สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เรียนรู้การก่อร่างสร้างชาติที่ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ดย : หนุ่มลูกทุ่ง

ข้าวของเครื่องใช้ ภายในห้องจัดแสดง
       เราๆท่านๆ รวมถึงฉัน ส่วนมากต่างก็เป็นแรงงาน อ่ะ..อ่ะ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าฉันไปดูถูกดูแคลนท่านๆ เพราะแรงงานไม่ได้หมายถึงเฉพาะกรรมกรอย่างเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่ยังรวมถึงผู้ที่ใช้พลังงานทางร่างกายและสติปัญญาในกระบวนการผลิตต่างๆ ซึ่งก็คือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
       
       และเนื่องในโอกาสวันแรงงานที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 ให้วันที่ " 1 พฤษภาคม"ของทุกปี เป็น "วันแรงงาน แห่งชาติ" ตามสากล เพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง จริงจัง ฉันจึงถือโอกาสเหมาะนี้พามายัง "พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย" ที่ตั้งอยู่บนนถนนมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นี่เอง

ภายในห้องที่ 1จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์แรงงานไทยในสมัยโบราณในยุคแรงงานบังคับ
       พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ แต่มากล้นไปด้วยความรู้และความเพลิดเพลินที่บอกเล่าดำเนินจากอดีตจนปัจจุบัน โดยมี วิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เป็นผู้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้เราได้รู้กันว่า นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชนชั้นสูงมักได้รับการยกย่องในหน้าประวัติศาสตร์ช่วงสำคัญของประเทศว่าเป็น ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ แต่ไม่มีนักประวัติศาสตร์ท่านใดเลยที่กล่าวยกย่องเชิดชูวีรกรรมของชนชั้นแรง งาน ทั้งที่แท้จริงแล้วผู้ใช้แรงงานเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญอย่างแท้จริงในการ พัฒนาประเทศ การประกอบการใหญ่จะสำเร็จไม่ได้หากขาดคนกลุ่มนี้ ด้วยแนวคิดดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่ง แรกของผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย ในปี พ.ศ2534
       
       การทำงานร่วมกันเพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ปลาย ปี 2534 เมื่อนักวิชาการกลุ่มองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรและนักประวัติศาสตร์ ได้ระดมสมองร่วมกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานวางรากฐานของพิพิธภัณฑ์ มีการทำเรื่องขอใช้สถานที่กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการบริจาควัตถุเพื่อใช้ในการจัดแสดง และในที่สุดก็ได้มีการเปิดพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2536 นั่นเอง

ข้าวของเครื่องใช้ จากจีนมีจัดแสดงในห้องที่ 2
       โดยภายในจัดแบ่งออกเป็น 7 ห้องจัดแสดง ซึ่งฉันจะพาไปรู้จักกันตั้งแต่ห้องแรกกันก่อนเลย โดยใน "ห้องที่ 1" นี้ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์แรงงานไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ในยุคที่สังคมไทยมีแรงงานบังคับ คือ ไพร่และทาส สิ่งของที่จัดแสดงในห้องนี้เป็นการจำลองวิถีชีวิตของแรงงานในสมัยก่อนสมัย ที่ยังเป็นสังคมศักดินา มีการแบ่งชนชั้นมีกฎหมายจารีตให้ไพร่อันหมายถึง ราษฏรทั่วไปที่ไม่ได้เป็นมูลนายและไม่ได้เป็นทาส ต้องไปใช้แรงงานกับเจ้าขุนมูลนาย ปัจจุบันแม้ระบบทาส ไพร่ มูลนาย จะหมดไปจากประเทศไทยนานแล้ว แต่ก็มีคนบางกลุ่มพยายามรื้อฟื้นขึ้นมาโดยเลือกใช้บริเวณราชประสงค์เป็นสถาน ที่หลักในการพัฒนาโมเดล
       
