สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มุมมองต่าง Withholding Tax เก็บภาษีสกัดบาทแข็ง ไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ

มุมมองต่าง Withholding Tax 'เก็บภาษีสกัดบาทแข็ง ไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ'

จากประชาชาติธุรกิจ




จาก ปัญหาค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนแทบไม่มีใครคาดเดาถูกว่า ค่าเงินบาทของไทยจะไปหยุดแข็งค่าอยู่ที่ระดับใด ซึ่งผลกระทบดังกล่าวขณะนี้ ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ที่ใช้วัตถุภายในประเทศมาผลิตเป็นสินค้าเพื่อ ส่งออกไปขายต่างประเทศ ตอนนี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเพราะรับเงินน้อยลงเมื่อนำเงินดอลลาร์มา แลกเป็นเงินบาท

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้กระทรวงการคลังต้องออกมาตรการ มาช่วยเหลือผู้ประกอบการเหล่านี้ โดยในวันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ข้ามทวีปจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านระบบ Tele Presence ว่า ก่อนที่จะเดินทางไปประชุมประจำปีของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตนได้มีการหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า โดยทางกระทรวงการคลังจะนำมาตรการชุดนี้เสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันอังคารที่ 12 ต.ค.

ที่ผ่านมาทางกระทรวงการคลังได้มีการประสานงานกับธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) อย่างใกล้ชิด เรื่องการเข้าไปดูแลความผันผวนของค่าเงินบาท จึงเป็นหน้าที่ของ ธปท.อยู่แล้ว ส่วน มาตรการทางการคลังในชุดนี้ก็จะมีมาตรการด้านการเงิน ส่วนใหญ่จะอาศัยกลไกของสถาบันเฉพาะกิจของรัฐ อาทิ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารออมสิน เข้าไปปล่อยเงินกู้เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งจัดหาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในราคาพิเศษเข้า ไปช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วย

ส่วนมาตรการภาษีจะมีทั้งในส่วนของกรม สรรพากรและกรมศุลกากร โดยจะเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการใช้จังหวะเงินบาท ที่แข็งค่าไปนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาปรับปรุง ประสิทธิภาพในการผลิต นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวก็ได้สอบถามนายกรณ์เกี่ยวกับมาตรการภาษีของกรมสรรพากร เพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้าหรือไม่ และนายกรณ์ยอมรับว่ามีการศึกษาแต่ยังไม่ทราบว่าจะนำมาบังคับใช้ได้เมื่อใด ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้กรมสรรพากรไปทบทวนยกเว้นการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% สำหรับเงินได้จากดอกเบี้ยและกำไรจากการขายตราสารหนี้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจะต้องระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่ นำเงินมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ก่อนหน้านี้ด้วย

แต่เมื่อนำประเด็น นี้สอบถาม นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ปรากฏว่าปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีการจัดเก็บภาษีผู้ที่ถือครองตราสารหนี้ เกือบจะทุกกรณีแล้ว อาทิ กรณีถือครองตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้จนครบกำหนดที่จะได้รับดอกเบี้ยจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ส่วนกรณีที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือแล้วได้รับส่วนลด (discount) ก็ต้องเสีย 15%

ยกตัวอย่างตราสารหนี้มีราคาหน้าตั๋วที่ 100 บาท แต่ขายออกไปในราคา 90 บาท ส่วนต่าง 10 บาท จะต้องเสียภาษี 15% เป็นต้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลกับพันธบัตรเอเชียบอนด์ที่รัฐที่เป็นข้อตกลงร่วมกับ ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน

สาเหตุ ที่กรมสรรพากรไปยกเว้นภาษีให้กับพันธบัตรเอเชียนั้น เกิดจากการที่ประเทศไทยไปทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในช่วงที่ เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยประเทศสมาชิกจะต้องนำเงินมาลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรเอเชีย เพื่อเตรียมวงเงินไว้ปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องให้กับประเทศสมาชิกที่มีปัญหา ทำให้ กรมสรรพากรต้องออกกฎหมายยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% สำหรับดอกเบี้ย ส่วนล้ำมูลค่าของตราสารและส่วนลดให้กับผู้ที่ลงทุนในพันธบัตรเอเชีย ตราสารหนี้ภาครัฐ พันธบัตรของรัฐ

ดังนั้น เมื่อประเทศไทยไปตกลงกับประเทศสมาชิกอาเซียน แถมยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ด้วย หากจะยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวนี้ก็จะต้องไปหารือกับประเทศสมาชิกก่อน ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.ได้มีการหารือกับประเทศสมาชิกไปในระดับหนึ่งแล้ว

"เรื่อง นี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่างเช่น ผู้ที่เข้ามาลงทุนในพันธบัตรดังกล่าวก่อนหน้านี้ได้รับรู้ว่าทางการไทยจะไม่ จัดเก็บภาษี แต่อยู่ ๆ จะมาเก็บภาษีคงมีปัญหาแน่ แต่ถ้าเก็บภาษีเฉพาะรายที่เข้ามาลงทุนใหม่คงไม่เป็นไร ซึ่งแนวทางในการจัดเก็บภาษีก็มีอยู่หลายวิธี เช่น เลือกเก็บเฉพาะกลุ่มที่มีการซื้อ-ขายบอนด์เก็งกำไรในช่วงสั้น ๆ หรือเก็บภาษีเฉพาะนักลงทุนรายใหม่ที่เข้ามาลงทุน"

