สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์ พ.ร.ก.ให้อำนาจก.คลังกู้เงิน3.5 แสนล้านวางแผนระบบน้ำไม่ขัดรธน.

ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์ พ.ร.ก.ให้อำนาจก.คลังกู้เงิน3.5 แสนล้านวางแผนระบบน้ำไม่ขัดรธน.

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยพระราชการกำหนด 2 ฉบับ คือ พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555และพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคต ประเทศพ.ศ.2555(วงเงิน350,000ล้าน)

"ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์เห็นว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท เห็นว่าการตราพระราชกำหนดดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเห็นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2"นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย

(อัพเดท2)

ต่อมานายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นอ่านคำวินิจฉัย พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555โดยมติศาลรัฐ ธรรมนูญเห็นว่า พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน

"การ ตราพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับไม่ถึงกับขัดรัฐธรรมนูญ...แต่ความจำเป็นดังกล่าวเกิดขึ้นจากสาเหตุ วิกฤติอุทกภัยจริง และมีมาตราการเร่งด่วนเยียวยา ความเสียหายที่เกิดขึ้น มาตราการป้องกันและประกอบชั้นนี้ยังไม่มีมูลคดีชี้ให้เห็นว่า ครม.ตราพระราชกำหนดไม่สุจริตหรือใช้ดุลยพินิจบิดเบือน จึงเห็นเป็นกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วนตามรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555เป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 จึงวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศพ.ศ.2555 วงเงิน350,000 ล้าน และ พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐธรรมนูญ"นายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย


รัฐบาลจ่อออกพรบ.หากพรก.ถูกตีตก

จาก โพสต์ทูเดย์

รัฐมนตรี ประสานเสียงรัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบ หากศาลรธน.ชี้ พรก.เงินกู้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ด้าน ปลอดประสพโวยศาล-ปชป.ต้องรับผิดชอบหากไม่ผ่าน

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่วันนี้ (22 ก.พ.) ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยต่อคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ ถึงร่างพระราชกำหนดเงินกู้ 2 ฉบับ ว่าเชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไร โดยวันนี้รัฐบาลได้มอบหมายให้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้กล่าวคำชี้แจงหลังศาลมีคำวินิจฉัย ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะออกเป็นพระราชบัญญัติแทน โดยจะเสนอผ่านที่ประชุมสภาฯ 3 วาระรวด

ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า หาก พรก.ทั้ง 2 ฉบับ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ นั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เพราะไม่เคยมีประเพณีปฏิบัติ และไม่ถือเป็นเรื่องของสภาฯ

เฉลิมเตรียมแผนออกเป็นพรบ.3วาระรวด

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่เร่งด่วนไม่ฉุกเฉินก็เป็นดุลพินิจของศาลไม่ใช่ เรื่องเสียหายอะไรเลยหากศาลจะตีตก ส่วนที่จะให้รัฐบาลลาออกนั้นหมายถึงการแพ้โหวตในสภามันคนละเรื่องคนละ ประเด็น เพราะคนที่พูดสุ่มสี่สุ่มหกถ้าเกิดตกก็เข้าสภาออกเป็น พ.ร.บ. 3 วาระก็จบกัน โดยในอดีตตนเป็นคนอภิปรายล้มเองแต่ว่าเป็นการอภิปรายในสภา ซึ่งพรก.ตกในสภาเพราะโหวตแพ้นั่นแหละรัฐบาลต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าศาลบอกว่าไม่เร่งด่วนก็แล้วแต่ท่านเพราะเป็นเรื่องของข้อกฎหมาย แต่เราบอกว่าเร่งด่วนฉุกเฉิน

"ก็มีผลต่อการทำงานนะสิ เงินทองก็กู้ช้าหาช้า ชาวบ้านก็เดือดร้อน น้ำก็ท่วมคนก็รู้ว่ามันเกิดมหาอุทกภัยอุทกภัย และมันก็จะเกิดอีก เพราะไม่มีเงินรัฐบาลก็ลำบากหน่อยประชาชนก็เดือดร้อน เพราะวันนี้ชาวบ้านก็ถามว่าเงิน 5,000 บาทอยู่ไหน อย่าเอามาเหมารวม อย่ามาเล่นการเมืองแบบเกเร ที่ต้องรับผิดชอบคือแพ้โหวตในสภา"ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

เมื่อถามว่าถ้าน้ำท่วมอีกประชาชนจะโทษใคร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า "เดี๋ยวประชาชนเขาก็โทษเองแหละ เพราะเขารู้"

 

ประชายันรัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบ

ด้าน พล.ต.อ.ประชา  พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ทางรัฐบาลยังไม่ได้เตรียมการอะไร เนื่องจากต้องรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็พร้อมยอมรับ  ยืนยัน พรก. 2 ฉบับมีความจำเป็น เนื่องจากต้องใช้เงินในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และความเสียหายที่มีอยู่

ส่วนหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบทางการเมืองหากมี พรก.ฉบับใดตกไป พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก กล่าวว่า เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง และไม่ใช่ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย  ทุกฝ่ายควรดูกันที่เหตุและผลมากกว่า

