สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อำนาจ ขององค์การอิสระ ?

จากประชาชาติธุรกิจ

ไม่ เพียงแต่ปัญหา ร่างประเภทโครงการหรือกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้าน คุณภาพสิ่งแวดล้อม/ ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจำนวน 18 กิจการ อันเป็น 1 ในกระบวนการแก้ไขปัญหามาบตาพุดตามมาตรา 6(2) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะยัง ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติก็ตาม แต่กระบวนการในการจัดตั้ง องค์การอิสระ ตามร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ พ.ศ. ...ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของ "อำนาจ/หน้าที่" ที่ซ้ำซ้อนกันกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ด้วย

โดย ในร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระฯได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การอิสระไว้ดัง ต่อไปนี้ 1) วางนโยบายและกำกับดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของสำนักงานคณะกรรมการองค์การอิสระ 2) ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย องค์การเอกชน สถาบันการศึกษาและนิติบุคคล ซึ่งมี ผู้แทนองค์การเอกชนและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาร่วมดำเนินการอยู่ในนิติบุคคล หรือคณะบุคคลนั้น ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการให้ความเห็นของคณะกรรมการองค์การอิสระ 3) ส่งเสริมให้มีการศึกษาด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพที่จำเป็น

4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบต่อโครงการ 5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบต่อโครงการหรือ กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง 6) เชิญข้าราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ องค์การอิสระหรือองค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นใด มาให้ข้อเท็จจริง

ทั้ง นี้ประเด็นปัญหาอยู่ที่ "การให้ความเห็นประกอบ" หลังจากที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พร้อมกับความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ มาให้คณะกรรมการองค์การอิสระพิจารณา

ตรงนี้ร่าง พ.ร.บ.กำหนดไว้ว่า ให้คณะกรรมการองค์การอิสระพิจารณาให้ความเห็นประกอบการดำเนินโครงการ/ กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้รับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หาก คณะกรรมการองค์การอิสระไม่สามารถพิจารณาหรือมิได้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันให้ถือว่าองค์การอิสระได้ให้ความเห็นประกอบแล้ว

ปัญหาจึงเกิด ขึ้นมาทันที หากคณะกรรมการองค์การอิสระให้ความเห็นประกอบ "แตกต่าง" ไปจากความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือพูด ง่าย ๆ ว่า โครงการนั้น ๆ ไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การอิสระ

ในประเด็นนี้สำนักงาน นโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เห็นว่า การอนุมัติโครงการเป็นอำนาจของ สผ. โดยอำนาจที่ให้แก่คณะกรรมการองค์การอิสระข้างต้นนั้นเป็นการให้อำนาจเกิน กว่ามาตรา 67(2) ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ ดังนั้นเมื่อเกิดกรณีความเห็นแตกต่างข้างต้นแล้ว สผ.ยืนยันที่จะส่งความเห็นประกอบที่แตกต่างให้กับคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ พิจารณาอีกครั้ง โดยถือเอาความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯเป็นที่สุด

ส่งผลให้องค์การอิสระ มีสภาพไม่แตกต่างไปจาก "ตรายาง" ดี ๆ นี่เอง

Tags : อำนาจ องค์การอิสระ

view