http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

ผลตรวจโครงการชลประทานท่อน้ำ

การตรวจสอบดำเนินงานโครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำ
กรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับย่อ)  ฉบับเต็มอ่านด้านล่าง


วัตถุประสงค์ของโครงการ มีดังนี้
    1. เพิ่มแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในพื้นที่ขาดแคลน
    2. เพื่อให้มีแหล่งน้ำสำหรับใช้ในเกษตรกรรม สร้างงานใหม่ในชนบท และสามารถยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน
    3. เพื่อให้มีการส่งน้ำจากแหล่งน้ำที่เกินความต้องการไปยังแหล่งน้ำใกล้เคียงที่ขาดแคลนน้ำ
    4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและข้อจำกัดในกรณีต่าง ๆ

การดำเนินงานโครงการมีกิจกรรมหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
    1. กิจกรรมการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบ เพื่อเป็นโครงการนำร่องจำนวน 10 โครงการ ประกอบด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 6 โครงการ ภาคตะวันออกจำนวน 3 โครงการ และภาคกลางตอนล่างจำนวน 1 โครงการ มีแผนการใช้งบประมาณรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 875 ล้านบาท
    2. กิจกรรมการจัดจ้างที่ปรึกษา เพื่อจัดทำแผนหลัก / ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ กำหนดเงื่อนไขงานจ้างเหมา และการออกแบบโครงการนำร่อง มีแผนการใช้งบประมาณจำนวนเงิน 185 ล้านบาท
ผลการตรวจสอบ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อตรวจพบที่สำคัญซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ 4 ประการ สรุปได้ดังนี้

ข้อตรวจพบที่ 1 การก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบตามโครงการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ สิ้นปีงบประมาณ 2542 ได้ทำสัญญาก่อสร้างเพียงโครงการเดียวส่วนที่เหลืออีกจำนวน 9 โครงการยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด
จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จล่าช้าค่อนข้างมากคือโครงการที่ดำเนินการใน จ.ขอนแก่น ทั้ง 3 โครงการ เนื่องจากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงิน และผู้รับจ้างนำเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อทำงานต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในแผน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
จากความล่าช้าของการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบดังกล่าวข้างต้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการ สรุปได้ดังนี้
    1. ทำให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายของโครงการเสียโอกาสในการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและสร้างรายได้
    2. ทำให้การบริหารงบประมาณของกรมชลประทานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เพราะมีการใช้จ่ายเงินงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด
    3. ทำให้ไม่สามารถทราบผลที่ได้รับจากโครงการทั้ง 10 โครงการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานโครงการในระยะที่ 2 ต่อไป
สาเหตุ ที่ทำให้การดำเนินงานก่อสร้างตามโครงการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจาก
    1. กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาส่งมอบงานตามสัญญาล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดให้ส่ง
    2. ก่อนการดำเนินการก่อสร้าง เกษตรกรในพื้นที่โครงการไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจ หรือกำหนดแนวท่อส่งน้ำที่เหมาะสม และไม่ได้มีการจัดทำบันทึกยินยอมให้ใช้ที่ดินกับเจ้าของที่ดินที่จะต้องวางแนวท่อส่งน้ำผ่าน อีกทั้งในการจัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้าง กรมชลประทานจะใช้วิธีการขอความร่วมมือในการใช้พื้นที่จากเจ้าของที่ดินโดยไม่มีการตั้งงบประมาณในส่วนของการจัดหาที่ดินเพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดปัญหาในการขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้าง
    3. บริเวณที่จะก่อสร้างเป็นแปลงทำการเกษตรซึ่งอยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องรอให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยก่อนจึงจะสามารถก่อสร้างได้ ทำให้การก่อสร้างต้องหยุดชะงักหรือเลื่อนเวลาการก่อสร้างออกไป
    4. บริษัทที่ปรึกษาออกแบบก่อสร้างโดยไม่สำรวจสภาพพื้นที่จริง
    5. บางพื้นที่บริษัทผู้รับจ้างเข้าปฏิบัติงานก่อสร้างล่าช้า หรือบางพื้นที่บริษัทผู้รับจ้างนำเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อทำงานต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในแผน หรือบางพื้นที่บุคลากรของบริษัทผู้รับจ้างขาดความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ รวมทั้งบางพื้นที่บริษัทผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงิน
    6. วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการก่อสร้างบางประเภท ทำให้ต้องเสียเวลาในการจัดหา
    7. บางพื้นที่เกิดอุทกภัยจึงไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามระยะเวลาที่แผนกำหนดไว้
ข้อเสนอแนะ
ให้อธิบดีกรมชลประทานดำเนินการดังนี้
    1. สั่งการและติดตามให้สำนักชลประทานที่รับผิดชอบควบคุมการดำเนินงานของผู้รับจ้างให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
    2. สั่งการและติดตามให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาที่ได้รับการแต่งตั้งให้ความสำคัญหรือเคร่งครัดกับคุณสมบัติ ของบริษัทผู้รับจ้าง โดยเฉพาะในเรื่องประสบการณ์และผลงาน ความรู้ความชำนาญ ความพร้อมของเครื่องมือเครื่องจักร รวมถึงฐานะทาง การเงินของบริษัทผู้รับจ้าง
    3. หากมีการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งมีกิจกรรมการดำเนินงานหลายกิจกรรมและแต่ละกิจกรรมมีความสอดคล้อง และต่อเนื่องกัน ควรมีการติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมหรือขั้นตอนให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