ปลอดประสพโวยศาล-ปชป.ต้องรับผิดชอบหากไม่ผ่าน

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ กล่าวว่า ตนไม่เห็นเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้พ.ร.ก. 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญ เพราะในยุคนี้ที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็มีการออกพ.ร.ก.แบบนี้มาใช้ 12 ฉบับแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นไปอย่างเรียบร้อย นอกจากนี้ การที่ระบุว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนนั้น ตนอยากถามว่าอะไรจึงเรียกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งที่ขณะนี้อีกไม่กี่เดือนน้ำจะมาแล้ว และเรื่องน้ำเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย ถ้าศาลฯพิจารณาเป็นอื่น ก็คงใจดำกับประชาชน และแสดงว่ามีความตั้งใจที่จะไม่ให้รัฐบาลใช้ความพยายามในการช่วยประชาชน อีกทั้งพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับนี้เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับการเงินการคลัง จึงไม่ใช่เรื่องของสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องเข้าสภาฯแล้วรัฐบาลแพ้ในการลงมติ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งรมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวอีกว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพ.ร.ก. 2 ฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญ จะส่งผลกระทบต่อการวางแผนของรัฐบาลในการจัดการน้ำอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลต้องการเงินไปลงทุนในเรื่องนี้ แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีเงินไปลงทุนแล้วเกิดน้ำท่วมขึ้นอีกครั้ง และขอกล่าวโทษว่าเป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต้องเป็นผู้รับผิดชอบแบบเต็มๆ จะมาอ้างอะไรไม่ได้ เพราะสิ่งที่รัฐบาลทำมานั้นเป็นกระบวนการที่ถูกต้อง เนื่องจากการออกพ.ร.ก.เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร และเรื่องน้ำท่วมเป็นเรื่องเร่งด่วน อีกทั้งมีโครงการหลายอย่าง แล้วเขาจะมาตั้งแง่เพื่ออะไร ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตีความเรื่องข้อกฎหมายในกรณีที่เกิดความขัด แย้ง แต่นี่มันไม่ใช่ เพราะเป็นการช่วยเหลือประเทศและประชาชนให้พ้นจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  ปฏิเสธที่จะตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำวินิจฉัยร่างพระราชกำหนดกู้เงิน 2 ฉบับในบ่ายวันนี้  โดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวงการคลัง เดินทางไปรับฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแทน  เนื่องจากตนเองติดภารกิจการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ที่จังหวัดอุดรธานี


เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ปล่อย2พ.ร.ก.ฉลุย ระบุพ.ร.ก.โอนหนี้ทำให้ไม่ต้องชำระดอก6หมื่นล./ปี

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 14.00 น.คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยพระราชกำหนด 2 ฉบับ คือ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท)2.พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อ ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันเงิน พ.ศ.2555 (วงเงิน1.14 ล้านล้านบาท) 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอ่านคำวินิจฉัยครั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลมีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้แทนรัฐบาล นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้แทนเสนอความเห็นต่อประธานสภา และนายคำนูญ สิทธิสมาน สว.สรรหา ในฐานะผู้แทนเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา เข้ารับฟังคำวินิจฉัย

ทั้งนี้ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย ได้เริ่มอ่านคำวินิจฉัย พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 โดยลำดับความเป็นมาว่า ในช่วงปลายปี 54 เกิดมหาอุทกภัยหลายจังหวัดในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อประชาชน 2 ล้าน 6 แสนครัวเรือน ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจเบื้องต้นมีมูลค่าเสียหายถึง 1 ล้าน 4 แสนล้านบาท แยกเป็นความเสียหายทรัพย์สิน 6 แสนล้านบาท หากแยกเป็นความเสียหายภาครัฐกับเอกชนคิดเป็นทั้งโครงสร้างพื้นฐานการผลิต ภาคสังคมของรัฐ  1 แสน 4 หมื่นกว่าล้านบาท ภาคเอกชน 1 ล้าน 2 แสนล้านบาท ทำให้ภาวะเศรษฐกิจหดตัวรุนแรงกว่าทีคาดกันไว้ หลายหน่วยงานปรัดลดการขยายตัวเศรษฐกิจเหลือไม่เกินร้อยละ 1.1 เศรษฐกิจไทยจึงอยู่ในภาวะวิกฤต มีพยันอันตรายใหญ่หลวง รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย รัฐบาลอนุมัติแผนงานต่างๆ ในปี 55 รวมทั้งสิ้น 1 แสน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของประชาชน นักลงทุน ไม่ให้เกิดวิกฤตอุทกภัยขึ้นมาอีก

คำวินิจฉัยดังกล่าวมีต่อว่าต่อมา คณะรัฐมนตรีได้ประกาศใช้พรก. กู้เงิน โดยให้เหตุผลว่าประเทศเกิดอุทกภัยหลายจังหวัดทั่วประเทศจึงต้องเร่งเยียวยา ฟื้นนายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฟูความเสียหายและสร้างอนาคตประเทศโดยจัดให้มีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สำคัญของประเทศ ภายใต้การดำเนินการเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบการและ นักลงทุน โดยที่การวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศต้องทำอย่างเร่งด่วนและ ต่อเนื่อง พระราชกำหนดฉบับนี้มีสาระสำคัญคือให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินในนาม รัฐบาลเพื่อนำไปสร้างระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท และทำอย่างเร่งด่วนหลายแนวทาง และต่อเนื่องเพื่อป้องกันภัยพิบัติในอนาคต ภายใน 30 มิถุนายน 2556 และครม.ต้องเสนอกรอบการใช้จ่ายเงินต่อรัฐสภาให้ทราบก่อนเริ่มดำเนินการ ครม.ได้วางยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืนโดยการทำแผนแม่บทบริหาร จัดการน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตอุทภัยซ้ำสอง  เช่นกำหนดยุทธศาสตร์การบรรเทาอุทกภัยในลุ่มเจ้าพระยาแบบบูรณาการระยะเร่ง ด่วนมี 7 แผนงาน มีมูลค่าลงทุนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาท ยุทธศาสตร์การบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มอื่นๆ  17 ลุ่มน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน รวม6 แผนงานมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท รวมมูลค่าลงทุนทั้งสิ้น 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท ถึง 3 แสน 6 หมื่นล้านบาท

นายจรัญ ภัคดีธนากุล อ่านคำวินิจฉัยต่อว่า “ประเด็นพิจารณาว่าการออกพระราชกำหนดดังกล่าว เป็นกรณีเพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐธรรมนูญ 184 วรรคหนึ่งหรือไม่นั้น เห็นว่าการออกพ.ร.ก.ดังกล่าวก็เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาอุทกภัย  และสร้างความเชื่อมั่นทางเศรฐกิจให้กับนักลงทุน และประชาชนทั่วไป เนื่องจากปัญหาอุทกภัยดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของปหระเทศอย่างรุนแรง และมีความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 841 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมของประเทศ เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เครื่องดื่ม เป็นผลให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลกเพราะไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญในอุตสาหกรรมดังกล่าว”

