สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เปิดแผนการเงินแบงก์ชาติ ผลกระทบ 4 พ.ร.ก.ต่อ สถาบันการเงิน

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หมายเหตุ - นาย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงถึงแผนงาน ธปท.เกี่ยวกับนโยบายการเงินในปี 2555 เพื่อเดินหน้าสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจ รองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

นโยบายการเงินในปี 2555 ธปท.จะเน้นการดูแลรักษาเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับวัฏจักรโลก จากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกันที่แรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยน้อย ลงเมื่อเทียบกับปี 2554 ดังนั้นแนวนโยบายการเงินของ ธปท.ก็จะเน้นทำให้ธุรกิจไทยเติบโตและรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้

"เมื่อ มองไปข้างหน้าหนทางสู่อนาคตไม่ได้เป็นถนนที่ราบเรียบ ระหว่างทางยังเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง ทั้งสิ่งกีดขวางเดิมๆ ที่ไม่เคยออกพ้นจากเส้นทาง และสิ่งกีดขวางใหม่ๆ ที่เติมเข้ามาเพิ่มอุปสรรคให้กับเศรษฐกิจไทยมากขึ้น"

สำหรับการ ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน จะบริหารอัตราแลกเปลี่ยน โดยยึดหลักการให้ค่าเงินปรับเปลี่ยนได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพราะการ ดำเนินนโยบายของ ธปท.เองก็มีข้อจำกัด ซึ่งทุกครั้งที่แทรกแซงจะเกิดผลข้างเคียงตามมา ขณะนี้แนวโน้มชัดเจนว่าเศรษฐกิจประเทศในเอเชียจะขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจของ สหรัฐอเมริกาและยุโรป หากอุตสาหกรรมไทยต้องเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง จะอาศัยเพียงค่าเงินบาทอ่อนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันด้วย

"หากเป็นไป ได้เราจะลดการแทรกแซง จะเข้าไปดูแลค่าเงินเท่าที่จำเป็นเพราะหากไม่ดูแลเลยก็จะเกิดผลข้างเคียง มากกว่า เพราะความสามารถด้านการแข่งขันส่งออกไทยลดลง แต่ก็อยากเห็นธุรกิจพัฒนาในระยะยาวมากกว่าว่าอุตสาหกรรมส่งออกของไทยจะเข้ม แข็งไม่ได้หากยังอาศัยการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐต่อไป ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อการแข่งขัน เพราะการขายของถูกไม่ได้ทำให้ธุรกิจปรับตัวได้ กลับกันเป็นผลเสียต่อประเทศมากกว่า ขณะนี้ลาว พม่า เวียดนามได้เข้ามาแข่งขันในตลาดเดียวกับไทย ดังนั้น ธปท.จะทำให้บาทอ่อนตลอดชีวิตคงไม่ได้"

แนวนโยบายที่ตั้งใจจะดำเนิน การในปีนี้จะเป็นการสานต่อปณิธานจุดยืนของ ธปท.ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 70 ปีที่ผ่านมาที่หวังจะเห็นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง และประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน แม้ขณะนี้ดูเหมือนปัญหาต่างๆ จะประดังเข้าใกล้ตัวมากขึ้น แต่ความท้าทายโดยรวมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่ควรจะเปลี่ยนแปลง คือ จะนิ่งอยู่เฉยไม่ได้ เพราะการนิ่งอยู่เฉยท่ามกลางกระแสการแข่งขันอาจทำให้เราตกขบวนรถไฟได้

ดัง นั้นทุกภาคส่วนควรเร่งปรับตัวมุ่งไปข้างหน้าแสวงหาการพัฒนา และเตรียมรองรับกับความผันผวนที่จะเข้ามาปะทะในอนาคต ธปท.เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่มีการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ และพร้อมยื่นมือประสานทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตตามศักยภาพ อย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ธปท.เตรียมผลักดัน "แผนแม่บทการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายและเงินตราต่างประเทศ" เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับคนไทยในการลงทุนในต่างประเทศเรื่องต้นทุนที่ถูกลง และเสริมความยืดหยุ่นให้กับระบบเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาตลาดการเงิน เช่น การขยายประเภทนักลงทุนและวงเงินลงทุน การลดขั้นตอนและกฎระเบียบ ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

"ธปท.ได้เตรียม กลไก หรือ Valve เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งระดับความเข้มงวดจะแตกต่างกันตามสถานการณ์ ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำแผนแม่บทการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายฯ อยู่ระหว่างการจัดทำประชาพิจารณ์ (Public hearing) เพื่อรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง"



ผลกระทบ"4พ.ร.ก."

