สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธีรยุทธ ชำแหละทักษิณเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำปชต. ไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สินและอำนาจ

ธีรยุทธ ชำแหละทักษิณเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำปชต. ไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สินและอำนาจ

จากประชาชาติธุรกิจ

ธีรยุทธ บุญมี  ผ.อ. สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  18 มีนาคม 2555  ได้แถลงข่าวเรื่อง การวิเคราะห์การเมืองไทย แนวโน้มของวิกฤติปัจจุบัน

1.ยุคของการเมืองปัจจุบัน
ยุคของทักษิณ-การเมืองรากหญ้า ประชานิยม

 

1. การเมืองยุคของทักษิณ  ช่วงเกือบ 15 ปีที่พรรคการเมืองของทักษิณชนะการเลือกตั้งทั่วไป ได้เสียงข้างมากติดต่อกัน รวมทั้งสามารถขยายฐานรากหญ้า เสื้อแดง ระดมพลไปเลือกตั้งและชุมนุมประท้วงได้อย่างกว้างขวาง สะท้อนว่าทักษิณกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้มีบารมีทางการเมืองในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ที่มีบทบาทเปลี่ยนโฉมการเมืองไทย ซึ่งได้แก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ทักษิณจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือประเทศล่มจมยังเป็นสิ่งต้องพิสูจน์ อีกยาวนาน


2. เกิดการเมืองรากหญ้า-ประชานิยม วิกฤติการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ที่รุนแรงที่สุดคือการไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของอีกฝ่าย เพราะมองว่าไม่ใช่ของจริง ไม่ต้องสนใจจริงจัง เช่น ฝ่ายอนุรักษ์มองว่า เสื้อแดงไม่มีตัวตนเพราะถูกจ้างมา โง่จึงถูกหลอกมา ไร้การศึกษาจึงถูกชักจูงโดยทักษิณ แต่ชาวรากหญ้าเสื้อแดงกลับมองว่า ทักษิณมีบุญคุณล้นเหลือคือ

 

(ก) นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ช่วยผ่อนเบารายจ่ายของคนจนอย่างมาก  นอกจากแก้การเจ็บไข้ร่างกายแล้ว ยังแก้เจ็บใจที่แต่ก่อนไปสถานพยาบาลแล้วถูกดูถูกปฏิเสธ 

 

(ข) ชาวบ้านมองกองทุนและโครงการช่วยคนจนต่างๆ ว่าเป็นก้าวแรกที่มีการช่วยเหลือทางวัตถุโดยตรงและจริงจังแก่ชาวบ้าน

 

(ค) ชาวบ้านชอบความรวดเร็วและเด็ดขาดเอาจริงเอาจังของทักษิณ โดยเฉพาะในการปราบปรามยาเสพติด (ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ปัญหายาเสพติดกระทบโดยตรงต่อครอบครัวคนชั้นกลางล่าง ชั้นล่าง หรือคนจนในเขตเมืองมากกว่าที่คิด และลดลงมากในช่วงทักษิณ) ส่วนเสื้อแดงก็ไม่ยอมรับเสื้อเหลือง มองเป็นพวกไม่มีเหตุผล ความคิด เพราะคลั่ง “ชาติ" คลั่ง “เจ้า”

 

3. การเมืองรากหญ้ามีความสำคัญต่อประชาธิปไตย ถ้าจะมองพัฒนาการการเมืองไทยในด้านสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แล้ว ในช่วงราชาธิปไตยชาวบ้านไม่มีทั้งเสรีภาพและศักดิ์ศรี ต่อมาในช่วงเผด็จการทหารมีบางส่วนได้มีศักดิ์ศรีแต่ไม่มีเสรีภาพ ชนชั้นกลางในสังคมไทยเพิ่งจะมีเสรีภาพก็ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 และชาวบ้านระดับรากหญ้าเองก็มามีเสรีภาพในการแสดงออกหลัง 19 กันยายน 2549 การเมืองรากหญ้าจึงเป็นดัชนีบ่งชี้พัฒนาการของสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในอนาคต
 

อย่างไรก็ตาม พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นคราวๆ ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด

 

2   รากเหง้าของวิกฤติ

 

1. เรารวมศูนย์มากเกินไป ท้ายที่สุดศูนย์กลางเอาไม่อยู่
 

ก่อนรัตนโกสินทร์ไทยไม่ได้ปกครองแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ มีความหลากหลายของรูปแบบการปกครอง ขนบ วัฒนธรรม เพิ่งมีการรวมศูนย์เบ็ดเสร็จทุกด้านในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม จึงเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลาย ๆ ด้านฝังลึกอยู่ เนื่องจากทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร ชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น ส่วนชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ จึงตำหนิชาวบ้านเต็มที่ไม่ได้ เมื่อประเทศต้องการให้มาลงคะแนนเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตย พวกเขาจึงถือเป็นอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขายเสียง ขอโครงการเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านตื้นตันใจกับทักษิณที่ใช้ประชานิยมผันเอาเงินของรัฐไปช่วยชาว บ้านอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้ตัวเองจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่สตางค์แดงเดียวก็ตาม
 

ตัวอย่างความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการรวมศูนย์มากเกินไป ซึ่งต้องร่วมกันแก้ไข คือ

(ก) ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ คุณภาพชีวิต อำนาจในการใช้และควบคุมทรัพยากรพื้นฐาน ตั้งแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แร่ธาตุ ป่าไม้ การสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพอนามัย ฯลฯ มีอยู่มากและได้พูดกันมากแล้ว

(ข) ประวัติศาสตร์เป็นความภาคภูมิใจของคน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เราเน้นประวัติศาสตร์แบบกษัตริย์นิยมเป็นรัชกาลๆ ไป เกือบไม่มีเรื่องราวของคน อาชีพ สถานะอื่น ไม่มีประวัติศาสตร์สังคมโดยรวม ไม่มีการเขียนประวัติศาสตร์ว่าคนอาชีพต่างๆ มีส่วนสร้างสังคมอย่างไร ราวกับว่าไม่มีพวกเขาอยู่ ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของประเทศจึงเกิดน้อย สถานที่สาธารณะของเรามีรูปปั้น มีชื่อถนน สะพาน อาคาร สวนสาธารณะ ฯลฯ ตามพระนามพระมหากษัตริย์ เกือบไม่มีชื่อของปราชญ์ชาวไทย พระ ทูต นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร สถาปนิก นายแพทย์ นักสำรวจ นักเศรษฐศาสตร์ นักแต่งเพลง กวี ศิลปิน ดารา นักกีฬา เช่น ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปรีดี พนมยงค์ พระยาอนุมานราชธน พุทธทาสภิกขุ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ กุหลาบ สายประดิษฐ์ สุนทราภรณ์ มิตร ชัยบัญชา สุรพล สมบัติเจริญ ปรีดา จุลละมณฑล รวมทั้งบุคคลสำคัญของท้องถิ่นต่างๆ ในต่างประเทศเช่นราชสำนักอังกฤษให้อิสริยาภรณ์กับหลากหลายอาชีพ แม้แต่ชาวต่างประเทศ เปเล่ เอลตัน จอห์น บิล เกทส์ เดวิด เบคแฮม ฯลฯ ในขณะที่เรามีให้กับข้าราชการทหาร พลเรือน และภริยา กับนักธุรกิจเป็นส่วนใหญ่

(ค) ภาษา ขนบประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่นถูกทอดทิ้งละเลยไปมาก เช่น มีการรื้อถอนคุ้มจวนเจ้าเมือง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่สวยงาม แล้วสร้างศาลากลางที่อัปลักษณ์แบบไทยภาคกลางลงไปแทน วัดวาจำนวนมากก็ถูกเปลี่ยนเป็นแบบวัดภาคกลางแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์  มีการใช้ภาษาบาลี ไปเป็นชื่อถนน อำเภอ ตำบล แทนชื่อท้องถิ่น ฯลฯ ยิ่งสร้างความแปลกแยก แทนที่จะสร้างความเข้าใจ เคารพซึ่งกันและกัน
 

ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมมาตลอดชีวิต ถูกดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีศักดิ์ศรีของตัวเองให้เกิดความเคารพความรับผิดชอบตัวเอง  เมื่อชนชั้นกลางในเมืองต่อต้านคนที่มีบุญคุณเช่นทักษิณ จนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน ขึ้น พวกเขาจึงรู้สึกว่ายิ่งถูกซ้ำเติม ไม่ได้รับความเป็นธรรม ศูนย์กลางใช้ 2 มาตรฐานต่อพวกเขา จึงเกิดการไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลางขยายตัวกว้างขวางขึ้น

2. ความต่างในค่านิยม ความคิดพื้นฐานระหว่างรากหญ้ากับชนชั้นนำ ตอกย้ำความไม่เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านอยู่กับความยากจนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จึงชอบวัตถุจับต้องได้อย่างเห็นชัดๆ ชอบความไวทันใจแบบปาฏิหาริย์ ชาวบ้านจึงชอบตะกรุด หลวงพ่อคูณ (กูให้มึงรวย) แทงหวย ชอบทองคำ ซึ่งบ่งบอกถึงความรวยชัดๆ (มวยไทยเก่งๆ ได้แจกสร้อยทองคำ) ชาวบ้านยังมีค่านิยมแบบนักเลง มีน้ำใจให้กัน พึ่งพากันได้ ชอบฮีโร่หรือวีรบุรุษที่สร้างความหวัง (ส่วนใหญ่ไม่สมหวัง) ให้กับตน ชอบผู้นำที่ฉับไว กล้าได้กล้าเสีย ไม่ต้องยกแม่น้ำทั้งห้า ส่วนคนชั้นสูงชอบระเบียบ ความสงบ เรียบร้อย เพราะเท่ากับว่าคนที่ต่ำกว่ายอมรับโครงสร้างอำนาจเดิม และมองว่าระเบียบเป็นสิ่งเดียวกับประสิทธิภาพ แต่เมื่อใช้กับระบบราชการที่มีอยู่มานานจึงเชื่องช้า (นี่เป็นค่านิยมหลักของประชาธิปัตย์ที่ถูกวิจารณ์หนักมาตลอด) ชนชั้นสูงชั้นกลางเน้นการพึ่งตนเองและระบบ เน้นวัตถุเหมือนชาวบ้านเช่นกันแต่พยายามมีคำอธิบาย พวกเขาเน้นนามธรรม และชอบเทศนาคุณธรรม ความดี จึงเป็นที่มาของความต่างระหว่างประชาธิปไตยกินได้ของชาวบ้านกับประชาธิปไตย ดูได้ของชนชั้นสูง



3 มุมมองใหม่ของปรากฏการณ์ของ การเมืองรากหญ้า ขบถ"คนเล็กคนน้อย"

1. จะเข้าใจปรากฏการณ์เสื้อแดงได้ดีขึ้น ถ้ามามองทฤษฎีวงจรอุบาทว์หรือทฤษฎีสองนคราฯ ให้ลึกลงในระดับโครงสร้าง เราเคยอธิบายว่าการเมืองไทยเป็นสองนคราธิปไตย คือคนชนบทตั้งรัฐบาล -คนเมืองล้มรัฐบาล หรือคนชนบทซื้อ-ชายเสียงเลือกตั้ง - นักการเมืองถอนทุน ชนชั้นกลางไม่พอใจ ทหารรัฐประหาร  เลือกตั้งใหม่
 

แต่นี่เป็นการมองเชิงปรากฏการณ์ ถ้ามองเชิงโครงสร้างเราจะมองเห็นวงจรของการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจการ เมืองซ้อนทับอยู่ คือ ชนบทเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งที่มาที่ชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย (ซึ่งก็คือการเลือกตั้ง) ส่วนเมืองเป็นแหล่งผลิตใช้ทรัพยากร และเป็นผู้ใช้อำนาจประชาธิปไตย และเพื่อให้วงจรนี้ดำรงต่อไปได้ก็มีการครอบงำชาวบ้าน โดยวาทกรรมความสำคัญของศูนย์กลาง ของประชาธิปไตยคนดี และมาตรการสุดท้ายคือรัฐประหาร


ประเทศตะวันตกไม่เกิดวงจรอุบาทว์นี้ เพราะเขาทำให้ประชาชนทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศ มีส่วนร่วมรับผิดชอบ กล้าใช้สิทธิเสรีภาพของตน ประชาธิปไตยในต่างประเทศไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ต้องมีการลงทุนด้านสังคม การศึกษา ค่านิยม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม รับผิดชอบ กลุ่มธุรกิจ ธนาคาร อุตสาหกรรม และภาคสังคมเป็นตัวหลักในการสร้างมหาวิทยาลัย โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ที่ประชุม ชุมชน หอศิลป์ ที่ฟังดนตรี สร้างสังคมที่ดี สวยงาม น่าอยู่ น่ารับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ

 

ชนชั้นนำไทยละเลยภารกิจนี้โดยสิ้นเชิง กลับโยนความไม่เป็นประชาธิปไตยไปที่ชาวบ้าน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ชนชั้นสูงของไทยสร้างค่านิยม อุดมการณ์แบบนิยมกษัตริย์ ทหารเน้นอุดมการณ์ความมั่นคง ส่วนกลุ่มทุน ธุรกิจต่างๆ ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบหรือร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หรือสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยขึ้นเลย ชนบทจึงเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นผู้ลงคะแนนเสียง หรือแหล่งที่มาของความชอบธรรม (legitimacy) ของประชาธิปไตยที่ดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยที่ตัวเองเกือบไม่ได้อะไร

 

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็รู้ดีว่าอำนาจต่อรองทำให้เกิดผลประโยชน์ได้ เมื่อคนเมืองต้องการให้พวกเขาลงคะแนนเลือกตั้ง การซื้อ-ขายเสียงอย่างเป็นระบบ การของบโครงการเข้าหมู่บ้านจึงเริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2521 และขยายตัวเรื่อยมา สังคมทั่วไปประณามว่าเป็นเหมือนมะเร็งร้ายของประชาธิปไตย แต่ถ้าจะมองว่าเป็นการแบ่งปัน ขอคืน ของชาวชนบทก็ได้เช่นกัน

 

การเกิดขึ้นของการเมืองรากหญ้าจึงเสมือนเป็นกระบวนการย้อนกลับที่จะดึง เอาอำนาจ ความมั่งคั่ง ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ กลับคืนสู่ชนบท จะเป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดผลยั่งยืนแก่ประชาธิปไตยถ้ากระบวนการนี้ยั่งยืน แล้วสร้างความเป็นธรรมในที่สุด เพราะความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำต่างๆ เป็นรากเหง้าลึกที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาเหลือง-แดง การเมืองรากหญ้า-ประชานิยม 

 


2. เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจ เมืองไทยยุค 2 ก๊ก ก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก “คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง
 

ขณะที่การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า ซึ่งเป็นภาวะที่ทั้งน่าสนใจและน่าเป็นห่วงมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเปลี่ยน แปลงการเมืองทั้งหมดที่ผ่านมา ภาวะ 2 ศูนย์อำนาจจะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมีฐานที่มั่น ที่มาความชอบธรรม (legitimacy) ควบคุมอำนาจที่ต่างกันชัดเจน

 

จะเห็นได้ว่าฝ่ายเสื้อแดง-รากหญ้าอยู่ในสถานะได้เปรียบ ฝ่ายอนุรักษ์เสียเปรียบ เพราะ (ก) แนวทางและวาทกรรมในการต่อสู้ของเสื้อแดงจูงใจคนเล็กคนน้อย (แต่เป็นคนส่วนใหญ่ได้) ส่วนของความคิดอนุรักษ์จำกัดอยู่ในเรื่องชาติและพระมหากษัตริย์  (ข) เสื้อแดงมีความชอบธรรมในเรื่องประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมสากลของโลกปัจจุบัน ส่วนความชอบธรรมของฝ่ายอนุรักษ์เป็นเชิงประวัติศาสตร์ประเพณีซึ่งเกาแก่และ สึกกร่อนได้  (ค) วิสัยทัศน์ของพลังอนุรักษ์ตีบตันจึงเป็นฝ่ายตั้งรับ ในขณะที่ฝ่ายรากหญ้าเส้นทางเปิดกว้างเพราะสามารถคิดสิ่งใหม่ๆ มาให้กับชาวบ้านได้ โดยมีงบประมาณ ทรัพยากรรองรับ
 

