สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สวิตเซอร์แลนด์ในมุมมองของนักธุรกิจ

สวิตเซอร์แลนด์ในมุมมองของนักธุรกิจ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เปิดประเด็นไว้ใน “ไอทีไร้พรมแดน” สัปดาห์ที่แล้วถึงความสำเร็จของ “สวิตเซอร์แลนด์” ที่ยังคงแข็งแรงดีอยู่
แม้ว่ายุโรปจะอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่ก็ตามเปิดประเด็นไว้ใน “ไอทีไร้พรมแดน” สัปดาห์ที่แล้วถึงความสำเร็จของ “สวิตเซอร์แลนด์” ที่ยังคงแข็งแรงดีอยู่แม้ว่ายุโรปจะอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่ก็ตาม ซึ่งเบื้องหลังความแข็งแกร่งของสวิสไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน
 

ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์บอกเราว่าประเทศแห่งนี้มีอายุอานามไม่มากนัก เพราะเพิ่งก่อตั้งเป็นประเทศเมื่อปี ค.ศ. 1848 ใช้ระบบสมาพันธรัฐ แบ่งเป็น 26 แคว้น โดยสวิตเซอร์แลนด์ใช้เวลากว่า 100 ปีเพื่อสร้างประเทศให้มีบทบาทในเวทีโลกได้สำเร็จ
 

ความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมของสวิสอาจแตกต่างจากประเทศอื่นตรงที่ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่อง Economy of Scale หรือการผลิตเชิงอุตสาหกรรมปริมาณมากๆ โดยอาศัยนโยบายรัฐบาลและกลยุทธ์ของภาคอุตสาหกรรม
 

หัวใจสำคัญของประเทศนี้คือการสะสมความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ของเอกชน โดยไม่ต้องพึ่งพิงนโยบายหรือการกระตุ้นจากภาครัฐ ซึ่งการใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญนี่เองที่เป็นจุดสำคัญให้สินค้าและบริการของสวิสแตกต่าง
 

การวิเคราะห์หาอุตสาหกรรมของตัวเองที่โดดเด่นและน่าจะก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกได้ ทำให้สวิสมีแนวทางพัฒนาองค์กรเอกชนให้แข็งแกร่งติดอันดับโลก และเป็นประเทศที่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีขีดความสามารถทางการแข่งขันอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกมาหลายปี
 

เช่นเดียวกับระดับตัวบุคคล ช่างฝีมือ หรือคนทำงานทั่วๆ ไป ที่แต่ละคนมีงานทำได้ไม่ใช่เพราะรัฐบาลจัดหางานให้ หรือเป็นงานที่รัฐสร้างขึ้น แต่เป็นงานที่เกิดจากความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชนที่กล้าก้าวออกจากพรมแดนของตัวเอง และกล้าเข้าสู่การแข่งขันของนานาชาติ
 

สวิสอาจมีจุดอ่อนเรื่องความสามารถของรัฐบาลเมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ๆ ที่รัฐบาลมีอิทธิพลในเวทีโลกมากกว่า ซึ่งรัฐบาลเหล่านั้นมักมีอำนาจต่อรองในตลาดโลก และนำเอาข้อได้เปรียบมาใช้กำกับดูแลองค์กรเอกชนในประเทศตัวเองให้แข็งแรงขึ้น
 

ในเมื่อรัฐบาลสวิสไม่ได้แข็งแรงถึงขนาดนั้น จึงเน้นการใช้เอสเอ็มอี หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เป็นหัวหอกในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพราะการพึ่งพาองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เหมือนกับประเทศใหญ่ๆ ที่มีอิทธิพลในเวทีโลกนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หลวงได้ เพราะหากธุรกิจดังกล่าวล้มพับลงก็อาจฉุดให้เศรษฐกิจของทั้งประเทศซวนเซลงได้
 

การพึ่งเอสเอ็มอี จึงไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจมากนัก ซึ่งนับเป็นแนวทางที่เหมาะสมมากกว่าและสวิสก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วด้วยฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนที่ร่ำรวยติดอันดับต้นๆ ของโลก
 

บทบาทของรัฐบาลในปัจจุบันจึงอยู่ที่การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ประชาชน ทำให้ประชากรมีคุณภาพสูงด้วยการระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และบริษัทเอกชนเป็นเหมือนน้ำมันหล่อลื่นให้ระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าต่อโดยไม่มีสะดุด
 

การปรับตัวของสวิสมีให้เห็นตลอดเวลา นับตั้งแต่ช่วง 70 ปีที่แล้วที่ประชากรส่วนใหญ่นิยมออกไปทำงานต่างประเทศ รัฐบาลสวิสจึงได้ปรับลดอัตราภาษีส่วนบุคคลจนเพดานสูงสุดเหลือเพียง 23% และภาษีนิติบุคคลไม่เกิน 30% ซึ่งถือว่าต่ำมากสำหรับประเทศในยุโรป
 

เนื้อหายังมีอีกมาก แต่พื้นที่จำกัด ฉะนั้น ต้องขอให้ติดตามต่อสัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สวิตเซอร์แลนด์ ในมุมมองของนักธุรกิจ

view