ข้อตรวจพบที่ 2
เกษตรกรไม่สามารถลงทุนก่อสร้างระบบจ่ายน้ำเพิ่มเติมต่อจากที่รัฐลงทุนให้ได้ โครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำ ได้กำหนดให้เกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์ในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในส่วนของงานก่อสร้างร่วมกับรัฐ โดยตามนโยบายหรือเงื่อนไขของโครงการเกษตรกรต้องลงทุนก่อสร้างระบบจ่ายน้ำจนถึงแปลงของตนเองต่อจากที่รัฐลงทุนซึ่งบริษัท ที่ปรึกษาคิดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบท่อเต็มรูปแบบไว้ประมาณ 11,650 บาท/ไร่ มีข้อสังเกตว่าเกษตรกรไม่ได้มีส่วนร่วมลงทุน ก่อสร้างตามนโยบายหรือเงื่อนไขของโครงการจะเป็นการเอื้อประโยชน์โดยเฉพาะให้กับเกษตรกร จ.ขอนแก่น มากกว่าเกษตรกรในพื้นที่โครงการของจังหวัดอื่นๆ แล้วยังเป็นการกระทำที่ไม่เสมอภาคเพราะไม่ได้มีการปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้กับพื้นที่ ในจังหวัดอื่นๆ และจากการตรวจสอบโครงการที่เกษตรกรต้องมีส่วนร่วมลงทุนก่อสร้างพบว่า เกษตรกรไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขของโครงการซึ่งกรมชลประทานกำหนดไว้ได้ เนื่องจาก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าจะต้อง ลงทุนก่อสร้างระบบจ่ายน้ำต่อจากที่รัฐลงทุนให้ พบว่า มีเกษตรกรร้อยละ 86 ไม่ทราบเลยว่าจะต้องมีส่วนร่วมลงทุนก่อสร้างระบบ จ่ายน้ำต่อจากที่รัฐลงทุนให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะลงทุนก่อสร้างระบบจ่ายน้ำต่อจากที่รัฐลงทุนให้ ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวค่อนข้างสูงและคาดว่าเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ได้ เกษตรกรกลุ่มที่จะลงทุนก่อสร้างระบบจ่ายน้ำต่อจากส่วนที่รัฐลงทุนให้ได้มากที่สุดเต็มใจลงทุนระบบท่อส่งน้ำต่อจากที่รัฐลงทุนสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท/ไร่ หากต้องลงทุนสูงกว่านี้จะเปลี่ยนไปใช้วิธีการซื้อน้ำหรือขุดสระน้ำแบบเดิมจะคุ้มค่ากว่า

