สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เลิกจ้างพนักงานชั่วคราวต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ HR Conner

โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ tamrongsakk@yahoo.com



ใน ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่มี นโยบายในการจ้างพนักงานชั่วคราว หรือที่มักจะเรียกกันว่า "พนักงานเทม" หรือมาจากคำว่า "Temporary" เข้ามาทำงาน โดยบริษัท ก็มักจะรับพนักงานดังกล่าวเข้ามาทำงานโดยมีลักษณะงานเหมือน ๆ กับพนักงานประจำทั่วไปนั่นแหละครับ

แต่ที่ต้องจ้างมาเป็นพนักงานชั่วคราวเพราะไม่ต้องการเพิ่มต้นทุนด้านการจ้างแรงงาน

เช่น เมื่องานน้อยลง หรือมีออร์เดอร์ลดลงก็จะเลิกจ้างพนักงานชั่วคราวเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน หรือแม้แต่สิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการต่าง ๆ เช่น โบนัส, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าอาหาร ฯลฯ ก็อาจจะมีไม่เหมือนกับพนักงานประจำ

เพราะเหตุผลว่าพนักงานเหล่านี้คือ พนักงานชั่วคราว จึงไม่ได้รับสิทธิเหมือนพนักงานประจำ (อย่างนี้จะเรียกว่าสองมาตรฐานได้ไหมครับ)

วิธีการจ้างพนักงานชั่วคราวเหล่านี้เข้ามาทำงานก็ทำเหมือนกับพนักงานประจำทั่วไปนั่นแหละครับ

กล่าวคือ เมื่อคัดเลือกรับเข้ามาทำงานแล้วก็จะมีการทำสัญญาจ้างงานโดยมีสัญญาจ้างงานที่มีข้อความคล้าย ๆ กับสัญญาจ้างงานปกติ

แต่จะแตกต่างกันตรงที่สัญญาจ้างงานของพนักงานชั่วคราวจะมีการระบุวันที่เริ่มจ้าง และวันสิ้นสุดการจ้างไว้ชัดเจน เช่น

"คู่ สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันทำ สัญญาจ้าง โดยให้มีผลบังคับเป็นระยะเวลา นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2552 และสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 โดยเป็นที่เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายว่า การตกลงว่าจ้างครั้งนี้เป็นการว่าจ้างชั่วคราวที่ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน และข้อตกลงว่าจ้างครั้งนี้จะหมดผลใช้บังคับโดยทันที เมื่อกำหนดระยะเวลาการจ้างสิ้นสุดลง"

จากตัวอย่างข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่า มีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ชัดเจน คือตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2552 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2553 คือ 1 ปี

บางแห่งก็อาจจะกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้มากหรือน้อยกว่านี้ เช่น 6 เดือน หรือ 2 ปี ก็มีครับ

แต่ ในวิธีปฏิบัติก็คือ เมื่อครบระยะเวลาตามสัญญากันแล้วก็มักจะมีเงื่อนไขกันว่า หากผลงานที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ บริษัท ก็จะต่อสัญญาไปอีก

แต่ ถ้าผลงานไม่เป็นที่น่าพอใจก็จะเลิกจ้าง และบริษัทก็จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวเป็นพนักงานชั่วคราวและทำสัญญาจ้างงานแบบมีระยะ เวลาไว้กับบริษัทแล้ว

การปฏิบัติเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ ?

ผมก็ขอให้ท่านกลับมาดูที่ตัวกฎหมายแรงงานปี 2541 มาตรา 118 ดังนี้ครับ

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะ เวลานั้น

การ จ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะ ที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น

ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลา ไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

เมื่อ อ่านทำความเข้าใจจากมาตรา 118 ข้างต้นแล้ว แทบไม่ต้องมานั่งตีความอะไรกันอีกเลยนะครับ เพราะชัดเจนว่า เมื่อไหร่ก็ตามมีการจ้างลูกจ้างตั้งแต่ 120 วันขึ้นไปแล้วล่ะก็ นายจ้างจะเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดอะไร ที่เป็นความผิดร้ายแรงแล้ว นายจ้าง จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานให้กับลูกจ้างครับ

ยิ่งการจ้างลูกจ้าง (ที่เรียกว่าลูกจ้าง แบบชั่วคราว) ชนิดต่อสัญญากันไปเรื่อย ๆ จนเกินกว่า 120 วัน เช่น สมมติต่อ สัญญากันมา 3 ปี 2 เดือน เมื่อจะเลิกจ้างลูกจ้างก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตาม อายุงานคือ 180 วัน หรือ 6 เท่าของค่าจ้างนั่นแหละครับ

จะมาโมเมอ้างว่า ไม่ต้องจ่าย เพราะเป็นลูกจ้างแบบมีระยะเวลาไม่ได้หรอกครับ เพราะโดยเนื้อแท้แล้วการต่อสัญญาไป เรื่อย ๆ แบบนี้ก็คือ "สัญญาไม่มีระยะ เวลา" สิ้นสุดการจ้างแบบเดียวกับสัญญาจ้างพนักงานประจำทั่วไปนั่นเองครับ

เรื่อง ราวทั้งหมดข้างต้นเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรบุคคลที่ควรจะ ต้องกล้าพูดความจริงให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจสำหรับความเสี่ยงขององค์กรใน จุดนี้ที่อาจจะถูกพนักงานชั่วคราวฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วง หน้าในอนาคต (หากบริษัทเลิกจ้าง) เพื่อหาวิธีบริหาร ความเสี่ยงในเรื่องนี้ต่อไป

Tags : เลิกจ้าง พนักงานชั่วคราว จ่ายค่าชดเชย

view