“ หากรัฐบาลไม่มีมาตรการป้องกันที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวไทยและต่างประเทศแล้ว ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม อาจตัดสินใจย้ายสถานที่ประกอบการไปอยู่ต่างประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม จึงเห็นว่าการตราพระราชกำหนดดังกล่าว เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติทางสาธารณะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่ง

“ส่วนประเด็นว่าการออกพรก.ดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเรร่งด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ตามมาตรา 184 หรือไม่  พบว่าจากอุทกภัยปี 2554 เกิดผลกระทบต่อทรัพย์สินของประชาชนและระบบเศรษฐกิจของไทยโดยตรงอย่างรุนแรง รัฐบาลได้ใช้ทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย ผู้ประกอบกิจการอุตสาหรรม รวมทั้งปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก แม้รัฐบาลจะออก พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูประเทศ โดยเฉพาะการตั้งบบประมาณรายจ่าย 1 แสน 2 หมื่นล้านบาทในงบกลาง และงบสำรองฉุกเฉินอีก 6 หมื่น 6 พันล้านบาท ที่ตั้งไว้ที่กระทรวง กรมต่างๆ รัฐบาลได้อนุมัติงบต่างๆไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้วจำนวนมาก หากจะให้รัฐบาลเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณอีก 1 แสน 5 หมื่นล้านบาทไว้ในวงเงินงบรายจ่ายปี 2555 ก็ไม่สามารถทำได้”

“มีสัญญาณบ่งชี้ว่าในปี 56 ประเทศไทยอาจเกิดวิกฤตมหาอุทกภัยขึ้นอีก การจัดให้มีระบบยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ ที่ต้องใช้เงิน 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท จึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของประชาชน และผู้ลงทุนในพื้นที่จัดการตามยุทธศาสตร์ จึงเห็นว่าการตราพ.ร.ก.ดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงเห็นว่าพระราชกำหนดดังกล่าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา 184 ด้วยเสียงเอกฉันฑ์”นายจรัญ อ่านคำวินิจฉัย

ขณะที่คำวินิจฉัยพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ วงเงิน 1.14 ล้านล้านบาท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เสียง 7ต่อ 2 เห็นว่าพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว  เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค1และ2 ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และมีความจำเป็นเร่งด่วนในการออกพ.ร.ก.

โดยนายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยว่าในปี พ.ศ.2539-2540 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติทางการเงินครั้งใหญ่ คณะรัฐมนตรีสมัยนั้นตรา พรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1,401,450 ล้านบาท ซึ่งระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาได้มีการชำระคืนต้นเงินกู้ประมาณสำหรับหนี้ดังกล่าวแล้ว ประมาณร้อยละ 13 ยังมีต้นเงินกู้ค้างชำระรวมเป็นเงิน 1,140,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 87 แต่กระทรวงการคลังดำเนินการตั้งงบประมาณรายจ่าย เพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวไปแล้วทั้งสิ้น 670,502 ล้านบาท ครม.เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อใช้ในการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ จำนวน 3.5 แสนล้านบาท และเพื่อใช้สำหรับกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติจำนวน 5 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเงิน 4 แสนล้านบาท และในเวลาเดียวกันเพื่อลดภาระงบประมาณในการชำระดอกเบี้ย ของหนี้เงินกู้ที่กู้มาช่วยเหลือการดำเนินการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำเป็นต้องปรับปรุงและจัดการระบบการชำระหนี้

“ประกอบกับในปี พ.ศ.2554 ได้เกิดวิกฤติอุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศ เยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ ผลจากการเกิดความเสียหายนั้นยังทำให้ระบบเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวมเริ่มถดถอยและอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นสาธารณะ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการฟื้นฟู เยียวยา การป้องกันภัยพิบัติที่จะมาถึง และสร้างความเชื่อมั่นของในการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ลงทุน”

“การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากและต้องดำเนินการหลายเร่งด่วนหลายแนวทาง และแนวทางหนึ่งคือการต้องลดภาระงบประมาณ ที่จะต้องจัดสรรไปชำระดอกเบี้ยเงินกระทรวงการคลังเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555กู้ ที่กู้มาเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินเมือ่ปี 2540 โดยจำเป็นต้องปรับปรุงให้ระบบการชำระหนี้ดังกล่าวเสียใหม่ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่เป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอีกต่อไป โดยกำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้ และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว แล้วให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการของกองทุนดังกล่าว และปรับปรุงการจัดหาแหล่งเงินในการชำระต้นเงินกู้ และดอกเบี้ยเงินกู้อย่างต่อเนื่อง”

“ประเด็นพิจารณาว่าการตรา พ.ร.ก.ฉับดังกล่าว เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1 หรือไม่ พิจารณาเห็นว่ารัฐบาลมีความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของรัฐบาล เนื่องจากกระทรวงการคลังต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายอันเป็นเงินภาษีของประชาชนเพื่อชำระหนี้เงินต้น หรือ ดอกเบี้ยอันเกิดจากปัญหาวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวตลอดระยะเวลา 15 ปี เป็นเงินงบประมาณถึง 670,502 ล้านบาท แต่ชำระเงินต้นไปร้อยระ 13 ของเงินกู้ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีหนี้ค้างชำระอยู่ถึง 1,140,000 ล้านบาท หากรัฐบาลต้องตั้งงบประมาณชำระเงินกู้ดังกล่าวต่อไปอีก ย่อมเป็นภาระต่องบประมาณที่รัฐบาลต้องจัดหามาให้”

