สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีอากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (1)

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

คอลัมน์ มุมภาษี
อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์


นับแต่อดีต เราต่างก็ยังคงได้ยินว่าภาษีอากรที่รัฐนำมาใช้ในการจัดเก็บเพื่อเป็นรายได้ ในการบริหารงานภาครัฐตาม “หลักภาษีอากรที่ดี” ซึ่งประกอบด้วย
   
• หลักความเป็นธรรม (Equity)
   
• หลักความแน่นอน (Certainty)
   
• หลักสะดวก (Convenience)
   
• หลักประหยัด (Economy)
   
• หลักอำนวยรายได้ (Productivity)
   
• หลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ (Neutrali-ty) และ
   
• หลักความยืดหยุ่น (Flexible)
   
หลักภาษีอากรที่ดีดังกล่าวได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นกฎหมายภาษีอากรที่มีใช้จัด เก็บในประเทศไทยทุกประเภทภาษีอากร โดยเฉพาะภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ได้มีการเริ่มใช้ภาษีอากรที่จัดเก็บจากประชาชนทั่วไป อาทิ ภาษีเงินได้ ภาษีการค้า ภาษีการธนาคารและประกันภัย อันเป็นภาษีอากรสมัยใหม่ แต่ก็ไม่เป็นระบบดีนัก เนื่องจากมีกฎหมายภาษีอากรที่บัญญัติขึ้นเพื่อจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชน ก่อนปี พ.ศ. 2475 อยู่หลายต่อหลายฉบับ
   
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 โดยได้นำ “หลักความเป็นธรรม” อันเป็นหัวใจสำคัญของลักษณะภาษีอากรที่ดีมาบัญญัติเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย ด้วย ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2482 ตาม “ปีปฏิทินหลวง” ซึ่งเป็นกำหนดการให้จัดเก็บภาษีสรรพากร และภาษีบำรุงท้องที่ เป็นครั้งแรก อันเป็นปีเดียวกับการมีพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2482 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยการบัญชีฉบับแรก
   
แม้ภาษีอากรจัดเป็นการดึงเม็ดเงินจากภาคเอกชนเข้าสู่ภาครัฐ แต่ภาษีอากรในฐานะที่เป็นรายได้หลักก็มีบทบาทในการส่งเสริมการขับเคลื่อน นโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ในอันที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการกระจายรายได้ ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม สร้างความยั่งยืนทางการคลังและระบบการเงิน ช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศ และประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ตามกรอบวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีอากร.

Tags : ภาษีอากร การพัฒนาเศรษฐกิจไทย

view