ภาวะ 2 ศูนย์กลางไม่เป็นผลดีในที่สุดต้องเหลือเพียงศูนย์เดียว ในระยะยาวโอกาสของพลังฝ่ายรากหญ้ามีมากกว่า

 

4 บทสรุป ไม่มีทางออกในระยะใกล้ มีแต่สิ่งที่ต้องทำเพื่อทางออกระยะยาว

 

1. ไม่มีทางออกจากการรอมชอมในระยะสั้น เพราะปัญหาฝังลึกมานาน ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าตัวเองถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีปากเสียงมานาน อีกฝ่ายศรัทธาในสถาบันที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมานาน ต่างเชื่อว่าอีกฝ่ายจะล้มล้างหรือซ้ำเติมฝ่ายตน

2. การขยายตัวของขั้วทักษิณ-รากหญ้า มีโอกาสทำให้เกิดการแตกร้าวระดับโครงสร้างและสถาบันมากขึ้น
 

 ดังที่กล่าวว่า วงจรการเมืองเป็นเสมือนการย้อนเอาอำนาจ รายได้ ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ ความยุติธรรมกลับคืน เส้นแบ่งระหว่าง 2 ศูนย์อำนาจนอกจากจะเป็นความเสียเปรียบ/ได้เปรียบ คนต่ำต้อย/คนชั้นสูง มีแนวโน้มขยายเป็นเรื่องอัตลักษณ์ (คนอีสาน เหนือ ใต้ กรุงเทพฯ) วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับการเมืองประชาธิปไตยในแง่ที่จะเกิดความหลากหลายทาง อัตลักษณ์ วัฒนธรรม การตระหนักในอำนาจ ศักดิ์ศรีของตนเองกับคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต แต่ถ้าเป็นวงจรการเมืองแบบเอาคืนหรือทีใครทีมันอย่างสุดขั้ว ก็จะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อได้ และจะเป็นเรื่องเสียหายเกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุดถ้าเส้นแบ่งขั้วขัดแย้ง ขยายเข้าไปสู่สถาบันกองทัพ ศาล เป็นต้น
 

 

อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองจะผ่านความรุนแรงไปได้อย่างน้อยช่วงหนึ่งถ้าทักษิณและเพื่อไทยมอง เห็นว่า เวลาอยู่กับฝ่ายตน ไม่จำเป็นต้องกดดันให้มีการเผชิญหน้าของมวลชน และใช้เวลาดังกล่าวแก้ไขความไม่ถูกต้อง ซึ่งมีมาช้านานให้ดีขึ้น แต่ก็ควรมุ่งเชิงโครงสร้างและค่านิยมที่ถาวรมากกว่า

3. ต้องมีการปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดใหม่ว่า ประเทศไทยควรเป็นอย่างไร ทั้งในด้านการเมืองการปกครอง การปฏิรูปปรับปรุงสถาบัน องค์กร สำคัญๆ ต่างๆ ทั้งหมด อาทิ

• รูปแบบการปกครองประเทศควรเป็นอย่างไร ควรจะกระจายอำนาจการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจ การศึกษาในระดับภูมิภาค การพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร

• เป็นที่ประจักษ์ชัดจากความขัดแย้งปัจจุบันว่า ได้ลุกลามไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ นักวิชาการรวมทั้งนักคิดที่ใกล้ชิดราชสำนัก เช่น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล นพ.ประเวศ วะสี อานันท์ ปันยารชุน ควรสร้างการศึกษาค้นคว้า สร้างความรู้ที่ถูกต้องว่า สถาบันกษัตริย์ควรจะดำรงอยู่ในระบบเสรีประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์อย่างไร

 

โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการ อนุรักษ์สุดขั้วบางส่วน ที่พยายามจะหวนกลับมายกย่องให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีพระราชอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการย้อนยุค สถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและโลกยุคข่าวสารได้ ยั่งยืน ก็ต้องเป็นสถาบันที่มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่ ภารกิจตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแล้ว ยังมีภารกิจตามขนบประเพณี ทางศาสนา วัฒนธรรม และที่สังคมคาดหวัง เช่น เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งที่มาของเกียรติยศ จริยธรรม คุณธรรม พิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น

• นักเศรษฐศาสตร์สำคัญทั่วโลกล้วนสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะมีส่วนดีในหลายด้านแต่ก็ล้มเหลวในที่สุดในทุกประเทศที่ เคยใช้มา เพราะเกิดปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อรุนแรง สังคมต้องช่วยกันกดดัน วิพากษ์ วิจารณ์ทักษิณและพรรคเพื่อไทยทีจะพัฒนาเปลี่ยนรูปนโยบายนี้ให้ไปในทิศทางที่ ถูกต้อง

• ผู้ที่ควรร่วมคิด ผลักดันประเด็นข้างต้นควรเป็นนักวิชาการเสื้อเหลือง แดง และนักวิชาการทั่วไปที่ไม่ยึดแนวสุดขั้วจนปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่ง ภาคธุรกิจ กลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งอยู่ตรงกลางมากที่สุด แต่ก็มีผลได้ผลเสียจากความขัดแย้งปัจจุบันมากที่สุด ควรมีบทบาทชดเชยสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ ด้วยการลงทุนสร้างความยุติธรรม บรรยากาศ ค่านิยมประชาธิปไตยให้กว้างขวางที่สุด

 

4. การเกิดขั้วทางอำนาจนี้ คงดำเนินต่อไปอีกยาวนาน มีโอกาสเกิดการชุมนุมประท้วงรุนแรงขึ้นได้อีก จำเป็นที่เราต้องยกระดับให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเข้มแข็ง (strong democracy) ที่ใช้ทั้งสิทธิและเสรีภาพและตามลักษณะที่เข้มแข็งทั้ง 3 ด้าน (strong right, strong freedom, strong responsibility) คือเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็รักษาสิทธิของตน รับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเต็มที่

ทุกฝ่ายต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็เคารพสิทธิ กล้าใช้สิทธิของตนเอง เช่น ไม่ควรยินยอมให้พลังฝ่ายใดทำรุนแรงเกินเหตุ เช่น การยึดทำเนียบ การขับไล่ล้มการประชุมนานาชาติ การยึดสนามบินสุวรรณภูมิ การยึดราชประสงค์ จนเกิดการปราบปรามและการเผาราชประสงค์อีกต่อไป แต่ละฝ่ายควรรักษาสิทธิของตนเองอย่างจริงจัง เพราะการกระทำดังกล่าวแม้จะอ้างว่าทำด้วยเจตนามุ่งหมายที่ดี แต่เมื่อเกิดผลเสียหายขึ้นแล้วก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเท่าเทียมกัน เพื่อรักษาระบบยุติธรรมของประเทศเอาไว้ ส่วนจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมทั้งหมดจะช่วยกันพิจารณา

 

โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตย รากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอมากกว่าจะ ให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย อุดมการณ์การเมืองที่มีความสามารถชี้ทางออกที่เหมาะสมให้สังคมไทยได้ ซึ่งเท่ากับประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น


"ทักษิณ"ไม่รู้จักอิ่ม-ธีรยุทธชี้เหตุขัดแย้ง

จาก โพสต์ทูเดย์

ธีรยุทธแถลงวิเคราะห์การเมืองไทย ชี้ "ทักษิณ"ไม่รู้จักอิ่มต้นเหตุปัญหาขัดแย้ง แนะทุกฝ่ายลดกดดันเผชิญหน้า เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

เมื่อเวลา 10.00 น. นายธีรยุทธ บุญมี ผอ.สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นัดสื่อมวลชนเพื่อแถลงข่าววิเคราะห์การเมืองไทย แนวโน้มของวิกฤตปัจจุบัน ณ ห้องวรรณไวทยากรณ์ ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