จากการที่เกษตรกรไม่สามารถลงทุนส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการ ดังนี้
    1. เกษตรกรไม่สามารถนำน้ำไปใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตรได้ หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่
    2. อาจเกิดการสูญเปล่าของงบประมาณการก่อสร้างในส่วนที่รัฐลงทุนไปแล้ว เนื่องจากเกษตรกรไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโครงการ
สาเหต ุที่เกษตรกรไม่สามารถลงทุนก่อสร้างระบบจ่ายน้ำเพิ่มเติมต่อจากที่รัฐลงทุนให้ได้ เนื่องจาก
    1. ก่อนการดำเนินงานก่อสร้างตามโครงการกรมชลประทานไม่ได้ชี้แจงหรือ ประชาสัมพันธ์รายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ให้เกษตรกรทราบ โดยเฉพาะเรื่องที่เกษตรกรจะต้องลงทุน ก่อสร้างระบบจ่ายน้ำต่อจากที่รัฐได้ลงทุนให้
    2. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับรูปแบบการมีส่วนร่วมในการลงทุนร่วมกับภาครัฐ แต่จะคุ้นเคยกับงาน/โครงการที่ภาครัฐจัดสรรให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
    3. เกษตรกรบางพื้นที่มีข้อจำกัด เช่น ขาดเงินทุน มีพื้นที่ลงทุนก็ไม่คุ้ม หรือขาดแคลนแรงงานในการทำการเกษตร รวมทั้งเกษตรกรบางพื้นที่มีที่ดินอยู่ห่างไกลจากจุดจ่ายน้ำ
ข้อเสนอแนะ
ให้อธิบดีกรมชลประทานดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งการและติดตามให้สำนักชลประทานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้เกษตรกรเข้าใจคุณค่าของน้ำว่า ในอนาคตน้ำถือเป็นต้นทุนในการทำการเกษตร
    2. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากรณีเกษตรกร ไม่สามารถร่วมลงทุนระบบจ่ายน้ำเพิ่มเติมต่อจากรัฐ เพื่อให้เกษตรกรลงทุนก่อสร้างระบบส่งน้ำเพิ่มเติมต่อจากที่รัฐได้

ข้อตรวจพบที่ 3 องค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำ (เกษตรกร) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขาดความพร้อมในการบริหารจัดการโครงการ ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ

กรมชลประทานได้กำหนดหลักเกณฑ์การบริหารจัดการโครงการภายหลังโครงการแล้วเสร็จ โดยให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ องค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สอดคล้องกับนโยบายตาม พรบ. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นปี 2542 ดังนี้
องค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำ
    - จะต้องมีส่วนร่วมดำเนินการพิจารณาออกแบบวางแผน จัดทำรายชื่อสมาชิก คัดเลือกคณะกรรมการ จัดทำระเบียบต่างๆ การจัดสรรน้ำ การบำรุงรักษา และกำหนดค่าไฟฟ้า ก่อนโครงการจะเสร็จ
    - หลังจากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องบริหารจัดการด้านการจัดสรรและการแจกจ่ายน้ำการใช้งานและบำรุงรักษารวมทั้ง ค่ากระแสไฟฟ้าองค์การบริหารส่วนตำบล.
    - จะต้องรับโอนอาคาร-สิ่งก่อสร้างตามโครงการจากกรมชลประทานหลังการก่อสร้างของโครงการแล้วเสร็จ
    - จะต้องทำหน้าที่ควบคุม ดูแล ร่วมกับองค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบำรุงรักษาอาคาร-สิ่งก่อสร้างตามโครงการนี้ต่อไป
จากการตรวจสอบพบว่า ทั้งองค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำ และ อบต. ขาดความพร้อมในการบริหารจัดการ ดูแล และบำรุงรักษาอาคาร-สิ่งก่อสร้าง ตามโครงการ ดังนี้
    1. องค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำขาดความพร้อม ดังนี้
จากการตรวจสอบทั้งหมด 9 โครงการ มีถึง 7 โครงการที่ยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำซึ่งทั้ง 9 โครงการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมชลประทานกำหนดไว้ เช่น
    - โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 3 โครงการ
    - โครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 6 โครงการ มีจำนวนถึง 4 โครงการที่ยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ
สำหรับ 2 โครงการที่มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำแล้ว
จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาได้ประมาณการค่าใช้จ่ายขององค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำของแต่ละโครงการพบว่าเกษตรกรเกินกึ่งหนึ่ง ไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินค่าใช้น้ำของโครงการ เพราะเคยชินกับระบบที่รัฐให้เปล่าตลอดเกษตรกรที่มีความเต็มใจจะจ่ายค่าใช้จ่ายสูงสุดไม่เกิน 200 บาท/ไร่/ปี
    2. องค์การบริหารส่วนตำบลขาดความพร้อม ดังนี้
จากการสอบถามหัวหน้าโครงการชลประทานจังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และผู้จัดการโครงการเห็นว่า อบต.ในพื้นที่โครงการขาดความพร้อมที่จะบริหารจัดการ ดูแลสิ่งก่อสร้างตามโครงการภายหลังโครงการแล้วเสร็จ เนื่องจากไม่มีงบประมาณและบุคลากร ที่จะใช้ในการดำเนินการและไม่มีความพร้อมที่จะรับโอนโครงการจากกรมชลประทาน เนื่องจาก
    - กรมชลประทานไม่ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของโครงการในส่วนของ อบต. ต้องรับผิดชอบ
    - อบต. ส่วนใหญ่อยู่ในชั้น 5 ซึ่งมีรายได้น้อย และมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชากรในพื้นที่
    - อบต. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับระบบการส่งน้ำ
จากการที่องค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลขาดความพร้อมในการบริหารผลกระทบดังนี้
    1. กรณีองค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำ (เกษตรกร) ไม่สามารถรับผิดชอบค่ากระแสไฟฟ้าและค่าซ่อมแซม อาจเป็นภาระต่องบประมาณต่อไป
    2. กรณี อบต. ขาดความพร้อมในการดูแลรักษา อาคาร-สิ่งก่อสร้างทำให้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ส่งผลให้สิ่งก่อสร้างชำรุดเสียหายก่อนกำหนด
    3. อาจเกิดการสูญเปล่าของงบประมาณการก่อสร้างในส่วนที่รัฐได้ลงทุนไปแล้ว
สาเหตุ ที่ขาดความพร้อมในการบริหารจัดการโครงการ เนื่องจาก
    1. ในขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ บริษัทที่ปรึกษาไม่ได้ศึกษาหรือสำรวจความพร้อมของเกษตรกรและอบต. ในพื้นที่โครงการ
    2.ในขั้นตอนการออกแบบของบริษัทที่ปรึกษาเกษตรกรและอบต.ในพื้นที่โครงการไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาเลือกรูปแบบหรือ เทคโนโลยีที่จะใช้ในการก่อสร้างทำให้ได้ระบบที่ออกแบบที่ใช้เทคโนโลยีสูง มีความสลับซับซ้อน มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง และการดูแลบำรุง รักษาทำได้ยากเกินกว่าศักยภาพขององค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำและอบต.จะดูแลรักษาเองได้
    3. การกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการบริหารจัดการโครงการภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จไม่ชัดเจนและเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้เจ้าหน้าที่ของโครงการชลประทานจังหวัดขาดข้อมูลที่จะนำไปชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกร

