สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คู่มือการเตรียมตัวรับ AEC

จากประชาชาติธุรกิจ

อีกสามปีข้างหน้าคือปี พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะเปิดกว้างขึ้นจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อเศรษฐกิจของไทยและการดำเนิน ธุรกิจแขนงต่าง ๆ

จากขนาดของตลาดการค้าอาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่ ใหญ่มหึมา ด้วยการรวมตลาดของทั้งหมด 10 ประเทศเข้ามาเป็นตลาดเดียว รองรับจำนวนประชากรทั้งหมดของอาเซียนที่มีถึงประมาณ 600 ล้านคน

การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในไทยและ

ส่ง เสริมให้เกิดฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่อำนาจต่อรองและการแข่งขันทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ภายใต้พันธกรณีที่ตกลงกันไว้

ทั้งการเปิดเสรีสินค้าและบริการ การลงทุน และการเปิดเสรีทางการเงิน โดยมีเป้าหมายหรือหลักเกณฑ์การเปิดตลาด

อยู่ที่การลดหรือเลิกกฎระเบียบหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการและการลงทุน

หาก ประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศใดยังคงมีมาตรการหรือข้อจำกัดที่ต้องสงวนไว้ทั้ง ที่ระบุไว้ในตารางข้อผูกพัน หรือการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี เพื่อปกป้องตลาดภายในประเทศ สุดท้ายข้อจำกัดหรือมาตรการเหล่านี้จะต้องถูกยกเลิกไปในที่สุด

การ เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของผู้ประกอบการในประเทศไทย ดังนั้น ความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาครัฐ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้านี้

ด้วย เหตุนี้ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่น ๆ ด้วยการติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ AEC อยู่เสมอ รวมถึงศึกษาตลาดและรสนิยมความต้องการในอาเซียน ตลอดทั้งสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า โดยพยายามใช้จุดแข็งที่มีอยู่ และมองหาโอกาสที่เปิดกว้างขึ้นไปพร้อม ๆ กับการชิงความได้เปรียบจากความสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรของประเทศ และต้นทุนแรงงานที่ไม่สูง

หากมองในด้านบวก AEC ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจไทย ทั้งทางด้านการตลาดที่ไทยจะได้ก้าวออกไปนอกประเทศมากขึ้น และด้านการแข่งขันที่จะเป็นกลไกทำให้ธุรกิจปรับตัวเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ แม้ว่าจะเริ่มมีการบังคับใช้อย่างครบถ้วนในปี 2558

แต่ธุรกิจควร เริ่มตั้งแต่บัดนี้ ไม่จำเป็นต้องรอ เพราะอย่างไรเสียการมุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ก็เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภาครัฐและภาคเอกชน จึงควรวางแผนร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อเตรียมการรองรับ AEC และเร่งแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปี

ข้างหน้า จึงขอแนะนำหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายหน่วยงาน ได้แก่

- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ได้ เปิด "ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือ AEC Information Center อย่างเป็นทางการ ด้วยวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและให้บริการข้อมูลที่ถูกต้อง แก่

ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาเพื่อรวมตัวทาง เศรษฐกิจสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC Information Center นี้จะช่วยสร้างโอกาสให้กับทุกภาคส่วนให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด

สามารถ ติดต่อโดย Link ผ่านเว็บไซต์ของ กระทรวงพาณิชย์ http://www.moc.go.th/ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี 1 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 โทรสาร (66) 2547-5630 ประกอบด้วย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ http://www.dtn.go.th/, กรมการค้าต่างประเทศ http://www.dft.moc.go.th/ หรือสายด่วน 1385, กรมส่งเสริมการส่งออก http://www.ditp.go.th หรือสายด่วน 1169 และ กรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th หรือสายด่วน 1368

รวมทั้งมีหน่วยงาน ด้านการเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก AEC ได้แก่ กองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิด เสรีทางการค้า ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ ติดต่อที่สำนักงานสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 0-2547-4818 โทรสาร 0-2547-4816 หรือสายด่วน 1385

