สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถ้านิรโทษ...ก็พังตั้งแต่ต้น

จาก โพสต์ทูเดย์

"ถ้ามันจะเกิดวิกฤต ผมว่ามันไม่ใช่รัฐธรรมนูญเพียวๆ มันอาจเป็นเรื่องอื่นผมไม่รู้..."

โดย......ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

ความขัดแย้งลูกใหญ่ยังเป็นเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะกินเวลา จากนี้ไปร่วมปี พร้อมกับกระแสคัดค้านของกลุ่มต่อต้านที่เห็นว่าการเขียนกติกาใหม่รอบนี้มี วาระเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย

สามารถ แก้วมีชัย

"โพสต์ทูเดย์" พาไปคุยกับคนคุมเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ สามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ของรัฐสภา ซึ่งเป็นคนจากฝ่ายเพื่อไทยที่รับบทหนักควบคุมการประชุมออกแบบที่มาสภาร่าง รัฐธรรมนูญในศึกแก้รัฐธรรมนูญ "ขยักแรก"ให้เป็นไปตามกรอบเวลาไม่เกิน 2 เดือน

สามารถ บอกว่า หลังจาก กมธ.ประชุมมาแล้ว 5 นัด ทุกอย่างยังเป็นไปตามกรอบเวลากล่าวคือ เร็วสุดจะพิจารณาเสร็จภายใน1 เดือน เพราะต้องให้เวลา สส. สว. ต้องยื่นคำแก้ไข (คำแปรญัตติ) นับแต่วันที่ 25 ก.พ.ที่รัฐสภาลงมติรับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนถึง 25 มี.ค. หลังจากครบวันที่ 25 มี.ค.กมธ.ก็ต้องเชิญ สส. สว. ที่ยื่นคำแก้ไขมาชี้แจงหากเห็นด้วยกับ กมธ. ก็ถอนคำแปรญัตติ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยก็มีสิทธิสงวนคำแก้ไขไปพูดในสภาใหญ่ให้รัฐสภาเป็นคนตัดสิน ฉะนั้นจะเห็นว่ากมธ.ไม่ได้กำหนดให้เสร็จวันใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อย่างที่พูดมา

อย่างไรก็ตาม ตามกรอบที่พรรคเพื่อไทยวางเป้าไว้ กมธ.ต้องออกแบบหน้าตาสภาร่างรัฐธรรมนูญ และขั้นตอนการจัดทำรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 2 เดือน หรือไม่เกินปลายเดือนเม.ย.สามารถ แจกแจงปฏิทินการทำงานจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ฟัง เริ่มจากช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. จะได้ ส.ส.ร. และแม้ตามร่างรัฐบาล กำหนดให้ ส.ส.ร.ทำงานภายใน 150 วันแต่หลายฝ่ายเห็นว่าน้อยไป อาจเพิ่มเป็น 240 วัน หรือ 8 เดือน ให้เท่ากับ ส.ส.ร. ปี 2540 ถ้าเป็นเช่นนั้น ในเดือน เม.ย. 2556 ก็จะเขียนรัฐธรรมนูญเสร็จ บวกทำประชามติอีก 2-3 เดือนสรุปถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือน ส.ค.-ก.ค. 2556

เขาบอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปูทางไปสู่การตั้ง ส.ส.ร. ต้องทำให้ดี และอธิบายให้ได้ในทุกมาตรา เพื่อให้สังคมสบายใจว่าจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อใครนี่เป็นความท้าทายที่ กมธ.ชุดนี้ต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส ตรงไปตรงมา เพราะว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไขไปสู่ความสำเร็จในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ที่เราปรารถนาอยากจะให้มันดีกว่าทุกฉบับที่ผ่านมา

