงค่าโง่เป็นสัมปทาน ชี้เจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด 

นายไพรินทร์กล่าวว่า กรณีการปรับค่าผ่านทางและทางแข่งขันเป็นเรื่องจากอดีตก่อนรัฐบาล คสช.ทั้งสิ้น แต่จะบอกว่ารัฐบาลตัดสินใจผิดก็ไม่ได้ เพราะการตัดสินใจนั้นผลประโยชน์ตกแก่ประชาชนได้รับประโยชน์เพราะไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางเพิ่ม แต่ผู้ลงทุนได้รับผลกระทบที่ไม่ได้ปรับราคาตามสัญญาและขาดทุนจากปัญหาทางแข่งขัน 

โดยเมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเรื่องทางแข่งขันเป็นที่สิ้นสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ กทพ.เจรจา โดยไม่จ่ายชดเชยเป็นเงินสดและประชาชนได้รับประโยชน์ ผลประโยชน์ที่ กทพ.ได้รับต้องไม่น้อยกว่าเดิม และข้อพิพาททั้งหมดต้องยกเลิก เนื่องจากเห็นว่ากรณีค่าผ่านทางนั้นหลายคดีศาลชั้นต้นตัดสินให้ กทพ.แพ้ไปบ้างแล้ว และแนวโน้มในการตัดสินคดีของศาลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้จากคดีโฮปเวลล์ล่าสุด ศาลจะยึดมั่นในเงื่อนไขสัญญาร่วมทุน หรือ PPP กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้บอร์ด กทพ.ไปศึกษาพิจารณา

นายไพรินทร์กล่าวว่า การลงทุนในพื้นที่อีอีซีใช้รูปแบบ PPP ร่วมทุนกับเอกชนหลายโครงการ หากในอนาคตรัฐบาลอยากจะทำประชานิยม ไม่ให้ทำตามเงื่อนไขสัญญา ก็จะเป็นคดีพิพาทกัน และหากแนวโน้มการตัดสินข้อพิพาทเป็นเหมือนกรณีทางแข่งขัน และโฮปเวลล์ ประเทศจะเป็นอย่างไร ดังนั้น เมื่อมีสัญญาจำเป็นต้องทำตาม การให้สัมปทานไม่ใช่เรื่องเลวร้าย มีข้อดี และลดเพดานหนี้สาธารณะของประเทศด้วย

“ที่ให้เจรจาเพราะเห็นถึงแนวโน้มว่าการตัดสินคดีที่เหลือจะเป็นอย่างไร หากปล่อยให้คดีถึงที่สิ้นสุด แล้ว กทพ.แพ้ มูลหนี้และดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นกว่าแสนล้านบาท และหากไม่เจรจา เปลี่ยนเป็นจ่ายเงิน 4,200 ล้านบาทบวกดอกเบี้ยรวมเป็นกว่า 6,000 ล้านบาท และรอให้หมดสัมปทาน กทพ.นำโครงการมาดำเนินการเอง จะมีการจ้างพนักงานเพิ่ม ส่วนรัฐบาลต่อไปจากนี้จะมีการทำประชานิยม ลดหรือไม่ให้ขึ้นค่าผ่านทางอีกหรือไม่ พอขาดทุนก็จะนำเงินภาษีของคนทั้งประเทศมาอุดหนุนการขาดทุนของทางด่วน ซึ่งเป็นการเดินทางของคน กทม.ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง”


@ แจงต่อสัญญา 15 ปี ล้างหนี้ 5.9 หมื่นล้าน เซตซีโร่ทุกคดี-สร้างทางด่วน 2 ชั้น ได้ต่ออีก 15 ปี 

กทพ.เสนอผลการเจรจามีการปรับลดมูลหนี้เหลือ 5.9 หมื่นล้าน และต่อสัญญาทางด่วน 3 โครงการออกไป 15 ปี ซึ่งไม่มีการจ่ายเป็นเงิน โดย กทพ.ได้ส่วนแบ่งรายได้ที่ 60% ไม่น้อยกว่าเดิม ส่วนการปรับปรุงทางด่วนเพิ่มประสิทธิภาพ โดยก่อสร้างเป็นทางด่วน 2 ชั้น (double deck) ที่ทางด่วนขั้นที่ 2 จากด่านประชาชื่น-อโศก ระยะทาง 17 กม. ค่าลงทุน 3.1 หมื่นล้านบาท เป็นต้น ซึ่งจะได้สัญญาอีก 15 ปี โดยจะได้ใน 15 ปีหลังนี้มีเงื่อนไขที่เอกชนต้องลงทุนเอง และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต้องได้รับอนุมัติด้วย หากไม่ผ่าน EIA ทำไม่ได้ก็ไม่ได้ต่อ 15 ปีหลัง เพราะเมื่อพื้นที่โครงข่ายทางด่วนเพิ่มจะรับรถได้มากขึ้นและมีรายได้ค่าผ่านทางมากขึ้น กทพ.ได้รับผลตอบแทนในสัดส่วน 60% ที่มากขึ้นไปด้วย 

