สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แบงก์พาณิชย์ป่วน!! รัฐปิดช่องโหว่ทุกประตู เลี่ยงไม่ได้ขึ้นค่าบริการ - ประชาชนรับกรรม

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ ออกฤทธิ์ หลายแบงก์ดิ้นหนีออกหุ้นกู้ระยะสั้น โดน ก.ล.ต.บีบเปลี่ยนกฎขายขั้นต่ำ 10 ล้าน โอดกังวลพันธบัตรน้ำท่วมจ้องดูดเงินฝาก ทางออกสุดท้ายเพื่อรักษากำไรต้องขึ้นค่าบริการ โยนภาระให้ประชาชน
       
       หลังจากพระราชกำหนดบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ผ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐบาลสามารถเดินหน้าแนวทางเรียกเก็บเงินสมทบจากธนาคารพาณิชย์เอกชน และธนาคารของรัฐได้ในอัตรา 0.47%
       
       การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์เริ่มมีมาตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยออกมา โดยธนาคารเอกชนยังคงเลือกตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน จากนั้นจึงค่อยปรับลดลงมาตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อย่างกสิกรไทยและไทยพาณิชย์จะออกหุ้นกู้ด้อย สิทธิอายุ 10 ปี ดอกเบี้ย 4.5% ออกมาเสนอขายและหมดลงอย่างรวดเร็ว
       
       ตามมาด้วยธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่ออกหุ้นกู้อายุ 2 ปีและ 3 ปี ถัดมามีการออกเงินฝากพิเศษดอกเบี้ยของธนาคารหลายแห่ง ล่าสุดธนาคารทิสโก้ออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิอายุ 1 ปี ดอกเบี้ย 3.5% ที่เพิ่งปิดการขายไปเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
       
       ปิดประตูหุ้นกู้รายย่อย
       
       แหล่งข่าวจากวงการธนาคารกล่าวว่า หุ้นกู้ถือว่าไม่ใช่เงินฝาก ย่อมไม่ต้องส่งเงินสมทบเหมือนกับเงินฝากและตั๋วแลกเงิน การออกหุ้นกู้ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ด้านหนึ่งถือเป็นการทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ มีอยู่เพื่อนำไปใช้เป็นเงินกองทุนตามเงื่อนไขของทางการ แต่มีหุ้นกู้บางประเภทที่ทางการมองว่าอาจจะเป็นการหลีกเลี่ยงแทนการรับฝาก เงิน โดยเฉพาะหุ้นกู้อายุสั้น
       
       แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่าในอนาคตทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะเรียก เก็บเงินสมทบจากหุ้นกู้ด้วยหรือไม่ แต่ถ้าแบงก์พาณิชย์แห่ออกหุ้นกู้ระยะสั้นกันมากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจให้มีการนับรวมหุ้นกู้ต้องส่งเงินสมทบเหมือนกับเงิน ฝากด้วย
       
       แต่ในระหว่างนี้หน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้ปรับกฎเกณฑ์ของการออกหุ้นกู้ใหม่เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ด้วยการกำหนดให้วงเงินขั้นต่ำในการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนต้องมีมูลค่า หน้าตั๋วขั้นต่ำ 10 ล้านบาท
       
       ก.ล.ต.ให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาสถาบันการเงินระดมทุนจากประชาชนในรูปตั๋วเงินมากขึ้น มีรูปแบบการจ่ายผลตอบแทนคล้ายเงินฝาก บ้างก็มีอนุพันธ์แฝง การที่สถาบันการเงินออกและขายตั๋วเงินเองอาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดและคาด หวังการคุ้มครองเช่นเดียวกับเงินฝาก ตั๋วเงินยังมีความเสี่ยงทู้ลงทุนที่สลักหลังโอนตั๋วอาจถูกไล่เบี้ย โดยผู้ซื้อทอดต่อไป รวมทั้งมีลักษณะกฎหมายที่ไม่เหมาะกับการออกโดยมีอนุพันธ์แฝง ดังนั้นจึงควรได้รับการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน และเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ธุรกิจแทนการออกตั๋วเงิน ก.ล.ต.จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นและหุ้นกู้ที่ มีเงื่อนไขซับซ้อนให้มีความสะดวกและสามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ได้ดียิ่งขึ้น
       