นายธีรยุทธ กล่าวว่า เหตุที่ออกมาพูดช้า 2 ปี ซึ่งมีคนทักว่าทำไมไม่ออกมาในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ แต่มาพูดรัฐบาลนี้ สาเหตุมาจาก 1.ปัญหาด้านสุขภาพที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ และ 2.การเมืองไทย รอบ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ออกมาพูดได้ยากลำบาก จึงอยากมองการเมืองให้รอบด้าน ก่อนออกมาวิเคราะห์ปัญหาด้านการเมือง

ยุคการเมืองปัจจุบัน ยุคของทักษิณ – การเมืองรากหญ้า ประชานิยม

การเมืองยุคทักษิณ ตลอด 15 ปีที่ผานมา พรรคการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชนะการเลือกตั้งทั่วไป 4 ครั้ง โดยมาจากการขยายฐานรากหญ้า เสื้อแดงไปชุมนุมประท้วงกว้างขวาง หากให้ประเมิน ตั้งแต่ปี 2500 นักการเมืองที่มีบารมีมากที่สุด ประกอบด้วยกัน 3 คน คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พล.อ.เปรม ติณสูลนนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และพ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้น ที่คิดว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมือง คือ จอมพลสฤษดิ์ และพล.อ.เปรม ส่วนทักษิณจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้น หรือ เสียหายให้ล่มจมต้องพิสูจน์อีกยาวนาน

อย่างไรก็ดี ส่วนตัวอยากให้ทักษิณกลับประเทศ เพราะคิดถึงเพื่อนเก่า ขาประจำซึ่งกันและกัน พ.ต.ท.ทักษิณเคยท้าพนัน เมื่อปี 2546 ว่าจะหลุดอำนาจหรือเสื้อกั๊กขาดก่อน ตอนนี้เขาก็ออกไปนอกประเทศ แต่เสื้อผมก็ขาดแล้ว มี 2 รู ถือว่าเจ๊ากันไป ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับโทษ และหาทางสู้คดีใหม่ ส่วนตัวฟังคำตัดสินซุกหุ้นและหนี้ภาษีถือว่าผิด แต่คนส่วนใหญ่เห็นใจ และอยากให้มีนิรโทรษกรรม ส่วนตัวจะช่วย หากพ.ต.ท.ทักษิณกลับมายอมรับโทษ ซึ่งจะเป็นการรักษาระบบยุติธรรมของประเทศ ซึ่งสำคัญกว่าตัวบุคคล

การเมืองรากหญ้า-ประชานิยม บ้านเราถือว่าเป็นการเปิดฉากใหม่ของการเมือง แต่ปมปัญหาและวิกฤตรุนแรง คือ ไม่มีการยอมรับซึ่งกันและกัน และการดำรงอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งถืวอ่ารุนแรงมากที่สุด ทำให้อีกฝ่ายไม่มีตัวตน ดังนั้น เสื้อแดงไม่รับเสื้อเหลือง เพราะไม่มีความคิดหรือเหตุผล คลั่งชาติ เสื้อเหลืองก็บอกว่าแดงถูกจ้าง ไร้การศึกษา ถูกจ้างมา จึงมองไม่เห็นว่ามีตัวตน

ทั้งนี้ จากการที่ออกไปพบปะพูดคุย ประเด็นใหญ่ เพราะเขาถูกดูถูก ทำให้เสื้อแดงขยายตัว ขณะนี้จึงอยากให้ยอมรับการดำรงอยู่ จากนั้น ทำความเข้าใจพวกเสื้อแดง ส่วนมุมมองใหม่ว่าทำไมเสื้อแดงขยายตัว และเป็นตัวสำคัญในการตัดสินการเลือกตั้งมาโดยตลอด ตรงนี้เป็นจุดรเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดการสมานฉันท์ในอนาคต รวมถึงหนทางที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันทำอย่างไร

เหตุผลที่เสื้อแดงชอบทักษิณ มีด้วยกัน 4ประเด็น คือ 1.นโยบาย 30 บาท เป็นการช่วยศักดิ์ศรี ในการไปโรงพยาบาลแล้วไม่ถูกดูถูกเหมือนสมัยก่อน 2.กองทุนหมู่บ้าน ที่ลดค่าใช้จ่ายของชาวบ้าน 3.เรื่องยาเสพติดที่กระทบคนชั้นล่าง และกลาง มาก เท่าที่ตรวจสอบเขาพอใจกับนโยบายการปราบปรามยาเสพติด เพราะเป็นปัญหาจริงๆ เนื่องจากกระทบถึงลูก หลาน และครอบครัว

การเมืองรากหญ้ามีความสำคัญต่อประชาธิปไตย หากมองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมีการพัฒนา เสื้อเหลือง และเสื้อแดง เป็นการเมืองที่พัฒนามาจาก 14 ตุลาฯ เพราะสมัยนั้นเป็นคนชั้นกลาง กลุ่มุธุรกิจทำให้เกิดพื้นที่ของชาวบ้าน ดังนั้น หากมองการปกครองก่อน 2475 ชาวบ้านไม่มีเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นคน เมื่อหลัง 2475 ชาวบ้านมีเสรีภาพในการแสดงออก แต่คนชั้นสูง ข้าราชการมีฐานะในสังคม แต่เการเมือง มื่อหลัง 19 ก.ย. 2549 การเมืองรากหญ้าจึงเป็นดัชนีบ่งชี้การพัฒนาการด้านเสรีภาพในสังคมไทย แม้จะเป็นจุดเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ตามมาในอนาคต

นอกจากนี้ พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นครั้งคราว ยังไม่เป็นขบวนการ ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด

รากเหง้าของวิกฤต ต้องมองให้ลึกกว่าปัญหาพ.ต.ท.ทักษิณ แกนนำเสื้อเหลือง เสื้อแดง และปัญหารากเหง้าจริงๆ คือ “การรวมศูนย์มากเกินไป ศูนย์กลางเอาไม่อยู่”  การรวมศูนย์เบ็ดเสร็จทุกด้านในสมัยร.5 โดยรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความน้อยเนื้อต่ำใจ ยังฝังลึก ชนชั้นนำเข้ามามีอำนาจทางการเมืองหยิบฉวยประโยชน์จากรัฐ ส่วนชาวบ้านไม่เคยได้อะไรจากรัฐ 

ดังนั้น ตำหนิไม่ได้เต็มปาก เวลาซื้อขายเสียง เพราะคล้ายว่าเราไม่เคยทำอะไร ส่วนกลางไม่ได้เหลียวแลจ่ายกลับคืนเท่าที่ควร เวลามีอำนาจต่อรอง ชาวบ้านก็ฉลาดพอที่จะต่อรอง คือ เป็นวัตถุ งบประมาณ โครงการเข้าหมู่บ้าน   แต่ชาวบ้านตื้นตันในตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ใช้ประชานิยมผันเงินของรัฐไปช่วยชาวบ้าน แม้ตัวเองจะไม่ได้จ่ายก็ตาม ดังนั้น ผลการรวมศูนย์มากไป จึงต้องได้รับการแก้ไข การควบคุมทรัพยากรพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพอนามัย แต่ประเด็นสำคัญ คือ ปัญหาประวัติศาสตร์ สังคม

“ร.6 เน้นแบบกษัตริย์นิยม ไม่มีประวัติศาสตร์สังคมโดยรวม คนอาชีพต่างๆ ไม่มีส่วนร่วมในการสร้างประเทศ ดังนั้น สังเกตตามที่ถนนมีชื่อซอยตามพระนามกษัตริย์ ไม่มีชื่อปราชญ์ นักการทูต สถาปนิก กวีศิลป์ ทำให้ไม่เกิดความภูมิใจในการร่วมสร้างประเทศ เพราะเอียง เนื่องจากรวมศูนย์ราชานิยม เป็นเรื่องของข้าราชการที่อยากเอาอกเอาใจเจ้านาย แต่เกิดผลในความรู้สึกรวมของสังคม ไม่เหมือนต่างประเทศ เช่น ราชสำนักอังกฤษ ให้อิสริยาภรณ์กับคนหลากหลายอาชีพ แต่บ้านเราได้เฉพาะคุณหญิง คุณนาย ทหาร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น ควรมีการแก้ไข เพราะขนบ ธรรมเนียม วัฒนธรม ได้ถูกทำลายลงไป” นายธีรยุทธ กล่าว

