สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชำแหละพรก. ขัดรธน.-สั่นคลอนเศรษฐกิจ

จาก โพสต์ทูเดย์

กลุ่มสว.ชำแหละการออกพ.ร.ก.บริหารหนี้กองทุนฟื้นฟูขัดรัฐธรรมนูญ-สั่นคลอนเศรษฐกิจ พร้อมยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

นายคำนูณ สิทธิสมาน สว.สรรหา ได้นำรายชื่อสว.จำนวน 68 คนเข้ายื่นคำร้องต่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า การตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.หากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้างและซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานด้าน สาธารณูปโภคอย่างเร่งด่วน ก็ไม่ควรปล่อยให้มีการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงคมนาคม เป็นจำนวนเงินประมาณ 7.8 หมื่นล้านบาท ในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2555 แล้วจึงนำมาดำเนินการตราพ.ร.ก.ฉบับนี้ โดยกล่าวอ้างว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้สาธารณะเฉพาะ ดังกล่าว เพื่อให้มีงบประมาณรายจ่ายในการบูรณะ ฟื้นฟู และพัฒนาประเทศ จากการเกิดปัญหาอุทกภัยแทนเช่นนี้

2.ปัจจุบัน ครม.มีวงเงินงบประมาณในการดำเนินกิจการหรือโครงการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาการ เกิดอุทกภัยได้อยู่แล้ว หรือ ดำเนินการไปพลางก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้

(1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2555 จำนวน 2.38 ล้านล้านบาท เป็นงบกลางจำนวน 1.2 แสนล้านบาทและในส่วนของเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 6.6 หมื่นล้านบาท และงบประมาณตามแผนจัดการทรัพยากรน้ำ และฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติ แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และแผนงานที่เกี่ยวข้องในงบประมาณรายจ่ายของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ อีกเป็นเงินจำนวนมาก

(2) งบประมาณในส่วนที่ครม.จะได้จากการตราพ.ร.ก.ฉบับอื่นๆอีกจำนวน 3 ฉบับ อันประกอบด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนวางระบบบริหารจัดการน้ำและ สร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ซึ่งมีการจัดตั้งกองทุนสร้างอนาคตประเทศ เป็นจำนวนเงิน 3.5 แสนล้านบาท พ.ร.ก.กำหนดกองทุนประกันภัย พ.ศ.2555 ซึ่งมีการจัดตั้งกองทุนรับประกันต่อ เป็นจำนวนเงิน 5 หมื่นล้านบาท และ พ.ร.ก.กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา น้ำท่วมพ.ศ.2555 เป็นจำนวนเงิน 3 แสนล้านบาท

3.การตราพ.ร.ก.ฉบับนี้มิได้มีผลทำให้รัฐบาลนำเงินงบประมาณรายจ่าย ของกระทรวงการคลังในการชำระหนี้ดังกล่าวมาใช้ในการบูรณะฟื้นฟูประเทศที่ได้ รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยรวมทั้งเพื่อการลงทุนหรือก่อสร้างโครงสร้าง พื้นฐานได้ในทันที่และไม่อาจจะเพิ่มเพดานวงเงินกู้หนี้สาธารณะเพื่อนำเงินมา ใช้จ่ายในกิจการดังกล่าวทันทีด้วย

4.ปรากฏข้อเท็จจริงจากการแถลงของสาธารณะของนายธีระชัย   ภูวนาถนารานุบาล  อดีตรมว.คลัง ของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันว่ารัฐบาลยังสามารถกู้ยืมเงินเพิ่มเติมได้อีกเป็น จำนวนมากเพราะภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปัจจุบันคิด เป็นสัดส่วน  9.33 % จึงยังคงกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายได้อีก 5.67  % ถึงจะครบสัดส่วนเพดานเงินกู้ 15  % ข้อเท็จจริงดังกล่าว มิได้เป็นไปตามที่ครม.ใช้ในการอนุมัติพ.ร.ก.ฉบับนี้ตามที่นายกิตติรัตน์   ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง แจ้ง  ปัจจุบันสัดส่วนภาระหนี้ดังกล่าวคิดเป็น สัดส่วน 12  % และรัฐบาลกู้ยืมเงินอีกได้เพียง 3  % อย่างสิ้นเชิงอย่างมีนัยสำคัญ

5.ส่วนเหตุผลตามหมายเหตุท้ายพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวที่ได้กำหนดว่า “โดย กำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ย เงินกู้ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือ การจัดการและฟื้นฟู่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการเงิน เมื่อปี2540 และให้ธปท.เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการกองทุนดังกล่าวในการชำระคืนต้นเงิน กู้ตลอดจนปรับปรุงการจัดหาแหล่งเงินในการชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ ได้อย่างต่อเนื่อง” จะเป็นการสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงินการคลังของประเทศโดยรวมนั้นไม่มี ลักษณะเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ถึงขนาดที่มี ความจำเป็นต้องตราเป็นพ.ร.ก.เพราะ

(1) หนี้ดังกล่าวมีมาตั้งแต่พ.ศ.2541 ถึงปัจจุบันนับเป็นระยะเวลาถึง 14 ปีผ่านมาแล้ว

(2) การตราพ.ร.ก.มิได้มีผลเป็นการบริหารจัดการการชำระหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการ คลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้ทั้งระบบ กล่าวคือ การดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพ.ร.ก.ฉบับนี้น่าจะใช้หนี้เงินกู้ดัง กล่าวได้ฉะเพราะในส่วนของดอกเบี้ยปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาทแต่ในส่วนของต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 1.14 ล้านล้านบาทนั้น พ.ร.ก.ดังกล่าวมิได้มีการกำหนดมาตรการในการจัดหารายได้เพื่อการชำระหนี้ต้น เงินให้มีความชัดเจนแต่อย่างใด

ในทางตรงกันข้ามมีผลเป็นการบั่นทอนความน่า เชื่อถือและเถียรภาพของธปท.ในฐานะธนาคารกลางของประเทศรวมทั้งยังจะส่งผล กระทบโดยตรงต่อเถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศในส่วนของเงินรายได้ของ รัฐและเงินในบัญชีสำรองพิเศษ  

(3.) นอกจากนี้แม้ว่าหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กระทรวงการคลังกู้ดังกล่าวชุดแรกจำนวน เงินประมาณ3.5 แสนล้านบาทจะครบกำหนดชำระหนี้พันธบัตรในเดือนสิงหาคม 2555 ครม.ยังมีเวลาเพียงพอที่จะเสนอพ.ร.ก.ฉบับนี้ในรูปแบบของร่างพ.ร.บ.ต่อรัฐสภา

6.ก่อนการตราพ.ร.ก.ฉบับนี้ปรากฏข้อโต้แย้งในสังคมอย่างกว้างขวางจากบุคคล ต่างๆแม้แต่รัฐมนตรีร่วมครม.ด้วยกันเอง ครม.จึงควรต้องเสนอพ.ร.ก.ฉบับนี้เป็นร่างพ.ร.บ.ต่อรัฐสภาเพื่อให้มีการ พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบจะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการชำระหนี้ดังกล่าว ละเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นที่ย่อมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ชำแหละพรก. ขัดรธน. สั่นคลอนเศรษฐกิจ

view