       ในส่วนของตั๋วเงินเพื่อไม่ให้เข้าใจผิดและกระจายสู่รายย่อยในวงกว้าง ก.ล.ต.กำหนดให้ตั๋วเงินที่เสนอขายต่อประชาชนต้องมีมูลค่าหน้าตั๋วขั้นต่ำ 10 ล้านบาท และต้องมีคำเตือนว่าไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และเพื่อจำกัดความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนจึงกำหนดให้ตั๋วเงินต้องมีเงื่อนไข ห้ามเปลี่ยนมือหรือหากจะไม่กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวก็ต้องมีข้อความที่จำกัด ความรับผิดของผู้โอน
       
       ก.ล.ต.ร่วมวง
       
       แหล่งข่าวกล่าวว่า วิธีการนี้ถือเป็นความสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐ เพราะการออกหุ้นกู้อยู่ภายใต้อำนาจของ ก.ล.ต. อีกทั้งตำแหน่งเลขาธิการ ก.ล.ต. เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน เมื่อแบงก์ชาติไม่สามารถคุมหุ้นกู้ได้ ทางก.ล.ต.จึงเข้ามาร่วมปิดช่องว่างตรงนี้ให้
       
       เงื่อนไขดังกล่าวเท่ากับเป็นการปิดช่องว่างของธนาคารพาณิชย์ที่จะออก หุ้นกู้ระยะสั้นแทนเงินฝาก เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งเงินสมทบ เนื่องจากการปรับวงเงินหน้าตั๋วขึ้นเป็น 10 ล้านบาท คงมีผู้ฝากเงินรายย่อยจำนวนน้อยมากที่เต็มใจจะซื้อหุ้นกู้ในวงเงินดังกล่าว รวมถึงเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ ยิ่งเป็นการเพิ่มอุปสรรคให้กับผู้ออมมากขึ้น
       
       ที่ผ่านมาทั้งธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนนิยมออกหุ้นกู้เสนอขายกับ นักลงทุนรายย่อยมากขึ้น เพราะสามารถทำได้สะดวก แม้ว่าจะต้องยุ่งยากในเรื่องการจัดการกับเอกสารจำนวนมาก แต่อำนาจการต่อรองของรายย่อยในเรื่องอัตราผลตอบแทนมีน้อยกว่าการเสนอขายให้ กับนักลงทุนรายใหญ่ ราคาเสนอขายขั้นต่ำจึงกำหนดไว้ที่ 1 หมื่นหรือ 1 แสนบาท เพื่อให้ง่ายต่อการเสนอขาย
       
       พันธบัตรรัฐจ้องสูบ
       
       เมื่อช่องทางดังกล่าวถูกปิดลง สถาบันที่เสนอขายหุ้นกู้ก็ต้องกลับไปเน้นขายให้กับนักลงทุนสถาบันเหมือนเดิม ซึ่งจะถูกต่อรองด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่ารายย่อย ดังนั้นทางเลือกของแบงก์พาณิชย์จะต้องหันกลับไปแข่งกันในผลิตภัณฑ์เงินฝาก เหมือนเดิม เพื่อรักษาฐานเงินฝากของตนเองเอาไว้เพื่อปล่อยสินเชื่อ เพราะทิศทางของสินเชื่อยังเติบโตเห็นได้จากยอดสินเชื่อของแบงก์พาณิชย์เดือน มกราคม 2555 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 9.46 แสนล้านบาทหรือเพิ่ม 14.28%
       
       “ทิศทางดอกเบี้ยคงไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว เพราะแบงก์พาณิชย์ยังต้องพยายามรักษาฐานเงินฝากเอาไว้ แม้ว่าธนาคารของรัฐจะถูกเรียกเก็บเงินสมทบ 0.47% เช่นเดียวกัน ทำให้ต้นทุนของเงินฝากใกล้เคียงกัน แต่ยังต้องดูรายละเอียดอีกว่าสลากของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์นั้นนับรวมเป็นเงินฝากด้วยหรือไม่ หากไม่นับรวมก็จะทำให้แบงก์เอกชนเสียเปรียบเหมือนเดิม”
       