       ห้องถัดมา "ห้องที่ 2" แสดงเรื่องราวต่อจากห้องแรกเมื่อมีการเปิดประเทศ มีอุตสาหกรรม มีทุนนิยม แรงงานคนไทยยังไม่มีอิสระต้องอยู่ภายใต้ระบบศักดินา จึงได้มีแรงงานรับจ้างขึ้นมานั้นก็คือเหล่ากุลีจีน ที่อพยพมาจากแผ่นดินจีนในมณฑลฟูเกี้ยน กวางตุ้ง และไหหลัม ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลทางตอนใต้ของจีน โดยเดินทางมาทางเรือสำเภาที่ต้องอาศัยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะพัดในระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายนเท่านั้น และหากจะกลับประเทศจีนก็ต้องอาศัยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเฉพาะเดือน มิถุนายนถึงกรกฏาคม

ห้องที่ 3 จัดแสดงเกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
       แรงงานจีนเหล่านี้ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานเช่นคนไทย แต่จะถูกเก็บเงินที่เรียกว่าการผูกปี้ข้อมือ โดยคนจีนคนใดจ่ายเงินให้กับรัฐแล้วจะได้รับการผูกปี้ครั่งที่ข้อมือ อันเป็นสัญลักษณ์ว่ามีอิสระที่จะเดินทางไปไหนมาไหน หรือรับจ้างใดๆได้ และด้วยความขยัยขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ ไม่กลัวต่อความยากลำบากและผลงานมีประสิทธภาพทำให้แรงงานจีนได้รับความนิยมใน การว่าจ้างตั้งแต่ลากรถเจ๊ก ไปจนถึงทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และยังได้มีการตั้งสมาคมลับอั้งยี่ เป็นองค์กรดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ให้แก่ตน

ห้องนี้บอกเล่าถึง ความเป็นอยู่ของแรงงานในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
       จากนั้นฉันเดินต่อมายัง "ห้องที่ 3" ที่จัดแสดงเกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในสมัยนี้คนมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศจึงได้มีการนำความ เจริญทางตะวันตกเข้ามาในสยาม ทางสากลก็ได้มองว่าการใช้แรงงานไม่มีความศิวิไลซ์ ล้าหลัง ป่าเถื่อน พระองค์จึงได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณประกาศยกเลิกระบบไพร่ทาส ประเทศถูกทำให้ทันสมัยในหลายด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การปฏิรูปสาธารณูปการนำมาซึ่งความสะดวกสบายการกินดีอยู่ดี อาทิ การขุดคลอง การชลปะทาน การสร้างถนนหนทาง สะพาน การคมนาคม การรถไฟ เป็นต้น ซึ่งการปฏิรูปต่างๆเหล่านี้ แรงงานมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

การสร้างสะพาน การสาธารณูปโภคสาธารณูปการล้วนต้องใช้แรงงานทั้งสิน
       "ห้องที่ 4" นี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเล่าถึงความเป็นอยู่ของแรงงานในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองว่ามีความ เป็นอยู่อย่างยากลำบาก ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง ทำให้เกิดมีการจลาจลบ่อยครั้ง และมีการนัดหยุดงานเพื่อประท้วงนายจ้างจนรัฐบาลต้องเข้ามาไกล่เกลี่ย กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในปี พ.ศ.2475 สมาคมเกี่ยวกับแรงงานจึงได้ถูกจดทะเบียนขึ้นอย่างถูกต้อง
       
       ต่อมาใน "ห้องที่ 5" เป็นเรื่องราวของยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแรงงานมีความยากลำบากมาก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายทุนนิยมเสรีกับคอมมิวนิสต์ เมื่ออเมริกาได้แทรกตัวเข้ามามีอิทธิพลในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และสนับสนุนระบอบสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ให้มีอำนาจเบ็ตเสร็จภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ได้ลงมือกวาดล้างผู้ที่มีความคิดเห็นต่างกับรัฐบาลทั้งนักการ เมือง นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชน และผู้นำแรงงานจำนวนมากที่ถูกจับคุมขัง และถูกประหารชีวิต