ความระแวงจากสังคมต่อรัฐธรรมนูญใหม่สามารถ บอกว่า กมธ.อาจเขียนล็อกไม่ให้ ส.ส.ร.แก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์แต่ส่วนที่ฝ่ายค้านเสนอห้ามแก้ไข ลบล้างคำพิพากษาหรือองค์กรอิสระ คงห้ามไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นสิทธิของส.ส.ร. แต่ถ้า ส.ส.ร.เขียนรัฐธรรมนูญนอกลู่นอกทาง ไม่มีเหตุมีผล ก็จะถูกตรวจสอบจากสื่อและสังคมที่จะมีเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นทั่ว ภูมิภาค ถ้าคิดอะไรผิดเพี้ยนทุกอย่างก็จะกระหน่ำลงมา แล้วการแก้รัฐธรรมนูญก็อาจไปไม่รอดเพราะสุดท้ายแล้วประชาชนเป็นคนลงมติว่าจะ รับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ประเด็นที่ฝ่ายคัดค้านเชื่อว่าวาระซ่อนเร้นของการเขียนรัฐธรรมนูญครั้ง นี้ ต้องการล้มศาลและรื้อที่มาองค์กรอิสระ เจ้าตัวแย้งว่า เรื่องล้มศาลทำไม่ได้เด็ดขาดศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญต้องมีต่อไป เพราะเกิดจากรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ที่หลายคนติดใจคือ "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" เพราะเป็นองค์กรอิสระเดียวในรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เพิ่มอำนาจขึ้นจนหลุดกรอบ ไม่ยึดโยงกับใครตรงนี้ต้องแก้ รวมถึงองค์กรอิสระชุดปัจจุบันที่มีปัญหาเรื่อง"ที่มา"จากรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งยืดเยื้อต่อเนื่องมาจากการใช้อำนาจเผด็จการ ดังนั้นต้องปรับให้ยึดโยงกับประชาชนเพื่อความสบายใจกับทุกฝ่าย

"องค์กรอิสระยังดำรงอยู่ แต่อาจมีการเขียนบทเฉพาะกาลให้อยู่ต่ออีกนิด เพื่อปรับปรุงวาระการดำรงตำแหน่งเพราะบางคนวิจารณ์ว่า โอ้โห...ทำไมองค์กรอิสระชุดปัจจุบันอยู่กันนานจัง วาระ9 ปี อยู่กันถึงอายุ 70 มันน่าจะปรับปรุงไหม เพราะคนอยู่นานมันจะเกิดอิทธิพล น่าจะหมุนเวียนกันบ้าง ก็เป็นเรื่องที่ส.ส.ร.ต้องว่ากันไป แต่เชื่อว่าไม่มีองค์กรไหนถูกยุบเพียงแต่อะไรเป็นจุดอ่อนมันก็ต้องแก้ ตรวจสอบได้

"วันนี้เราพยายามดับเงื่อนไข กระแสต้านต่างๆไม่ว่าศาลที่ออกมาคัดค้าน มันอาจเป็นเพราะพวกเราพูดมากกันไปหรือเปล่า(หัวเราะ) ก็ไม่ว่าใครนะ พอพูดปั๊บมันเป็นเหยื่อเลยแต่ถ้าไม่พูดเขาก็หาเหตุไม่ได้ ส่วนคนที่ตั้งประเด็นไม่ไว้ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสถาบัน เราก็ชัดเจน ตัดเงื่อนไขให้หมดเมื่อประชาชนเห็นความสุจริตใจของเราเรื่อยๆกระแสคัดค้านก็ แผ่วไปเอง"จะเขียนเรื่องการนิรโทษกรรมไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ไหม?

"เขียนอย่างนั้นไม่ได้หรอก ไปเขียนก็พังตั้งแต่ต้น เพราะจะเป็นปัญหาขัดแย้งมากขึ้น มันไม่เคยมีที่ไหนไปเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมใครรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย สูงสุดที่วางโครงสร้างการบริหารประเทศ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนการตรวจสอบถ่วงดุล มันไม่มีทางหรอกที่จะไปเขียนเรื่องการนิรโทษกรรมในนั้น" ประธาน กมธ. ตอบให้มั่นใจ