 ทั้งนี้ ชาวบ้านรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม ในด้านทรัพยากร ดูหมิ่น ศักดิ์ศรี เมื่อเกิดรัฐประหาร คนเมืองต่อต้านทักษิณ ศูนย์กลางใช้สองมาตรฐานการไม่ยอมรับอำนาจจึงขยายตัว ความคิดพื้นฐานของคนชั้นนำกับรากหญ้า ทำให้เกิดความไม่เข้าใจ ชาวบ้านมีค่านิยมแบบนักเลง ชอบฮีโร่และวีรบุรุษที่ให้ความหวัง ชอบคนกร่างๆ แบบ นายจตุพร พรหมพันธ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ดูเรียบร้อย แต่พูดจาฉะฉาน

ความแตกต่างในค่านิยมระหว่างชนชั้นล่าง และชนชั้นสูง/กลาง

ค่านิมยมชีวิตทั่วไป ชนชั้นล่าง ชอบความง่าย สนุกสนาน รู้สึกชีวิตไม่เป็นธรรม ชอบวัตถุจับต้องได้ เน้นการพึ่งพาช่วยเหลือกัน ใจกว้างนักเลง ขณะที่ชนชั้นสูง  ชอบระเบียบ กระบวนการ ความสงบเรียบร้อย มารยาท ช่องทางเปิดกว้าง นามธรรม คุณธรรม ความดี แต่ก็ชอบวัตถุ เน้นการพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง

ค่านิมยมทางการเมือง ชนชั้นล่าง ชอบผู้นำวีรบุรุษ นโยบายประชานิยม ประชาธิปไตยกินได้ สำหรับนักการเมืองชอบประชาธิปไตย “กู” ได้กิน ขณะที่ชนชั้นสูง ไม่ชอบพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ไม่เคารพกติกา ไม่ชอบประชานิยม เพราะทำให้คนไม่รับผิดชอบตนเอง ชอบประชาธิปไตยคนดี หรือประชาธิปไตยดูได้

มุมมองใหม่ของปรากฎการณ์ การเมืองรากหญ้า ขบถ “คนเล็กคนน้อย” ชาวบ้านที่ลุกมาประท้วงความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ อัยการ ตำรวจ ที่ด้อยกว่ากัน พ่อค้า แท็กซี่ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ด้อยกว่า หากมองว่าเดิมเป็นวงจรอุบาทว์ มีการซื้อเสียง ถอนทุน มีการรัฐประหาร แต่ในเชิงโครงสร้างจะพบวงจรเชิงเศรษฐกิจการเมืองทับซ้อนอยู่ ชนบท เป็นแหล่งที่มาทรัพยากร แรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย

ส่วนเมืองแหล่งผลิตในการใช้ทรัพยากร และเป็นผู้ใช้อำนาจประชาธิปไตย เพื่อให้วงจรดังกล่าวได้ครอบงำชาวบ้าน โดยวาทกรรมความสำคัญของศูนย์กลาง ของประชาธิปไตยคนดี และมาตรการสุดท้าย คือ รัฐประหาร แต่ที่น่าสนใจ การเมืองรากหญ้าเกิดวงจรย้อนกลับ คือ ชนบท พยายามดึงทรัพยากรความมั่นคั่ง ด้วยการต่อรองกับพรรคการเมือง อนาคตจะมีประชานิยมเกิดขึ้นมาก ด้านอำนาจนำการต่อสู่ด้วยวาทะกรรมประชาธิปไตยกินได้ และการวิจารณ์สถาบันอำนาจอนุรักษ์ นิยม มองอำนาจวงจรอุบาว์ จะสามารรถเกิดขึ้นกระบวนการรกหญ้าหรือเสื้อแดงได้

การเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก “คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง

สองศูนย์น่าเป็นห่วง เพราะเป็นการแบ่งประเทศเป็น 2 ส่วน แต่ละฝ่ายมีความชอบธรรมและที่มั่น การควบคุมอนุรักษ์ ควบุคุมด้านความมั่นคง ตุลาการ จิตวิญญาณ รากหญ้า คุม การออกนโยบายบริหารงบประมาณ ซึ่งรากหญ้ามีความได้เปรียบ ดังนั้น แนวโน้มเสื้อแดงมีโอกาสขยายจตัวจากนโยยบายประชานิยม เช่น โอทอป ประกันพืชผล ขยายไปได้เรื่อยๆ รวมถึงประชานิยมด้านสังคม เช่น สตรี เด็ก แจกคอมพิวเตอร์แทปเล็ต เขาเกิดความประทับใจทักษิณ เพราะได้ของใหม่ 

ขบถคนเล็กคนน้อย อัตลักษณ์วัฒนธรรม ดังนั้น เสื้อแดงได้เปรียบ ฝ่ายอนุรักษ์ เสียเปรียบ เสื้อแดงเป็นฝ่ายรุกตลอด เพราะวิสัยทัศน์ของเสื้อเหลืองจำกัดและตีบตัน ส่วนแดงคิดต่อไปได้เรื่อยๆ เพราะมีงบและทรัพยากรรองรับ ดังนั้น ศูนย์กลางต้องเหลือเพียงศูนย์เดียว ส่วนจะเหลืออย่างไร ไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่เท่าที่ดู คือ ยุทธศาสตร์พื่อไทย หรือทักษิณ มี 3 ขา  คือ 1.ขยายฐานรากหญ้า 2.สลายอำนาจฝ่ายตรวจสอบ เช่น องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ และ 3.ดึงกำลังมั่นคง เช่น กองทัพ มาเป็นพวก ฃ

ส่วนฝ่ายอนุรักษ์ ไม่มีทางออก คือ ขยายรากหญ้า ไม่มีทางทำสำเร็จ เพราะไม่มีวาทะกรรมใหม่ๆ นอกจากอดทน พอเพียง หรือ เป็นคนดี เพราะหากคนไม่มีความหวังก็เหนื่อย เช่น คนจนมากๆ และเจอคนรวยบอกว่าอดทน เขาจะโกรธ เพราะเขาลำบาก นักคิดฝ่ายอนุรักษ์ เน้นนามธรรม อย่างน้อยพูดนามธรรม แต่ตัวเองอยู่สุขสบายกว่า ดังนั้น คนจนจะขมขื่นมากเมื่อเจอภาวะเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ยังไม่เห็นทางที่ฝ่ายอนุนักษ์จะขยายตัว มีแต่หดตัว หากไม่มีการปรับแนวคิดใหม่

สรุป ไม่มีทางออกระยะใกล้ แต่ต้องสิ่งต้องทำเพื่อทางออกระยะยาว ความขัดแย้งลงลึก กลายเป็นปัญหาโครงสร้างทางวัฒนธรรม ประเพณี เป็นอุดมการณ์พื้นฐานของแต่ละฝ่าย  เชื่อว่าจะกระเทือน และมีกาลดทอนอำนาจ ทำลายสถาบัน คู่บ้านคู่เมืองของตน ส่วนอีกฝ่าย ถูกเอารัดเอาเปรียบไม่มีปากมีเสียง การขยายตัวของขั้วรากหญ้า ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้ความแตกร้าวทางโครงสร้างจะขยายตัว ทั้งนี้ หากขยายไปในทางอัตลักษณ์ เป็นภาคเหนือ อีสาน กลาง จะยกระดับมิติของปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหา จะเหนื่อยและลำบาก นำไปสู่การแก้ปัญหาไม่ถูกทาง เป็นการเสียหายมาก คือ การแบ่งขั้วไปสู่กองทัพ และศาล เกิดรุนแรงย่อยๆ เปรียบได้กับรัฐประหารย่อยๆ เกิดขึ้น

