สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นิวยอร์กไทม์สแฉ แอปเปิล เลี่ยงภาษีอย่างถูกกฎหมายนับพันล้านดอลลาร์

นิวยอร์กไทม์สแฉ “แอปเปิล” เลี่ยงภาษีอย่างถูกกฎหมายนับพันล้านดอลลาร์

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       เอเอฟพี - แอปเปิล ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก จงใจหลีกเลี่ยงภาษีอย่างถูกกฎหมายนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเลือกเปิดสำนักงานเล็กๆในหลายประเทศ เพื่อรวมรวบผลกำไรและนำเงินไปลงทุนต่อ หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทม์ส รายงานวานนี้ (28)
       
       รายงานเปิดเผยว่า สำนักงานของแอปเปิลในเมืองรีโน รัฐเนวาดา ซึ่งมีอัตราภาษีนิติบุคคลเป็นศูนย์ เป็นหนึ่งในอีกหลายสำนักงานที่แอปเปิลใช้หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีจากรายได้บาง ส่วนของบริษัท อย่างถูกกฎหมาย
       
       ทั้งนี้ รัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของแอปเปิล กำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลไว้ 8.84%
       
       ด้วยยอดขายไอโฟนและไอแพดที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในจีนและประเทศ เอเชีย ทำให้แอปเปิลมีผลกำไรสูงถึง 39,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปีนี้
       
       นิวยอร์กไทม์ส อ้างข้อมูลจากผู้บริหารแอปเปิล ซึ่งชี้ว่าการเปิดสำนักงานในเมืองรีโนและในต่างประเทศ เช่น ไอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน รวมถึงเมืองอื่นๆ ที่มีอัตราภาษีต่ำ เป็นวิธีถูกกฎหมายที่แอปเปิลใช้ลดจำนวนภาษีที่จะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาลทั่ว โลก
       
       อดีตผู้บริหารซึ่งมีส่วนกำหนดนโยบายของแอปเปิลเผยว่า แอปเปิล “คิดค้นยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากช่องว่างเรื่องภาษี” นิวยอร์กไทม์สระบุ
       
       สำนักงานแอปเปิลในเมืองรีโน มีบริษัทลูกชื่อ แบรเบิร์น แคปปิทอล คอยบริหารการเงิน และนำผลกำไรของบริษัทไปลงทุนต่อ ซึ่งเมื่อการลงทุนประสบผลสำเร็จ ผลกำไรของสำนักงานในเมืองรีโนก็จะไม่ถูกเรียกเก็บภาษี
       
       โรเบิร์ต ฮัตตา ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้บริหารฝ่ายการตลาดและการจำหน่ายไอทูนส์ในยุโรปจนถึงปี 2007 ระบุว่า เส้นทางธุรกรรมการเงินในลักเซมเบิร์กช่วยให้แอปเปิลจ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำ
       
       “เราเปิดสำนักงานในลักเซมเบิร์ก เพราะภาษีที่นั่นถูกมาก” ฮัตตาเผย
       
       “การดาวน์โหลดโปรแกรมแตกต่างจากการซื้อรถแทรกเตอร์ หรือโลหะ เพราะไม่มีอะไรให้คุณจับต้องได้ ดังนั้น ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ของคุณจะอยู่ในอังกฤษหรือฝรั่งเศส ถ้าคุณดาวน์โหลดโปรแกรมจากลักเซมเบิร์ก นั่นก็คือความสัมพันธ์กับลักเซมเบิร์ก”
       
       แอปเปิลส่งคำชี้แจงมายังนิวยอร์กไทม์สว่า “บริษัทของเราดำเนินธุรกิจด้วยมาตรฐานจริยธรรมสูงสุด โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหลักการทำบัญชี” และยัง “จ่ายภาษีจำนวนมหาศาล ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาชุมชน, รัฐ และรัฐบาลกลางของประเทศต่างๆ”


แฉแอปเปิลเลี่ยงภาษี‘เหนือเมฆ'-ใช้ช่องโหว่กม.ตั้งบ.ลูกต่างแดน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       นิวยอร์กไทมส์ - นิวยอร์ไทมส์อ้างคำบอกเล่าอดีตลูกหม้อ แฉแอปเปิลอาศัยช่องโหว่กฎหมายเลี่ยงภาษีในแคลิฟอร์เนียและอีก 20 มลรัฐ รวมมูลค่าถึงปีละหลายพันล้านดอลลาร์ ด้วยการตั้งบริษัทในเครือในดินแดนและประเทศที่เก็บภาษีต่ำ และนำกำไรที่ได้ไปลงทุนต่อยอด
       
       แอปเปิลมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองคิวเปอร์ติโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีบริษัทในเครือชื่อแบร์เบิร์น แคปิตอล ที่เมืองรีโน มลรัฐเนวาดา ทำหน้าที่รวบรวมกำไรและนำไปลงทุนโดยไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากที่เนวาดาไม่มีการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ขณะที่อัตราภาษีนี้ของแคลิฟอร์เนียอยู่ที่ 8.84%
       
       วิธีการคือเมื่อลูกค้าในอเมริกาซื้อไอโฟน ไอแพ็ด หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของแอปเปิล กำไรส่วนหนึ่งจากการขายมักถูกนำฝากในบัญชีของแบร์เบิร์น และนำไปลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ หรือผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆ ดังนั้น เมื่อการลงทุนเหล่านี้ได้กำไร จึงไม่ต้องจ่ายภาษีให้แคลิฟอร์เนีย
       
       การตั้งออฟฟิศในรีโนเป็นเพียงหนึ่งในวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายมาก มายที่แอปเปิลใช้เพื่อลดภาระภาษีทั่วโลกปีละหลายพันล้านดอลลาร์ เช่น การตั้งบริษัทในเครือในประเทศหรือดินแดนที่เก็บภาษีต่ำ เช่น ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และหมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ซึ่งบางที่มีเพียงตู้ไปรษณีย์หรือสำนักงานนิรนามเท่านั้น
       
       แน่นอนบริษัทใหญ่เกือบทุกแห่งต่างพยายามลดภาระภาษีให้เหลือน้อยที่ สุด แต่สำหรับแอปเปิล ตัวเลขเตะตากว่าใครเพื่อนเพราะทำกำไรมหาศาล นักวิเคราะห์ในวอลล์สตรีทคาดว่า ปีการเงินนี้แอปเปิลจะกำไรถึง 45,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับบริษัทร่วมชาติแห่งอื่นๆ
       
       แอปเปิลถือเป็นตัวอย่างชัดเจนที่แสดงให้เห็นวิธีการที่ยักษ์ใหญ่ ไฮเทคฉกฉวยประโยชน์จากกฎหมายภาษีที่ร่างขึ้นมาสำหรับยุคอุตสาหกรรมและล้า สมัยแล้วสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอล กำไรบางส่วนของแอปเปิล กูเกิล อะเมซอน ฮิวเลต-แพคการ์ด และไมโครซอฟท์ ไม่ได้มาจากสินค้าที่จับต้องได้เท่านั้น แต่ยังมาจากค่ารอยัลตี้จากสินทรัพย์ทางปัญญา เช่น สิทธิบัตรซอฟต์แวร์ที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ดิจิตอล เช่น เพลงที่ดาวน์โหลด ที่สำคัญการโอนผลกำไรจากค่ารอยัลตี้และผลิตภัณฑ์ดิจิตอลไปยังประเทศที่เก็บ ภาษีต่ำก็ทำได้ง่ายดายกว่าการโอนกำไรจากยอดขายซูเปอร์มาร์เก็ตหรือยอดขายรถ ยนต์ ทั้งยังขายได้จากทุกที่
       
       เศรษฐกิจดิจิตอลที่กำลังขยายตัว ถือเป็นปริศนาสำคัญสำหรับผู้ร่างกฎหมายที่ควบคุมการจัดเก็บภาษีภาคธุรกิจ แม้เทคโนโลยีคือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดและมีมูลค่ามากที่สุดของ สหรัฐฯ แต่บริษัทไฮเทคมากมายกลับเสียภาษีน้อยที่สุด เช่น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยี 71 แห่งในดัชนีสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส ซึ่งรวมถึงแอปเปิล, กูเกิล, ยาฮู และเดลล์ เสียภาษีทั่วโลกโดยเฉลี่ยน้อยกว่าบริษัทในดัชนีเอสแอนด์พีอื่นๆ ถึง 1 ใน 3
       
