สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีอากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (8)

จาก เดลินิวส์ออนไลน์
อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์


ปัจจุบันมาตรฐานการบัญชีสากลมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีไปจากเดิมค่อนข้างมาก

ทั้ง นี้ก็เนื่องจากลักษณะการประกอบธุรกิจที่ทวีความซับซ้อนขึ้นจากอดีต เครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อให้การเคลื่อนย้ายทุนในยุคโลกไร้พรม แดน ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
    
มาตรฐานการบัญชีสากลในปัจจุบันจึงเน้นการนำข้อมูลบัญชีไปใช้เพื่อการตัดสินใจมากกว่าการเป็นข้อมูลแสดงผลการดำเนินงาน
    
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ย่อมหลีกหนีไปจากกติกาสากลนี้ไม่ได้
    
มาตรฐานการบัญชีของไทยจึงต้องก้าวตามและก้าวไปให้ทันตามมาตรฐานการบัญชีสากล เพื่อแสดงความโปร่งใส และมีบรรษัทภิบาล ของผู้ประกอบการในประเทศไทย ดังที่จะได้มีการสัมมนากันในช่วงต่อไป
   
อย่างไรก็ดีตามที่ได้กล่าวแล้วว่า เจตนารมณ์ของหลักการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีกับหลักภาษีอากรตามกฎหมายภาษี อากร มีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น บางกรณีผู้ที่มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีจึงอาจจะต้องพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม อาทิ

ประเด็นมูลค่ายุติธรรม เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีสากล นำแนวคิดเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมมาใช้ในการวัดมูลค่ารายการต่าง ๆ ในงบการเงินมากขึ้น เพื่อให้งบการเงินตอบสนองต่อความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดี ยิ่งขึ้น
   
ในขณะที่กฎหมายภาษีอากรยังคงให้ความสำคัญกับราคาทุนเดิมของรายการ เพราะมีความน่าเชื่อถือจากหลักฐานการได้มาของสินทรัพย์ และเป็นหลักประกันถึงความเป็นธรรมในการเสียภาษีว่าจะไม่เกิดข้อบกพร่องจาก การใช้ดุลพินิจในการทำงานของเจ้าพนักงาน

ประเด็นการประมาณการหนี้สิน เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีต้องการให้งบการเงินแสดงข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ จึงกำหนดหลักการให้ต้องบันทึกประมาณการหนี้สินในงบดุล และบันทึกค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนด้วย
    
ในขณะที่กฎหมายภาษีอากรไม่อาจยอมรับได้ เนื่องจากเป็นรายการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ในทางภาษีอากรจึงไม่ยอมรับ เพราะมีข้อถกเถียงถึงการใช้ดุลพินิจในการตั้งจำนวนค่าเผื่อได้

ประเด็นการโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบี้ย หรือมีแต่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
    
กรณีนี้ในทางการบัญชี กิจการอาจกำหนดค่าตอบแทนเพียงไรก็ได้ ซึ่งไม่ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดหรือแย้งกับมาตรฐานการบัญชี
    
ในขณะที่กฎหมายภาษีอากรไม่ถือเช่นนั้น เนื่องจากอาจเป็นช่องทางให้เกิดการหลบหลีกภาษี อันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม
   
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ครบถ้วนก่อนจะยื่นรายการประเมินตนเอง ผู้ต้องเสียภาษีจึงควรทำการตรวจสอบรายการในแบบแสดงรายการ
    
ซึ่งนับเป็นอีกก้าวกระโดดที่สำคัญของการพัฒนาระบบภาษีในประเทศไทย ที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างความเป็นธรรมที่มีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในสังคม ไทยสืบไป.

 

Tags : ภาษีอากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (8)

view