ความนุรนแรงจะผ่านไปได้ หากพ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อไทยยุติให้เกิดการเผชิญหน้าของเสื้อเหลืองและเสื้อแดง และมุ่งเชิงโครงสร้างและค่านิยมที่ถาวร เสนอปรับความคิดใหม่การปกครองประเทศไทยควรเป็นอย่างไร จะกระจายการพัฒนาท้องถิ่น เศรษฐกิจ เพิ่มเติมหรือไม่ ควรมีการพัฒนาวัฒนธรรมประเพรณีประวัติศาสตร์ให้สมดุล

ความขัดแย้งลุกลามไปถึงการวิจารร์สถาบันกษัตริย์ นักคิด นักวิชาการ ที่ใกล้ชิดราชสำนัก อาทิ นพ.ประเวศ อานันท์ และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขามูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นความหวัง ของความคิดที่เที่ยงตรงและสร้างสรรค์ ควรผลักดันความรู้การดำรงอยู่ ในโลกยุคข้อมูลข่าวสารอย่างไร และไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการที่สรันสนุนให้สถาบันกษัตริย์ มีอำนาจเหมือนสมมติเทพ มีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นการย้อนยุค แต่สถาบันต้องเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะเป็นเรื่องดี แต่มีจุดทำให้ล้มเหลว ดังนั้น สังคมต้องร่วมกันกดดันวิพากษ์วิจารณ์พ.ต.ท.ทักษิณ พรรคเพื่อไทย ให้ดำเนินการแนวทางดังกล่าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวควรผลักดันด้วนกลุ่มนักวิชาการทั้งทั่วไป เสื้อเหลือง เสื้อแดง อีกทั้ง ที่สำคัญคือภาคธุรกิจ เนื่องจากอยู่ตรงกลางมากที่สุด มีส่วนได้เสียกับผลประโยชน์บนความขัดแย้ง ควรมีบทบาทชดเชยด้วยการลงทุนสร้างความยุติธรรม บรรยากาศค่าความเป็นประชาธิปไตยให้กว้างขวางที่สุด 

ซึ่งสิ่งที่ต้องทำ ทุกฝ่ายต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น ขณะเดียวกันต้องกล้าใช้สิทธิของตัวเอง เช่น ไม่ยอให้ฝ่ายใดทำรุนแรงเกินเหตุ อาทิ ยึดทำเนียบ สนามบินสุวรรณภูมิ ชุมนุมแยกราชประสงค์ การล่มประชุมนานาชาติ เป็นการใช้อำนาจมากเกินไป หากมีการยึดอีกต้องออกมาปกป้องสิทธิ์ และต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อรักษากระบวนการยุติธรรมของประเทศ ส่วนจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมทั้งหมดต้องร่วมกันพิจารณา

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ นอกจากอ้อนวอนขอกลับประเทศ และพ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้นำการตลาดมากว่าประชาธิปไตย ที่มุ่งหวังรากหญ้าให้ซื้อสินค้าของตนเองเป็นประจำ มากกว่าสร้างรากหญ้าเป็นฐานที่มั่นของระบบเศรษฐกิจไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย อุดมการณ์การเมืองที่มีความสามารถชี้ทางออกที่เหมาะสมให้สังคมไทยได้ ซึ่งเท่ากับประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า กระบวนการเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในขณะนี้ที่อาจส่งผลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเมืองไทย นายธีรยุทธ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าในอนาคตจะมีการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรงมากขึ้น ดังนั้น สังคมไทยต้องเปิดพื้นที่เสรีภาพในการร่วมกันรับผิดชอบประเทศในมทุกมิติทุก ปัญหา ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่เสรีภาพดังกล่าวที่ต้องมี การพูดถึง โดยตนจะสนับสนุนให้มีการพูดหรือวิเคราะห์ปัญหาในทางกว้างขวางขึ้น

โดยเฉพาะเรื่องการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบเสรีประชาธิปไตย และในโลกาภิวัฒน์ เพื่อเสนอแนะหนทาง ส่วนเรื่องมาตรา 112 นั้น หากพูดในเชิงหลักการ เบื้องต้นอยากให้นักคิดนักวิชาการที่มีความรู้ในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่อง สถาบันและการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ มาถกเถียงกันถึงสถานะ บทบาทหน้าที่อำนาจภารกิจให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ตนจะออกมาพูดในเรื่องนี้โดยเฉพาะอีกครั้งในเร็วๆนี้

“ถ้าเรื่องมาตรา 112 โดยตรงนั้น โดนส่วนตัวผมรู้สึกเป็นปลายทางของการถกเถียง ต้องให้มีการถกในหลักการใหญ่ๆให้ได้ก่อน และปัญหาเหล่านี้จะได้คำตอบ ก่อนอื่นนักกฎหมายต้องช่วยกันนิยามคำว่าพระบรมเดชานุภาพคืออะไร เพราะตอนนี้พูดกันคนละทางทั้งตำรวจ ศาล นักวิชาการ และชาวบ้าน หากไม่รู้ความหมายจะตกลงกันไม่ได้ ดังนั้นการหมิ่นที่ไม่เข้าใจชัดเจนจะถูกตีความหลากหลาย ผมมองเห็นทางหากมองภารกิจหน้าที่ของสถาบันจะรู้ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็น อย่างไร และจะไม่ถูกใช้มั่วๆ หรือ ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง” นายธีรยุทธ กล่าว

เมื่อถามถึงหากฝ่ายการเมืองใช้หลักการตลาดในช่วงเปลี่ยนผ่าน ประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางไหน กล่าวว่า ต้องถือว่าน่าผิดหวัง กล่าวรากหญ้าสนับสนุนพรรคเพื่อไทย ที่มีอำนาจเชิงงบประมาณ หากใช้เพื่อการตื่นตัวในทางอำนาจ การบริหารทรัพยากรท้องถิ่น  แต่หากใช้เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ จะเกิดผลเสียที่นักเศรษฐศาสตร์วิจารณ์เรื่องประชานิยม ทำเกิดเงินเฟ้อ และเสียหายต่ออัตราแลกเปลี่ยน

เมื่อถามต่อว่า ด้วยบรรยากาศการเมืองในปัจจุบันจะนำไปสู่การนองเลือดหรือไม่ นายธีรยุทธ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อ เกิดปัญหาเป็นระลอกๆ อย่างในช่วงปลายปีนี้ หากสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็เชื่อว่าจะมีฝ่ายที่ไม่ยอมร่วมลงประชามติด้วย และจะมีการรวมตัวรณรงค์เพื่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งถึงตอนนั้นรัฐจะไม่สามารถควบคุมได้ สุดท้ายจะมีมวลชนออกมาผลักดันในสิ่งที่ตนสนับสนุน อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าจะมีมวลชนออกมาทั้งสองฝ่าย เพราะเชื่อว่าคนเบื่อและอ่อนล้าแล้ว ดังนั้นทุกฝ่ายต้องไม่พยายามผลักดัน ควรให้เวลาช่วยเสาะหาหนทาง เพราะเมื่อเกิดความรุนแรงย่อยๆ สถานการณ์จะไม่หยุด จนหากมีรัฐประหารอีกครั้งประเทศไทยเราจะพังอย่างเด็ดขาด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าคิดทำ

ถามต่ออีกว่า เหตุใดจึงมองว่าไม่สามารถเกิดการปรองดองรอมชอมได้ในระยะเวลาอันสั้น นายธีรยุทธ กล่าวว่า หากเป็นความปรองดองที่ระบุว่าให้เขียนนิรโทษกรรมคดีความทั้งหมดที่เกิดจาก คตส. และให้ผ่านรัฐธรรมนูญด้วยการลงประชามติ เชื่อว่าการคัดค้านจะมีพลังพอสมควร เพราะมีปัจจัยที่สะเทือนไปถึงระบบยุติธรรม จากที่หลายคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว หากทำก็เหมือนไปล้มล้างคำพิพากษาของศาล เป็นเรื่องที่มีน้ำหนักความรุนแรงของปัญหา ประการต่อมา หากล้มล้างคดีความได้ ก็ต้องถือว่าเครื่องมือของฝ่ายอนุรักษ์ที่ใช้ในการแก้ปัญหา คือ รัฐประหาร 19 ก.ย.49 เป็นเครื่องมือสุดท้าย และพลังอนุรักษ์นิยมไม่สามารถนำมาใช้ ดังนั้นฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะไม่ยอมในเรื่องนี้แน่นอน

