สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การปรับโครงสร้างภาษีอากร

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คนเดินตรอก

โดย วีรพงษ์ รามางกูร



เห็นข่าว จากหนังสือพิมพ์ว่ากระทรวงการคลังมีดำริว่าจะต้องปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร เพราะภาระของรัฐบาลที่ผูกพันกู้หนี้ยืมสินจากประชาชนมีมาก อีก 5-6 ปีข้างหน้า ปัญหาสัดส่วนหนี้สินของรัฐบาลอาจจะเกินเพดาน 50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งอาจจะเป็นอันตราย

ประเด็นนี้ก็ น่าจะถูกต้อง และต้องชมเชยข้าราชการกระทรวงการคลัง ที่ยังเป็นนักการคลังที่มีจิตสำนึกต่อความมั่นคงของประเทศชาติ และได้ชี้แจงจนรัฐมนตรีคลังเห็นด้วย ก็ขอชมเชยรัฐมนตรีคลัง ที่เห็นด้วย แม้ว่าการเปลี่ยนโครงสร้างภาษีไปในทางที่ถูกต้อง มักจะได้รับการต่อต้านจากสื่อมวลชน และนักวิจารณ์ที่ไม่เข้าใจเรื่องภาษีอากรอย่างถ่องแท้ ในสมัยโลกาภิวัตน์นี้ ความเห็นในเรื่องภาษีอากรเปลี่ยนไปหมดแล้ว

มีประเด็นที่เราควรจะ ตระหนักในระดับเศรษฐกิจมหภาค และระดับการปฏิบัติมีอยู่หลายประการ

เรื่อง แรกที่ต้องตระหนัก คือยอดหนี้ ภาครัฐไม่ควรจะเกินเพดานเท่านั้นเท่านี้ ขึ้นกับความแข็งแกร่งของทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ขณะนี้ นักเศรษฐศาสตร์ที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ว่ายอดหนี้สาธารณะไม่ควรเกิน ร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ ก็น่าจะถูกต้อง ถ้าอยากกู้มากขึ้น รัฐบาลก็ต้องเร่งให้เศรษฐกิจขยายตัวมากกว่านี้ ถ้าอยากเพิ่มเพดานยอดหนี้สาธารณะ ก็ต้องเร่งการ ส่งออกให้สูงกว่านี้ ความมั่นคงทางการคลังและการเงินจะได้ไม่เสียไป

เรื่องที่สอง โดยส่วนรวมแล้ว รายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติของเราค่อนข้างต่ำอยู่ระหว่าง 16-17 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ สังเกตดูก็ไม่ใช่ เรื่องแปลก

โครง สร้างภาษีอากรของเรามีความ ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสูง กล่าวคือ ถ้ารายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ ภาษีอากรจะเพิ่มมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน ถ้าเศรษฐกิจหดตัว 1 เปอร์เซ็นต์ รายได้ของรัฐบาลก็จะหดตัวมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างแบบนี้ดี เพราะเป็นตัวสร้างเสถียรภาพในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยอัตโนมัติ ฝรั่งเรียกว่า "automatic stabilizer"

ถ้าเมื่อใดเศรษฐกิจขยายตัวดี รายได้จากภาษีหลายตัวก็จะกระโดด เช่น ภาษี เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราใช้เป็นตัวแทนของภาษีทรัพย์สิน ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมัน เป็นตัวแทนของภาษีการใช้ถนนหนทาง ภาษีเงินได้จากนิติบุคคล เป็นต้น

ดังนั้น ในยามเศรษฐกิจซบเซา สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลจะต่ำลงเกิน 16-17 เปอร์เซ็นต์ในยามเศรษฐกิจรุ่งเรือง สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติก็จะขยับสูงขึ้นเป็น 20-22 เปอร์เซ็นต์โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปแก้ไขมาก ในแง่โครงสร้าง

เรื่อง ที่สาม ภาษีเป็นเครื่องมือที่เลวที่สุด ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องรายได้และทรัพย์สิน เพราะในภาคปฏิบัติได้มีการพิสูจน์กันมากมายว่า ทฤษฎีภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมนั้น ภาระภาษีตกอยู่กับ คนชั้นกลางและคนชั้นล่างมากที่สุด ส่วนคนชั้นสูงกลับเสียภาษีทางตรง เป็นสัดส่วนของรายได้น้อยกว่าคนชั้นกลาง กว่าร้อยละ 80 ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาจากเงินเดือน ค่าจ้าง ส่วนค่าเช่า เงินปันผล กำไร มีสัดส่วนน้อยกว่า ถ้ายิ่งขึ้นอัตราการเก็บเข้าไป ก็ยิ่งมีการหลบเลี่ยงมากยิ่งขึ้น