“ซึ่งในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 รัฐบาลได้ตั้งงบชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 68,430 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินสำหรับลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบเศรษฐกิจและสังคมลดน้อยลง อีกทั้ง เงินกู้ดังกล่าวเกิดจากวิกฤติของสถาบันการเงินเป็นผู้ก่อขึ้น และอยู่ในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย การที่รัฐบาลมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุมดูแลการชำระหนี้เงินกู้ของกองทุนฟื้นฟูฯ โดยนำกำไรสุทธิของธนาคารแห่งประเทศไทย เงิน หรือทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ยังต้องการนำส่งเงินที่สถาบันการเงินส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เกินร้อยละ 1 ของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลนำมาช่วยเหลือสถาบันการเงินอย่างเป็นระบบ และเป็นผลให้รัฐบาลมีงบประมาณที่ไมใต้องจัดสรรไปชำระดอกเบี้ยเงินกู้ จึงเห็นว่าพ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นกรณีที่เพื่อประโยชน์ที่รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1” คำวินิจฉัยระบุ

“ปัญหาวิกฤติทางการเงินแม้ว่าจะเกิดขึ้นเป็นเวลากว่า 15 ปีมาแล้ว แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังไม่สำฤทธิ์ผล ความเสียหายที่กองทุนฟิ้นฟูฯ ต้องรับภาระมีจำนวนถึง 1,401,450 ล้านบาท แต่กระทรวงการคลังยังมีหนี้ชำระอีกร้อยละ 87 ซึ่งหนี้เงินกู้ยังคงเป็นหนี้สาธารณะที่กระทรวงการคลังยังต้องรับผิดชอบ แต่ พ.ร.ก.ดังกล่าว ได้กำหนดวิธีการบริหารจัดการหนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถชำระหนี้ได้เสร็จสิ้นภายใน 21 – 26 อีกทั้ง รัฐบาลยังนำเงินที่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 6 หมื่นล้านบาทต่อปี มาลงทุนในแผนงานโครงการต่างๆ โดยรัฐบาลไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชำระดอกเบี้ยในส่วนปีงบประมาณต่อๆ ไป และยังไม่ต้องจัดงบประมาณรายจ่ายชำระดอกเบี้ยในปี 2556 อีกด้วย”

“ประกอบกับรัฐบาลต้องการบังคับใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าว ตั้งแต่ต้นปี 2555 เพื่อไม่ต้องตั้งงบชำระดอกเบี้ยในปี 2556 และ พ.ร.ก.การวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ซึ่งจะต้องทำภายในวันที่ 30 มิ.ย.2556 ซึ่งช่วงระยะเวลาดำเนินการตาม พ.ร.ก.อยู่ระหว่างปีงบประมาณ 2555 และ 2556 สอดคล้องกับการที่รัฐบาลไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ในปี 2556 อันเป็นการลดภาระเงินงบประมาณในช่วงเวลาเดียวกันที่จำเป็นต้องกู้เงินตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์ และความจำเป็น ในการใช้บังคับร่วมกันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และใน พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการหนี้กองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลสามารถนำเงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละ 6 หมื่นล้านบาท มาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่วนร่วม ถึงแม้ผู้แทนคณะนายกรัฐมนตรีในฐานะคณะรัฐมนตรี จะแถลงรับว่าไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเมือง ที่จะตรา พ.ร.ก.ในระหว่างปิดสมัยประชุมรัฐสภาก็ตาม แต่ก็ให้เหตุผลว่าต้องรอให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องศึกษาและกำหนดรายละเอียดในการจัดทำโครงการก่อน เสร็จแล้วจึงนำเสนอรัฐมนตรี ซึ่งน่าจะแสดงความสุจริตได้ด้วยว่า ไม่ได้อาศัยโอกาสที่อาจอ้างเหตุผลทางการเมืองได้แต่อย่างใด”

“ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดประกอบกันแล้วเห็นว่า การตรา พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ไม่ถึงกับเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่ความจำเป็นดังกล่าวเกิดขึ้นอันมีสาเหตุเนื่องมาจหากวิกฤติอุทกภัยจริง และมีความจำเป็นรีบด่วนที่ต้องใช้มาตรการป้องกันและเยียวยา ความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งมาตรการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกอบกับในชั้นนี้ยังไม่มีมูลคดีชี้ให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีได้ตรา พ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริต หรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการของรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิดาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 เป็นไปตามรัฐธรรมนุญมาตรา 184 วรรค 1 และ วรรค 2”

“ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น พ.ร.ก.การวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 และ พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันจะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1 และ วรรค 2” นายจรูญ อ่านคำวินิจฉัย



รายงาน
ผู้สื่อข่าวการเมือง นสพ.ประชาชาติธุรกิจ


เปิดคำวินิจฉัยศาล2พ.ร.ก.ไม่ขัดรธน.

เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 2 พ.ร.ก."เงินกู้-โอนหนี้" ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 (1) (2)
ศาลรัฐธรรมนูญนำโดยนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายนุรักษ์ มาประณีต นายบุญส่ง กุลบุปผา นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายเฉลิมพล เอกอุรุ นายจรัญ ภักดีธนากุล และนายจรูญ อินทจาร ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัยกรณี มีผู้ยื่นให้ตีความ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ และ พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555  ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรหนึ่ง และ สอง หรือไม่

โดยศาลระบุว่า รัฐธรรมนูญให้อำนาจ  การตรา พ.ร.ก.ด้วยเหตุแห่งความจำเป็น ที่อาจก่อให้เกิดวิกฤติหรือภัยคุกคาม แต่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาของการตรากฎหมาย  จึงต้องมีทางยกเว้น ไม่อาจอออกเป็น พ.ร.บ.ได้ เพราะอาจจะไม่ทันท่วงที โดยหลักการของมาตรา 184 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าเพื่อประโยชน์ในการรักษาควาปลอดภัยประเทศ ภัยสาธารณะ ความั่นคงเศรษฐกิจ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ  และวรรคสองให้การตราทำได้เฉพาะเมื่อ ครม. เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นกรณีที่จำเป็นรีบด่วน เป็นกรณีที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน ที่ประเทศเจอภาวะวิกฤติหรือภัยคุกคามชัดแจ้ง หรือมัสัญญาณบ่งชี้ว่ากำลังจะประสบ หากไม่ป้องกันหรือกำหนดมาตรการก็จะก่อให้เกิดผลกระทบ จนยากจะแก้ไขเยียวยาได้ และต้องตราเพื่อให้มีผลบังคับทันทีเพื่อแก้ปัญหาภาวะได้อย่างรีบด่วน โดยไม่อาจใช้กระบวนการรนิติบัญญัติ ตามปกติ  
 
