สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อีสาน ไม่แล้ง (น้ำ) ด้วย...โครงการพระราชดำริ

จากประชาชาติธุรกิจ



นี้สภาพ ปัญหาความแห้งแล้งรุนแรงและขยายวงกว้างในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคอีสาน ปริมาณน้ำในเขื่อน อ่างเก็บน้ำและสำนักงานชลประทานหลายจังหวัดมีปัญหาในการจ่ายน้ำเพื่อการ เกษตร รวมถึงปัญหาน้ำโขงลดระดับลงอย่างน่าใจหาย แต่ยังมีบางพื้นที่ที่สามารถฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ด้วยโครงการพระราชดำริของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราษฎรมีน้ำดื่มน้ำใช้และเพาะปลูก ดำเนินชีวิตได้โดยไม่แร้นแค้น

นั่นคือความสำเร็จของโครงการลุ่มน้ำ ก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุมพื้นที่ จ.สกลนคร และนครพนม รวมถึงโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บริเวณ อ.กกตูม จ.มุกดาหาร ทั้ง 2 โครงการอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)

ที่ผ่านมาประชาชนสองฟากฝั่งลำน้ำ ก่ำ ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำทำการเกษตร รวมทั้งน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง ในปี 2535 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ โดยแยกเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง มีพื้นที่รับประโยชน์ในโครงการทั้งสิ้น 165,000 ไร่

"ลำน้ำก่ำ" มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูพาน ในเขต จ.สกลนคร ไหลไปบรรจบลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม รวมความยาวลำน้ำ 123 กิโลเมตร มีลำน้ำสาขาสำคัญ 2 สาขา คือ ลำน้ำพุงอยู่บนเทือกเขาภูพานและลำน้ำบัง ซึ่งไหลลงมาบรรจบกับลำน้ำก่ำ ที่ อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่รับน้ำฝนของลุ่มน้ำก่ำ 3,440 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยต่อปี 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ในปี 2537 กรมชลประทานได้วางแนวทางการพัฒนาออกเป็น 2 พื้นที่ คือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบนและตอนล่าง ประกอบด้วย ประตูระบายเพื่อเก็บกักน้ำ งานระบบส่งน้ำ และงานบรรเทาอุทกภัย โดยสร้างแก้มลิงแก้ปัญหาน้ำท่วมและบรรเทาภัยแล้ง โดยมีพื้นที่รับประโยชน์ในโครงการทั้งสิ้น 165,000 ไร่

ส่วนโครงการ พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วย บางทรายตอนบน จ.มุกดาหารนั้น ได้ทำการตรวจสอบสภาพพื้นที่การถือครองที่ดิน ปริมาณน้ำท่าในลำห้วยสายต่าง ๆ และสภาพการเพาะปลูก เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาศึกษาและก่อสร้างแหล่งน้ำช่วยเหลือการ เพาะปลูกและอุปโภคบริโภคแก่ราษฎร รวมทั้งใช้ระบบการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จรูปแบบเดียวกับสหกรณ์การเกษตรหุบ กะพง จ.เพชรบุรี โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพและการส่งเสริมศิลปาชีพแก่ราษฎร

ผล การดำเนินงานทั้งหมด ใช้งบฯ ทั้งสิ้นกว่า 1,300 ล้านบาททำให้เกิดอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้ 8,900 ไร่ และได้ส่งเสริมการใช้น้ำและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรอย่างทั่วถึง ซึ่งในฤดูแล้งปี 2552 ที่ผ่านมา ราษฎรมีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูกถึง 5,086 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 57 และฤดูฝนสามารถทำนาได้ถึง 8,595 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96 ของพื้นที่ชลประทาน

นอกจากนี้ยังมีการฟื้นฟูป่าไม้บริเวณต้นน้ำ เหนืออ่าง 5,000 ไร่ ปลูกป่าเป็นแนวอนุรักษ์อีก 800 ไร่ รวมถึงการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นแบบกึ่งถาวรด้วย ด้านการพัฒนาที่ดิน ได้มีการปรับปรุงแปลงนากว่า 1,200 ไร่ และส่งเสริมให้มีการทำปุ๋ยหมักและปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

นาง มอญไทย สิมะรุณ เกษตรกรบ้านน้ำก่ำ หมู่ที่ 2 อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บอกว่า ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้แห้งแล้ง ขาดน้ำ หลายครัวเรือนต้องอพยพไปทำมาหากินที่อื่น ปลูกข้าว พืชไร่ก็ไม่ได้ผล แต่หลังจากมีโครงการพระราชดำริทุกอย่างดีขึ้น สามารถเพาะปลูกพืชผักได้ มีน้ำกิน น้ำใช้ ไม่แห้งแล้ง ไม่ขาดแคลน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นตามลำดับตกทอดถึง ลูกหลาน

"เป็นบุญ อย่างมหาศาล ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานความช่วยเหลือพวกเราอย่างหาที่สุดไม่ ได้"

ด้วยเหตุนี้ การจัดการ "น้ำ" จึงเป็นเรื่องใหญ่ เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการดำรงชีวิตของประชาชน และการดำรงอยู่ของระบบนิเวศ และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การพัฒนาแบบยั่งยืนประสบความสำเร็จ น้ำท่าบริบูรณ์ ชีวิตก็บริบูรณ์ไปด้วยดังพระราชดำรัสที่ว่า "น้ำ คือ ชีวิต"

Tags : อีสาน ไม่แล้งน้ำ โครงการพระราชดำริ

view