ตอนนี้เงินที่ไหล เข้ามาส่วนใหญ่ไปลงทุนตลาดตราสารหนี้มากกว่าตลาดหุ้น แต่ถ้านำภาษีเข้ามาใช้กับตลาดตราสารหนี้ เงินก็อาจจะไหลเข้ามาลงทุนที่ตลาดหุ้นได้ ซึ่งต้องมองในเรื่องของความสมดุลด้วย (balance) ส่วนกลไกในการจัดเก็บนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ผู้ที่ขายบอนด์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% นำส่งกรมสรรพากร

ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าเกิดจากการที่ มีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก หากทำให้เงินไหลออกไปบ้างค่าเงินบาทก็อ่อน เพราะฉะนั้นในส่วนของภาครัฐจะต้องเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ เร่งโครงการลงทุนสั่งซื้อเครื่องจักร หัวรถไฟ ส่วนภาคเอกชนจะต้องกระตุ้นให้มีการนำเข้าเครื่องจักรเร็วขึ้น ซึ่งทางกรมสรรพากรได้เสนอให้ผู้ผลิตนำรายจ่ายจากการสั่งซื้อเครื่องจักรจาก ต่างประเทศมาหักเป็นค่าเสื่อมราคาได้มากกว่าปกติ เช่นปีแรกหักค่าเสื่อมได้แค่ 20% ก็อาจหักได้มากกว่านี้

แต่มี ประเด็นที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเหมือนกัน คือ รัฐบาลออกมาตรการสนับสนุนให้มีการสั่งซื้อเครื่องจักรจาก ต่างประเทศ แต่อาจจะกระทบกับผู้ผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ เพราะถ้าใครซื้อเครื่องจักรในประเทศก็จะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นไปร้องต่อศาลปกครองได้หรือไม่

แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการภาษีขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถ้าจะนำมาบังคับใช้จะต้องทำเรื่องเสนอสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอแก้ประมวลรัษฎากร ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ต้องผ่านสภา 3 วาระ ฉะนั้นจึงยังไม่มีผลบังคับใช้ในทันที

"การลดภาษีให้ประชาชนทำ ง่าย แต่ถ้าไปขึ้นภาษีต้องไปขออนุญาตสภาเพราะมีผลกระทบต่อประชาชน และเพื่อให้กรอบของกฎหมายรองรับ อยู่ ๆ จะไปเก็บภาษีสกัดเงินบาทแข็งค่าไม่ใช่ ทำได้ง่าย ๆ คงจะต้องใช้วิธีอื่น" นายสาธิตกล่าว

ด้านแหล่งข่าวจากกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีการจัดเก็บภาษีกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาประกอบ ธุรกิจในประเทศไทยอยู่แล้ว (direct invesment) นอกจากจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 30% ของกำไรแล้ว ในทุก ๆ ครั้งที่มีการโอนเงินกำไรหรือดอกผลออกไปนอกประเทศจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือ withholding tax อีก 10% ของเงินกำไรที่ส่งกลับไปยังบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ ยกตัวอย่าง บริษัทรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นมาเปิดบริษัทหรือตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายรถ ยนต์ในประเทศไทย ในระหว่างปีมีสภาพคล่องเหลือก็นำไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ มีรายได้จากดอกเบี้ยจะต้องถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากนั้นเมื่อครบรอบปีบัญชีจะต้องมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% ของกำไรสุทธิก่อน และถ้ามีการโอนกำไรส่งกลับบริษัทแม่ที่อยู่ที่ญี่ปุ่นต้องเสีย withholding tax อีก 10%

ขณะที่นักลงทุนต่างชาติที่นำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดตรา สารหนี้ในระยะสั้นๆ หากมีรายได้จากดอกเบี้ย, ส่วนลดหรือส่วนล้ำมูลค่า ก็เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายแค่ 15% ของรายได้เท่านั้น แต่ตอนโอนเงินออกไม่ต้องเสีย withholding tax อีก 10% เหมือนกับกรณีของการลงทุนโดยตรง แต่ถ้าหากจะเก็บภาษีกับเงินทุนระยะสั้นเหล่านี้ก็มีประเด็นที่จะต้องพิจารณา คือ กรณีของ direct invesment ขนเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยนาน 1 ปี ขาออกเสียภาษี 10% แต่ถ้าเป็นเงินที่เข้าลงทุนระยะสั้น 1-2 สัปดาห์ขาออกต้องเสียภาษี 10% เท่ากัน ก็ไม่เป็นธรรมเช่นกัน และในทางปฏิบัติอาจจะเก็บภาษีได้ค่อนข้างยาก

Tags : มุมมองต่าง Withholding Tax เก็บภาษีสกัดบาทแข็ง ไม่ใช่ทำได้ง่าย

view