Full Version เปิดงานวิจัย อีซูซุ เจาะลึก-เจาะใจลูกค้ากับอนาคต ปิกอัพ ไทย

สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,สำนักงานบัญชี พี.เอ็ม.เอส.,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.,#สำนักงานบัญชี,#ผู้สอบบัญชี,#ผู้ทำบัญชี,#สำนักงานบัญชี,#ที่ปรึกษาบัญชี,#ที่ปรึกษาภาษี,#สอบบัญชี,#ผู้สอบบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#สำนักงานบัญชี > Article

เปิดงานวิจัย อีซูซุ เจาะลึก-เจาะใจลูกค้ากับอนาคต ปิกอัพ ไทย Date : 2010-07-30 00:04:48

จากประชาชาติธุรกิจ



เมื่อ เร็ว ๆ นี้บริษัท ตรีเพชร อีซูซุเซลส์ จำกัด ได้เปิดงานวิจัยที่เจาะลึกถึงพฤติกรรมของผู้ซื้อรถยนต์ทั้งที่เป็นรถเก๋งและ รถปิกอัพ รวมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มทิศทางตลาดรถปิกอัพหรือรถกระบะในอนาคตทั้งตลาดใน ประเทศและตลาดส่งออก

อีซูซุฟันธงว่าปีนี้ยอดขายรถยนต์รวมจะสูงสุดใน ประวัติศาสตร์คือ 725,000 คัน โดยคาดว่าจะเป็นรถปิกอัพ 311,750 คัน

ที่ มากไปกว่านั้นคาดการณ์ตลาดส่งออกรถปิกอัพไปถึงปี 2030 หรือ 2573 อีก 20 ปีข้างหน้าว่าประเทศไทยจะมีรายได้จากการส่งออกรถปิกอัพ 811,000 ล้านบาท

ทั้ง นี้งานวิจัยของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งงานวิจัยของอีซูซุเองได้อธิบายโครงสร้างตลาดรถยนต์ประเทศไทยว่า ณ ปีนี้ ประเทศไทยมีประชากร 66.9 ล้านคน อยู่ในกรุงเทพฯ 20% อยู่จังหวัดใหญ่ ๆ 20% และอีก 60% อยู่จังหวัดเล็ก ๆ

จากโครงสร้างคนเมื่อเทียบกับสัด ส่วนการมีรถยนต์ ปรากฏว่าในกรุงเทพฯ 100 คน มีรถ 26.7 คน (กรุงเทพฯมี 11.5 ล้านคน ในจำนวนนี้ 8.4 ล้านคนไม่มีรถ) ต่างจังหวัดที่เป็นเมืองใหญ่ ๆ 100 คน มีรถ 12.3 คน (จังหวัดขนาดใหญ่มี 12.5 ล้านคน ในจำนวนนี้ 11 ล้านคนไม่มีรถ) ส่วนต่างจังหวัดเล็ก ๆ 100 คน มีรถ 7.7 คน (จังหวัดเล็กมี 42.9 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 39.6 ล้านคนไม่มีรถ)

ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ จากรายได้ต่อคนเป็นดอลลาร์ ประเทศสเปน 25,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 45 คน อิตาลี รายได้ 30,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 55 คน ญี่ปุ่นรายได้ 35,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 45 คน

งานวิจัยระบุว่าคนกรุงเทพฯจะ ใกล้เคียงกับเกาหลีใต้ มีรายได้ 25,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 25 คน ขณะที่จังหวัดใหญ่ ๆ ของไทยจะใกล้เคียงกับอาร์เจนตินา, เม็กซิโกมีรายได้ประมาณ 10,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 10 คน ส่วนจังหวัดเล็ก ๆ ของไทยใกล้เคียงกับฟิลิปปินส์/อินโดนีเซีย/จีน มีรายได้ประมาณ 5,000-10,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 5 คน

งาน วิจัยสรุปว่าเมื่อคนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สัดส่วนคนมีรถใน 100 คนเพิ่มตามไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมของไทยก็ไปในทิศทางเดียวกัน งานวิจัยยังลงลึกไปรายจังหวัด เช่น สระบุรี มีรายได้ 250,000 บาทต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 15 คน ส่วนอุบลราชธานี เลย อุดรธานี จะน้อยลงตามรายได้ที่อยู่ในระดับ 100,000 บาทต่อคนต่อปี ใน 100 คนมีรถ 5 คน เป็นต้น