เสียงโจมตีที่ว่าพรรคเพื่อไทยกำลังร่าง รัฐธรรมนูญเพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แกนนำพรรคก็บอกถ้ารัฐธรรมนูญใหม่ออกมา พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้กลับไทยแน่? สำหรับ สามารถไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นแต่ยอมรับว่านี่เป็นเพียงสไตล์การหาเสียงของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่มักพูดเรื่องนี้ในทุกเวที

"ผมยังมองไม่เห็นว่าจะไปเขียนอย่างไรใน รัฐธรรมนูญเพื่อช่วยท่านทักษิณ ในเมื่อวันนี้ศาลตัดสินเรื่องที่ดินรัชดาฯไปแล้วมันก็คาอยู่นั่น จะไปเขียนรัฐธรรมนูญมันลบล้างคำตัดสินของศาลฎีกานักการเมืองได้อย่างไร ไม่งั้นใครต่อใครที่ถูกศาลฎีกาตัดสินก็ต้องยกกันหมดซิ เรื่องคุณทักษิณต้องเข้าโหมดการปรองดองมันก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องหาข้อเท็จ จริงก่อนแล้วให้อภัยกันทุกฝ่ายซึ่งตรงนี้สถาบันพระปกเกล้าทำข้อเสนอไปยัง กมธ.ปรองดองไปแล้ว"

มั่นใจประเทศจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไหม?"ผม เชื่อว่าได้แต่ต้องหนักแน่นหน่อย คำว่าหนักแน่นแปลว่าต้องเข้าใจบทบาทของแต่ละฝ่าย เช่น การที่ชมรมผู้ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขครั้งนี้ เราก็เข้าใจได้ มันอาจเป็นการปรามว่าอย่าทำอะไรผิดเพี้ยน ก็ดีสังคมจะได้ช่วยกันสอดส่อง ถ้าเราทำทุกอย่างโปร่งใสได้ มันไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรเลย ส่วนใครเป็นร่างทรงใคร เป็นของพรรคไหน สังคมก็เห็นหมด อยู่ไม่ได้เหมือนกัน

"ถ้ามันจะเกิดวิกฤต ผมว่ามันไม่ใช่รัฐธรรมนูญเพียวๆ มันอาจเป็นเรื่องอื่นผมไม่รู้...อาจจะเป็นดวงบ้านดวงเมืองก็แล้วแต่หรือมัน เป็นเรื่องที่เขากำลังจะเรียกสอบเรื่อง91 ศพ อะไรหรือเปล่า ก็ไม่รู้ มันมีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญอาจเป็นเหมือนเหยื่ออันหนึ่งแต่มันไม่ใช่หรอกที่จะใช้รัฐธรรมนูญ มาสร้างเงื่อนไขไปสู่ปัญหาของบ้านเมืองเพราะตัวรัฐธรรมนูญมันไม่ได้มีพิษภัย ร้ายแรงอะไรเลย มันไม่ได้เขียนเพื่อไปช่วยใครแต่เขียนเพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับเป็นกติกาที่ดี ที่สุดเราจะเอา 18 ฉบับที่บ้านเมืองเคยใช้มา มาสกัดเอาที่ดีๆ มาใช้ มันจะไปเลวกว่าเก่าได้อย่างไร"

สามารถ ย้ำว่า เงื่อนไขความขัดแย้งของประเทศเรื่องหนึ่งเกิดจากคนไม่ยอมรับกติกา จะเห็นจากตอนประชามติรัฐธรรมนูญ2550 ปรากฏว่า 57% รับ 41% ไม่รับ ใน 57% ที่รับเพราะอยากให้เกิดการเลือกตั้งเร็วๆ บ้านเมืองสงบ และค่อยไปแก้รัฐธรรมนูญภายหลัง แต่เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกติกาที่ต้องใช้ร่วมกันแต่ผลประชามติกลับมีคะแนนที่ สูสีใกล้เคียงกัน มันก็ไปไม่ได้ฉะนั้นความขัดแย้งก็เกิดขึ้น การจะลดเงื่อนไขความขัดแย้งของสังคมได้ ก็ต้องทำกติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับ

"สำหรับผม วันนี้มีหน้าที่ทำให้ดีที่สุดนะ ส่วนอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด"สามารถ ทิ้งท้าย

เราต้องยอมให้ฝ่ายค้านดื้อบ้าง

การพิจารณาของ กมธ.ใกล้เข้าถึง “หัวใจ” ในมาตรา 5 ว่าด้วยที่มา คุณสมบัติของ ส.ส.ร. ขั้นตอนการจัดทำรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ ซึ่งคาดว่าจะดุเดือดเข้มข้น เพราะ กมธ.จากซีกประชาธิปัตย์ที่เป็นเสียงข้างน้อย จะงัดเทคนิคทุกกลยุทธ์มายื้อการพิจารณา คัดค้านอย่างถึงที่สุด ซึ่งได้เริ่มปรากฏให้เห็น

สามารถ เคยเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร มีประสบการณ์ควบคุมการประชุมสภาที่ขัดแย้ง วุ่นวาย เขาบอกว่า ครั้งนี้เพื่อให้ทันเกมก็ต้องเข้าใจบทบาทฝ่ายค้านที่ต้องเล่นบทคัดค้านเต็ม ที่ บางท่านพูดว่าฝ่ายรัฐบาลต้องมีหน้าที่ทำให้เร็ว ฝ่ายค้านก็ต้องทำให้ช้า การเป็นประธานกำกับการประชุมจึงต้องประสานบทบาทของทุกฝ่าย ไม่ปิดกั้น ไม่รวบรัด ถ้ามันมีเหตุผลว่าควรจะรอหรือต้องช้า ฝ่ายรัฐบาลจะเร่งก็ไม่ได้ ทุกอย่างต้องใช้เหตุผลต่อสู้กัน

“ผมเคยนั่งบนบัลลังก์คุมการประชุม เห็นบทบาทของทุกฝ่ายหมด ก็ต้องจับเอาบุคลิกเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ต้องเข้าใจบทบาทเขา จังหวะไหนที่ต้องยอมให้เขาดื้อบ้าง จังหวะไหนต้องมีกระไดให้เขาลง มันมีเทคนิคอยู่ ซึ่งมันสอนกันลำบาก แต่ถ้าเราไปหักกันเลย วงมันจะแตก ถ้าเขาวอล์กเอาต์แล้วเป็นอย่างไร ภาพอะไรจะเกิดขึ้น

“เราจะไปบอกว่าคำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด (คำพูดของสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา) สำหรับสไตล์ผมมันไม่ได้ (หัวเราะ) มันต้องสู้กันด้วยเหตุผล ให้เกียรติกัน ใครผิดใครถูก และแต่ละคนในสภาก็เป็นผู้ใหญ่ จะให้เขาไม่ทำหน้าที่ฝ่ายค้านเลยคงไม่ได้ มันผิดปกติ ฉะนั้นที่เขาแสดงนี่มันก็เป็นเรื่องปกติ”

บทบาทของประธานต้องเป็นกลาง แต่เมื่อด้านหนึ่งอยู่กับพรรคเพื่อไทยที่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญตามนโยบาย เทคนิคของ สามารถ นอกจากเอาใจฝ่ายค้านนิดๆ โอนอ่อนผ่อนปรนอย่างที่บอก อีกด้านก็ต้องปรามพวกเดียวกัน

“ผมได้ขอร้องพวกเรากันเอง อย่าไปเปิดประเด็นใหม่สุมไฟให้ร้อนขึ้น อย่างวันแรก หมอเหวง (กมธ.) ยังติดพูดเรื่องทหารฆ่าประชาชน ผมบอกอย่าพูดเรื่องพวกนี้ หมอเหวง ท่านก็ยังขอแก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. ท่านจะเอาเลือกตั้ง ส.ส.ร.หมด ไม่เอาสรรหา แต่ท่านก็บอกผมก่อนว่า ท่านประธาน ผมต้องมีจุดยืนแบบนี้นะ คือ จุดยืน นปช. ในที่สุดท่านก็บอกว่า ท่านจะไม่ติดใจหรอก แต่ขอแสดงตามบทบาทของท่านที่มีอยู่”