       แม้แต่ในหมู่บริษัทไฮเทคด้วยกัน อัตราภาษีของแอปเปิลยังต่ำกว่า เนื่องจากการฉกฉวยประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมาย ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของอดีตผู้บริหารที่ช่วยสร้างกลยุทธ์นี้ ยกตัวอย่างเช่น แอปเปิลเป็นบริษัทไฮเทครุ่นแรกๆ ที่แต่งตั้งพนักงานขายในประเทศที่เก็บภาษีแพงในรูปแบบที่อนุญาตให้พนักงาน ขายเหล่านั้นขายผลิตภัณฑ์ในนามบริษัทในเครือในทวีปอื่นที่เรียกเก็บภาษีต่ำ กว่า ดังนั้น จึงสามารถหลีกเลี่ยงภาษีได้จำนวนมาก
       
       แอปเปิลเป็นผู้บุกเบิกเทคนิคการคิดบัญชีที่เรียกว่า “ดับเบิลไอริชประกบแซนด์วิชดัตช์” ที่ลดภาระภาษีด้วยการโอนกำไรผ่านบริษัทในเครือในไอร์แลนด์ไปที่เนเธอร์แลนด์ และต่อไปยังแคริบเบียน ปัจจุบัน บริษัทหลายร้อยแห่งนำเทคนิคนี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย
       
       มาร์ติน ซัลลิแวน ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงคลัง ระบุว่า หากไม่มีเทคนิคนี้ ปีที่แล้วแอปเปิลอาจต้องเสียภาษีในอเมริกาเพิ่มอีก 2,400 ล้านดอลลาร์ โดยปีที่ผ่านมา บริษัทแห่งนี้จ่ายภาษีทั่วโลก 3,300 ล้านดอลลาร์จากกำไรที่รายงานไว้ 34,200 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับอัตราภาษี 9.8% เทียบกับวอล-มาร์ทที่จ่ายไป 5,900 ล้านดอลลาร์ จากกำไร 24,400 ล้านดอลลาร์ หรืออัตราภาษี 24% ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยสำหรับบริษัทนอกอุตสาหกรรมไฮเทค
       
       การจ่ายภาษีในประเทศของแอปเปิลเป็นที่สงสัยกันมากในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ ภาษีธุรกิจ เนื่องจากแม้บริษัทตั้งอยู่ในสหรัฐฯ แต่ผลกำไรที่รายงานส่วนใหญ่กลับมาจากต่างประเทศ เพราะแม้แอปเปิลว่าจ้างบริษัทต่างชาติผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์ให้ แต่ผู้บริหาร ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ นักการตลาด พนักงาน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และร้านค้าปลีกส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา ซึ่งตามกฎหมายแล้วสามารถคาดได้ว่า กำไรส่วนใหญ่ของแอปเปิลอยู่ในอเมริกาเช่นเดียวกัน และกฎหมายภาษีของสหรัฐฯ ยังอิงกับแนวคิดที่ว่า บริษัท “ทำ” รายได้จากมูลค่าที่เกิดขึ้น ไม่ใช่จากผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย
       
       กระนั้น จากรายงานขององค์กร นักบัญชีของแอปเปิลกลับพบช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายในการโยกกำไร 70% ไปยังต่างประเทศที่ภาษีถูกกว่า
       
       ทางด้านแอปเปิลได้ออกคำแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า บริษัทดำเนินธุรกิจทุกอย่างด้วยมาตรฐานจรรยาบรรณระดับสูงสุด ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎการบัญชีที่ใช้บังคับ และภูมิใจในการอุทิศตนของบริษัท
       
       “แอปเปิลจ่ายภาษีจำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางของ เรา ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ธุรกิจในสหรัฐฯ จ่ายภาษีให้แก่รัฐบาลกลางและรัฐเกือบ 5,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงภาษีรายได้ที่เก็บจากกำไรจากหุ้นของพนักงาน ทำให้เราเป็นหนึ่งในผู้เสียภาษีมากที่สุดในประเทศ”
       
       อย่างไรก็ดี คำแถลงไม่ได้แยกแยะว่าตัวเลข 5,000 ล้านดอลลาร์มาจากที่ใดบ้าง อีกทั้งไม่ได้กล่าวถึงภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่บริษัทอาจจ่ายในปีต่อๆ ไปหรือยืดเวลาออกไปไม่จำกัด และตัวเลขนี้ดูเหมือนรวมภาษีที่พนักงานแอปเปิลจ่ายไว้ด้วย


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : นิวยอร์กไทม์ส แอปเปิล เลี่ยงภาษีอย่างถูกกฎหมาย พันล้านดอลลาร์

view