“ทางสหภาพฯ กทพ.ได้เข้ามาพบและหารือ ซึ่งผมได้สอบถามว่ามีข้อติดใจอะไร ซึ่งสหภาพฯ ไม่ติดใจในหลักการ แต่ห่วงวิธีการอาจจะไม่รอบคอบ ซึ่งกระทรวงได้ส่งให้บอร์ดดำเนินการอย่างรอบคอบ แต่เมื่อส่งเรื่องคืนไป กทพ.แล้วก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ หากจะเลือกให้ กทพ.มีหนี้กว่า 1 แสนล้านบาทก็แล้วแต่”

ประเด็นข้อกฎหมาย คดีค่าผ่านทางยังไม่สิ้นสุด การนำมารวมเจรจากับคดีทางแข่งขันที่ศาลตัดสินถึงที่สิ้นสุดแล้วไม่ได้นั้น หลักกฎหมาย คดีค่าผ่านทางที่อนุญาโตตุลาการได้ตัดสินว่า กทพ.แพ้ โดยชี้ตามข้อสัญญาว่าจะต้องขึ้นค่าผ่านทาง แต่ก็มีการหวังว่ายื่นอุทธรณ์ศาลปกครองและมีความหวังว่าจะกลับมาชนะได้นั้น ศาลปกครองจะไม่เปลี่ยนเพราะทางกฎหมายศาลจะไม่ก้าวล่วงคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากศาลมีอำนาจในการชี้ว่าคำตัดสินใจของอนุญาโตตุลาการขัดกฎหมาย ขัดต่อความสงบหรือไม่ แต่ไม่เข้าไปพิจารณาข้อเท็จจริงที่อนุญาโตตุลาการชี้ไว้ หากปล่อยให้ไปถึงศาลจนสิ้นสุดมีโอกาสที่แพ้ทั้งหมด ซึ่งนักกฎหมายหารือกันแล้วการจบด้วยการเจรจาเป็นทางออกดีที่สุด และไม่มีค่าโง่ในอนาคต

#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม



“ไพรินทร์” แจงที่มาปัญหาทางด่วน เหตุรัฐบาลในอดีตไม่ทำตามสัญญาร่วมทุน ถูกเอกชนฟ้อง ขณะที่หลักกฎหมายแพ้ชั้นอนุญาโตตุลาการ ชั้นศาลโอกาสกลับคำตัดสินยาก ฝากรัฐบาลใหม่หากไม่เจรจา กทพ.ไม่พ้นแบกหนี้กว่าแสนล้าน แจงข้อเท็จจริงต่อสัญญา 15 ปี ล้างหนี้ 5.9 หมื่นล้าน พร้อมเซตซีโร่ทุกคดี-เพิ่มเงื่อนไขต้องก่อสร้างทางด่วน 2 ชั้น ถึงจะต่ออีก 15 ปี

จากกรณีที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีข้อพิพาททางด่วนกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และ บริษัท ทางด่วนเหนือ จำกัด (NECL) จนนำไปสู่การพิจารณาขยายสัมปทานโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน A, B, C), ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (C บวก) ออกไป 30 ปี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ทางกระทรวงคมนาคม โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ส่งเรื่องผลการพิจารณาต่อสัญญาทางด่วนดังกล่าวกลับไปยังคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.แล้ว เพื่อให้ดำเนินการตามข้อสังเกตที่มีการทักท้วงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนรอบคอบ

นายไพรินทร์ได้อธิบายถึงสัญญาทางด่วนว่า ที่ผ่านมา กทพ.มีปัญหา 2 เรื่องหลัก คือ 1. การเติบโตช้า ก่อตั้งมากว่า 40 ปี แต่มีเส้นทาง 200 กว่า กม.เท่านั้น ถือว่าน้อย ขณะที่ปัจจุบันปริมาณรถมีจำนวนมากจึงเกิดปัญหารถติด รถเต็มความจุ เพราะไม่มีการสร้างทางเพิ่ม 2. ปัญหาด้านการฟ้องร้องเป็นคดีความกับเอกชนผู้รับสัมปทาน ซึ่งปัญหาคดีพิพาทมี 2 กลุ่ม คือ 1. เรื่องทางแข่งขัน มีที่มาจากการขยายทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ของกรมทางหลวงไปทับซ้อนกับทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ที่ กทพ.ให้ บริษัท ทางด่วนเหนือ จำกัด (NECL) เป็นผู้ลงทุนก่อน เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ซึ่งมีปริมาณรถไม่มาก ดังนั้นจึงมีเงื่อนไขในสัญญากับรัฐบาลว่า ห้ามมีทางแข่งขัน จึงเกิดข้อพิพาท ซึ่งทุกวันนี้ทั้ง 2 สายมีปริมาณต่ำกว่าเป้าหมาย และผู้ลงทุนยังขาดทุน 