ถ้า ดูจากข้อมูล พบว่ายังมีจังหวัดเล็ก ๆ ที่ยังมีรายได้ไม่มาก แต่พอมีรายได้มากขึ้น สัดส่วนการซื้อรถปิกอัพจะเร็วกว่าการซื้อรถเก๋ง ทั้งนี้มาจากพฤติกรรมของลูกค้าที่ซื้อรถครั้งแรกจะซื้อรถปิกอัพ แต่ถ้ามีรถแล้ว ถ้าซื้อเพิ่มจะซื้อรถเก๋ง

จากจีดีพีประเทศไทย จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2538-2551 จีดีพีเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 4.1 ล้านล้านบาทเป็น 9.1 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันสัดส่วนภาคเกษตรรวมในจีดีพีของไทยก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นกัน จาก 11% มาเป็น 15%

ที่สำคัญคือประชากรไทย 60% อยู่ที่จังหวัดเล็ก ๆ และมีอาชีพทำการเกษตร กลุ่มนี้มีโอกาสที่จะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

และงานวิจัยระบุ ว่าอาชีพผู้ใช้รถปิกอัพของไทยได้แก่ เกษตรกร 40% ค้าขาย 16% อุตสาหกรรมการผลิต 14% บริการ 7% ก่อสร้าง 5% ขนส่ง 3% ข้าราชการ 3% การศึกษา 3%

โดยตลาดรถปิกอัพอยู่ในจังหวัดเล็ก ๆ ลูกค้าจะมีอาชีพค้าขาย/เกษตรกร ลักษณะการซื้อจะซื้อรถเป็นครั้งแรก (48%) ซื้อเพิ่ม (32%) ซื้อทดแทน (20%)

ขณะที่ผู้ใช้รถเก๋งหรือรถยนต์นั่ง จะเป็นคนเมือง/คนที่อยู่ในจังหวัดขนาดใหญ่ อาชีพเป็นพนักงานบริษัท/โรงงาน เจ้าของธุรกิจส่วนตัว และข้าราชการ ลักษณะการซื้อจะซื้อครั้งแรก (30%) ซื้อเพิ่ม (54%) ซื้อทดแทน (17%)

นี่คือข้อมูลที่ล้วงลึกถึงตลาดรถ ยนต์ในอนาคตว่ารถปิกอัพ/รถเก๋งอะไรจะเพิ่มขึ้นมากกว่ากัน !

นอกจาก นี้อีซูซุยังได้ทำวิจัยโดยสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศว่าใน 4 ปีนี้อยากซื้อรถอะไร พบว่าคนกรุงเทพฯอยากซื้อรถเก๋ง แต่คนที่อยู่ในจังหวัดเล็ก ๆ ที่ยังไม่มีรถ มีรถครั้งแรก อยากซื้อรถกระบะ 57% อยากซื้อรถเก๋ง 43% ทำให้อีซูซุมั่นใจว่าตลาด รถปิกอัพในระยะกลางในประเทศน่าจะมีแนวโน้มที่ดี




ขณะ ที่ตลาดส่งออก สถาบันวิจัยทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริการะบุว่า ในปีนี้ 2553 ประชากรโลกมี 6,800 ล้านคน ใน 20 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2573 หรือ ค.ศ. 2030 จะเพิ่มเป็น 8,000 ล้านคน และในปี ค.ศ. 2050 จะเพิ่มเป็น 9,000 ล้านคน โดยประชากรที่จะเพิ่มขึ้นมากในประเทศตะวันออกกลาง แอฟริกา อินเดีย ส่วนยุโรป ญี่ปุ่น น่าจะน้อยลง

แน่นอนว่าเมื่อคนเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารก็ต้องเพิ่มขึ้น สถาบันวิจัย MRI ของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่ามูลค่าสินค้าเกษตรในอนาคตจะเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับประชากรที่เพิ่มมากขึ้น MRI คาดว่าจำนวนเกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ราคาสินค้าเกษตรจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเกษตรกรมีประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น ดังนั้นรายได้ต่อคนของเกษตรกรในประเทศเศรษฐกิจใหม่จะเพิ่มมากขึ้น

MRI จึงคาดการณ์ว่าเมื่อประชากรมากขึ้น เกษตรกรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น รายได้มากขึ้น คนจะซื้อรถครั้งแรกมากขึ้น ประเทศที่คนมีรถน้อย เวลาซื้อครั้งแรกจะไม่ซื้อรถเก๋ง แต่จะซื้อรถเพื่อการพาณิชย์ที่ใช้งานได้

