Full Version หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ

สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,สำนักงานบัญชี พี.เอ็ม.เอส.,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.,#สำนักงานบัญชี,#ผู้สอบบัญชี,#ผู้ทำบัญชี,#สำนักงานบัญชี,#ที่ปรึกษาบัญชี,#ที่ปรึกษาภาษี,#สอบบัญชี,#ผู้สอบบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#สำนักงานบัญชี > Article

หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ Date : 2008-09-22 20:28:32

หลักจรรยาบรรณ
Code of Ethics

Adopted by The IIA Board of Directors, June 17, 2000

บทนำ
    หลักจริยาบรรณของทางสถาบันนั้น บัญญัติขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการมีศีลธรรม จรรยาขึ้นในอาชีพการตรวจสอบภายในตรวจสอบภายในเป็นกิจกรรมอิสระและเป็นกลางในการให้คำปรึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการขององค์กร การตรวจสอบภายในยังช่วยผลักดัน ให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยนำการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบมาใช้ในการประเมินผล และการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุม และระบบธรรมาภิบาล (governance)
    หลักจรรยาบรรณนั้น ถือว่ามีความจำเป็นและเหมาะสมต่อวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ทั้งนี้เพราะอาชีพ ดังกล่าวนั้นตั้งอยู่บนรากฐานความไว้วางใจว่าสามารถจะสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารความเสี่ยง การควบคุมดูแล และระบบธรรมมาภิบาล หลักจรรยาบรรณของทางสถาบันนั้นมีความหมายครอบคลุม เกินกว่าเพียงแค่การตรวจสอบภายใน โดยได้รวมเอาองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ข้อดังต่อไปนี้ไว้ด้วย คือ
1. หลักการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับอาชีพ (profession) และภาระกิจ (practice) การตรวจสอบภายใน
2. ระเบียบปฏิบัติ (Rules of Conduct) ที่อธิบายถึงธรรมเนียมการประพฤติปฏิบัติตนที่คาดหวังให้นัก ตรวจสอบภายในทั้งหลายดำเนินรอยตาม โดยกฎระเบียบเหล่านี้ช่วยในการวางกรอบพื้นฐาน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ทั้งยังมุ่งให้เป็นแนวทางการประพฤติอย่างมีศีลธรรมจรรยา แก่เหล่านักตรวจสอบภายในด้วย

หลักจรรยาบรรณ, กรอบการปฏิบัติในทางวิชาชีพ (Professional Practices Framework) ของทางสถาบัน และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันนั้น ได้ให้แนวทางแก่เหล่าผู้ตรวจสอบใน ในการให้บริการตรวจสอบภายใน "ผู้ตรวจสอบภายใน" ในที่นี้นั้น หมายถึง สมาชิกของสถาบันผู้ตรวจสอบภายใน (IIA) ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร รับรองวิชาชีพแล้ว หรือ ผู้สมัครขอรับใบประกาศนียบัตรรับรองวิชาชีพและผู้ที่ให้บริการทางด้านการตรวจ สอบภายใน ที่เข้าข่ายตามคำจำกัดความของคำว่า "การตรวจสอบภายใน" ประโยชน์ และการบังคับใช้
หลักจรรยาบรรณเหล่านี้นั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับบุคคลและองค์กรที่ให้บริการด้านการตรวจสอบภายใน
สำหรับสมาชิกของสมาคม IIA, ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองวิชาชีพแล้ว หรือผู้สมัครขอรับใบประกาศนียบัตร รับรองวิชาชีพ ที่กระทำผิดต่อหลักจรรยาบรรณนั้นจะถูกดำเนินการ และควบคุมตามระเบียบข้อบังคับ และแนวทางการบริหารของสถาบัน การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดมิได้ระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติ  ก็็มิได้หมายความว่า การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ อาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย ดังนั้น เหล่าสมาชิกผู้ได้รับการรับรองแล้ว หรือผู้ที่สมัครขอรับการรับรองจากทางสถาบันจึงพึงปฏิบัติตนในทางที่สอดคล้องกับกฎระเบียบ

