สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พืชผักที่ควรระวังพิษตกค้าง

จาก เทคโนโลยีชาวบ้าน

สุมิตรา จันทร์เงา

พืชผักที่ควรระวังพิษตกค้าง

แนะนำให้หาผักตามฤดูกาลกินกันเต็มที่ เพราะราคาถูก หาง่าย แถมยังได้คุณภาพคับแก้วไปแล้วเมื่อฉบับก่อน

โดย เฉพาะพวก "ผักพื้นบ้าน" ที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่าเขาหรือริมรั้ว ซึ่งเป็นผักอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้รสผักกรอบ หวาน มัน เค็ม ขื่น ขม ฝาด ตามลักษณะธรรมชาติของผักแต่ละชนิดจริงๆ

ก็เลยอยากจะเล่าเพิ่ม เติมอีกหน่อยถึงคุณสมบัติอันเลิศเลอเพอร์เฟ็กต์ของผักพื้นบ้านเหล่านี้ซึ่ง บรรดานักวิจัยทั้งไทยเทศต่างยกย่องสรรเสริญกันมาช้านาน แต่ก็ดูเหมือนว่าคนเมืองหลวงอย่างเราๆ อาจหากินได้ยากสักหน่อย

เพราะผักพวกนี้ไม่มีขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ต้องไปหากินตามตลาดเช้าของต่างจังหวัด หรือไม่ก็ตลาดชานเมืองและปริมณฑลรอบเขตกรุงเทพฯ

จะให้ดีก็ต้องหนีออกจากเมืองไปอยู่ป่า ปลูกผักหญ้า เลี้ยงเป็ด ไก่ อยู่อย่างพอเพียงโน่นแหละถึงจะหาผักป่ากินได้ง่าย

ชาวบ้านทั่วไปชอบเรียกผักพื้นบ้านอีกอย่างว่า "ผักป่า"

ดู อย่างผักหวานนั่นปะไร เมื่อมีความต้องการสูง ก็เกิดการพัฒนาพันธุ์ แบ่งให้เกษตรกรคนปลูกผักเอาไปปลูกขยายพันธุ์ ทำฟาร์มผักหวานใหญ่โตโอฬาร ก็เลยเกิดผักหวาน 2 ชนิด ขึ้นมาในยามนี้ คือ ผักหวานบ้าน กับ ผักหวานป่า ของธรรมชาติแท้ๆ คือ ผักหวานป่า อย่าสับสนกันนะ

ผักหวานบ้านนั้นเป็นผักปลูก ซึ่งอาจมีการเร่งปุ๋ยโด๊ปให้โตเร็วๆ เพื่อจะได้ขายไวๆ และไม่จำเป็นต้องรอคอยฤดูกาลอีกแล้ว

เมื่อ หลายปีก่อน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้ร่วมกับ Japan International Research Center for Agricultural Sciences (JIRCAS) ทำการศึกษาการออกฤทธิ์ของผักพื้นบ้านไทยด้วยการลงพื้นที่สำรวจผักพื้นบ้าน ชนิดต่างๆ ทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ ประมาณ 211 ตัวอย่าง เพื่อค้นหาผักพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ และออกฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์หรือสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะ

ได้ผลสรุปที่น่าสนใจทีเดียวว่า ในบรรดาตัวอย่างผักพื้นบ้านที่ค้นคว้าหามาทดลองนั้น พบผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 37 ชนิด คือ

มัน ปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะกอก พริกไทยอ่อน ผักกระเฉดต้น สะระแหน่ ใบกะเพรา ขี้เหล็ก กระโดนบก ทำมัง ผักไผ่ สะเดา ฝักกระถิน ใบย่านาง ติ้ว ใบมะตูม หมุย กระโดนน้ำ ตำหยาน ใบมันเทศ ลูกฉิ่ง เหงือกปลาหมอ ผักแปม มะปราง ดอกข่า ใบแมงคะ ผักเฮือด ใบมะม่วงแก้ว พังพวยน้ำ ผักขยา เม่า ซี่ปุ้ ไทรส้ม ยอดเมา หวาย สะเม็ก และ มะสัง

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผักพื้นบ้านไทยๆ หาได้ทั่วไป (ตามต่างจังหวัด) ทั้งสิ้น