ต่อ"สถาบันการเงิน"


หมายเหตุ - คำแถลงส่วนหนึ่งของนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ถึงผลกระทบพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การเงิน 4 ฉบับต่อสถาบันการเงิน

หาก พิจารณารายละเอียดของ พ.ร.ก.ที่ออกมาก็จะเห็นว่าเป็นผลจากการหารือร่วมกับระหว่าง ธปท.กับรัฐบาล โดยในวันที่ 31 มกราคมจะมีการประชุมผ่านระบบวิดีโอร่วมกับธนาคารพาณิชย์ จากนั้นจะนำเสนอแผนที่จะไม่เป็นการสร้างภาระมากเกินไปให้กับธนาคารพาณิชย์ และไม่กระทบต่อความเข้มแข็งของระบบสถาบันการเงินต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอยู่ระหว่างนัดตารางเวลา

"ความจริงเรื่องนี้มีพัฒนาการเปลี่ยน แปลงไปตามลำดับ มีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำถึง 3 ครั้งจากแรกๆ ที่ทราบข่าวช่วงปีใหม่รู้สึกเป็นห่วงมาก เพราะเป็นการโอนหนี้มาให้ ธปท. ซึ่งจะเกิดการพิมพ์เงินจากธนาคารกลางมาเพื่อไปลดหนี้สาธารณะ จึงได้แสดงความคิดเห็นออกไป จนล่าสุดจะไม่ใช้การพิมพ์เงินเพื่อลดหนี้ แต่จะเป็นการใช้เงินในระบบ โดยจะมาจากเงินนำส่งของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องบริหารจัดการให้ดีและรอบคอบ ซึ่งภาระของธนาคารอาจจะเพิ่มขึ้นบ้าง แต่จะไม่มากนัก ซึ่งหากสามารถชำระดอกเบี้ยแต่ละปีได้พอและลดเงินต้นลงได้บางส่วน ก็จะสามารถบริหารจัดการได้ภายใน 25 ปี โดยช่วง 5-10 ปีแรกจะเห็นเงินต้นลดลงอย่างเป็นนัยสำคัญ

การโอนภาระดอกเบี้ยเงิน กู้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาให้ ธปท.บริหารจัดการนั้นถือว่าอยู่ในวิสัยที่จะบริหารจัดการได้ โดยภาระดอกเบี้ยในปีต้นๆ ค่อนข้างสูง เนื่องจากพันธบัตรที่ออกมาแรกๆ ดอกเบี้ยอยู่ในอัตราสูง ประมาณ 6% แต่ก็จะมีพันธบัตรที่จะครบกำหนดการชำระหนี้ในปีนี้ถึงประมาณ 3 แสนล้านบาท หากมีการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่จะทำให้ภาระดอกเบี้ยลดลงได้ในอนาคต เมื่อภาระดอกเบี้ยยังสูงก็จะใช้การชำระหนี้จากเงินนำส่งของธนาคารพาณิชย์ อีกส่วนจะมาจากการบริหารสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งแต่ละช่วงเวลาจะมีเงินสดเข้ามาเป็นรายได้ เมื่อสมทบกับเงินนำส่งของธนาคารพาณิชย์ก็น่าจะพอในการชำระดอกเบี้ยในช่วง ต้นๆ ได้