โดยในส่วนของ กู้เงินฯ นั้นในช่วงปลาย 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัย และก่อใหเกิดผลกระทบต่อประชาชน 2.6 ล้านครัวเรือนและประเมินความเสียหายถึง 1.4 ล้าน เป็นความเสียหายแก่ทรัพยสิน 3.63 แสนล้าน และเสียหายแก่รายได้7.39 ล้านบาท   เสียหายต่อภาครัฐกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานการผลิต  1.4 แสนล้านบาท เสียหายต่อเอกชน 1.2 แสนล้านบาท  เกิดภาวะมากกว่าที่คาดการณ์ มีการปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือไม่เกิน 1.1% จากเดิม 4.0% เศรษฐกิจ จึงอยู่ในภาวะวิกฤติ รัฐบาลจึงช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ผ่อนปรนการชำระหนี้  ลดภาษี

เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ครม. จึงใช้อำนาจตรา พ.ร.ก. กู้เงินฯ รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน และวางระบบบริหารจัดการน้ำสร้างอนาคตประเทศ และจัดให้สาธารณูโภคพื้นฐาน และทำให้ เศรษฐกิจถดถอย เสี่ยงต่อความเชื่อมั่น  รัฐบาลเห็นว่าการดำเนิการเพื่อให้เกิดความมั่นใจเป็นเรื่องสำคัญ  ที่จริงไทยเคยทำแผนแม่บทป้องกันลุ่มน้ำเจ้าพระยา 2542  โดยไจก้า ได้ศึกษาและแนะนำว่าไทยควรลงทุนในจำนวนที่มีนัยยะสำคัญเพื่อป้องกันอุทกภัย อีกทั้ง 2543 สำนักทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็ทำรายงานทีมีเนื้อหาสอดคล้องกัน แต่ก็ไม่มีการดำเนินการ จึง ต้องมีมาตรากรรทั้งเยียวยา และป้องกัน สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และผู้ลงทุนการดำเนินการต้องทำต้องใช้เงินจำนวนมาก  

และพ.ร.ก. กู้เงินมีสาระสำคัญคือให้ กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเพื่อให้ไปใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำในวงเงิน 3.5 แสนล้านแต่ต้องทำในเดือน 30 มิ.ย. 2556 และต้องเสนอต่อรัฐสภาก่อนเริ่มดำเนินการ และต้องรายงานให้รัฐสภาทราบใน 60 วันนับแต่สิ้นปีงบประมาณ กำหนดวิธ รายละเอียดและผลสัมฤทธิ์ การดำเนิการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  โดยรัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ อย่างยั่งยืนทำแผนแม่บท ไม่ให้เกิดอุทกภัยซ้ำสองคือ 1.ยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเร่งด่วน 7 แผน วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท  2.บรรเทาในพื้นที่ลุ่มนำเจ้าพระยาแบบยั่งยืน 8 แผน มูลค่าลงทุน 3 แสนล้านบาท   3.ยุทธศาสตร์ 17 ลุ่มน้ำ มี 6 แผน มีมูลค่าการลงทุน 4หมื่น ล้าน รวม 3.75 แสนล้านบาท

ศาลรัฐธรมนูญเห็นว่าการตรา พ.ร.ก. กู้เงินฯ  ก็เพื่อประโยชน์ป้องกันบรรเทาความเสียหาย รวมถึงสร้างความเชื่อมั่น เนื่องจากปัญหาอุทกภัยได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงและเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำรนวนมากรวมถึงในนิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานกระทบ 841 โรง ซึ่งส่วนให่เป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของประเทศ เป็นผลลให้กระทบต่อเศรษฐกิจ โลก เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอุตสหากรรม หากรัฐบาลไม่มีมารตรการสร้างความเชื่อมั่น ผู้ประกอบการอาจตัดสินใจย้ายไปต่างประเทศ และกระทบต่อคสวามเชื่อมั่นโดยรวม

ดังนั้นการตรา พ.ร.ก.กู้เงิน ฯ เป็นกรณีเพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจแลป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ตามมาตรา 184 วรรคหนึ่ง

ส่วนว่าเป็นกรณีกรณีฉุกเฉินตามมาตรา  184 วรค สองหรือไม่ เห็นว่า อุทกภัยที่เกิดมีขึ้นกระทบกับทรัพย์สิน โดย ตรง รัฐบาลได้ใช้ทรัพยากรเยียวยา และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เป็นขำนวนมาก แม้จะมี พ.ร.บงงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นเครื่องมือใช้แก้ปัญห เฉพาะหน้าไปแล้ว แต่จะให้เพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณอีกก็ทำไม่ได้ เพราะ พ.ร.บงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ประกาศใช้แล้วหรือทำเป็นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติม ก็จะใช้เวลาค่อนข้างนานไม่ทันสถานการณ์ ซึ่งมีสัญญาณเร่งด่วนว่า 2556 อาจเกิดมหาอถุทกภัยอีก การวางยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำแบบบูรณารการยั่งยืนที่ต้องใช้เงิน  3.5 แสนล้านบาท  จึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนแและผู้ลงทุนตามยุทธศาสตร์และป้องกันภับพิบัติอันใกล้ ศาลเห็นว่าการตรา พ.ร.ก.กู้เงิน เป็นกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

ศาลจึงมีมติเอกฉันท์ว่าพร.ก.กู้เงินฯ เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งและสอง