2. ข้อพิพาทการปรับค่าผ่านทาง ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมามีนโยบายไม่ให้ปรับค่าผ่านทาง หรือการคำนวนแล้วปัดเศษไม่ตรงกัน มีเรื่องอยู่ในอนุญาโตตุลาการ และศาลปกครองหลายคดี หลายวาระ ซึ่งกรณีไม่ปรับค่าผ่านทางเป็นปัญหาสะสมเพราะมีวงรอบในการปรับ เมื่อรอบเก่าไม่ได้ปรับ รอบใหม่จะสะสมมูลฟ้องไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องจากอดีตก่อนรัฐบาล คสช.ทั้งสิ้น 

ซึ่งข้อพิพาทคดีปรับค่าผ่านทางที่ยังไม่สิ้นสุดมีมูลหนี้กว่า 1.37 แสนล้านบาท ส่วนคดีทางแข่งขันศาลตัดสินให้ กทพ.ชดใช้ค่าเสียหาย 4,200 ล้านบาท รวมดอกเบี้ยแล้วมีค่าเสียหายทั้งสิ้นกว่า 6,000 ล้านบาท 

@ ยันไม่มีการแปลงค่าโง่เป็นสัมปทาน ชี้เจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด 

นายไพรินทร์กล่าวว่า กรณีการปรับค่าผ่านทางและทางแข่งขันเป็นเรื่องจากอดีตก่อนรัฐบาล คสช.ทั้งสิ้น แต่จะบอกว่ารัฐบาลตัดสินใจผิดก็ไม่ได้ เพราะการตัดสินใจนั้นผลประโยชน์ตกแก่ประชาชนได้รับประโยชน์เพราะไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางเพิ่ม แต่ผู้ลงทุนได้รับผลกระทบที่ไม่ได้ปรับราคาตามสัญญาและขาดทุนจากปัญหาทางแข่งขัน 

โดยเมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเรื่องทางแข่งขันเป็นที่สิ้นสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ กทพ.เจรจา โดยไม่จ่ายชดเชยเป็นเงินสดและประชาชนได้รับประโยชน์ ผลประโยชน์ที่ กทพ.ได้รับต้องไม่น้อยกว่าเดิม และข้อพิพาททั้งหมดต้องยกเลิก เนื่องจากเห็นว่ากรณีค่าผ่านทางนั้นหลายคดีศาลชั้นต้นตัดสินให้ กทพ.แพ้ไปบ้างแล้ว และแนวโน้มในการตัดสินคดีของศาลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้จากคดีโฮปเวลล์ล่าสุด ศาลจะยึดมั่นในเงื่อนไขสัญญาร่วมทุน หรือ PPP กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้บอร์ด กทพ.ไปศึกษาพิจารณา

นายไพรินทร์กล่าวว่า การลงทุนในพื้นที่อีอีซีใช้รูปแบบ PPP ร่วมทุนกับเอกชนหลายโครงการ หากในอนาคตรัฐบาลอยากจะทำประชานิยม ไม่ให้ทำตามเงื่อนไขสัญญา ก็จะเป็นคดีพิพาทกัน และหากแนวโน้มการตัดสินข้อพิพาทเป็นเหมือนกรณีทางแข่งขัน และโฮปเวลล์ ประเทศจะเป็นอย่างไร ดังนั้น เมื่อมีสัญญาจำเป็นต้องทำตาม การให้สัมปทานไม่ใช่เรื่องเลวร้าย มีข้อดี และลดเพดานหนี้สาธารณะของประเทศด้วย