คง ทราบทั่วกันอยู่แล้วนะคะว่า สารอนุมูลอิสระในร่างกายมนุษย์นี่เองที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคต่างๆ อาทิ โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ โรคต้อกระจก โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม ข้ออักเสบ รวมถึงอาการแก่ก่อนวัย

ใครที่ไม่อยากแก่ ไม่อยากป่วยก็จะวิ่งแจ้นหาอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีฤทธิ์ต่อต้าน สารอนุมูลอิสระอย่างโครมคราม เสียเงินเสียทองมากมายในการซื้อผลไม้นำเข้าจำพวกแอปเปิ้ล กีวี บลูเบอร์รี่ ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่ามีฤทธิ์ยับยั้งสารอนุมูลอิสระสูง

ผลวิจัยนี้ก็เลย ช่วยให้ผักพื้นบ้านไทยเป็นที่ฮือฮาขึ้นมาทันที ส่วนจะหากินยากหรือง่ายในฤดูกาลไหนบ้างนั้น จะไปค้นคว้าหามาให้อ่านอีกที

สำหรับ เรื่องที่ติดค้างไว้ว่า จะพูดถึงพืชผักน่ากลัวอันตรายที่เราซื้อมาบริโภคกันในชีวิตประจำวันก็คือ การระมัดระวังเรื่อง "สารตกค้าง" อันเนื่องมาจากวิธีการผลิตผักปลอดสารพิษบางประเภทที่ยังคงอนุญาตให้ใช้ปุ๋ย เคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ยากำจัดเชื้อรา ได้บ้าง

แต่ต้องใช้สารเคมีที่มีพิษตกค้างระยะสั้น และต้องหยุดฉีดพ่นยาก่อนเก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่กำหนด

เพราะ ในความเป็นจริง พืชผักหลายชนิดมีความจำเป็นต้องฉีดสารเคมีเป็นครั้งคราว ตัวอย่างผักต่อไปนี้คือ ผักที่ต้องดูกันให้ดีสักหน่อย เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องดูแลโรคพืช ซึ่งก็ทำตามขั้นตอนหลักวิชาการของกรมวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กันอยู่

ถั่ว ฝักยาว เป็นอาหารสุดโปรดของเพลี้ยอ่อน ซึ่งจะมาอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงตลอดฤดูปลูก ดังนั้น เห็นถั่วฝักยาวสวยๆตามตลาดก็ควรตรวจสอบกันสักหน่อยว่ามาจากแหล่งผลิตแถวไหน เขาหยุดพ่นยาฆ่าเพลี้ยก่อนเก็บเกี่ยวตามกำหนดหรือไม่

แคนตาลูป เป็นพืชที่เกษตรกรต้องใส่ "ฟูราดาน" รองก้นหลุมก่อนปลูก พิษของสารเคมีตัวนี้มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน เลยทีเดียว

ฟู ราดาน เป็นสารอันตรายในลักษณะยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งที่นักเคมีคิดค้นขึ้นมาราว 50 ปีแล้ว เป็นยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมจากรากต้นพืชขึ้นมาสู่ต้น ใบ ดอก ผล แล้วมีฤทธิ์อยู่ในดินนานเป็นเดือนๆ ซึ่งโดยปกติแล้วมีข้อแนะนำให้นำเอาไปใช้กับไม้ดอกไม้ประดับเท่านั้น มีตัวหนังสือแดงเลยว่า ห้ามใช้กับพืชที่นำมาเป็นอาหาร

แต่ด้วย คุณสมบัติอันวิเศษของมัน บรรดาเกษตรกรไทยหัวใสเห็นว่าฤทธิ์ยาอยู่นานก็เลยนำมาใช้กับพืชที่เป็นอาหาร เสียเลย เริ่มง่ายๆ กับนาข้าวนั่นเอง ปรากฏว่าได้รับความนิยมใช้กันกว้างขวางมาตั้งแต่นั้น

ลักษณะหน้าตา ของฟูราดานจะเป็นเม็ดคล้ายทรายหยาบ ชาวนาจะใช้โรยนาข้าวในช่วงที่ข้าวยังเล็ก พอถึงเวลาเกี่ยวข้าวก็หมดฤทธิ์ยาไปแล้ว เพราะยาจะออกฤทธิ์อย่างได้ผลราว 60 วัน แต่หากไม่ได้ใช้ยาตามวิธีนี้อาจจะมีพิษเหลือตกค้างไปถึงตอนเกี่ยวข้าวได้