การที่พรรคประชาธิปัตย์ประกาศจะให้ สส.ทุกคนแก้ไขทุกมาตรา เป็นเกมยื้อในสภา สามารถ ไม่ห่วง เพราะถ้าแก้ไขซ้ำประเด็นกัน เช่น ที่มา ส.ส.ร. ให้มาจากจังหวัดละ 2 คน มันก็สาระแค่นี้ ดังนั้นจะแก้ไขอภิปรายกันกี่คนก็ไม่เป็นไร แต่เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ทำ เพราะสังคมจะเห็นชัดเกินไปว่ามีเจตนาเพื่ออะไร

ฝ่ายค้านจะยื้อการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้นานแค่ไหน? “อยู่ที่ความใจกว้างของเรา สมมติประเด็นเดียวมีการเสนอขอแก้ไขจากฝ่ายค้านวนเวียนซ้ำซาก สุดท้ายฝ่ายเราก็อาจบอกว่า เมื่อ กมธ.เสียงข้างมากยืนยันว่าจะคงไว้ตามร่างเดิม แต่เมื่อได้ฟังเหตุผลมาพอสมควรก็ขอให้ลงมติ ก็ไม่น่ามีปัญหา”

ทำไมบรรยากาศการร่างรัฐธรรมนูญปี2555 ครั้งนี้ ถึงแตกต่างกันสิ้นเชิงกับปี 2540 เพราะเต็มไปด้วยอารมณ์ความแตกแยก การไม่เชื่อใจต่อกันและกำลังเป็นระเบิดเวลาสู่ความขัดแย้งใหญ่ ขณะที่ปี 2540 เป็นความหวังของสังคมที่ร่วมมือกันทุกภาคส่วน สนับสนุนการยกร่าง เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง

สามารถ แก้วมีชัย ในฐานะอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2540 ถอนหายใจก่อนตอบ "แตกต่างกันตรงที่ปี 2540 เป็นความเคลื่อนไหวเรียกร้องของประชาชนที่อยากจะปฏิรูปการเมือง เพราะก่อนหน้านั้นมันเพิ่งผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และก็มีการทำรัฐธรรมนูญโดยฝ่ายปฏิวัติมา จนสังคมสุกงอมต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกติกา แต่วันนี้ที่ต่างกันเล็กน้อยคือ รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งใช้มาตั้ง 8 ปี 11 เดือน ถูกฉีกโดยคณะปฏิวัติ และก็มาร่างใหม่เป็นรัฐธรรมนูญ 2550 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) สังคมก็คิดว่าอยากจะกลับไปสู่บรรยากาศที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกติกาอีก ครั้ง จะได้จบความเคลือบแคลงสงสัยว่า กติกานี้มาจากเผด็จการ"

"ยุคนี้เอาเป็นเอาตาย ไม่เหมือนเมื่อก่อนมันแค่แตกต่างความคิด ไม่เคียดแค้น อาฆาตมาดร้าย แต่วันนี้มันมีเหตุการณ์อย่างอื่นอยู่เบื้องหลังด้วย เวลามาถกเถียงกัน ไม่ใช่แค่เอาชนะกันด้วยเหตุผลแล้ว บางทีมันมีวาระอื่นๆมาผสม สมัย ชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธานพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญยุค 2540 ก็เอาแค่หลักการ เหตุผลของการปฏิรูปการเมือง ทุกฝ่ายก็เห็นด้วยว่าต้องให้สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่วันนี้มันไม่ ใช่ เรามาทำงานนี้ท่ามกลางความขัดแย้งแรง"

ถามถึงเหตุผลที่พรรคเพื่อไทยเลือกให้มาทำภารกิจครั้งใหญ่ เป็นประธานกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถ บอกว่า คงเป็นเพราะทำงานยึดหลักการตรงไปตรงมา

