สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิวาทะ ธีระชัย-กิตติรัตน์ ซุกหนี้-ไม่ซุกหนี้

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วิวาทะ"ธีระชัย-กิตติรัตน์"พ.ร.ก.เงินกู้ 4 ฉบับ จำเป็นหรือไม่จำเป็น-ซุกหนี้หรือไม่ซุกหนี้ ดูกันชัดๆ ซัดกันเต็มๆ
หลังจาก ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค  เมื่อ 23 มกราคม ที่ผ่านมา ระบุว่า พระราชกำหนด 4 ฉบับที่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 4 ม.ค.และวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา

โดยแจ้งว่าขณะนี้อัตราส่วนหนี้ต่องบประมาณในปี 2555 อยู่ที่ะ 12% ใกล้เต็มเพดานที่กำหนดไว้ต้องไม่เกิน 15%ของงบประมาณ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อไม่ให้ภาระดอกเบี้ยของหนี้กองทุนฟื้นฟู เป็นภาระแก่งบประมาณต่อไป มิฉะนั้นจะไม่มีช่องว่างพอเพียง ที่รัฐบาลจะกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อใช้บริหารจัดการน้ำ

ธีระชัย ระบุว่า ข้อมูลที่ กิตติรัตน์ นำมาชี้แจงต่อครม.นั้นเป็นข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่คำนวณโดยใช้ตัวเลขจากประมาณการเศรษฐกิจ แต่ก่อนที่เขาจะพ้นตำแหน่งเพียงหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังได้นำข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะมาแจ้งให้ทราบว่า ในปีงบประมาณ 2555 นั้น อัตราส่วนหนี้ต่องบอยู่ที่ 9.33% ไม่ใช่ 12% ตามที่ กิตติรัตน์ แจ้งต่อครม.

ธีระชัย บอกว่า เมื่อรู้ข้อมูลแล้ว เขาตกใจมากเพราะทำให้เหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนในการที่จะต้องออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกำหนดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แต่เนื่องจากการทำงานสศช.ขึ้นกับรองนายก ไม่ได้ขึ้นกับกระทรวงการคลัง จึงยังไม่สามารถสาเหตุได้ว่าทำไมตัวเลขของสองหน่วยงานจึงได้แตกต่างกันมากเช่นนี้ แต่เขาก็พ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ล่าสุด กิตติ ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุที่ภาระหนี้ต่องบประมาณในปี 2555 ลดลงจาก 11.5% อยู่ที่ระดับ 9.33% เพราะรัฐบาลออกพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อโอนภาระการชำหนี้กองทุนฟื้นฟูทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บริหาร แต่หากไม่โอนกระทรวงการคลังก็จะมีภาระดอกเบี้ยกว่า 6 หมื่นล้านบาทอยู่ ทำให้สัดส่วน

กิติรัตน์ยังบอกด้วยว่าว่า การที่ ธีระชัย โพสต์ข้อความเช่นนั้นเพราะไม่เข้าใจ  ซึ่งเขาเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมนายธีระชัยจึงไม่เข้าใจในส่วนนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง แต่ยอมรับว่าอาจเป็นเพราะไม่ได้สื่อสารกัน แต่เขาเองก็คาดหวังว่ารัฐมนตรีที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง น่าจะทำความเข้าใจส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ เพื่อที่จะสามารถอธิบายให้ตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรีเข้าใจได้ด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เขาก็ไม่ได้ต้องการให้ใครจะมาอธิบาย เพราะพยายามทำการบ้านด้วยตัวเอง ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องกลายเป็นฝ่ายที่ต้องอธิบายให้คนอื่นเข้าใจอีก

ส่วนกรณี ธีระชัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คว่ารัฐบาลออกพระราชกำหนด 4 ฉบับ อ้างเหตุผลจำเป็นเร่งด่วนโดยระบุว่าหนี้สาธารณะต่องบประมาณอยู่ที่ 12% ในขณะที่ตัวเลขจริงในปีงบประมาณ 2555 อยู่ที่ 9.33% อาจทำให้พรก.4ฉบับขัดรัฐธรรมนูญนั้น สาเหตุที่ตัวเลขหนี้สูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการจัดทำงบประมาณใช้สมมติฐานบนกรอบภาระหนี้สูง ซึ่งรัฐบาลมียอดหนี้สาธารณะคงค้างที่เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยที่ 4.2 ล้านล้านบาท