ได้สร้างความเข้าใจตรงกันกับธนาคารพาณิชย์แล้วว่าไม่เคยคิด ว่าสถาบันการเงินจะเป็นผู้ก่อปัญหาในปี 2540 แล้วต้องมารับภาระที่เกิดขึ้น แผนการบริหารจัดการชำระหนี้จึงเป็นว่า บางส่วนจะมาจากเงินสมทบของธนาคารพาณิชย์และจะมีเงินสมทบจากผลประโยชน์ ประจำปีของทุนสำรองเงินตรา และผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯเอง และบางส่วนจะมาจากเงินนำส่งของ ธปท. ไม่ได้เป็นภาระกับธนาคารพาณิชย์เพียงอย่างเดียว เพราะธนาคารพาณิชย์ยังได้ประโยชน์จากปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ด้วย

ส่วนแนวทางที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจการกำกับดูแลของ ธปท.คือการทำธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (เอสเอฟไอ) ที่มีกฎเกณฑ์การทำธุรกิจต่างไปจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอาจจะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันและบิดเบือนกลไกตลาดไปบ้าง ซึ่งได้รายงานกระทรวงการคลังไปแล้ว และจะหารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่าจะมีแนวทางใดที่จะรักษาสมดุลให้มากขึ้น ได้หรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่ทางกระทรวงการคลังจะดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่า นั้นทำธุรกิจที่ต่างไปจากธนาคารพาณิชย์ อาจจะมีการกำกับดูแลจาก ธปท.น้อยลง แต่หากมีการแข่งขันภายใต้บริบทเดียวกัน สถาบันการเงินเหล่านั้นต้องมาอยู่บนพื้นฐานระนาบเดียวกันด้วย

ธนาคาร กลางกับรัฐบาลจะเห็นไม่ตรงกันในเรื่องหนี้สาธารณะกับการพิมพ์เงินถือเป็น เรื่องปกติ เพราะหากจะมองในอดีต อย่างกรณีของละตินอเมริกาก็จะเห็นว่าเลือกพิมพ์เงินและทำให้เกิดปัญหามากมาย ตามมา หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเองก็เคยเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือ การทำความเข้าใจว่าประเทศจะดีได้อย่างไร จะอาศัยความร่วมมือกับ ธปท.อย่างเดียวไม่ได้ เพราะมีเครื่องทางการเงินจำกัดเพียงดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนและสถาบันการเงินเท่านั้น ขณะที่เครื่องมือทางการเงินมากมายยังอยู่ในหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงรัฐบาลด้วย

"จาก ประสบการณ์ทำงานในเรื่องนี้ 2 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่าแรกๆ เป็นห่วงมาก จึงได้พยายามอธิบายว่ามีผลลัพธ์อย่างไร ไม่ใช่ไม่พอใจ แต่จากช่วงแรกจนกระทั่ง พ.ร.ก.มีผลบังคับใช้ได้ก้าวผ่านการพิมพ์เงินไปใช้หนี้สาธารณะมาได้ แต่แนวทางใหม่ก็จะไม่สร้างภาระให้กับธนาคารพาณิชย์เกินไป เพื่อจะได้ดูแลภาระหนี้ก้อนหนี้ โดยจะไม่ไปเป็นภาระในการตัดสินใจในนโยบายการเงิน ขณะนี้ ธปท.มีหนี้มากกว่า 4 ล้านล้านบาท เป็นพันธบัตรในการรับซื้อดอลลาร์เข้ามา เป็นภาระเกิดขึ้นตั้งแต่ดอกเบี้ย 2% แต่หากกลัวว่าการดำเนินนโยบายการเงินจะสร้างภาระหนี้เพิ่มเติมให้กับ ธปท. ก็จะไม่เห็นว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาอย่างต่อเนื่องจนถึง 3.5% เพราะทุกครั้งที่ขึ้นดอกเบี้ย หมายถึงภาระดอกเบี้ยจ่ายจะเพิ่มขึ้นทันที เรามีภาระหนี้อยู่แล้วถึง 4 ล้านล้านบาท จะไปหวั่นไหวอะไรกับหนี้เพียง 1.14 ล้านล้านบาท"


(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 28 มกราคม 2555)


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ประสาร ไตรรัตน์วรกุล แผนการเงิน แบงก์ชาติ ผลกระทบ 4 พ.ร.ก. สถาบันการเงิน

view