สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จับตา ศปภ.ผลาญเงินบริจาค 500 ล้าน สุขา-เต็นท์นอน กลิ่นทุจริตหึ่ง

จับตา ศปภ.ผลาญเงินบริจาค 500 ล้าน “สุขา-เต็นท์นอน” กลิ่นทุจริตหึ่ง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

สื่อหยิบรายละเอียดเงินบริจาค ศปภ.ชำแหละ พบรับเงินบริจาค 816 ล้าน ใช้ไป 507 ล้าน เหลือแค่ 371 ล้าน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซื้อเต็นท์นอนไม่มีชั้นความร้อน 2 ครั้ง พบส่วนต่างสูงถึง 800 กว่าบาท ขณะที่สุขากระดาษแพงกว่าของมูลนิธิซิเมนต์ไทยกว่าเท่าตัว จับตา ศปภ.อนุมัติซื้อหัวเชื้ออีเอ็มแก้น้ำเน่าเสียเพิ่ม
       
       วานนี้ (8 พ.ย.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สรุปรายละเอียดการใช้เงินรับบริจาคผ่านบัญชีเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปี 2554 ณ วันที่ 3 พ.ย.2554 มียอดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.-2 พ.ย.2554 รวมทั้งสิ้น 816,323,457.57 ล้านบาท เมื่อรวมกับยอดเงินบริจาคและดอกเบี้ยที่เหลืออยู่ก่อนหน้านี้อีก 60 กว่าล้านบาทแล้ว กองทุนมีเงินรวม 878,487,897.44 ล้านบาท
       
       ขณะที่รายจ่ายของกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.-3 พ.ย.2554 มีจำนวน 507,114,560 ล้านบาท จึงมียอดคงเหลือ 371,373,337.44 ล้านบาท โดยรายจ่ายสำคัญของกองทุน คือ การจัดหาถุงยังชีพ 3 รายการ วงเงินรวมกว่า 294.634 ล้านบาท ประกอบด้วยการจัดหาเครื่องอุปโภค และเครื่องใช้อื่นๆ ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จำนวน 173,124,560 ล้านบาท การจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคในการบรรจุร่วมกับสิ่งของบริจาคสำหรับสนับสนุน ภารกิจของ ศปภ.จำนวน 71,510,354.79 ล้านบาท และค่าจัดหาถุงยังชีพของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการถุงยังชีพ จำนวน 1 แสนถุงๆ ละ 500 บาท อีก 50 ล้านบาท
       
       สำหรับรายละเอียดการใช้เงินสำหรับจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคและ เครื่องใช้อื่นๆ ของ ปภ.จำนวน 173,124,560 บาท ประกอบด้วย 14 รายการ คือ
       
       1.เรือท้องแบนไฟเบอร์กลาส 30 ลำๆ ละ 250,000 บาท รวมเป็นเงิน 7.5 ล้านบาท
       2.เรือพาย 209 ลำๆ ละ 5,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,149,500 บาท
       3.ห้องสุขาเคลื่อนที่ ทำด้วยไฟเบอร์ 18 ห้องๆ ละ 32,000 บาท รวมเป็นเงิน 576,000 บาท
       4.ถุงยังชีพ 10,000 ถุงๆ ละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 5 ล้านบาท
       5.สุขากระดาษ 30,088 ชุดๆ ละ 245 บาท รวมเป็นเงิน 7,371,560 บาท
       6.ถุงยังชีพถุงละ 800 บาท 100,000 ถุง รวมเป็นเงิน 80 ล้านบาท
       7.เต็นท์นอน 2 คนแบบไม่มีชั้นความร้อน 2,700 หลังๆ ละ 925 บาท รวมเป็นเงิน 2,497,500 บาท
       8.เต็นท์นอน 2 คน แบบไม่มีชั้นความร้อน 1,200 หลังๆ ละ 1,750 บาท รวมเป็นเงิน 2,100,000 บาท
       9.เต็นท์นอน 2 คนแบบมีชั้นความร้อน 3,100 หลังๆ ละ 1,950 บาท รวมเป็นเงิน 6,045,000 บาท

       10.เต็นท์นอน 3 คน ทรงสูงแบบมีชั้นความร้อน 3,100 หลังๆ ละ 3,450 บาท รวมเป็นเงิน 4,485,000 บาท
       11.เต็นท์นอน 4 คน ทรงสูงแบบมีชั้นความร้อน 1,950 หลังๆ ละ 4,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,800,000 บาท
       12.เต็นท์ยกพื้นขนาดนอน 5-6 คน 200 หลังๆ ละ 55,000 บาท รวมเป็นเงิน 11 ล้านบาท
       13.สุขาเคลื่อนที่ 800 หลังๆ ละ 32,000 บาท รวมเป็นเงิน 25,600,000 บาท
       14.สุขามือถือพลาสติก 30,000 ชุดๆ ละ 400 บาท รวมเป็นเงิน 12 ล้านบาท
       
       ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า การใช้เงินบริจาคใน การจัดซื้อเต็นท์นอน 2 คน แบบไม่มีชั้นความร้อนในรายการที่ 7 และ 8 ซึ่งเป็นรายการเดียวกัน กลับมีราคาแตกต่างกันถึง 825 บาทต่อหลัง ขณะที่ ใน รายการที่ 5 การจัดซื้อสุขากระดาษ ที่ระบุว่า มีราคาชุดละ 245 บาท จากการตรวจสอบพบว่า เป็นการจัดซื้อที่แพงกว่าสุขากระดาษที่มูลนิธิซิเมนต์ไทย จัดทำสำหรับบริจาคให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัย มีราคาอยู่ที่ 111 บาทเท่านั้น ดังนั้นการจัดซื้อสุขากระดาษของ ปภ.ครั้งนี้ จึงมีราคาแพงกว่าของมูลนิธิซีเมนต์ไทยถึง 134 บาทต่อ 1 ชุด เมื่อคำนวณจากจำนวนที่ ปภ.จัดจัดซื้อทั้งหมด 30,088 ชุด จะมีราคาแพงกว่า 4,031,792 บาท


      
       นอกจากนี้ แหล่งข่าวจาก ศปภ.ยังเปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงกลาโหม แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียภายใน 15 วัน โดยกระทรวงกลาโหมได้มอบหมายให้ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมเป็นประธานในการดำเนินการ ในชั้นของการหารือผู้แทนกระทรวงทรัพยากรฯ จะขอใช้อีเอ็มที่ได้รับบริจาคมา แต่ทางกระทรวงกลาโหมไม่แน่ใจที่มาของเชื้อจุลินทรีย์ ว่าจะสามารถบำบัดน้ำเสียได้จริงหรือไม่ เนื่องจากจุลินทรีย์มีหลายประเภท และมีวิธีการทำแตกต่างกัน จึงเสนอให้แยกพื้นที่ในการบำบัด เพื่อวัดผลว่าการบำบัดได้ผลในพื้นที่ใดและไม่ได้ผลในพื้นที่ใดบ้าง
       
       แต่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะ ผอ.ศปภ.และกระทรวงทรัพยากรฯ ไม่เห็นด้วยกับการแยกดำเนินการ จุลินทรีย์ที่กระทรวงทรัพยากรฯ อ้างว่าได้มาจากการบริจาคนั้น หากต้องการปริมาณมากต้องสั่งซื้อเพื่อนำมาทำหัวเชื้อในราคาลิตรละ 3 บาท แต่หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่กระทรวงกลาโหมนำมาใช้นั้นมีราคาเพียงลิตรละ 80 สตางค์ และประชาชนสามารถนำเชื้อจุลินทรีย์ไปขยายหัวเชื้อต่อได้ โดยไม่ต้องเสียสตางค์ เนื่องจากหัวเชื้อ 1 ลิตร นำไปขยายหัวเชื้อได้จำนวนมาก

 


 

“ยงยุทธ” โบ้ย ศปภ.ซื้อส้วมกระดาษ แฉถุง 800 ฉาว ปภ. “เจ๋ง ดอกจิก” กำกับ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“ยงยุทธ” โบ้ย! ศปภ.จัดซื้อส้วมกระดาษฉาว ยันหากพบ ขรก.มท.เอี่ยวทุจริต จัดการทันที ยันตั้งคณะกรรมการสอบแล้ว รวมทั้งทุจริตถุงยังชีพด้วย คาดรู้ผลใน 3 วัน อ้างเลิกแบบ 300 และ 800 เหลือแค่ถุงยังชีพ 500 บาท แฉ! ถุง 800 ฉาวของ ปภ. “ทั่นเจ๋ง ดอกจิก” กำกับ
       
       นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีการทุจริตการจัดซื้อสุขากระดาษ ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า (ปภ.) ว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการหากินบนความทุกข์ของประชาชนที่ประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้ นอกจากเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแล้วยังถือว่าเป็นบาปอีกด้วย เรื่องการจัดซื้อเป็นหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ในการดำเนินการจัดซื้อ จะบอกว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยอย่างเดียวก็ไม่เชิง เรื่องนี้ใครทำอะไรก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เชื่อว่าในเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่สังคมคงรับไม่ได้อย่างยิ่ง และหากพบว่ามีข้าราชการในสังกัดของกระทรวงมหาดไทยเข้าไปเกี่ยวข้องตนก็จะ ดำเนินการอย่างเด็ดขาดไม่มีการประนีประนอม
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดซื้อถุงยังชีพคิดว่ามีราคาสูงเกินความจริงหรือไม่ นายยงยุทธกล่าวว่า เรื่องของราคาก็ต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของสิ่งของที่จะนำมาช่วยเหลือ ซึ่งมีราคาแตกต่างกันไป เช่น 300, 800 บาท เป็นต้น ในเรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ได้กำชับให้ดูแลในเรื่องของการให้การชดเชย และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยเป็นพิเศษ ซึ่งในการให้ความช่วยเหลือจะมากหรือน้อยนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ ประสบภัยว่าวิกฤตมากน้อยเพียงใด
       
       เมื่อถามว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจมีคนในรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง ว่า นายยงยุทธกล่าวว่า หากมองในแง่ดีก็ไม่น่าจะมี แต่รัฐบาลก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบแล้ว คาดว่าน่าจะทราบผลภายใน 3 วัน และเชื่อว่าเรื่องนี้ก็คงจะถูกนำมาเป็นประเด็นในการอภิปรายในสภาฯ ด้วย
       
       อ้างเลิกถุงยังชีพ 300-800 เหลือแค่ 500 บาท
       
       นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรับผิดชอบสิ่งของบริจาคของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ณ สนามศุภชลาศัย กล่าวชี้แจงกรณีเรื่องการจัดซื้อถุงยังชีพที่ราคาแพงเกินจริงว่า โดยหลักการในการจัดซื้อถุงยังชีพ มี 2 ส่วน คือ 1.ศปภ.นำของที่ได้รับบริจาคมาบรรจุภัณฑ์ และ 2.จัดซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคและบริโภคบรรจุถุงยังชีพแจกจ่ายประชาชน
       
       ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมไม่หนัก ทาง ศปภ.จัดซื้อถุงยังชีพในราคาถุงละ 300 บาท แต่ต่อมาสถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายๆ พื้นที่ทาง ศปภ.จำเป็นต้องจัดซื้อถุงยังชีพ ถุงละ 500 บาท ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ภายในประกอบด้วย อาหารที่ปรุงสำเร็จรูป ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยสามารถบริโภคได้ทันทีและประทังชีวิตได้หลายวัน
       
       แฉ! ถุง 800 บาทของกรม ปภ. “ทั่นเจ๋ง” กำกับ
       
       สำหรับการจัดซื้อถุงยังชีพ 800 บาทต่อถุง ทางกรมป้องและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีนโยบายจัดซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคบริโภคที่เน้นปริมาณและคุณภาพ ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่น้ำท่วมหนักสามารถประทังชีวิตอยู่ได้หลาย วันจึงทำให้ราคาแพง
       
       ผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากสื่อมวลชนบางแขนงนำถุงยังชีพที่ราคาต่ำ 300 บาทต่อถุง ซึ่งเป็นถุงยังชีพที่ ศปภ.ไม่ได้ผลิตมาเปรียบเทียบกับถุงยังชีพราคา 800 บาท ซึ่งมีปริมาณและคุณภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น ข้าวกระป๋องปรุงสำเร็จรูปที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้หลายวัน และจำนวนอาหารภายในถุงประชาชนเก็บไว้บริโภคอยู่ได้ถึง 10 วันเป็นอย่างน้อย
       
       นายจำเริญกล่าวอีกว่า การผลิตถุงยังชีพราคา 800 บาทต่อถุง จะมีการจัดซื้อเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินการและ ชี้แจง แต่สำหรับ ศปภ.ยังคงดำเนินการผลิตถุงยังชีพราคา 500 บาท เพิ่มเติมเพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยจะมีหน่วยงานเข้ามารับของบริจาค เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นต้น และทาง ศปภ.ได้ร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดหาข้าวถุงจำนวน 2 แสนถุง และกระทรวงสาธารณสุขจัดยาและเวชภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประสบอุทกภัย
       
       “ทั่นเจ๋ง” เคยกร่างคุม ปภ.
       
       รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับถุง 800 บาท และการจัดซื้อส้วมกระดาษ ที่กรมป้องและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ นายฐานิสร์ เทียนทอง รมช.มหาดไทย กำกับดูแล ก่อนหน้านั้นก็มีข่าวกร่างคับ ศปภ. นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก เลขานุการ รมช.มหาดไทย ประกาศลั่นใหญ่กว่าอธิบดี ปภ. โดยระบุว่า “ผมคุม ปภ. และใหญ่กว่าอธิบดี ปภ.”
       
