สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไฟแนนเชียลไทมส์ วิเคราะห์ น้ำท่วมไทย กระเทือนซัพพลายเชน ทั่วโลก (ตอน 2)

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หมายเหตุ บทความนี้เป็นบทความต่อจาก ′ไฟแนนเชียลไทมส์′ วิเคราะห์ "น้ำท่วมไทย"กระเทือนซัพพลายเชน"ทั่วโลก" (ตอน 1)


ไฟแนนเชียลไทมส์
ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมในประเทศไทยต่อระบบซัพพลายเชนโลก โดยเบน แบลนด์และโรบิน กว่อง สองผู้เขียนบทความ "ซัพพลายเชนหยุดชะงัก:  จุดหมายที่จมอยู่ใต้บาดาล" แผ่นดินไหวญี่ปุ่นและวิกฤติน้ำท่วมไทยกระเทือนชิ้นส่วนการผลิตทั่วโลก ("Supply chain disruption: sunken ambitions" Fallout from Japanese quake and Thai floods is causing global parts shortages) โดยชี้ว่า



หลัง ภัยพิบัติทั้งสองครั้งซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ และหลังจากที่ความกังวลถึงภาวะโลกร้อนซึ่งอาจนำมาสู่การเกิดภัยพิบัติทาง ธรรมชาติที่มีจำนวนถี่ขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติทั้งหลายต้องตกอยู่ในภาวะกดดันในการหาวิธี ใหม่ของการผลิตและจัดส่ง


สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ บริษัททั้งหลายควรจะต้องได้รับคำเตือนจากทางการอย่างน้อย24ชั่วโมงก่อนที่ น้ำจะมาถึง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ บริษัทจากประเทศญี่ปุ่นเหล่านี้ได้รับคำเตือนล่วงหน้าเพียง 2 หรือ 3 ชั่วโมงเท่านั้น นาย เซ็ทซุโอะ อิอุชิ ประธานของเจโทร ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนการค้าของโตเกียวกล่าว


บริษัทเหล่านั้น ทำอะไรไม่ได้มากนักแม้แต่จะเก็บเอกสารและคอมพิวเตอร์ให้พ้นน้ำ อย่าว่าแต่จะขนย้ายเครื่องจักรขนาดใหญ่ ที่ส่วนมากมักติดตั้งถาวรอยู่กับพื้น


นอกจากนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังไปไกลกว่านั้น บริษัทที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยตรงอย่าง "ฟอร์ด" บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน รวมทั้งบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ทั่วโลกต่างเสียหายจากการขาดชิ้นส่วนประกอบ ซึ่งล้วนผลิตขึ้นในไทย


เช่นเดียวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน ญี่ปุ่น อุทกภัยครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง อันเนื่องมาจากการตั้งโรงงานที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันไว้ในบริเวณเดียว กัน เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งและเอื้อให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกัน


การ เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ รวมไปถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆช่วยดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลง ทุนในไทย รวมทั้งช่วยยกระดับฐานะการเงินของประเทศให้กลายมาเป็นประเทศที่มีฐานะ ปานกลาง แต่เมื่ออุตสาหกรรมเหล่านั้นต้องประสบกับอุทกภัย มันก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อทั้งบริษัทและต่อความได้เปรียบ ดังกล่าวของไทย


"บริษัททั้งหลายจำต้องหันมาทบทวนโมเดลธุรกิจที่ เน้นการรวมศูนย์การผลิตเสียใหม่"ริชาร์ด ลิตเติ้ล นักวิชาการด้านการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิ ฟอร์เนียกล่าว "แม้ว่าการทำเช่นนั้นจะมีข้อดี แต่มันก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้แก่อุตสาหกรรมทั้งระบบ ถ้าโรงงานทั้งหมดของคุณตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เมื่อมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้น คุณจะเสียผลประโยชน์ทั้งหมดที่คุณได้จากการรวมศูนย์การผลิต"


ตอน นี้ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายรายได้ประมาณการไว้ว่า ยอดขายในไตรมาสที่ 4 จะถูกกระทบอันเนื่องมาจากการขาดแคลนส่วนประกอบ เอเซอร์ได้คาดว่าผลกำไรในไตรมาสที่ 3 จะลดลง 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และในขณะนี้ ราคาฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ได้เพิ่มสูงขึ้น 5-10 เปอร์เซ็นต์แล้ว


การ ฟื้นฟูอุตสาหกรรมรผลิตฮาร์ดไดรฟ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์รายใหญ่ ของโลกอย่างบริษัท"เวสเทิร์นดิจิตอล" เท่านั้น ทว่ายังต้องขึ้นอยู่กับบริษัทผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดไดรฟ์จากไต้หวันด้วย ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 2 แห่งของบริษัท Min Aik Technology ของไต้หวัน ได้สูญเงินกว่า 90 ล้านดอลลาร์เมื่อโรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมโรจนะ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถูกน้ำท่วม


เจ ที หว่าง ประธานของเอเซอร์ออกมาแสดงความกังวลว่า การตั้งโรงงานอยู่ในบริเวณเดียวกันทำให้ความเสี่ยงมีมากขึ้น "ระบบซัพพลายเชนควรจะต้องมีการกระจายตัวมากกว่านี้" เขากล่าว


โจ นาธาน กูเย็ตต์ รองประธานฝ่ายซัพพลายเชนของดีเคเอสเอชเห็นตรงกัน อุทกภัยที่เกิดในประเทศไทยและเหตุการณ์สึนามิในญึ่ปุ่นจะส่งผลให้การออกแบบ ระบบซัพพลายเชนต้องเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการบริหารความเสี่ยง ขณะเดียวกันการบริหารจัดการซัพพลายเชนก็ยังต้องคำนึงถึงความต้องการของ ลูกค้า ซัพพลายเออร์  และต้องเป็นไปตามข้อบังคับของรัฐบาลด้วย


นอกจากนี้ ผู้ผลิตก็ต้องตกอยู่ภายใต้ความกดดันในเรื่องลูกค้า คู่แข่ง และนักลงทุน โดยต้องประหยัดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด


และแม้ว่าบริษัทที่เสียหายเหล่านี้จะมีประกันภัยอยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรจะมารับประกันได้ว่า พวกเขาจะมีสินค้าป้อนสู่ตลาดหรือไม่


เช่น เดียวกับเหล่าบริษัทประกันภัยเอง ที่อาจยกเลิกการประกันภัยความเสี่ยงดังกล่าว หากพวกเขาไม่ได้เห็นแผนการป้องกันความเสี่ยงของน้ำท่วมจากรัฐบาล


บริษัท ผู้ผลิตจะลงทุนเพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วยตนเองหรือ ไม่?ลิตเติ้ลกล่าวว่า รัฐบาลไม่อาจบังคับให้บริษัทเหล่านี้ลงทุนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ เอง เนื่องจากบริษัททั้งหลายต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ การทำให้ผู้ถือหุ้นหันมาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองและลูกจ้างก็เป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ยาก "ระบบตลาดไม่เคยให้รางวัลแก่ผู้ที่ระแวดระวัง นักลงทุนจะไม่สนใจบริษัทที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง มิหนำซ้ำ พวกเขาจะลงโทษบริษัทพวกนั้นด้วยซ้ำ" ลิตเติ้ลกล่าว

 

 

(ที่มา:มติชนออนไลน์)

 


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ไฟแนนเชียลไทมส์ วิเคราะห์ น้ำท่วมไทย กระเทือน ซัพพลายเชนทั่วโลก

view