ผู้สื่อข่าวให้ประเมินถึงการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน นายธีรยุทธ กล่าวว่า มองว่าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยี่ยมคนต่างจังหวัดบ่อยๆ จะเป็นผลดีต่อคะแนนนิยม เพราะต้องยอมรับว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นคนที่แต่งตัวสวย ชาวบ้านเห็นแล้วชอบ เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทั้งคู่เป็นคนที่เป็นคนหนุ่มคนสาว มีการศึกษาดี

“ผมขอเป็นหมอดูทำนายว่า คุณยิ่งลักษณ์จะติดอันดับ 1 ในผู้นำที่แต่งตัวดีที่สุดในโลกในปลายปีนี้ และจะได้คะแนนนิยมเยอะมาก เพราะคนสวยแต่งตัวดียิ้มแย้ม ชาวบ้านจะรักมาก เรียกได้ว่าเป็นยิ่งลักษณ์โฟโต้จีนิกคือ ถ่ายรูปขึ้น ผมให้กำลังใจและสนับสนุนให้ไปเยี่ยมชาวบ้านบ่อยๆจะเป็นผล เพราะคน กทม.ไม่ชอบนายกฯเท่าไร ต้องไปหาฐานที่ต่างจังหวัด ส่วนคุณอภิสิทธิ์ เคยคิดจะตั้งฉายาว่า มาร์คเมาอู้ ที่พูดจนคนเมา จึงอยากแนะนำให้คุณอภิสิทธิ์ปรับแนวทางมาเจาะประเด็นลึกๆมากกว่า และควรที่จะเขียนบทความมากกว่าให้สัมภาษณ์ในประเด็นปลีกย่อยของอีกฝ่าย” นายธีรยุทธ ระบุ


เปิดบทวิเคราะห์'ธีรยุทธ'ผ่าทางตันการเมืองไทย


'ธีรยุทธ'บอกพร้อมช่วยเหลือหาก'ทักษิณ'ยอมติดคุก



เพื่อไทยอัดธีรยุทธโผล่วิจารณ์2มาตรฐาน

จาก โพสต์ทูเดย์

พร้อมพงศ์อัดธีรยุทธป่วยเมืองวิจารณ์บ้านเมือง2มาตราฐานสงสัยหายไปไหน2ปีช่วงประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล "ประชา"โต้เดือดซัดมีอคติ

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงการเสวนาในหัวข้อ "การวิเคราะห์การเมืองไทย แนวโน้มของวิกฤตปัจจุบัน" ของนายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยที่มีขึ้นวันนี้ ว่า การออกมาใส่เสื้อกั๊กวิจารณ์การเมืองของนายธีรยุทธ เป็นเรื่องที่ดี แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมระยะเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลมา 2 ปี ถึงไม่ออกมาวิจารณ์ ก่อนหน้านี้ ตนเคยประกาศคนหายไปแล้ว การทำตัวแบบผลุบๆ โผล่ๆ แบบนี้ เป็นการวิจารณ์แบบ 2 มาตรฐานหรือไม่

ทั้งนี้ ต้องรอดูว่าการออกมาวิจารณ์ของนายธีรยุทธ จะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งขอตั้งขอสังเกตกรณีที่อ้างว่าป่วยของนายธีรยุทธ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ว่านานเกินไปหรือไม่ ป่วยการเมือง หรือมีใครบางคนของร้องไม่ให้ออกมาพูด

ด้าน นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นายธีรยุทธคือเสื้อกั๊กตกยุค ต้องถามว่าการวิเคราะห์วิจารณ์แต่ละครั้งทำให้บ้านเมืองดีขึ้นหรือไม่ วิจารณ์บนจิตอคติ มีปมด้อยมาโดยตลอด ถ้าเก่งนักทำไมไม่ลงมาเล่นการเมือง การวิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณว่าเป็นตัวปัญหา ทำบ้านเมืองไม่เดินหน้านั้น ไม่จริงแน่นอน เพราะอดีตที่ผ่านมาผลงานปรากฎชัดว่าทำความสำเร็จอะไรไว้บ้าง สร้างความเจริญไว้เยอะแยะ

"ตอนพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลข้าวยากหมากแพงทำไมไม่ออกมาวิจารณ์บ้าง สะท้อนให้เห็นว่าเลือกข้างหรือไม่ วันนี้ตัวปัญหาไม่ใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นพวกที่อยู่หลังฉากคอยเคลื่อนไหวการเมือง ถ้าพวกนี้หยุดสร้างความวุ่นวายมันก็จบ ทำไมนายธีรยุทธถึงไม่วิจารณ์ข้อเท็จจริงตรงนี้บ้าง น่าจะวิจารณ์อะไรให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่านี้"นายประชากล่าว


ธีรยุทธวิเคราะห์ยุค 2 ก๊ก แดงขยาย-คนดีระส่ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ทีมข่าวการเมือง

หมายเหตุ : ธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดบทวิเคราะห์การเมืองไทยแนวโน้มของวิกฤตปัจจุบัน โพสต์ทูเดย์ขอคัดบทสำคัญนำเสนอดังนี้

ทักษิณ–รากหญ้าประชานิยม

เหตุผลที่เสื้อแดงชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีด้วยกัน 4 ประเด็น คือ 1.นโยบาย 30 บาท เป็นการช่วยกู้ศักดิ์ศรีในการไปโรงพยาบาลแล้วไม่ถูกดูถูกเหมือนสมัยก่อน 2.กองทุนหมู่บ้าน ที่ลดค่าใช้จ่ายของชาวบ้าน 3.เรื่องยาเสพติดที่กระทบคนชั้นล่าง และกลาง มาก เท่าที่ตรวจสอบเขาพอใจกับนโยบายการปราบปรามยาเสพติด เพราะเป็นปัญหาจริงๆ เนื่องจากกระทบถึงลูก หลาน และครอบครัว

การเมืองรากหญ้ามีความสำคัญต่อประชาธิปไตยหากมองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีการพัฒนา เสื้อเหลือง และเสื้อแดงเป็นการเมืองที่พัฒนามาจาก 14 ตุลาฯ เพราะสมัยนั้นเป็นคนชั้นกลาง กลุ่มธุรกิจทำให้เกิดพื้นที่ของชาวบ้าน ดังนั้น หากมองการปกครองก่อน 2475 ชาวบ้านไม่มีเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นคน เมื่อหลัง 2475 ชาวบ้านมีเสรีภาพในการแสดงออก แต่คนชั้นสูง ข้าราชการมีฐานะในสังคม แต่การเมือง เมื่อหลัง 19 ก.ย. 2549 การเมืองรากหญ้าจึงเป็นดัชนีบ่งชี้การพัฒนาการด้านเสรีภาพในสังคมไทย แม้จะเป็นจุดเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ตามมาในอนาคต

นอกจากนี้ พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นครั้งคราว ยังไม่เป็นขบวนการ ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด

รากเหง้าของวิกฤต

ต้องมองให้ลึกกว่าปัญหา พ.ต.ท.ทักษิณ แกนนำเสื้อเหลืองเสื้อแดง และปัญหารากเหง้าจริงๆ คือ “การรวมศูนย์มากเกินไป ศูนย์กลางเอาไม่อยู่” การรวมศูนย์เบ็ดเสร็จทุกด้านในสมัย ร.5 โดยรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความน้อยเนื้อต่ำใจ ยังฝังลึกชนชั้นนำเข้ามามีอำนาจทางการเมืองหยิบฉวยประโยชน์จากรัฐ ส่วนชาวบ้านไม่เคยได้อะไรจากรัฐ