พร้อมกับยืนยันว่า การโอนหนี้ดังกล่าวไม่ใช่การซุกหนี้ เพราะรู้ว่าหนี้จำนวนนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งรัฐบาลก็พยายามชี้แจงว่าหนี้ก้อนนี้อยู่ตรงไหนและมีการจัดการอย่างไร

กิตติรัตน์ ยังบอกถึงการจัดทำงบประมาณประจำปี 2556 ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดให้ทำให้เสร็จภายในเดือนมกราคมนี้ว่า เบื้องต้นจะมีการหารือกับ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในระหว่างการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งนายอาคมมีกำหนดที่จะร่วมเดินทางไปด้วย

โดยงบประมาณปี 2556 นั้น ยังคงต้องตั้งงบขาดดุลไว้ในระดับใกล้เคียงหรือต่ำกว่า 3.5 แสนล้านบาท แต่ต้องไม่รวมกับภาระหนี้เงินคงคลัง เพื่อให้เป็นงบประมาณสมดุล ในปี 2559 ตามกรอบเดิมที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณได้วางไว้

ขณะที่รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า หลังจาก กิตติรัตน์ทราบว่า ธีระชัย โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊ค กิตติรัตน์ได้สั่งให้สศช. ชี้แจงข้อเท็จจริงทันที ซึ่งสศช.ยืนยันว่าตัวเลขหนี้ต่องบประมาณที่สศช.นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น เป็นข้อมูลที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจ้งต่อที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2554 ในช่วงที่กระทรวงการคลังได้เสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2551 ครั้งที่ 1 ให้ครม.เห็นชอบ

โดยวาระที่เสนอให้ครม.พิจารณาครั้งนั้น ธีระชัย ก็เป็นผู้ลงนามในเอกสารด้วยตัวเอง และระบุไว้ชัดเจนว่ากระทรวงการคลัง คาดการณ์สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในปี 2555 จะอยู่ที่ 11.5% ปี 2556 ที่ระดับ 12.4% ปี 2557 ที่ระดับ 12.9% ปี 2558 ที่ระดับ 13.2% และปี 2559 ที่ระดับ 13.4% โดยในปี 2555 งบชำระเงินต้นคิดเป็น 3.0% ของงบประมาณรายจ่าย และปี 2556-2559 งบชำระเงินต้นคิดเป็น 3.5% ของงบประมาณรายจ่าย

ส่วนตัวเลขหนี้ต่องบประมาณที่ลดลงนั้น เพราะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 สภาผู้แทนราษฎรได้ปรับลดงบประมาณชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยลง เพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลงจาก 11.5%เหลือ 9.33%  แต่การประชุมครม.เพื่อพิจารณาเรื่องพระราชกำหนดกู้เงินนั้นมีขึ้นในวันที่ 4 ม.ค. 2555 ก่อนที่สภาจะให้ความเห็นชอบพ.ร.บ.งบฯปี 2555 ในวันที่ 7 ม.ค. 2555 นตัวเลขที่สศช.ใช้ชี้แจงต่อครม.จึงยังไม่ได้ปรับเปลี่ยน

แหล่งข่าว บอกด้วยว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดนายธีระชัยจึงโพสต์ข้อความเรื่องนี้ เพราะ ธีระชัย เองก็เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบฯปี 2555 จึงน่าจะทราบข้อมูลดีว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่องบประมาณที่ลดลงเพราะเหตุใด และที่สำคัญในระหว่างที่ครม.พิจารณาพรก.เงินกู้ นายธีระชัยก็ไม่เคยแจ้งให้ครม.รับทราบเรื่องนี้ แต่หลังถูกปรับออกจากตำแหน่งแล้วกลับมาโพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊ค


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : วิวาทะ ธีระชัย กิตติรัตน์ ซุกหนี้ ไม่ซุกหนี้

view