หลักการ
ผู้ตรวจสอบภายในพึงปฏิบัติตาม และรักษาไว้ในหลักการดังต่อไปนี้ :
- ซื่อสัตย์ (Integrity)
ความซื่อสัตย์ของเหล่าผู้ตรวจสอบภายในจะสร้างความน่าไว้วางใจให้เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การตัดสินของ ผู้ตรวจสอบนั้นมีความน่าเชื่อถือ
- เป็นกลาง (Objectivity)
ผู้ตรวจสอบภายในพึงแสดงความเป็นกลางทางอาชีพอย่างเต็มที่ ทั้งในการรวบรวม การประเมินผล และการ สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม หรือ กระบวนการที่ทำการตรวจสอบอยู่ ผู้ตรวจสอบภายในพึงทำการประเมินผล สถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และไม่ให้ผลประโยชน์ส่วนตัว หรือบุคคลผู้อื่นมามีอิทธิพลในทางมิชอบต่อ การตัดสินใจ
- เก็บความลับ (Confidentiality)
ผู้ตรวจสอบภายในพึงเคารพในคุณค่า และสิทธิถือครองข้อมูลที่ได้รับ ทั้งจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลโดยมิได้รับ อนุญาตจากผู้มีอำนาจก่อน เว้นเสียแต่ว่าจะทำหน้าที่ที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือพึงการทำตามสาขาอาชีพ
- มีคุณภาพ (Competency)
ผู้ตรวจสอบภายในพึงใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นให้เกิดผลสำเร็จต่อการตรวจสอบภายใน

ระเบียบปฏิบัติ

1. ซื่อสัตย์ (Integrity) ผู้ตรวจสอบภายใน :
1.1 ควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ มีความขยันหมั่นเพียร และรับผิดชอบ
1.2 ควรให้การเคารพกฎหมาย และความเปิดเผยสิ่งที่พึงเปิดเผย ภายใต้กรอบของกฎหมายและหน้าที่ในทาง สาขาอาชีพ
1.3 มิควรรู้เห็นเป็นใจโดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ผิดต่อกฎหมาย หรือกระทำการใด ๆ ที่จะนำมา
1.4 ควรให้การเคารพ รวมทั้งส่งเสริมเจตนารมย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และศีลธรรมขององค์กร
2. เป็นกลาง (Objectivity)
2.1 มิควรเข้าไปมีส่วนร่วม หรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรค หรืออาจถูกมองว่าเป็นอุปสรรค ต่อการประเมินผลที่เป็นธรรม การมีส่วนร่วมดังกล่าวยังรวมไปถึงกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ใด ๆ ที่ขัดต่อผล ประโยชน์ของทางองค์กรด้วย
2.2 มิควรยอมรับสิ่งใด ๆ ก็ตามที่อาจนำความเสื่อมเสีย หรืออาจถูกมองว่าจะนำความเสื่อมเสียมาสู่การตัดสินใจ ในทางอาชีพ
2.3 ควรเปิดเผยข้อเท็จจริงอันสำคัญทุกประการที่ทราบ หากปกปิดไว้อาจบิดเบือนการรายงานผลสิ่งที่ตรวจสอบ อยู่ได้หากมีการพิจารณาทบทวนเกิดขึ้น
3. เก็บความลับ (Confidentiality) ผู้ตรวจสอบภายใน :
3.1 ควรมีความสุขุมรอบคอบในการใช้ และการพิทักษ์รักษาข้อมูลที่ได้มาตามหน้าที่
3.2 มิควรใช้ข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว หรือในลักษณะที่อาจขัดต่อกฎหมาย หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ เจตนารมย์ที่ชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมของทางองค์กร
4. มีคุณภาพ (Competency) ผู้ตรวจสอบภายใน :
4.1 ควรเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่ตนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เท่านั้น         
4.2 ควรปฏิบัติหน้าที่การตรวจสอบภายในโดยสอดคล้องกับมาตรฐาน เพื่อการปฏิบัติในวิชาชีพการตรวจสอบภาย ใน (Standards for the Professional Practice of Internal Auditing)
4.3 ควรหมั่นพัฒนาความชำนาญ ความมีประสิทธิภาพ และคุณภาพในการทำงานให้ก้าวหน้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ความคิดเห็น