แรงงานมีส่วนสำคัญ เป็นอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่อารยะสมัย
       ในทางเศรษฐกิจ รัฐบาลก็ได้เปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจอย่างจริงจังโดยนำประเทศเข้าสู่ยุคแห่งการ พัฒนา มุ่งสงเสริมการลงทุนภาคเอกชน แต่กลับไม่ใส่ใจในชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน สิทธิแรงงานถูกลิดรอน เอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ขณะที่หันมาเน้นภาคอุตสาหกรรมในเมือง แต่ชนบทไทยถูกทอดทิ้ง ทำให้ผู้คนต้องทิ้งแผ่นดินเกิดมาแสวงหางานทำในเมืองหลวง เกิดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท และคนรวยกับคนจน

ภายในห้องนี้มีคารา โอเกะให้ร่วมร้องเพลงไปกับพี่น้องแรงงานไทย
       มาถึง "ห้องที่ 6" กันบ้าง ห้องนี้จัดแสดงเรื่องราวจากสมัยจอมพลสฤษดิ์ มาถึง 14 ตุลาคม 2516 เกิดขบวนการนักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตย โดยมีจิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักคิดคนสำคัญของสังคมไทยที่ได้แต่งเพลงด้านแรงงานไว้มากมาย ภายในห้องจะบอกเล่าเรื่องราวทางด้านวัฒนธรรมของคนงาน เช่น ประวัติความเป็นมาของบทเพลงด้านแรงงาน ผู้เยี่ยมชมสามารถร่วมร้องเพลงไปกับผู้ใช้แรงงานได้จากมุมคาราโอเกะในห้อง นี้

ห้องนี้มีเรื่องราว ของแรงงานสตรี เด็ก คนขับรถบรรทุก นักมวย และแรงงานนอกระบบให้ได้เรียนรู้กัน
       จากนั้นฉันเดินต่อมายังห้องสุดท้าย "ห้องที่ 7" จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ร่วมสมัยตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 – ปัจจุบัน ที่มีสิทธิเสรีภาพกลับมาสู่แรงงานไทย มีการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวของพฤษภาทมิฬกับทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่ต่อต้านเผด็จการ รสช. ที่ได้แสดงความเด็ดเดี่ยวประกาศเป็นศัตรูคัดค้านรัฐประหารและระบอบเผด็จการ รสช.อย่างเปิดเผย และเขาก็ได้ถูกทำให้หายตัวไป จนบัดนี้ยังไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนทำ แต่การหายไปของทรงก็ไม่อาจหยุดการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานไทย โดยขบวนการแรงงานไทยได้เข้าร่วมกับขบวนการประชาธิปไตยอื่นๆและนำมาซึ่งการ โค่นล้มระบอบรสช.ลงได้
       
       นอกจากนี้ยังมีการบอกเล่าถึง แรงงานสตรี แรงงานเด็ก คนขับรถบรรทุก นักมวย คนงานนอกระบบ โศกนาฏกรรมโรงงานเคเดอร์ที่คนงาน 188 คน ต้องสังเวยชีวิต เป็นต้น และมาจบลงที่บ้านเรือนไทยซึ่งสะท้อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะทำให้สังคมไทยอันมีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรมจะอยู่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน

บ้านเรือนไทยซึ่งภาย ในบ้านสามารถส่องเห็นภาพการทำไรไถ่นาวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน
       และในปี 2553 นี้ ก็มีคำขวัญวันแรงงานประจำปีว่า "แรงงานไทย เข้มแข็ง ร่วมแรงสามัคคี สดุดีองค์ราชัน" เพื่อเน้นให้เห็นถึงความ สมานฉันท์กลมเกลียวของแรงงานไทย โดยจะร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่แตกแยก เช่นเดียวกับสังคมไทยที่ใครๆก็อยากจะเห็นความสงบร่มเย็นกลมเกลียวเพื่อคนไทย ทุกคนและเพื่อพ่อหลวงของเรา

อาคารพิพิธภัณฑ์แรง งานไทยหลังเล็กๆริมถ.มักกะสัน
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
       
       
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ตั้งอยู่เลขที่ 503/20 ถ.นิคมรถไฟมักกะสัน ราชเทวี กทม.10400 เปิดบริการทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.30 น. หากเข้าชมเป็นหมู่คณะโปรดแจ้งล่วงหน้าเพื่อจัดเจ้าหน้าที่นำชม สอบถามเพิมเติมโทร. 0-2251-3173

view