สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การบัญชีกับการภาษี:คู่แฝดในทางเศรษฐกิจ (1)

จาก เดลินิวส์ออนไลน์
อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์



โดยที่การบัญชีเป็นสังคมศาสตร์ที่ย่อมเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสังคม หรือข้อตกลงร่วมกันของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ประกอบกับข้อมูลทางการบัญชีต้องจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ ใช้ ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม เช่น ผู้ลงทุน ผู้ให้กู้ พนักงาน และตัวเจ้าของกิจการเอง เป็นต้น แต่ละกลุ่มต่างมีความต้องการใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ในส่วนของภาครัฐเอง เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชี เพื่อประโยชน์ในเชิงสาธารณะ ทำให้บางกรณี การบัญชีกับการภาษีอากรอาจมีมุมมองต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

ในความสัมพันธ์ของการบัญชีกับการภาษีอากรนั้น อาจกล่าวได้ว่าทุกรายการทางการเงินมีความเกี่ยวข้องกับภาษีอากร โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่นำหลักการทางบัญชีมาบัญญัติเป็นเงื่อนไขทางภาษีอากรอยู่หลายรายการ เพราะการจัดเก็บภาษีอ้างอิงกับหลักความสามารถในการเสียภาษีของผู้มีหน้าที่ ต้องเสียภาษี ดังนั้น นักบัญชีกับนักภาษีอากรจึงต้องเรียนรู้ที่จะแสวงจุดร่วม และสงวนจุดต่างซึ่งกันและกัน

ระบบภาษีอากรสมัยใหม่ของไทยมีการพัฒนาจากในอดีตก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองไป อย่างมาก หากย้อนดูประวัติศาสตร์การจัดเก็บภาษีอากรก็จะพบว่า ในอดีตอาจไม่ได้ใช้การบัญชีเป็นดัชนีแสดงความสามารถในการเสียภาษี อันแตกต่างไปจากระบบภาษีอากรในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น การบัญชีซึ่งถือเป็นภาษาของโลกธุรกิจก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น เพราะถือว่าข้อมูลทางการบัญชีที่บันทึกตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถในการเสียภาษีได้อย่างเป็นธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการในการจัดเก็บภาษีอากร ดังเช่นคำปรารภในพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ให้ตราประมวลรัษฎากรขึ้น ตามหลักความเป็นธรรมแก่สังคม อันเป็นลักษณะของกฎหมายภาษีอากรที่ดี ซึ่งกระทรวงการคลัง โดยกรมจัดเก็บภาษีทั้งสามกรม คือกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ต่างก็ยึดถือความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเป็นหลักในการปฏิบัติงานมาโดยตลอด ทั้งนี้ ในส่วนที่ต่างกันนั้น ผู้ต้องเสียภาษีอากรเพียงแต่ “ปรับปรุงรายการ” บางรายการเพื่อให้ข้อมูลทางการบัญชีเป็นไปตามกฎหมายภาษีอากรเท่านั้น

• ทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ให้หักค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท เพราะรัฐไม่ต้องการให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้มีรายได้สูงกับผู้มีรายได้ต่ำ มากจนเกินไป เพื่อรักษาความเป็นธรรมในสังคม 

• บริษัทที่จัดโครงการอบรมสัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถให้แก่ลูกจ้าง สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับรายจ่ายค่าห้องพักและค่าห้องสัมมนาภายในประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวและสนับสนุนให้กิจการพัฒนา ศักยภาพของลูกจ้างให้สูงขึ้น รองรับการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์.

Tags : การบัญชีกับการภาษี คู่แฝด ทางเศรษฐกิจ

view