       “กิตติรัตน์” ชี้ กยน.-กยอ.ต้องทำงานสัมพันธ์
       
       นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทย หรือ กยอ. ว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดจะต้องทำงานสัมพันธ์กัน และมีตัวบุคคลที่สอดคล้องกันอยู่ โดยจะมีการประชุมคณะทำงานภายใน 1-2 วันนี้ โดยเฉพาะชุดของ กยอ.ที่มี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน ส่วนอีกชุดหนึ่งคาดว่านายกรัฐมนตรีซึ่งได้ยกเลิกการเดินทางไปประชุมเอเปก จะเร่งหารือเรื่องดังกล่าวเร็วๆ นี้เช่นกัน
       
       นายกิตติรัตน์ยังระบุถึงการทำงานของคณะทำงานว่าจะมีการเชิญผู้เชี่ยว ชาญทั้งในไทยและต่างประเทศเข้ามาช่วยวางระบบ ส่วนเรื่องงบประมาณที่หลายฝ่ายกังวลนั้น มีหลายวิธีในการจัดหา เช่น กู้จากองค์กรต่างๆ สำหรับแนวทางการเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนนั้น เห็นว่าการลงมือทำทันที จะทำให้เห็นผลเร็วที่สุด

 


 

มวยล้ม! ฟันถุงยังชีพฉาว ไม่ชี้ใครผิดอ้างข้อมูลน้อย อุ้ม ศปภ.สินค้าในถุงราคาปกติ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ASTVผู้จัดการรายวัน - ถุงยังชีพฉาว! รอดยกแรก ผลสอบไม่ฟันธงใครผิด อ้างข้อมูลไม่พอ โยนฝ่ายค้านไม่มาให้ข้อมูล-เฟซบุ๊ก ยืนยันข้อเท็จจริงไม่ได้ แต่กลับอุ้มเจ้าหน้าที่สุดตัว วิธีการจัดซื้อและราคาสินค้าในถุงไม่พบผิดปกติ
        วันนี้ (9 พ.ย.) รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แจ้งว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการจัดซื้อถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ได้มีการประชุมร่วมกันหลายครั้ง รวมทั้งได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูล ซึ่งผลการตรวจสอบได้ข้อสรุปในเบื้องต้น พบว่า การจัดซื้อถุงยังชีพที่มีหลายราคา เนื่องจากมีการแบ่งระดับขนาดตามความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย หากเดือดร้อนมากก็จะได้รับถุงใหญ่ และลดหลั่นตามความจำเป็น ส่วนขั้นตอนการจัดซื้อ การบรรจุ และราคาสินค้าในถุง ไม่พบความผิดปกติ เพราะเมื่อนำราคา ปริมาณสินค้า มาเปรียบเทียบกับราคากลางของกรมการค้าภายในพบว่ามีราคาใกล้เคียงกัน
       
       ทั้งนี้ การตรวจสอบมีข้อจำกัด เนื่องจากการเชิญผู้เกี่ยวในส่วนของ นายสกลธี ภัททิยกุล รองโฆษก ปชป.มาให้ข้อมูลสิ่งของที่บรรจุในถุง รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและรายชื่อผู้ได้รับถุงยังชีพเพื่อไปตรวจเชิงลึก แต่ไม่ได้มาให้ข้อมูล ขณะที่การเชิญสื่อมวลชน ก็ได้เพียงแค่ข้อมูลในการเสนอข่าว ส่วนข้อมูลเฟซบุ๊ก ได้ตรวจสอบหาต้นตอและหาข้อมูลมายืนยันข้อเท็จจริง ก็ยังไม่ชัดเจน
       
       “ผลการสอบเบื้องต้นจึงสรุปไม่ได้ชัดเจน เพราะต้องรอการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก แต่ประเด็นที่ปรากฏในเฟซบุ๊ก น่าจะเป็นเรื่องความแตกต่างกันของราคาถุงยังชีพเท่านั้น โดยขณะนี้คณะกรรมการ ได้เสนอผลการตรวจสอบทั้งหมดให้พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศปภ.รับทราบแล้ว ในวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง นายประชา ยืนยันว่า ต้องการตรวจสอบถึงที่สุดเพื่อไม่ให้ใครหากินบนความเดือดร้อนของชาวบ้าน” รายงานข่าว ระบุ

 


 

'ยงยุทธ'แจงซื้อส้วมกระดาษแพงหน้าที่ศปภ.ไม่ใช่มท.โดยตรง


 