กับ กองทุนช่วยเหลือปรับโครงสร้างด้านการเกษตร ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.moac.go.th หรือสายด่วน 1170 เลขที่ 3 ถนนราชดำเนินนอก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดให้บริการ เว็บไซต์ thaifta.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) สามารถค้นหาได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างสะดวกและรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันเหตุการณ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก และประชาชนทั่วไป โดยข้อมูลที่ให้บริการมีทั้งข้อมูลอัตราภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษี ความคืบหน้า/สถานะการเจรจา รายงานการศึกษาและอื่น ๆ

อีกหนึ่งเว็บไซ ต์ คือ www.thailand aec.com เพื่อให้ความสำคัญแก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ซึ่งอาเซียนมีเป้าหมายจะจัดตั้งในปี 2558 โดยจะปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลสำคัญ ๆ เกี่ยวกับ AEC และ FTAs ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และกำหนดที่จะให้บริการเต็มรูปแบบในโฉมหน้าใหม่ในชื่อ www.thailandaec.com ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2555

- สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้และการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบ การขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ให้เข้าใจและทราบถึงโอกาส ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสินค้า หรือสาขาบริการที่ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันได้ หรือสินค้าไทยที่ต้องมีการปรับตัวในแง่ต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศได้นำข้อมูลและความรู้ ไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์รองรับการเปลี่ยนแปลง ไปจนกระทั่งการมองหาจุดยืนของธุรกิจของตน เมื่อประเทศไทยต้องก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว

- สำนักพัฒนาหน่วยบริการอุตสาหกรรม (สพบ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่แจกแจงข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมตัวเตรียมพร้อมของ

ผู้ ประกอบการในไทย ระหว่างนี้ (เมษายน-มิถุนายน 2555) กำลังเร่งพัฒนาเพิ่มจำนวนที่ปรึกษาธุรกิจ จากเดิมมีลงทะเบียนไว้ราว 2,000 ราย ให้มีจำนวนที่ปรึกษามากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เพียงพอแก่การบริการ

เอส เอ็มอีไทยที่ตอนนี้มีราว 2-3 ล้านราย และต้องปรับกลยุทธ์องค์กรเพื่อรองรับ "การแข่งขัน" ได้ในตลาดเออีซี รวมถึงตลาดโลก โดยมีทั้งที่ปรึกษาด้านการตลาด การผลิต เทคนิคต่าง ๆ แรงงาน ฯลฯ จึงต้องสร้างที่ปรึกษาแนะนำธุรกิจก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนถือเป็น เรื่องที่สำคัญ เว็บไซต์ www.thaisp.org

- กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

ทำ หน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเว็บไซต์ www.mfa.go.th/web/3019.php โดยให้ข้อมูลในมิติความคืบหน้าของภาครัฐในประเทศสมาชิกอาเซียน และยังให้ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ในรูปแบบของอีบุ๊ก ที่จัดทำข้อมูลเบื้องต้นของประเทศสมาชิกอาเซียน

- สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย

ภาย ใต้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในหลากหลายมิติ ทั้งข่าวสาร และข้อมูลในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในเว็บไซต์ www.aseanthailand.org/index.php ทั้งนี้ สมาคมยังจัดทำจดหมายข่าวสมาคมอาเซียนราย 3 เดือน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ หรือสมัครเป็นสมาชิกเพื่อจัดส่งไปยังที่อยู่ของผู้ที่เป็นสมาชิกของสมาคมอา เซียน-ประเทศไทยได้เช่นกัน

- หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

จัด ตั้งหน่วยงาน AEC Prompt http://www.thaichamber.org/scripts/aec.asp?Tag=9 เลขที่ 150 ถนนราชบพิธ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2622-1860-75 โทรสาร 0-2822-1879 หรือ 0-2225- 3372 อีเมล์ tcc@thaichamber.org

- สถาบันเอเชียศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบัน เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-7464, 0-2251-5199 โทรสาร 0-2255-1124 http://www.ias.chula.ac.th/ และศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.start.or.th/

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ภาคประชาชนและอีกหลายหน่วยงานในประเทศไทยยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแจ่มชัด ดังนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมและ

เพิ่มเติมเสริมความรู้ ให้ข้อมูลแก่ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากแหล่งไหน

เพื่อที่ประเทศไทยทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจจะได้ก้าวไปอย่างถูกทิศทาง (หน้าพิเศษ AEC เปลี่ยนประเทศไทย)


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คู่มือการเตรียมตัวรับ AEC

view