ข้อเสนอแนะ
ให้อธิบดีกรมชลประทานดำเนินการดังนี้
    1. สั่งการและติดตามให้หัวหน้าโครงการชลประทานจังหวัด เร่งรัดการจัดตั้งองค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
    2. สั่งการและติดตามให้หัวหน้าโครงการ ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของ อบต.ให้มีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง ก่อนถ่ายโอนอาคารสิ่งก่อสร้างให้กับ อบต.
    3. ภายหลังจากการดำเนินงานในส่วนของโครงการนำร่องแล้วเสร็จ ก่อนที่กรมชลประทานจะขยายการดำเนินงานในระยะที่ 2 ต่อไป ควรจะมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยเปรียบเทียบระบบส่งน้ำตามโครงการกับการส่งน้ำ ด้วยระบบคลองส่งน้ำแบบเดิม ในเรื่องของ ต้นทุนค่าใช้จ่ายและให้สำนัก/กอง ที่เกี่ยวข้องทบทวนการออกแบบโครงการให้มีความเหมาะสม กับการใช้งานขององค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำ (เกษตรกร) และ อบต.
    4. หากมีการดำเนินงานโครงการอื่นของกรมชลประทานที่มีกิจกรรมหลักประการหนึ่งที่สำคัญคือการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็น ไปได้ของ โครงการกรมชลประทานจะต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดรายละเอียดของข้อกำหนดขอบเขตการศึกษาในประเด็น วัตถุประสงค์ของการจ้าง ขอบเขตการปฏิบัติงาน ผลงานที่ได้รับจากการจ้างที่ปรึกษา  ให้มีความละเอียดรอบคอบและชัดเจน