ตัวเลขที่ MRI คาดการณ์ว่าปัจจุบันตลาดปิกอัพโลกมี 1.75 ล้านคันในปี 2552 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 2.621 ล้านคันในปี 2558 หรือ ค.ศ. 2015 และปี 2573 หรือ ค.ศ. 2030 ยอดรถปิกอัพจะเพิ่มเป็น 4.686 ล้านคัน

ดังนั้นเมื่อ ตลาดรถปิกอัพโลกขยาย โอกาสที่เมืองไทยจะส่งออกรถปิกอัพมีมากขึ้น ณ ปี 2551 ประเทศไทยส่งออกรถปิกอัพ คิดเป็นมูลค่า 377,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2573 มูลค่าการส่งออก 811,000 ล้านบาท

งานวิจัย MRI ยังมองว่า เมื่ออนาคตตลาดรถปิกอัพในประเทศเศรษฐกิจใหม่ขยายมากขึ้น คนที่อยากจะผลิตก็มีมากขึ้นแน่นอน ปัจจุบันฐานการผลิตรถปิกอัพ ถ้าดูจากกราฟิกจะเห็นว่าปี 2552 ตลาดรถปิกอัพ 1.75 ล้านคัน ไทยมีส่วนแบ่งตลาดใหญ่สุด 31% รองลงมาเป็นบราซิล 14% และสหรัฐอเมริกา 13% แต่อนาคตใครจะเป็น คู่แข่งคนสำคัญ

ต่อประเด็นนี้นาย เอช. นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชร อีซูซุเซลส์ จำกัด กล่าวว่า คู่แข่งสำคัญของไทยคือ 1.ตุรกี เป็นหนึ่งในสมาชิกอียู ซึ่งมีสิทธิพิเศษทางภาษีในการส่งรถยนต์เข้าอียูและมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ระหว่าง 2 ทวีปคือยุโรปและเอเชีย (ปัจจุบันประเทศตุรกีได้นำเข้า CKD จากประเทศไทยเข้าไปประกอบรถปิกอัพอยู่แล้ว) ส่วน 2.บราซิล มีตลาดรถปิกอัพที่ใหญ่มาก

งานวิจัยชี้ว่าในปี 2541 ตอนนั้นไทยเป็นแค่ผู้ประกอบชิ้นส่วน มีการจ้างงานประมาณ 600,000 คน ปัจจุบันเมื่อไทยเปิดเสรีอุตสาหกรรมรถยนต์กลายเป็นฐานการผลิตสำหรับในประเทศ และต่างประเทศ มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านคน (รวมผู้ประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ 16 บริษัท มอเตอร์ไซค์ 7 บริษัท, ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ Tier 1 จำนวน 648 บริษัท และ Tier 2-3 อีก 1,641 บริษัท)

อย่างไรก็ตาม ถ้าดูย้อนหลังในปี 2543 ผลของนโยบายที่เปิดให้มีการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศและเป็นการส่งเสริม อุตสาหกรรมส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วน นำไปสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ครั้งใหญ่ในไทย นับแต่นั้นเป็นต้นมา นโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยได้มุ่งส่งเสริมการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติ เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก

วันนี้บริษัทรถยนต์ ยักษ์ใหญ่ต่างย้ายฐานการผลิตมาเมืองไทย และอนาคตอันใกล้ศูนย์วิจัยและพัฒนาก็จะตามมา

ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวการส่งออกตัวเลขเดือนมิถุนายน 2553 ยอดส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มูลค่า 18,039 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 46.3% มาจากสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ที่เพิ่มขึ้น 33.3% สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น 52.6%

ถ้าเจาะสินค้าอุตสาหกรรม ปรากฏว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกเพิ่มขึ้น 35.3% เครื่องใช้ไฟฟ้า 48% กลุ่มยานยนต์ 92.5% และอัญมณี 191.1%

วันนี้ "ส่งออก" คิดเป็น 70% ของจีดีพี คงถึงเวลาที่จะต้องทบทวนว่า "โปรดักต์แชมเปี้ยน" ของไทยควรเป็นสินค้าอะไรและต้องวางยุทธศาสตร์อย่างไรที่จะให้เป็นเสาหลักการ ส่งออก อย่างแท้จริง

จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามองว่าอนาคต ประเทศไทยจะคงความเป็น "ฐานผู้ผลิตปิกอัพ"ส่งออกของโลกได้หรือไม่ !


ความคิดเห็น