เรื่องที่สี่ อัตราภาษีของแต่ละชนิดนั้นมีจุดพอดี ถ้าอัตราภาษีสูงเกินไปจะได้ภาษีน้อยลง และการหนีภาษีจะเกิดขึ้นเพราะความคุ้มค่าหากหนีได้ สำหรับประเทศ ด้อยพัฒนาหรือกึ่งพัฒนาอย่างประเทศไทย อาจจะมีสาเหตุที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ระบบข้อมูล ระบบการบังคับใช้ ระบบเครือญาติ ระบบอุปถัมภ์ ระบบการเมืองท้องถิ่น ร้อยแปด ฯลฯ

กรมจัดเก็บของกระทรวงการคลังมีประสิทธิภาพและประสบการณ์ ในการจัดเก็บมากกว่าท้องถิ่น แถมท้องถิ่น หัวหน้า อบต. อบจ. เป็นนักการเมือง การบิดเบือนในทางปฏิบัติจึงมีสูงมาก ไม่เหมือนฝรั่งเขา ที่ชาวบ้านคอยควบคุม แต่ของเราไม่เหมือนกัน ต้องคอยรักษาดุลระหว่างให้ท้องถิ่นจัดเก็บ กับให้ส่วนกลางจัดเก็บ แต่ก็ควรให้ท้องถิ่นทำด้วย ต่อไปคงจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ

เรื่อง ที่ห้า เรามีหลักอยู่ว่า รายจ่ายประจำไม่ควรเกินรายได้ การกู้หนี้ของรัฐบาลต้องเอามาเพื่อการลงทุนเท่านั้น วินัยข้อนี้ต้องรักษาไว้ให้ดี

หลักต่าง ๆ ของภาษีจึงมีอยู่ว่า ภาระภาษีไม่ควรตกอยู่กับผู้ผลิต ภาระภาษี ไม่ควรตกอยู่กับผู้ส่งออก เพราะเราจะแข่งขันกับเขาไม่ได้ เงินออมไม่ควรรวมอยู่ในฐานภาษี เพราะเงินออมไม่ใช่ผู้เอาจากสังคม แต่เป็นผู้ให้กับสังคม ภาษีใดที่การจัดเก็บยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายสูงกว่าภาษี ภาษีนั้นควรเลิก

ขณะ เดียวกัน ก็ควรเหลียวดูประเทศ คู่ค้าและประเทศคู่แข่งว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลของเราสูงกว่า หรือต่ำกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง มีความเหมาะสมและน่าดึงดูดการลงทุน ทั้งการลงทุนของบริษัทไทย หรือบริษัทต่างชาติ เพราะ เดี๋ยวนี้ทั่วโลกแย่งกันดึงดูดการลงทุน ไม่เว้นแม้แต่อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน และอื่น ๆ

หน้าที่ภาษี ควรจะมีหน้าที่เดียวคือหา รายได้ให้รัฐบาล ส่วนการสร้างความเท่าเทียมกันในด้านความเป็นอยู่ อยู่ที่โครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่งและการคมนาคม บริการสาธารณสุข การป้องกัน และการรักษาพยาบาล การเท่าเทียมทางด้านโอกาสในการศึกษา การมีคุณภาพชีวิต อย่างที่อาจารย์ ดร.ป๋วยท่านเขียนไว้ในบทความเรื่อง "จากครรภ์มารดาถึง เชิงตะกอน"

การมีความเท่าเทียมกันทาง การเมือง การได้รับการอำนวยความยุติธรรม การให้เกียรติกัน ไม่แบ่งชาติกำเนิด ศาสนา ความเชื่อถือ และภาษา การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสมศักดิ์ศรี ตำแหน่ง หน้าที่ ภูมิภาค การทะนุบำรุงวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะภาษาท้องถิ่น ฯลฯ ความมั่นคงของชาติอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่การใช้ "อำนาจเป็นธรรม" แต่ใช้ "ธรรมเป็นอำนาจ"

เมื่อรัฐบาลเห็นว่า 4-5 ปีข้างหน้า สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติจะเกินเพดานที่กำหนดไว้ เพื่อความมั่นคงทางการคลัง สมควรที่รัฐบาล จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร ก็เห็นสมควรแล้ว

แต่พอมาถึงเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างภาษีจริง ๆ ก็เริ่มมีปัญหา เริ่มตั้งแต่มีเสียงเรียกร้องให้ใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนจน หรือช่องว่างระหว่างรายได้กับช่องว่างระหว่างผู้มีทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอสังหาริมทรัพย์ เพราะทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น เงินฝาก หุ้นกู้ พันธบัตร หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ ฯลฯ ไม่ค่อยได้พูดกัน ทั้ง ๆ ที่ทรัพย์สินมีหลายชนิด ไม่ได้มีแต่อสังหาริมทรัพย์อย่างเดียว