ปัญหา ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ เมื่อชาวสวนเห็นชาวนาใช้ฟูราดานได้ผลดีก็เลยเอามาใช้กับไม้ผล พืชผักสวนครัว แตงโม แตงกวา ไปด้วย โดยใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยบนดินเมื่อมีปัญหาโรคและแมลง จะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือความตั้งใจแบบมักง่ายก็แล้วแต่ ทำให้ฟูราดานที่ใช้กับพืชจำพวกแตงแทบทุกชนิดยังตกค้างอยู่ในตอนเก็บเกี่ยว ผลของยาทำให้ท้องเสียหรืออาจเจ็บป่วยร้ายแรงได้ บ้างก็ว่าถ้ากินเข้าไปในปริมาณมากๆ อาจเป็น "โรคจู๋" แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นมีผลวิจัยยืนยันออกมา

พืชในกลุ่มมะเขือ หนอนจะชอบชอนไชเข้าไปในผลและลำต้น ก็ต้องฉีดยาไล่หนอน

ตำลึง ที่มิใช่ตำลึงข้างรั้ว แต่ปลูกเป็นการค้าแปลงใหญ่ก็จะมีพวกแมลงและเพลี้ยต่างๆ เข้ามาทำลายตลอดฤดู

นี่คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ค่ะ

พืช ผักเหล่านี้แม้จะมีการตีตรารับรองข้างถุงบรรจุผลิตภัณฑ์และมีหลักเกณฑ์วัด ระดับความปลอดภัยได้จริงว่าไม่มีสารพิษตกค้างหรือมีในระดับต่ำ แต่ก็ยังน่ากังวลว่าการตกค้างในดิน น้ำ หรือสภาพแวดล้อมที่ใช้ปลูกผักนั้นนานวันเข้าจะเป็นอันตรายได้หรือไม่?

ดังนั้น ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ ที่ไม่สามารถล่วงรู้ถึงกระบวนการผลิตทั้งหมดได้ ควรตรวจสอบผักเบื้องต้นด้วยตัวท่านเองว่า

1. พืชที่ขึ้นตามสภาพธรรมชาติแท้ๆ อย่าง ผักบุ้ง ตำลึง มะระ และชะอม ให้เชื่อได้ทันทีว่าปลอดภัยจากสารพิษ กินได้แน่นอน

2. ให้ดูว่าพืชผักชนิดนั้นอ่อนแอต่อโรคหรือแมลงศัตรูพืชมากน้อยแค่ไหน ถ้าขี้โรคมาก หลีกเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง เพราะมีโอกาสใช้สารเคมีมากกว่าพืชทนโรค

3. สังเกตแหล่งผลิตว่าเป็นเกษตรกรที่มีความรู้และเป็นมืออาชีพหรือไม่ ผู้ผลิตกลุ่มนี้มักมีความรับผิดชอบสูงและระมัดระวังต่อชื่อเสียงคุณภาพ มาตรฐานของตัวเอง บางฟาร์มอาจเน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบ Bio-control หรือใช้สารธรรมชาติ เช่น สะเดา สมุนไพรต่างๆ ด้วยซ้ำไป

4. ดูลักษณะพืชผักที่ซื้อว่ามีคราบสารเคมีอยู่หรือไม่ มีร่องรอยจากการถูกแมลงทำลายมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในกลุ่ม ผักกาด คะน้า ถั่วฝักยาว ถ้าหากมีฝักสวย สีเขียวสด ปราศจากร่องรอยเจาะไชของแมลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจถูกโด๊ปสารเคมีมาอย่างหนัก

5. ให้สังเกตผักที่นำมาจำหน่ายผิดฤดูกาล เช่น ฤดูร้อน ไม่ควรมี กะหล่ำปลี ผักกาดขาว แครอต เพราะผักพวกนี้หากปลูกผิดฤดู ต้องใช้สารเคมีอย่างแน่นอน เนื่องจากพวกมันอ่อนแอต่อโรคพืช ควรหลีกเลี่ยง

แต่หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ต้องใส่ใจในการล้างทำความสะอาดเป็นพิเศษ

สำหรับข้อมูลจำเพาะฤดูกาลเหมาะสมของการบริโภคผักในแต่ละเดือนจะเอามาเล่าสู่กันฟังต่อไปค่ะ


การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก

Tags : พืชผักที่ควรระวังพิษตกค้าง

view