ส่วน พ.ร.ก.โอนหนี้ เป็นไปตาม 184 วรรคหนึ่งสอง หรือไม่นั้น ในปี  2539 - 40 ไทยประสบปัญหาวิกฤตการเงิน  โดยในสมัยนั้นได้ตรา พ.ร.ก. 2 ฉบับ ให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อจัดการกองทุนฟื้นฟู เป็นเงิน 500,000 ล้าน และในปี 2545 อีก 7.8 แสนล้าน เนื่องจากได้ประเมินภาระควาเมสียหาย กองทุนฟื้นฟู ทั้่งสิ้นเป็นเงิน 1.4 แสนล้าน บาท แต่ที่ผ่านมา 15 ปี ได้ชำระน้อยมากและยังเหลืออีก 1.14  แสนล้านบาท และต้องตั้งงบประมาณเพื่อชำระเงินกู้และดอกเบี้ย  ขณะทีต้องการเงินที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่น และป้องกันอุทกภัย จึงจำเป็นต้องมีการกู้เงิน 3.5 แสนล้าน ดังนั้นต้องลดภาระงบประมาณที่ต้องนำไปจ่ายเงินกู้

รัฐบาลมีความพยายมปแก้ปัญหาหนี้สาธารณะเนื่องจากต้องตั้งงบประมาณนรายจ่ายเพื่อชำระหนี้กองทุนฟื้นฟู  ซึ่งตั้งงบปีระมาณรายจ่ายตลอด 15 ปีโดยจ่าย  ถึง 6.7 แสนล้านบาท หากต้องตั้งรายจ่ายต่อไปย่อมเป็นภาระ ซึ่งใน ปี งบประมาณ 2555 ได้ตั้งงบจำนวน 6.6 หมื่นล้านบาท ทำให้มีเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานลดลง และหนี้เกิดจากสถาบันการเงินก่อขึ้นการที่รัฐบาลมอบหมายให้ ธปท. ดูแลการคืนหนี้กองทุนฟื้นฟูและนำกำไรสุทธิ เงินทรัพย์สิน และเงินที่สถาบันการเงินนำส่งกองทุนเงินฝากไม่เกิน1 % ย่อมเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบบ และไม่ต้องนำงบไปจัดสรรเงินกู้ จึงเห็นว่า เป็นการรักษาประโยชน์ความมั่นคงทางศก.  ตาม 184 วรรค หนึ่ง

ส่วนการการตรา พ.ร.ก.โอนหนี้ เป็นความจำเป็นเร่งด้่วนหรือไม่นั้น  ปัญหาวิกฤตแม้จะเกิด 15 ปี แต่การแก้ไม่สัมฤทธิ์ผล รัฐต้องรับภาระ1.4 แสนล้าน และมีหนี้ เหลือ1.1แสนล้่าน  ซึ่งหนี้เงินกู้ก็เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังรับผิดชอบ แต่คาดว่าจะชำระเสร็จในเวลา  21-26 ปี และในปีงบ 2555 กระทรวงการคลัง ตั้งงบประมาณ 6.8 หมื่นล้านต่อปี สำหรับการชำระดอกเบี้ย  คิดเป็น 2.9% ของงบประมาณปี 2555 แต่หากคิดกับวงเงินลงทุน คิดเป็น 16.2%ของงบลงทุน  ซึ่งถือว่ามีนัยยะสำคัญ  สามารถนำเงินที่ต้องชำระมาลงทุนเพื่อแก้ปัญหา และนำมาแก้ปัญหาโดยไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายในปีต่อไป และการใช้ พ.ร.ก.บริหารหนี้ เพื่อให้มีเวลาเตรียมการเรียกเก็บกองทุนคุ้มครองเงินฝาก จะได้ไม่ต้องตั้งงบประมาณ ในการทำงบปี 2556 ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ

และตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ  กำหนดว่าอาจกู้เป็นเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศได้  แต่ต้องทำใน 30 มิ.ย. 2556 ซึ่งหมายถึงระบะเวลาดำเนินการต้องทำในปี 2555 - 2556 เพื่อให้สอดคล้องที่ไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี อันเป็นการลดภาระเงินงบประมาณ จึงเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้บังคับและเกี่ยวข้องกันและกันกับ พ.ร.ก.โอนหนี้  และมีมีวัตถุประสงค์ให้การบริหารจัดการหนี้กองทุนพฟื้นฟูมีประสิทะภาพ สร้างความเชื่อมั่น

ส่วนการที่ รมว. คลังระบุว่าการนำเข้าสภาฯช่วงสมัยประชุม เพราะไม่เชี่ยวชาญเรื่องการเมือง แต่ก็ให้เหตุผลว่าต้องรอให้ศึกษาเสร็จ ซึ่งเป็นยการแสดงความสุจริจว่าไม่ได้อ้างเรื่องการเมือง

การตราทั้ง 2 ฉบับไม่ฝืน แต่มีความจำเป็นอันมีสาเหตุจากอุทกภัย แลเะทำเพื่อออกมาตรการป้องกันและเยียวา ประกอบกับชั้นนี้ไม่มีกรณีชี้ให้เห็นว่ามีกาตราโดยไม่สุจริตหรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ  

ศาลจึงมีมติ  7 ต่อ 2เห็น ว่า พ.ร.ก. เงินกู้ เป็นไปตาม 184 วรรหนึ่งและสอง เป็นไปเพื่อประโยชนในการรักษาความั่นคงของประเทศและเป็นกรณีเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ผ่านพรก.2ฉบับ

จาก โพสต์ทูเดย์

เปิดสาระสำคัญคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา184

โดย....ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 22 ก.พ. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคต ประเทศพ.ศ.2555 และมีมติ 7 ต่อ 2 ให้พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค1และ2 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศพ.ศ.2555

- ประเด็นที่พิจารณาว่าการตราพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือ ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค1หรือไม่

เห็นว่าการตราพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯเพื่อประโยชน์ในการ ป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหาอุทกภัยรวมทั้งการสร้างความ เชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้แก่นักลงทุนและประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากปัญหาอุทกภัยดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างรุนแรงและมีความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดกับผู้ประกอบกิจการนิคมอุตสาหกรรมมีโรงงานได้รับ ผลกระทบ 841 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบของอุตสาหกรรมของประเทศ เช่น ยานยนตร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น เป็นผลให้กระทบต่อเศรษฐกิจของโลก เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมดังกล่าว

