สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาสตร์แห่งการหยั่งรู้

ขงจื้อกล่าวว่า "ผู้ที่ไม่สับสนคือผู้รู้ ผู้ไม่ทุกข์ร้อนคือผู้รักคน ผู้ไม่กลัวคือผู้กล้า"
ขงจื้อกล่าวว่า "นิ่งก่อนจึงสงบ สงบก่อนจึงสุขใจ สุขใจก่อนจึงวิเคราะห์ วิเคราะห์ก่อนจึงหยั่งรู้"
ขงจื้อกล่าวว่า "เรื่องราวต่างๆ มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ ผู้รู้ว่าเรื่องใดมาก่อน เรื่องใดจะเกิดตามมา ผู้นั้นใกล้เคียงผู้รู้วิถีทางแห่งเต๋า"
กุ่ยกู่จื่อกล่าวว่า " เพราะมีความอยาก ใจจึงมุ่งมั่น แต่หากมีความอยากในหลายสิ่งพร้อมกัน ใจจะเสื่อมถอยไม่สามารถรวมสมาธิในเป้าหมายเดียว ดังนั้น กฎเกณฑ์ของการสร้างกำลังใจคือต้องไม่มีความอยากในหลายสิ่งพร้อมกัน เมื่อมีความอยากที่จะบรรลุเป้าหมายเดียว ใจจะแข็งแกร่ง และจะมุ่งมั่น หยั่งรู้สึกซึ้งในสิ่งนั้น"
เมื่อประสานแนวคิดของปราชญ์ตะวันออก การหยั่งรู้จะเกิดได้ต่อเมื่อ เกิดความสงบนิ่ง รู้จักใช้สมาธิและปัญญา ใจจดจ่อในเรื่องที่ต้องรู้ และควรรู้ถึงความเป็นมาเป็นไป ธรรมชาติของการเกิดก่อนหลัง
คนจีนโบราณใช้แนวคิดในการหยั่งรู้ด้วยสูตร ๕ ประการ คือ
๑.การมองด้วยตา
    การมองด้วยตาจะเห็นเพียงเปลือกนอก เป็นการประเมินในขั้นต้น เท่านั้น
๒.การคาดคะเน
    การคาดคะเน เป็นการประเมินด้วยหู ดูด้วยใจ
๓.การสังเกตุการณ์
    การสังเกตุจะเป็นการเก็บรายละเอียดรอบข้างและเหตุการณ์ที่เป็น สิ่งที่เห็นและเกิดขึ้น
๔.การเห็นรายละเอียด
    การเห็นรายละเอียดเป็นการเห็นถึงสิ่งความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
๕.รู้จักธรรมชาติ
    การรู้ธรรมชาติคือการรู้ธรรมชาติของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสรรพสิ่งที่ได้สังเกตุและเก็บรายละเอียด โดยเราจะต้องรู้ธรรมชาติของเหตุการณ์นั้นๆ ว่าธรรมชาติมักจะไปในทางใด
การหยั่งรู้เรื่องราวที่ยากแก่การคาดการณ์
    เสียวคัง กล่าวถึงวิธีทำความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ว่า " การดูเรื่องราวต่างๆ นั้นอย่าดูด้วยตา แต่จงดูด้วยใจ จากนั้นจึงใช้เหตุผลมาประกอบความรู้สึก ไม่ใช้ตัวเรามองดูสิ่งต่างๆ แต่ใช้สิ่งต่างๆมองดูสิ่งต่างๆ จากนั้นจึงเอาสิ่งต่างๆมาเชื่อมโยง จะค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง ก็จะเข้าใจในสิ่งนั้นๆ "
    ขงจื้อกล่าวว่า " เมื่อไม่เข้าใจในสิ่งใด จงสงบนิ่งไม่ไหวติง แล้วใช้ความรู้สึกไปรู้สึกถึงสิ่งนั้น ความรู้สึกจะก่อเกิดแรงดลใจทำให้เข้าใจสิ่งนั้น "
เมื่อเปรียบเทียบของเมธีตะวันออกแล้วจะใกล้เคียงกับพระอริยสัจ ๔.ในพระพุทธศาสนา การเข้าใจสิ่งต่างๆจะมีสิ่งที่เกิดและสิ่งที่ดับคือการมีที่มาที่ไปของสรรพสิ่ง การเข้าใจต้องใช้ความสงบและปัญญา เป็นสมาธิ ในการพิจารณาปัญหาเพื่อความหยั่งรูู้้
view