ข้อตรวจพบที่ 4 ระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบที่ก่อสร้างแล้วเสร็จส่วนใหญ่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การดำเนินงานโครงการนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากเพื่อการยังชีพไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ตามรายละเอียดดังนี้
    1. โครงการที่ยังไม่มีการสูบน้ำให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์จำนวน 2 โครงการ คือ
        - โครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำบ้านโนนฆ้อง จ.ขอนแก่น ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน 51.21 ล้านบาทก่อสร้างเสร็จประมาณ 1 ปี แล้วยังไม่มีการสูบน้ำไปยังพื้นที่ โครงการ เนื่องจากสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือ ท่อส่งน้ำหลักแตกเสียหาย และอาคารหัวจ่ายน้ำชำรุด จำนวน 8 หัวจ่าย
        - โครงการสูบน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน 51.56 ล้านบาท พบว่า ตั้งแต่โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานรวมประมาณ 2 ปี ยังไม่มีการสูบน้ำตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการแต่อย่างใด และโครงการนี้ มีข้อสังเกตว่าชื่อ โครงการไม่เกี่ยวข้องกับระบบท่อส่งน้ำแต่อย่างใด เพราะไม่อยู่ในการศึกษาความเหมาะสมของที่ปรึกษา แต่กรมชลประทานได้เพิ่มเข้าไปเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น เพื่อต้องการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำ
    2. โครงการที่ได้มีการสูบน้ำไปยังพื้นที่โครงการแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ
        - โครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำบ้านดอนกอก อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน 27.73 ล้านบาทจากการสอบถามเกษตรกรตามโครงการจำนวน 49 ราย พบว่ามีเกษตรกรเพียง 5 รายเท่านั้นที่ได้นำน้ำไปใช้ประโยชน์เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทั้งที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
        - โครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำบ้านกุดแคน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน 55.83 ล้านบาท พบว่ามีเกษตรกรเพียง 3 รายเท่านั้นที่ได้นำน้ำไปใช้ประโยชน์เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทั้งที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
จากการที่ระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบที่ก่อสร้างแล้วเสร็จส่วนใหญ่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการ ดังนี้
    1. โครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้วทั้ง 4 โครงการ คิดเป็นงบประมาณจำนวน 186.33 ล้านบาท อาจเกิดการสูญเปล่า
    2. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้
    3. ทำให้อุปกรณ์ระบบท่อส่งน้ำและอาคารไม่ได้ใช้ประโยชน์เกิดการชำรุดเสียหายก่อนอายุการใช้งานจริงได้
    4. กรณีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ระบบท่อส่งน้ำเกิดชำรุดเสียหายทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบท่อส่งน้ำได้
ข้อเสนอแนะ
ให้อธิบดีกรมชลประทานดำเนินการดังนี้
    1. สั่งการและติดตามให้หัวหน้าโครงการชลประทานจังหวัด ซึ่งรับผิดชอบในการจัดสรรน้ำและการบำรุงรักษา
    2. ประสานงานกับหน่วยงานที่จะช่วยสนับสนุนเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการจูงใจเกษตรกรในพื้นที่โครงการให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
    3. สั่งการและติดตามให้หัวหน้าโครงการติดตามการใช้ประโยชน์จากระบบท่อส่งน้ำตามโครงการอย่างสม่ำเสมอ
    4. สำหรับโครงการที่จะดำเนินงานในระยะที่ 2 ควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือก พื้นที่ดำเนินการโครงการให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงความพร้อมของเกษตรกรในการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตทางการเกษตรไปในเชิงพาณิชย์
ความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อโครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำ

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบโครงการนี้ในปีงบประมาณ 2546 เห็นว่าหากจะมีการขยายโครงการในระยะที่ 2 ต่อไป จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ ที่มีผลต่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
    1. เกษตรกรในพื้นที่โครงการต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยเกษตรกรต้องทราบข้อมูลที่สำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจ
    2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่โครงการ ต้องมีความพร้อมด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอาคารและจัดเตรียมบุคลากร
    3.นอกจากหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำตามโครงการแล้ว ภาครัฐควรให้การสนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร
    4. แหล่งน้ำต้นทุนเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำหรับระบบท่อส่งน้ำตามโครงการ ต้องพิจารณาความเพียงพอของแหล่งน้ำต้นทุนให้สามารถ ส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำได้ตลอดทั้งปี


ฉบับเต็มอ่านที่นี่  
view

*

view