       แม้ธนาคารรัฐจะถูกเรียกเก็บเงินสมทบเช่นเดียวกับธนาคารเอกชน แต่ยังมีตัวที่จะแย่งเงินฝากทั้งจากธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์นั่นคือ พันธบัตรรัฐบาลที่เตรียมจะออกเพื่อระดมเงินนำไปใช้ในการป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้คงต้องรอดูการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งว่าจะออกมาเท่าไหร่ อายุกี่ปี หากประเมินจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี อยู่ที่ 3.29131% บวกอีก 15% ซึ่งเป็นส่วนของการหักภาษีเงินได้ผลตอบแทนน่าจะอยู่ที่ 3.785% ถือว่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับหุ้นกู้อย่างธนาคารทิสโก้ อายุ 1 ปีผลตอบแทน 3.5%
       
       ขึ้นราคาค่าบริการ
       
       เมื่อต้นทุนแบงก์มากขึ้น แม้จะเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 0.07% แต่ในช่วงที่ผ่านมาแบงก์พาณิชย์เริ่มขยับค่าธรรมเนียมในการให้บริการบาง รายการเพิ่มขึ้น เช่น ข้อเสนอเรียกเก็บค่าบริการกรณีเบิกถอนเงินสดหน้าเคาท์เตอร์ตั้งแต่ 1 แสนบาท ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนการเรียกเก็บการดูข้อมูลทางการเงินย้อนหลังทางอินเทอร์เน็ตรายการละ 100 บาทจากเดิมที่ไม่คิดเงิน ในส่วนนี้ทางแบงก์ชาติอนุญาตให้ทำได้ เพียงแต่ต้องแจ้งรายการคิดค่าบริการให้ลูกค้าทราบโดยชัดเจน เพราะหากธนาคารคิดค่าบริการสูงกว่าตลาด ลูกค้าก็เลือกใช้บริการที่อื่นได้
       
       แหล่งข่าวจากชมรมผู้บริโภคกล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องประหลาดในส่วนที่แบงก์ชาติได้อนุญาตไป การดูข้อมูลทางการเงินของตนเองย้อนหลัง คนที่ฝากเงินไว้กับแบงก์ใดก็ต้องขอใช้บริการกับแบงก์นั้น จะมาบอกว่าถ้าธนาคารคิดค่าบริการสูงกว่าตลาด ลูกค้าก็เลือกใช้บริการที่อื่นได้ ถามว่าแบงก์อื่นที่ว่าจะมีข้อมูลของลูกค้าที่ไม่ได้ฝากเงินไว้กับตัวเองหรือ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ลูกค้าจะเลือกไปขอประวัติทางการเงินของตนเองกับแบงก์ที่ ไม่ได้เปิดบัญชีไว้
       
       อีกทั้งประวัติทางการเงินของผู้ฝากเงินได้กลายเป็นสมบัติของธนาคารไป แล้ว แถมยังนำมาขายกับเจ้าของบัญชีเอง เพราะประวัติทางการเงินต้องใช้เพื่อขอสินเชื่อหรือใช้เพื่อการขอวีซ่าก็ต้อง เสียเงินและต้องเสียในอัตราที่แพง
       
       แม้แต่การทำธุรกรรมที่หน้าเคาท์เตอร์ก็ต้องเสียเงินค่าบริการ เท่ากับเป็นการมัดมือผู้บริโภคให้ต้องเสียเงินให้กับธนาคาร ทั้งที่ธนาคารได้ประโยชน์จากการรับฝากเงินเพื่อนำไปใช้ปล่อยสินเชื่อ ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคมากเกินไป การที่จะเอาประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่เขาคิดค่าบริการนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดูความเหมือนและความแตกต่างของบริการสาธารณะที่รัฐมี ให้ด้วยว่าเหมือนกันหรือไม่ บางประเทศใช้อินเทอร์เน็ตฟรี แล้วประเทศไทยใช้ฟรีหรือไม่ การเข้าถึงมีมากน้อยแค่ไหนทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ การที่จะสนับสนุนให้คนไทยทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น มีแต่คนเมืองเท่านั้นที่มีความพร้อม และพวกเขาเหล่านี้ก็ต้องจำใจจ่ายเงินเพื่อใช้ซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ตเพื่อ มาใช้งาน
       