ผลสอบซื้อถุงบริจาค"ไม่พบผิด"

จาก โพสต์ทูเดย์

ผลสอบจัดซื้อถุงยังชีพ ศปภ.เบื้องต้นเหลว กก.สอบระบุไม่พบผิดปกติหลังนำราคา-ปริมาณสินค้ามาเปรียบเทียบแล้ว

รายงานข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการจัดซื้อถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเปิดเผยว่า ผลการตรวจสอบได้ข้อสรุปว่าการจัดซื้อถุงยังชีพที่มีหลายราคาแบ่งระดับขนาด ตามความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย ส่วนขั้นตอนการจัดซื้อ การบรรจุ และราคาสินค้าในถุง ไม่พบความผิดปกติ เพราะเมื่อนำราคา ปริมาณสินค้า มาเปรียบเทียบกับราคากลางของกรมการค้าภายในพบว่า มีราคาใกล้เคียงกัน แต่การตรวจสอบมีข้อจำกัด ทำให้ผลการสอบเบื้องต้นจึงสรุปไม่ได้ชัดเจน ต้องรอการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกจึงเสนอผลการตรวจสอบทั้งหมดให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศปภ.รับทราบแล้ว ซึ่งพล.ต.อ.ประชายืนยันว่า ต้องการตรวจสอบถึงที่สุดเพื่อไม่ให้ใครหากินบนความเดือดร้อนของชาวบ้าน 


รัฐแจงซื้อถุงยังชีพโปร่งใส

จาก โพสต์ทูเดย์

"จำเริญ" แจงศปภ.ซื้อถุงยังชีพถุงละ500โปร่งใส ของมีคุณภาพ ใช้ประทังชีวิตได้อย่างต่ำ 10 วัน

นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรับผิดชอบสิ่งของบริจาคของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ณ สนามศุภชลาศัย  กล่าวชี้แจงกรณีเรื่องการจัดซื้อถุงยังชีพที่ราคาแพงเกินจริง ว่า โดยหลักการในการจัดซื้อถุงยังชีพ มี 2 ส่วน คือ 1.ศปภ. นำของที่ได้รับบริจาคมาบรรจุภัณฑ์ และ 2.จัดซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคและบริโภคบรรจุถุงยังชีพแจกจ่ายประชาชน

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมไม่หนักทางศปภ.จัดซื้อถุงยังชีพใน ราคาถุงละ 300 บาท  แต่ต่อมาสถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายๆ พื้นที่ทางศปภ.จำเป็นต้องจัดซื้อถุงยังชีพ ถุงละ 500 บาท ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ภายในประกอบด้วย อาหารที่ปรุงสำเร็จรูป ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยสามารถบริโภคได้ทันทีและประทังชีวิตได้หลายวัน

สำหรับการจัดซื้อถุงยังชีพ 800 บาทต่อถุง ทางกรมป้องและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีนโยบายจัดซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคบริโภคที่เน้นปริมาณและคุณภาพ ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่น้ำท่วมหนักสามารถประทังชีวิตอยู่ได้หลาย วัน
จึงทำให้ราคาแพง

ผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนที่คลาดเคลื่อนเนื่องจากสื่อมวลชนบาง แขนงนำถุงยังชีพที่ราคาต่ำ
300 บาทต่อถุง ซึ่งเป็นถุงยังชีพที่ศปภ.ไม่ได้ผลิตมาเปรียบเทียบกับถุงยังชีพราคา 800 บาท ซึ่งมีปริมาณและคุณภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น ข้าวกระป๋องปรุงสำเร็จรูปที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้หลายวันและจำนวนอาหาร ภายในถุงประชาชนเก็บไว้บริโภคอยู่ได้ถึง 10 วันเป็นอย่างน้อย

นายจำเริญ กล่าวอีกว่า การผลิตถุงยังชีพราคา 800m บาทต่อถุง จะมีการจัดซื้อเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินการและ ชี้แจง แต่สำหรับศปภ.ยังคงดำเนินการผลิตถุงยังชีพราคา 500 บาท เพิ่มเติมเพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยจะมีหน่วยงานเข้ามารับของบริจาค เช่นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นต้น และทางศปภ.ได้ร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดหาข้าวถุงจำนวน 2 แสนถุงและกระทรวงสาธารณสุขจัดยาและเวชภัณฑ์  เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประสบอุทกภัย


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : จับตา ศปภ. ผลาญเงินบริจาค สุขา-เต็นท์นอน กลิ่นทุจริตหึ่ง

view