ดังนั้น ตำหนิไม่ได้เต็มปาก เวลาซื้อขายเสียง เพราะคล้ายว่าเราไม่เคยทำอะไร ส่วนกลางไม่ได้เหลียวแลจ่ายกลับคืนเท่าที่ควร เวลามีอำนาจต่อรอง ชาวบ้านก็ฉลาดพอที่จะต่อรอง คือ เป็นวัตถุ งบประมาณ โครงการเข้าหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านตื้นตันในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ใช้ประชานิยมผันเงินของรัฐไปช่วยชาวบ้าน แม้ตัวเองจะไม่ได้จ่ายก็ตาม ดังนั้น ผลการรวมศูนย์มากไป จึงต้องได้รับการแก้ไข การควบคุมทรัพยากรพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพอนามัย แต่ประเด็นสำคัญ คือ ปัญหาประวัติศาสตร์ สังคม

“ร.6 เน้นแบบกษัตริย์นิยม ไม่มีประวัติศาสตร์สังคมโดยรวม คนอาชีพต่างๆ ไม่มีส่วนร่วมในการสร้างประเทศ ดังนั้น สังเกตตามที่ถนนมีชื่อซอยตามพระนามกษัตริย์ ไม่มีชื่อปราชญ์ นักการทูต สถาปนิก กวีศิลป์ ทำให้ไม่เกิดความภูมิใจในการร่วมสร้างประเทศ เพราะเอียง เนื่องจากรวมศูนย์ราชานิยม เป็นเรื่องของข้าราชการที่อยากเอาอกเอาใจเจ้านาย แต่เกิดผลในความรู้สึกรวมของสังคม ไม่เหมือนต่างประเทศ เช่น ราชสำนักอังกฤษ ให้อิสริยาภรณ์กับคนหลากหลายอาชีพ แต่บ้านเราได้เฉพาะคุณหญิง คุณนาย ทหาร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น ควรมีการแก้ไข เพราะขนบธรรมเนียม วัฒนธรมได้ถูกทำลายลงไป”

ทั้งนี้ ชาวบ้านรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม ในด้านทรัพยากร ดูหมิ่น ศักดิ์ศรี เมื่อเกิดรัฐประหาร คนเมืองต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ศูนย์กลางใช้สองมาตรฐานการไม่ยอมรับอำนาจจึงขยายตัว ความคิดพื้นฐานของคนชั้นนำกับรากหญ้า ทำให้เกิดความไม่เข้าใจ ชาวบ้านมีค่านิยมแบบนักเลง ชอบฮีโร่และวีรบุรุษที่ให้ความหวัง ชอบคนกร่างๆ แบบ จตุพร พรหมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ดูเรียบร้อย แต่พูดจาฉะฉาน

 

ความแตกต่างค่านิยมชนชั้นล่างและชนชั้นสูง/กลาง

ค่านิยมชีวิตทั่วไป ชนชั้นล่าง ชอบความง่าย สนุกสนาน รู้สึกชีวิตไม่เป็นธรรม ชอบวัตถุจับต้องได้ เน้นการพึ่งพาช่วยเหลือกัน ใจกว้างนักเลง ขณะที่ชนชั้นสูง ชอบระเบียบ กระบวนการ ความสงบเรียบร้อย มารยาท ช่องทางเปิดกว้าง นามธรรม คุณธรรม ความดี แต่ก็ชอบวัตถุ เน้นการพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง

ค่านิยมทางการเมือง ชนชั้นล่าง ชอบผู้นำวีรบุรุษ นโยบายประชานิยม ประชาธิปไตยกินได้ สำหรับนักการเมืองชอบประชาธิปไตย “กู” ได้กิน ขณะที่ชนชั้นสูง ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ไม่เคารพกติกาไม่ชอบประชานิยม เพราะทำให้คนไม่รับผิดชอบตนเอง ชอบประชาธิปไตยคนดี หรือประชาธิปไตยดูได้

มุมมองใหม่ของปรากฏการณ์ การเมืองรากหญ้า ขบถ “คนเล็กคนน้อย” ชาวบ้านที่ลุกมาประท้วงความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ อัยการ ตำรวจ ที่ด้อยกว่ากัน พ่อค้า แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ด้อยกว่า หากมองว่าเดิมเป็นวงจรอุบาทว์ มีการซื้อเสียง ถอนทุน มีการรัฐประหาร แต่ในเชิงโครงสร้างจะพบวงจรเชิงเศรษฐกิจการเมืองทับซ้อนอยู่ ชนบท เป็นแหล่งที่มาทรัพยากร แรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย

ส่วนเมืองแหล่งผลิตในการใช้ทรัพยากร และเป็นผู้ใช้อำนาจประชาธิปไตย เพื่อให้วงจรดังกล่าวได้ครอบงำชาวบ้าน โดยวาทกรรมความสำคัญของศูนย์กลาง ของประชาธิปไตยคนดีและมาตรการสุดท้าย คือ รัฐประหาร แต่ที่น่าสนใจ การเมืองรากหญ้าเกิดวงจรย้อนกลับ คือ ชนบท พยายามดึงทรัพยากรความมั่งคั่ง ด้วยการต่อรองกับพรรคการเมือง อนาคตจะมีประชานิยมเกิดขึ้นมาก ด้านอำนาจนำการต่อสู้ด้วยวาทกรรมประชาธิปไตยกินได้ และการวิจารณ์สถาบันอำนาจอนุรักษนิยม มองอำนาจวงจรอุบาทว์ จะสามารถเกิดกระบวนการรากหญ้าหรือเสื้อแดงได้

2 ก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก“คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง

สองศูนย์น่าเป็นห่วง เพราะเป็นการแบ่งประเทศเป็น 2 ส่วน แต่ละฝ่ายมีความชอบธรรมและที่มั่น การควบคุมอนุรักษ์ ควบคุมด้านความมั่นคง ตุลาการ จิตวิญญาณ รากหญ้า คุมการออกนโยบายบริหารงบประมาณ ซึ่งรากหญ้ามีความได้เปรียบ ดังนั้น แนวโน้มเสื้อแดงมีโอกาสขยายตัวจากนโยบายประชานิยม เช่น โอท็อป ประกันพืชผล ขยายไปได้เรื่อยๆ รวมถึงประชานิยมด้านสังคม เช่น สตรี เด็ก แจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เขาเกิดความประทับใจทักษิณ เพราะได้ของใหม่

ขบถคนเล็กคนน้อย อัตลักษณ์วัฒนธรรม ดังนั้น เสื้อแดงได้เปรียบ ฝ่ายอนุรักษ์เสียเปรียบ เสื้อแดงเป็นฝ่ายรุกตลอด เพราะวิสัยทัศน์ของเสื้อเหลืองจำกัดและตีบตัน ส่วนแดงคิดต่อไปได้เรื่อยๆ เพราะมีงบและทรัพยากรรองรับ ดังนั้น ศูนย์กลางต้องเหลือเพียงศูนย์เดียว ส่วนจะเหลืออย่างไรไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่เท่าที่ดู คือ ยุทธศาสตร์เพื่อไทย หรือทักษิณ มี 3 ขา คือ 1.ขยายฐานรากหญ้า 2.สลายอำนาจฝ่ายตรวจสอบ เช่น องค์การอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ และ 3.ดึงกำลังมั่นคง เช่น กองทัพ มาเป็นพวก

ส่วนฝ่ายอนุรักษ์ ไม่มีทางออก คือ ขยายรากหญ้า ไม่มีทางทำสำเร็จ เพราะไม่มีวาทกรรมใหม่ๆ นอกจากอดทน พอเพียง หรือเป็นคนดี เพราะหากคนไม่มีความหวังก็เหนื่อย เช่น คนจนมากๆ และเจอคนรวยบอกว่าอดทน เขาจะโกรธ เพราะเขาลำบาก นักคิดฝ่ายอนุรักษ์ เน้นนามธรรม อย่างน้อยพูดนามธรรม แต่ตัวเองอยู่สุขสบายกว่า ดังนั้น คนจนจะขมขื่นมากเมื่อเจอภาวะเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ยังไม่เห็นทางที่ฝ่ายอนุรักษ์จะขยายตัว มีแต่หดตัว หากไม่มีการปรับแนวคิดใหม่


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธีรยุทธ ชำแหละทักษิณเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำปชต. ไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สินและอำนาจ

view