เรื่อง ภาษีที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ พูดกันมากว่า 30 ปีแล้ว ในที่สุด ท่านสมหมาย ฮุนตระกูล ท่านใช้ทางสายกลาง คือคงอัตราภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนเอาไว้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อัตราภาษี ปัญหาอยู่ที่การจัดเก็บ โดยเก็บภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แทน เพราะคนที่ถืออสังหาริมทรัพย์ มีทั้งคนรวย คนชั้นกลาง และคนจน แต่ถ้าเก็บเป็นรายปีอย่างภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีโรงเรือนก็คงเดือดร้อนกัน ทั่ว สู้เอาภาษีตอนขายดีกว่า โดยผู้ขายเป็นผู้เสียภาษี จะอ้างว่าไม่มีเงินเสียก็คงยาก เวลาเศรษฐกิจดี คนซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์มาก คนก็ยินดีจ่าย ภาษีก็ได้มาก เวลาเศรษฐกิจไม่ดี การซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ก็มีน้อย การเก็บภาษีน้อย ก็ไม่ซ้ำเติมเศรษฐกิจ

ภาษีมรดก ขณะนี้ทั้งโลกต่างทยอยกันลดและยกเลิก อเมริกาก็ยกเลิกไป สมัยรัฐบาลประธานาธิบดีบุช ผู้ลูก เหตุผล อันแรก มรดกเป็นเงินออมของผู้ขาย เงินออมไม่ควรเป็นฐานภาษี อันมีการจัดทำยุ่งยาก ต้องมีการลดหย่อนมากมาย วิธีปฏิบัติยุ่งยาก ได้รายได้เล็กน้อย ไม่คุ้มเสีย

ส่วน เงินได้ของคนรวย เช่น ดอกเบี้ย เงินฝากและพันธบัตรก็เสียในอัตราต่ำ คือ 15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประเภทดอกเบี้ย แต่ถ้าสูงกว่านี้ ก็กลัวคนเอาเงินออกไปฝากประเทศที่อัตราภาษีต่ำกว่า กำไรจากการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ของบุคคลธรรมดา ก็ไม่ต้องเสียภาษี เวลาขาดทุนก็ไม่ให้หักเป็นรายจ่าย ก็ยุติธรรมดี หากจะเก็บภาษีตอนกำไรตอนขาดทุน ก็ควรให้ หักเป็นรายจ่าย ซึ่งฝรั่งทำได้ แต่ไทยเราทำไม่ได้ แต่ไม่ค่อยมีประเทศไหนทำกัน นอกจากอเมริกา

ดัง นั้น ทางที่ถูกที่ควร รัฐบาลควรพูดว่า ต้องปรับโครงสร้างภาษีให้เราแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจากร้อยละ 30 ของกำไรเป็นร้อยละ 25 อัตราสูงสุดของเงินได้บุคคลธรรมดาจากร้อยละ 37 ลงมาเป็นร้อยละ 30 หรือ 35 ก็ว่าไป เพราะร้อยละ 37 สูงกว่าประเทศอื่น ๆ

ปรับปรุงประสิทธิภาพใน การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนโดยไม่ต้องขึ้นอัตราภาษี

เพื่อ ให้ได้รายได้มาใช้จ่าย ลดช่องว่างในเรื่องความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม และ ลดช่องว่างในเรื่องคุณภาพชีวิต โอกาส ในทางเศรษฐกิจ จะได้ทำโครงการ ประชานิยมที่เป็นประโยชน์ต่อคะแนนเสียงของรัฐบาล ไม่ต้องฝันเฟื่องไปถึงเรื่อง "รัฐสวัสดิการ" เพราะโครงการประชานิยม ถ้าทำเป็นการถาวรก็เป็นรัฐสวัสดิการ แต่เงื่อนไขของประชานิยมดีกว่า คือช่วยให้เขามีทุน และมีตลาดมากขึ้น เงินภาษีทุกบาทได้คืน ไม่เป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีในระยะยาว

ภาษีที่ ถูกหลักการข้างต้นทั้งหมดนี้คือ "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์ของเราต่ำกว่าใครในโลก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือเอเชีย ตอนทำภาษีนี้ กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีขอให้เป็น 7 เปอร์เซ็นต์ก่อน แล้วค่อย ๆ ขึ้น แต่เกือบ 20 ปีแล้ว ก็ยังขึ้นไม่ได้ ในขณะที่ ประเทศอื่นมีตั้งแต่ 15 เปอร์เซ็นต์ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ รายได้รัฐบาลจะเพิ่มขึ้น 50,000 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเท่าเดิม พ่อค้าไม่ชอบภาษีนี่พอเข้าใจ แต่หนังสือพิมพ์ไม่ชอบนี่ไม่เข้าใจ ชอบภาษีที่ฟังดูแล้วโก้ ๆ แต่ในทางปฏิบัติทำไม่ได้ และเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นธรรม เพราะเก็บจากการบริโภค และหนีภาษีได้ยาก

ขอ สนับสนุนรัฐมนตรีคลัง แม้นายกรัฐมนตรีจะยิงตกไปแล้ว

Tags : ปรับโครงสร้างภาษีอากร คอลัมน์ คนเดินตรอก วีรพงษ์ รามางกูร

view