หากรัฐบาลไม่มีมาตรการป้องกันปัญหา อุทกภัยที่จะสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนแล้วผู้ประกอบกิจการในพื้นที่น้ำ ท่วมอาจตัดสินใจย้ายสถานที่ประกอบการไปอยู่ต่างประเทศ อันอาจจะเกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดย ส่วนรวม

จึงเห็นว่าการตราพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯเป็นกรณีเพื่อ ประโยชน์รักษากรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของ ประเทศหรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค1

- ประเด็นที่พิจารณาว่าการตราพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่

เห็นว่าปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้ทรัพยากรเพื่อดำเนินการแก้ไข ปัญหา ช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ประสบภัย ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม รวมทั้งปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้เงินงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ไปเป็นจำนวนมาก แม้รัฐบาลจะมีพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2555 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2555 เป็นเครื่องมือสำคัญแก้ไขปัญหาเพื่อฟื้นฟูประเทศโดยเฉพาะการตั้งงบประมาณราย จ่ายในงบกลางจำนวน 1.2 แสนล้านบาท และในส่วนเงินสำรองรายจ่ายฉุกเฉินจำนวน 6.6 หมื่นล้านบาทที่ตั้งไว้ที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆนั้นรัฐบาลได้อนุมัติเงินบางส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นการเฉพาะหน้าไป แล้ว

 

อีกทั้งจะให้รัฐบาลเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณอีกจำนวน 1.5 แสนล้านบาทไว้ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายดังกล่าวก็ไม่สามารถกระทำได้เพราะ ล่วงเลยระยะเวลาที่หน่วยงานต้องส่งคำของบประมาณให้สำนักงบประมาณและเกิน กรอบวงเงินและประมาณการณ์รายจ่ายประจำปีที่กำหนดไว้

หรือหากจัดทำเป็นร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2555 เพิ่มเติม ซึ่งการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวใช้ระยะเวลาพิจารณาค่อนข้างนาน ไม่ทันต่อสถานการณ์ที่รัฐบาลต้องดำเนินการป้องกันภัยพิบัติอันเกิดจาก อุทกภัยโดยเร่งด่วน ซึ่งมีสัญญาณบ่งชี้ว่าในปี 2556 ประเทศไทยอาจเกิดวิกฤตปัญหาอุทกภัยขึ้นอีก

การที่รัฐบาลจัดให้มีการดำเนินการวางระบบบริหารจัดการน้ำตามยุทธศาสตร์ การบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแบบบูรณาการและยั่งยืนที่จะต้อง ใช้เงินจำนวน 3.5 แสนล้านบาทตามพ.ร.ก. และเป็นการป้องกันภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้จะถึง จึงเห็นว่าการตราพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 2

2.พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555

-  ประเด็นการพิจารณาว่าการตราพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐ ธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1 หรือไม่

เห็นว่ารัฐบาลมีความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของรัฐบาล เนื่องจากกระทรวงการคลังต้องงบประมาณรายจ่ายอันเป็นเงินภาษีของประชาชนเพื่อ ชำระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยอันเกิดจากวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายชำระดอกเบี้ยของหนี้เงินกู้ดังกล่าวตลอด ระยะเวลา 15 ปีเป็นเงินงบประมาณถึง 6.7 แสนล้านบาท แต่ชำระเงินต้นไปได้เพียง13%ของหนี้เงินกู้ ซึ่งในปัจจุบันยังมีหนี้ค้างชำระอยู่ถึง 1.14 ล้านล้านบาท

หากรัฐบาลต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อ ชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวต่อไปอีก ย่อมเป็นภาระต่องบประมาณที่รัฐบาลต้องจัดหามาให้ ในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2555 รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงิน 6.8 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินสำหรับลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจและสังคม น้อยลง

การนำส่งเงินที่สถาบันการเงินส่งให้ธปท.ไม่เกิน 1% ของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลนำมาช่วยเหลือสถาบันการเงินอย่าง เป็นระบบ และเป็นผลให้รัฐบาลมีเงินงบประมาณที่ไม่ต้องจัดสรรไปชำระดอกเบี้ยเงินกู้ใน แต่ละปีเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ

จึงเห็นว่าพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯเป็นกรณีเพื่อประโยชน์ใน การรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1

- ประเด็นการพิจารณาว่าการตราพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่

เห็นว่าปัญหาวิกฤติทางการเงินแม้จะเกิดขึ้นเป็นเวลากว่า 15 ปีแต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิ์ผล ความเสียหายที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯต้องรับภาระหนี้อยู่ แต่กระทรวงการคลังยังมีเงินค้างชำระอีก87%หรือเป็นเงินจำนวน 1.14 ล้านบาท และได้ชำระดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปีงบประมาณ2554ไปแล้วเป็นเงิน 6.7 แสนล้านบาท

สำหรับการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวหาก เปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างเงินงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้กับงบประมาณ รายจ่ายประจำปีพ.ศ.2555 ที่ตั้งไว้วงเงิน 2.3 ล้านล้านบาท จะคิดเป็นสัดส่วน 2.9%ของงบประมาณรายจ่าย แต่หากคิดเป็นสัดส่วนต่องบลงทุนที่ตั้งไว้วงเงิน 4.2 แสนล้านบาทแล้วจะคิดเป็น 16.2%ของงบลงทุน ถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญต่อการลงทุนของประเทศ

รัฐบาลสามารถนำเงินที่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวประมาณ 6 หมื่นล้านบาทมาลงทุนในแผนงานและโครงการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชน หรือนำไปลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ โดยรัฐบาลไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชำระดอกเบี้ยในปีงบประมาณต่อๆไป ประกอบกับ รัฐบาลต้องการบังคับใช้พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯตั้งแต่ปี2555 เพื่อให้มีเวลาเตรียมการเรียกเก็บเงินจากกองทุนคุ้มครองเงินฝากสำหรับรอบ 6 เดือนแรกของปีพ.ศ.2555

รัฐบาลจะได้ไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ดัง กล่าวในการจัดงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2556 ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของส่วนราชการในช่วงเดือนก.พ.2555 และตามพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯตามที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นไป ตามรัฐธรรมนูญมาตรา184วรรค 1 และ 2

