สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ย้อนคำสัมภาษณ์ ปรีดี พนมยงค์ อะไรคือแก่นแท้ประชาธิปไตย?

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

ในมิติทางประวัติศาสตร์ถือได้ว่าวัน 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาเกี่ยวกับกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งก่อน และหลังเกิดการอภิวัฒน์มีพลวัตอย่างไรบ้าง ขณะที่ ผ่านมาจนถึงวันนี้ 78 ปีประเทศไทยก็ยังมีลักษณะของประชาธิปไตยที่ล้มลุกคลุกคลาน รวมทั้งกลุ่มการเมืองบางฝ่ายยังตัดตอนบางส่วนจากประวัติศาสตร์เพื่อเอามา เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมและต่อสู้ทางการเมืองโดยที่ไม่รู้ถึงแก่นแท้ใน การอภิวัฒน์สยามเวลานั้น

จึงเป็นโอกาสดีที่วันนี้จะได้นำบางส่วนจากคำสัมภาษณ์ท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน เมื่อปี พ.ศ. 2525 ในโอกาสครบรอบ50 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ขณะนั้นท่านลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ที่อองโตนีชานกรุงปารีส โดยดร. จริยวัฒน์ สันตะบุตร ซึ่งเป็นพนักงานนอกเวลาของบีบีซีภาคภาษาไทยในตอนนั้นเดินทางไปสัมภาษณ์ท่าน ที่ฝรั่งเศส มาเผยแพร่อีกครั้งเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยที่แท้จริงว่าควรมี หน้าตาเป็นอย่างไร  

สำหรับสาระสำคัญในเนื้อหาการสัมภาษณ์ดังกล่าว อ.ปรีดี ได้อธิบายถึงความผิดพลาดและความขัดแย้งในหมู่ผู้นำของคณะราษฎร โดยความขัดแย้งได้สร้างผลกระทบต่อแผนการเดินหน้าสร้างประเทศให้เป็น ประชาธิปไตยตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ประกาศเอาไว้ และในช่วงท้ายของการให้สัมภาษณ์ท่านปรีดีเองได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทาง พัฒนาประเทศไทยโดยการให้ความสำคัญต่อการสร้างความเป็นธรรมในเศรษฐกิจให้เป็น ‘เศรษฐกิจประชาธิปไตย’

นาย ปรีดี พนมยงค์ บั้นปลายชีวิตพำนักที่บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่มา : www.pridi-phoonsuk.org

อ.ปรีดี กล่าวถึงความล้มเหลวของคณะราษฎรว่า ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร คือ ความผิดพลาดบกพร่องที่เหมือนกับทุกๆขบวนการเมืองในความผิดพลาดของคณะ ราษฎร…จุดอ่อนของคณะราษฎรโดยเฉพาะนั้นก็แบ่งออกได้เป็น 4 ประการด้วยกัน คือ

ประการที่หนึ่ง ขาดการศึกษาถึงกฎแห่งความขัดแย้งในขบวนการเมือง ยกตัวอย่างในประวัติศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว จึงทำให้สมาชิกส่วนมากขาดความระมัดระวังต่อการที่สมาชิกจำนวนหนึ่งฟื้นฟาด ทัศนะเผด็จการชาติศักดินาซึ่งเป็นการโต้อภิวัฒน์ หรือ counter-revolution ต่อการอภิวัฒน์ ซึ่งตนเองได้เคยพลีชีวิตร่วมกับคณะ   

ประการที่สอง คณะราษฎรคิดแต่เพียงเอาชนะทางยุทธวิธีในการยึดอำนาจรัฐเป็นสำคัญ โดยไม่ได้คิดให้รอบคอบว่าจะรักษาชัยชนะไว้ได้อย่างไร จึงจะไม่ถูกการโต้อภิวัฒน์ ซึ่งจะต้องทำให้ชาติเดินถอยหลังเข้าคลอง

ประการที่สาม นอกจากท่านหัวคณะราษฎร 3 ท่าน คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเนย์ มีความรู้ความชำนาญการทหารสามารถนำคณะยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จแล้ว ส่วนสมาชิกหลายคนแม้จะมีความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับการสถาปนาประเทศแต่ก็ขาด ความชำนาญในการปฎิบัติและขาดความชำนาญในการติดต่อกับราษฎรอย่างกว้างขวาง อาทิ ผม เป็นต้น

ประการที่สี่ การเชิญท่านข้าราชการเก่ามาร่วมบริหารประเทศนั้นผมหวังให้ท่านเหล่านั้นก้าว หน้ามากเกินไปกว่าที่ท่านจะทำได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในขบวนการอภิวัฒน์ถึงกับมีการปิดสภาและ งดใช้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับ 10 ธันวาคม 2475….