       เก็บเพิ่มรักษากำไร
       
       นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กลุ่มการเงิน ประเมินว่า เงินสมทบ 0.47% นั้นย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของแบงก์พาณิชย์แน่นอน ปัญหาคือแบงก์จะมีวิธีการรักษาสถานะของกำไรให้ใกล้เคียงกับของเดิมอย่างไร การเลี่ยงจากเงินฝากเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นก็ถูก ก.ล.ต.ออกกฎมาปิดทางเอาไว้ แถมยังมีโอกาสถูกแย่งเงินฝากจากทั้งธนาคารของรัฐ และพันธบัตรรัฐบาลที่กำลังจะออกมา
       
       ทางเลือกของแบงก์พาณิชย์มีค่อนข้างน้อย เพราะการจะไปลดดอกเบี้ยเงินฝาก เพิ่มหรือคงดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ อาจจะมีปัญหาเรื่องเงินไหลออกไปยังที่ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า และอาจถูกจับตาจากภาคประชาชนได้ เนื่องจากทั้งหมดเป็นผลมาจากปัญหาน้ำท่วม ภาคการเมืองจึงโอนภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจากเดิม ที่กระทรวงการคลังรับผิดชอบกลับมาไว้ที่แบงก์ชาติ
       
       เมื่อวิธีการดอกเบี้ยมีข้อจำกัด ทางเลือกต่อมาคือต้องหารายได้จากค่าธรรมเนียมทั้งจากการให้บริการ หรือดึงกำไรมาจากบริษัทลูกมากขึ้น ซึ่งค่าธรรมเนียมของธนาคารที่เรียกเก็บจากลูกค้าที่เป็นกอบเป็นกำมากที่สุด คือบัตรเอทีเอ็มที่ปรับสถานะให้เป็นบัตรเดบิต ค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท และมีรายได้จากการเบิกถอนเงินเกินกว่าเงื่อนไขที่แบงก์กำหนด ซึ่งอาจมีการขอปรับเพิ่มได้
       
       ค่าธรรมเนียมที่ได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจากมีผู้มาขอรับบริการไม่มากนักได้แก่ ค่าเช่าตู้นิรภัย แต่ที่น่าจะสร้างรายได้ไม่น้อยคือการขอประวัติทางการเงินของผู้ฝากเอง เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาขอสินเชื่อทั้งซื้อบ้านหรือซื้อรถยนต์ และผู้ที่ต้องขอวีซ่าไปต่างประเทศ ซึ่งรายการนี้เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงยาก เพราะประวัติทางการเงินจะมีผลต่อการพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อหรืออนุญาต ให้เดินทางเข้าประเทศนั้น ๆ ส่วนค่าบริการหน้าเคาท์เตอร์คงเป็นเรื่องที่เกิดยากสำหรับเมืองไทย
       
       อีกทางเลือกหนึ่งคืออาจต้องหันไปคิดค่าธรรมเนียมกับบริษัทลูกของ ธนาคารเพิ่มขึ้น หากเป็นกลุ่มลีสซิ่ง กองทุนรวมหรือบริษัทประกัน บริษัทลูกของแบงก์ก็ต้องเลือกว่ายอมที่จะกำไรลดลงหรือผลักภาระต้นทุนไปที่ ผู้บริโภคด้วยวิธีการต่าง ๆ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แบงก์พาณิชย์ป่วน รัฐปิดช่องโหว่ทุกประตู เลี่ยงไม่ได้ ขึ้นค่าบริการ ประชาชนรับกรรม

view