“ที่ให้เจรจาเพราะเห็นถึงแนวโน้มว่าการตัดสินคดีที่เหลือจะเป็นอย่างไร หากปล่อยให้คดีถึงที่สิ้นสุด แล้ว กทพ.แพ้ มูลหนี้และดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นกว่าแสนล้านบาท และหากไม่เจรจา เปลี่ยนเป็นจ่ายเงิน 4,200 ล้านบาทบวกดอกเบี้ยรวมเป็นกว่า 6,000 ล้านบาท และรอให้หมดสัมปทาน กทพ.นำโครงการมาดำเนินการเอง จะมีการจ้างพนักงานเพิ่ม ส่วนรัฐบาลต่อไปจากนี้จะมีการทำประชานิยม ลดหรือไม่ให้ขึ้นค่าผ่านทางอีกหรือไม่ พอขาดทุนก็จะนำเงินภาษีของคนทั้งประเทศมาอุดหนุนการขาดทุนของทางด่วน ซึ่งเป็นการเดินทางของคน กทม.ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง”


@ แจงต่อสัญญา 15 ปี ล้างหนี้ 5.9 หมื่นล้าน เซตซีโร่ทุกคดี-สร้างทางด่วน 2 ชั้น ได้ต่ออีก 15 ปี 

กทพ.เสนอผลการเจรจามีการปรับลดมูลหนี้เหลือ 5.9 หมื่นล้าน และต่อสัญญาทางด่วน 3 โครงการออกไป 15 ปี ซึ่งไม่มีการจ่ายเป็นเงิน โดย กทพ.ได้ส่วนแบ่งรายได้ที่ 60% ไม่น้อยกว่าเดิม ส่วนการปรับปรุงทางด่วนเพิ่มประสิทธิภาพ โดยก่อสร้างเป็นทางด่วน 2 ชั้น (double deck) ที่ทางด่วนขั้นที่ 2 จากด่านประชาชื่น-อโศก ระยะทาง 17 กม. ค่าลงทุน 3.1 หมื่นล้านบาท เป็นต้น ซึ่งจะได้สัญญาอีก 15 ปี โดยจะได้ใน 15 ปีหลังนี้มีเงื่อนไขที่เอกชนต้องลงทุนเอง และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต้องได้รับอนุมัติด้วย หากไม่ผ่าน EIA ทำไม่ได้ก็ไม่ได้ต่อ 15 ปีหลัง เพราะเมื่อพื้นที่โครงข่ายทางด่วนเพิ่มจะรับรถได้มากขึ้นและมีรายได้ค่าผ่านทางมากขึ้น กทพ.ได้รับผลตอบแทนในสัดส่วน 60% ที่มากขึ้นไปด้วย 

“ทางสหภาพฯ กทพ.ได้เข้ามาพบและหารือ ซึ่งผมได้สอบถามว่ามีข้อติดใจอะไร ซึ่งสหภาพฯ ไม่ติดใจในหลักการ แต่ห่วงวิธีการอาจจะไม่รอบคอบ ซึ่งกระทรวงได้ส่งให้บอร์ดดำเนินการอย่างรอบคอบ แต่เมื่อส่งเรื่องคืนไป กทพ.แล้วก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ หากจะเลือกให้ กทพ.มีหนี้กว่า 1 แสนล้านบาทก็แล้วแต่”

ประเด็นข้อกฎหมาย คดีค่าผ่านทางยังไม่สิ้นสุด การนำมารวมเจรจากับคดีทางแข่งขันที่ศาลตัดสินถึงที่สิ้นสุดแล้วไม่ได้นั้น หลักกฎหมาย คดีค่าผ่านทางที่อนุญาโตตุลาการได้ตัดสินว่า กทพ.แพ้ โดยชี้ตามข้อสัญญาว่าจะต้องขึ้นค่าผ่านทาง แต่ก็มีการหวังว่ายื่นอุทธรณ์ศาลปกครองและมีความหวังว่าจะกลับมาชนะได้นั้น ศาลปกครองจะไม่เปลี่ยนเพราะทางกฎหมายศาลจะไม่ก้าวล่วงคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากศาลมีอำนาจในการชี้ว่าคำตัดสินใจของอนุญาโตตุลาการขัดกฎหมาย ขัดต่อความสงบหรือไม่ แต่ไม่เข้าไปพิจารณาข้อเท็จจริงที่อนุญาโตตุลาการชี้ไว้ หากปล่อยให้ไปถึงศาลจนสิ้นสุดมีโอกาสที่แพ้ทั้งหมด ซึ่งนักกฎหมายหารือกันแล้วการจบด้วยการเจรจาเป็นทางออกดีที่สุด และไม่มีค่าโง่ในอนาคต

Tags : ไพรินทร์ ต่อสัญญาทางด่วน ล้างหนี้ 5.9 หมื่นล้าน ยกเลิกฟ้องร้อง รัฐบาลอดีตเบี้ยวเอกชนทำแพ้คดี

view