"ตลอดเวลาที่ผมทำหน้าที่เป็นรองประธานสภา ผมไม่เคยไปขึ้นเวทีอะไรที่ไหน ผมรักษาความเป็นกลางของผม เพราะถือว่าผมมีสถานะที่ต้องมากำกับดูแลการประชุมสภา กระทั่งหลายคนมองว่า หลังเลือกตั้งผมก็ไม่ได้ไปเป็นอะไรกับเขาเลย อาจเพราะว่าผมไม่เทกไซส์ และผมก็ไม่ไปเอาใจผู้ใหญ่ ก็นึกมาตลอดว่า วันหนึ่งผมคงถูกใช้ในเรื่องที่ผมเหมาะสมซึ่งในที่สุดมันก็เริ่มตั้งแต่พรรค มอบผมไปเป็นรองประธานกมธ.ปรองดองแห่งชาติที่มีท่านสนธิ เป็นประธานจากนั้นในช่วงแก้รัฐธรรมนูญหลายฝ่ายในพรรคมองว่า จะเอาใครมาเป็นประธาน ซึ่งก่อนเขาจะตัดสินใจ เขาก็คงมองว่าใน กมธ.นี้มีทั้งฝ่ายค้าน สว.ก็ต้องเอาคนที่ทุกฝ่ายยอมรับ ไม่ให้เปิดชื่อมาแล้วคนร้องยี้ เพราะถ้าร้องยี้มันก็ติดลบทันที ไม่ได้รับความร่วมมือ แต่เมื่อเปิดชื่อผมมาทุกฝ่ายก็บอกรับได้ บวกกับผมเคยเป็น ส.ส.ร.2540 และตอนผมเป็น สส.สมัยแรก ผมก็อยู่กมธ.พัฒนาการเมือง ซึ่งได้ติดตามการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เราก็จับเรื่องนี้มาตลอด"

กระทั่งได้มาเป็นประธาน กมธ.แก้รัฐธรรมนูญสามารถ บอกว่า พรรคให้เหตุผลกับเขาว่า เป็นคนประนีประนอมดี ไม่มีปัญหากับใคร มีความเหมาะสม เป็นที่ไว้ใจทั้งผู้ใหญ่ของพรรควิปรัฐบาล และไม่มีใครในพรรคที่ตะขิดตะขวงใจง

ได้คุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ บ้างไหม? "ไม่ เคย... ผมนี่นะบอกตรงๆ ไม่เคยโทรศัพท์ยกเว้นนานๆ (ลากเสียง)จะส่งข้อความอะไรไปเล่าให้ท่านฟัง ท่านก็จะตอบสั้นๆ มา ก็ไม่มีอะไรเรื่องรัฐธรรมนูญก็ไม่เคยคุยกันก็ถือว่าท่านอาจจะมองแล้ว...กว่า จะมาเป็นผม ก็มองกันมาแล้วมีอย่างเดียว ผมต้องทำหน้าที่ผมให้ดีที่สุด"

งานแก้มาตรา 291 นำร่องตั้ง ส.ส.ร. สำหรับสามารถถือเป็นงานประวัติศาสตร์ที่ภาคภูมิใจมาก และท้าทายที่ต้องทำให้ดีตามที่ได้รับความไว้วางใจจากพรรค

"รัฐธรรมนูญเวลาเขาออกแบบเรื่องการแก้ไขเขาผูกโยงกันหมด เราจะไปปะผุเฉพาะเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ได้มันเลยต้องแก้ทั้งฉบับ แต่เราต้องไม่ทำเอง เพราะเรามีส่วนได้ส่วนเสีย จึงมอบให้คนที่เราคิดว่าน่าจะเป็นกลาง ก็คือ ส.ส.ร.เข้าไปทำ ที่สำคัญ ถ้า ส.ส.ร.เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วประเทศตื่นตัวเราก็จะเห็นบรรยากาศเหมือนตอน เราทำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับคืนมาประชาชนทุกแห่งจะเข้ามามีส่วนร่วมวิพากษ์วิจารณ์"


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ถ้านิรโทษ พังตั้งแต่ต้น

view