จากนั้น อ.ปรีดี ได้วิเคราะห์ถึงอนาคตของประเทศไทยเอาไว้ว่า ประเทศไทยในระยะนี้ประสบกับวิกฤติการณ์หลายประการ ซึ่งจะต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาสาระสำคัญ 4 ประการประกอบกัน คือ 1.พัฒนา เศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานของมนุษยสังคมให้เป็นเศรษฐกิจประชาธิปไตย เศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานของมนุษยสังคมที่มิใช่เศรษฐกิจประชาธิปไตยนั้นย่อม เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันทำให้ประชาชนอัตขัตขัดสนซึ่งเป็นการทำให้รากฐานของสังคมระส่ำระส่าย ฉะนั้น มนุษย์ในสังคมต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจประชาธิปไตยได้มากเพียงไร เศรษฐกิจที่เป็นรากฐานก็มั่นคงสมบูรณ์มากขึ้นเพียงนั้น

2.พัฒนาการเมืองในการเมืองประชาธิปไตยสมานกับรากฐานเศรษฐกิจ ประชาธิปไตย การเมืองที่ตั้งอยู่บนความนึกคิดที่เลื่อนลอยย่อมมีผลสะท้อนกลับไปสู่รากฐาน ของสังคมทำให้รากฐานนั้นระส่ำระส่ายและเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ฉะนั้น มนุษย์ในสังคมต้องพัฒนาการเมืองให้ตั้งอยู่บนรากฐานเศรษฐกิจประชาธิปไตยได้ มากเพียงไร ก็จะเป็นการเมืองประชาธิปไตยมากขึ้นเพียงนั้น และจะมีผลสะท้อนกลับไปสู่รากฐานเศรษฐกิจของสังคมให้มีความมั่นคงสมบูรณ์มาก ขึ้นเพียงนั้น

3.พัฒนาคติธรรมของมนุษย์ให้เป็นคติธรรมประชาธิปไตย บุคคลที่ไม่มีประชาธิปไตยก็ไม่อาจปฎิบัติการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง ให้เป็นเศรษฐกิจประชาธิปไตยและการเมืองประชาธิปไตยได้ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาคติธรรมของบุคคลให้เป็นคติธรรมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหลักนำบุคคลให้มีจิตใจประชาธิปไตยปฎิบัติการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและ การเมืองประชาธิปไตย มิฉะนั้น วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองก็จะเกิดขึ้น

4.พัฒนาวิธีประชาธิปไตยในการพิทักษ์เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์ของชาติ ไทย ระบบเผด็จการฟาสซิสต์ของมุสโสลีนี ระบบนาซีเผด็จการของฮิตเลอร์ ระบบเผด็จการของคณะนายพลญี่ปุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่2สิ้นสุด ซึ่งเป็นซากตกค้างมาจากระบอบเผด็จการทาสศักดินา อันเป็นระบบที่นำชาติไปรุกรานชาติอื่น ผลที่ปรากฎ คือ ระบบเผด็จการดังกล่าวได้นำชาติไปสู่ความหายนะ

ฉะนั้น เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้มีรากฐานเศรษฐกิจประชาธิปไตย การเมืองประชาธิปไตย จิตใจและคติธรรมประชาธิปไตยดังกล่าวแล้วนั้น ก็จำต้องพัฒนาวิถีประชาธิปไตยในการพิทักษ์เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์ของชาติไทย

มิฉะนั้น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างวิธีพิทักษ์สังคมที่เป็นเผด็จการหรือที่ไม่ เป็นประชาธิปไตยฝ่ายหนึ่งกับเศรษฐกิจการเมืองคติธรรมที่เป็นประชาธิปไตยอีก ฝ่ายหนึ่ง วิกฤติการณ์ในสังคมก็เกิดขึ้นทุกๆด้านและอาจทำให้ชาติเสียความเป็นเอกราช อธิปไตยสมบูรณ์

โดยเฉพาะยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคปรามานูนั้นถ้าใช้วิธีพิทักษ์ชาติซึ่งมิ ใช่วิธีประชาธิปไตยแล้ว ชาติก็อาจประสบอันตรายจากไฟบรรลัยกัลป์แห่งศาตราวุธนิวเคลียร์ ศาตราวุธนิวตรอน ศาสตราวุธเคมี ศาตราวุธชีววิทยา และศาสตราวุธนอกมาตรฐานและในมาตรฐานชนิดอื่นๆ ในที่สุดนี้ขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยและมวลมนุษย์ทั้งหลายประสบกับความสุข สวัสดี ปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลายจากสงครามนิวเคลียร์และศาสตราวุธร้ายแรงที่กำลัง คุกคามอยู่นั้นเทอญ

ดูคำสัมภาษณ์ของอ.ปรีดีเมื่อกว่า 20 ปีก่อนแล้วต้องย้อนกลับมาดูว่าประเทศไทยวันนี้กำลังเผชิญวิกฤติการณ์อย่าง ที่อ.ปรีดีได้วิเคราะห์เอาไว้หรือไม่และที่สำคัญได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง

***หมายเหตุ สามารถเข้าไปรับฟังเสียงสัมภาษณ์ทั้งหมดได้ที่http://www.bbc.co.uk /thai/highlights/story/2006/03/060309_pick_of_bbc_interview.shtml

view