แม้ว่าผู้แทนนายกรัฐมนตรี (กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง) ในฐานะคณะรัฐมนตรีจะแถลงรับว่าไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเมืองที่จะตรา พ.ร.ก.ในระหว่างปิดสมัยประชุมรัฐสภาก็ตามแต่ได้ให้เห็นเหตุผลว่าต้องรอคณะ กรรมการที่เกี่ยวข้องศึกษาและกำหนดรายละเอียดในการจัดทำโครงการก่อนจึงนำ เสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งน่าจะแสดงความสุจริตได้ด้วยว่าไม่ได้อาศัยโอกาสที่อาจอ้างเหตุผลทางการ เมืองได้แต่อย่างใด

ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดประกอบกัน แล้วเห็นว่าการตราพ.ร.ก.ทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นการฝ่าฝืนบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญ  แต่ความจำเป็นดังกล่าวเกิดขึ้นอันมีสาเหตุมาจากวิกฤติการณ์อุทกภัยจริงและมี ความจำเป็นรีบด่วนในการใช้มาตรการป้องกันและเยียวยา

ประกอบกับในชั้นนี้ยังไม่มีมูลคดีชี้ให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีได้ตราพ.ร.ก. ขึ้นมาโดยไม่สุจริตหรือใช้ดุลยพินิจบิดเบือนหลักการของรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2

ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติ7ต่อ 2 เห็นว่าพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค1และวรรค2

ประเด็นสำคัญของการผ่านพ.ร.ก.ทั้งสองฉบับ

พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศพ.ศ.2555 (มติเอกฉันท์)

พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศพ.ศ.2555 (มติ 7 ต่อ 2)

- สร้างความเชื่อมั่นป้องกันนักลงทุนย้ายฐานการผลิต

- ถ้าตราพ.ร.บ.กู้เงินแทนพ.ร.ก.จะไม่ทันสถานการณ์

- แผนยุทธศาสตร์น้ำตามพ.ร.ก.จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย

-  แก้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯเพื่อลดภาระงบประมาณ

-  ยังไม่เห็นเจตนาบิดเบือนรัฐธรรมนูญ

-  เงินนำส่งไม่เกิน1% ช่วยแก้หนี้เป็นระบบ


เปิด!2ตุลาการ'ชัช-จรัญ'ชี้พ.ร.ก.บริหารหนี้กองทุน'ขัดรธน.'


ด่วน!ศาลมีมติ9:0พ.ร.ก.เงินกู้ไม่ขัดรธน.


ศาลวินิจฉัย2พรก.กู้เงินไม่ขัดรธน.

จาก โพสต์ทูเดย์

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์พรก.กู้เงินวางระบบจัดการน้ำฯไม่ขัดรธน. ขณะที่พรก.บริหารหนี้กองทุนฟื้นฟูฯมีมติ 7 ต่อ 2

เมื่อเวลา 14.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหาร จัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศพ.ศ.2555 และมีมติ 7 ต่อ 2 ให้พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค1และ2

ในส่วนของพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ศาลมีความเห็นว่า ปัญหาอุทกภัย ปลายปี 2554 ได้สร้างความเสียหายถึง 2.6 ล้านครัวเรือน ธนาคารโลกประเมินความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท กระทั่งต้องปรับลดการประมาณการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียง 1.1% จากเดิม 4% จึงอยู่ในภาวะวิกฤติใหญ่หลวง รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ปัญหา โดยมีมาตรการจ่ายเงินชดเชย สนับสนุนสินเชื่อ การลดหย่อนภาษี อนุมัติงบกลางภายใต้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ. 2555 จำนวน 1.2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูประเทศและวางระบบบริหารจัดการน้ำ โดยจัดให้มีการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อฟื้นฟูผลของความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ถดถอยและมีความเสี่ยงต่อความ เชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศ 

ปัญหาอุทกภัยได้สร้างปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศรุนแรแง โดยเฉพาะผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบถึง 841 โรงงาน ซึ่งเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศและมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก เนื่องจากไทยเป็นฐานในการผลิต ดังนั้น หากรัฐบาลไม่มีมาตรการในการสร้างความเชื่อมั่น อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการนิคมอาจตัดสินย้ายไปต่างประเทศจะกระทบต่อความเชื่อ มั่น

สำหรับพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ ศาลมีความเห็นว่า รัฐบาลมีความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะเพราะกระทรวงคลังตั้งงบประมาณราย จ่ายเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวมาตลอด 15 ปีเป็นเงินกว่า 6.7 แสนล้านบาท แต่ชำระเงินต้นได้เพียง13 % เหลือนี้ 1.14 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2555 ได้ตั้งงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยไว้ 6.8 หมื่นล้านบาท ส่งให้มีการลงทุนน้อยลง

ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 2 วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค1และ2 เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลดภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในการตั้งงบประมาณ เพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ โดยที่สามารถนำงบประมาณดังกล่าวมาใช้พัฒนาประเทศโดยส่วนรวม และไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่ความจำเป็นดังกล่าวมาจากวิกฤติอุทกภัย และโดยในชั้นนี้ยังไม่มีมูลที่ชี้ให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีตราพ.ร.ก.โดยไม่ สุจริตและบิดเบือนรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ในเวลา 14.00 น. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้ถ่ายทอดสดการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศช่อง11 กรมประชาสัมพันธ์ ได้ถ่ายทอดการชี้แจงนโยบาย กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในภูมิภาค ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี


'เทพไท'ทวิตฯบอกโชคดีที่ศาลผ่าน2พ.ร.ก.


'กรณ์'ยอมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ


'กิตติรัตน์'ดีใจ2พ.ร.ก.ผ่าน เล็งกู้เงินล็อตแรก1หมื่นล.


นายกฯขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญเข้าใจ2พ.ร.ก.


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ พ.ร.ก.ให้อำนาจก.คลัง กู้เงิน3.5 แสนล้าน วางแผนระบบน้ำ ไม่ขัดรธน.

view