สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อำนาจสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน

อำนาจสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน

ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ออกคำสั่งให้สภาหยุดพิจารณาร่างแก้ไข มาตรา 291 นั้น เป็นการ "ปล้นอำนาจประชาชน" ก็รู้สึกว่าออกจะกล่าวหากันแรงไปหน่อย
อดีตนักการเมืองซึ่งเคยเป็นนักวิชาการท่านหนึ่ง กล่าวว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ออกคำสั่งให้สภาหยุดพิจารณาร่างแก้ไข มาตรา 291 นั้น เป็นการ "ปล้นอำนาจประชาชน" ก็รู้สึกว่าออกจะกล่าวหากันแรงไปหน่อย แต่ถ้าจะถือว่านี่เป็นธรรมเนียมของการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในบ้าน เราในระยะหลังมานี้ ก็พอจะเข้าใจได้ เพราะถ้าพูดตามเหตุผล อาจจะไม่ค่อยมีใครอยากฟัง ต้องพูดกระชากอารมณ์กันแรง ๆ

แน่นอนว่าการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการ ย่อมมีผู้ที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างกันไปได้ และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย แต่อันที่จริงน่าจะนั่งลงอธิบาย ฟังเหตุฟังผลกันก่อน เพราะสาระของการให้ยับยั้งการกระทำก็เพื่อให้ได้มีเวลามาอธิบายโต้แย้งกัน ให้กระจ่างเสียก่อนนั่นเอง

เพราะใช่ว่าจะมีแต่ประเทศไทยที่ ศาลรัฐธรรมนูญต้องเข้ามาทำหน้าที่ขวางการดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารในกิจการที่ศาลเห็นว่า อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรืออำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ เพราะในระบอบการปกครองที่มีศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจออกคำสั่งยับยั้ง หรือคุ้มครองชั่วคราว เพื่อไม่ให้ข้อกล่าวหา หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการละเมิดรัฐธรรมนูญลุกลามไปเป็นปัญหาอย่างอื่นจน เกินเยียวยาแก้ไข

ปัญหาการใช้อำนาจ หรือใช้สิทธิเสรีภาพจนเกินกว่าเหตุ หรือจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ และเมื่อไม่มีกลไกมาคอยปราม หรือกำกับให้อยู่ในเหตุในผล หรือยับยั้งให้อธิบายกันให้แจ่มชัดเสียก่อน ก็เป็นเหตุให้เกิดเสียหายร้ายแรงมาแล้ว คือกรณีของฮิตเล่อร์ที่ใช้เสียงข้างมากตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานสภา และประธานาธิบดีมาแล้ว จนทำให้เยอรมันต้องตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นสถาบันพิเศษ เพื่อคอยพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

เหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวมาในอดีต เรื่องการใช้อำนาจโดยลุแก่โทสะ หรือตามอำเภอใจนั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในเยอรมัน เมื่อหลังสงครามใหม่ ๆ ในมลรัฐแห่งหนึ่ง กำลังเป็นยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์ ปรากฏว่าฝ่ายที่มีเสียงข้างมากชนิดเกินร้อยละ ๗๕ และมีจำนวนเสียงมากพอที่จะถอดถอนสมาชิกสภาด้วยกันให้พ้นจากสมาชิกภาพได้ เคยพยายามจะรวมหัวกันลงมติถอดถอนสมาชิกภาพของฝ่ายเสียงข้างน้อย คือฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เห็นต่างจากตนอย่างดื้อ ๆ โดยปราศจากเหตุสมควรมาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐก็ออกคำสั่งห้ามการลงมติเช่นนั้น เพราะจะขัดต่อรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย

เมื่อไม่นานมา นี้ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดในเยอรมัน ก็เพิ่งจะออกคำสั่งห้ามมิให้รัฐบาลมลรัฐก่อหนี้ตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมงบ ประมาณซึ่งจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ และได้ผ่านการพิจารณาของสภาไปแล้ว โดยศาลเหตุผลที่ว่า การก่อนหนี้ดังกล่าวแม้รัฐบาลจะอ้างว่าเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของมลรัฐ ก็มีเหตุน่าเชื่อว่าอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับภาระทาง ภาษีอากร และความสามารถในการชำระหนี้ของมลรัฐจนเกินสมควรแก่เหตุได้

ดังนั้นศาลจึงสั่งให้ระงับไว้ก่อนจนกว่าจะชี้แจงกันจนเชื่อแน่ได้ว่าเป็นไป อย่างสมเหตุสมผลแล้วอย่างแท้จริง

ล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน ก็เพิ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ผู้แทน 9 นายที่สภาเลือกขึ้นมาทำหน้าที่ในกองทุนฟื้นฟูยุโรป ที่จะให้ความเห็นชอบในการจ่ายเงินกองทุนมูลค่ากว่าสี่แสนล้านยูโร แทนสภาผู้แทนราษฎร โดยศาลสั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เพิ่งผ่านสภาไปเป็นการชั่ว คราว เพราะเหตุผลว่าจะกระทบต่อหลักความรับผิดชอบของสภาผู้แทนราษฎรต่อประชาชนทั้ง ประเทศ เนื่องจากถ้ามอบอำนาจให้ ส.ส. 9 คนทำการแทน ก็เท่ากับตัดสิทธิ ส.ส. คนอื่น ๆ ในการที่จะทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนในเรื่องที่จะกระทบต่อภาระภาษีของปวงชน ในอนาคตไปในสาระสำคัญ ทั้งนี้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาให้เสร็จสิ้นไปก่อนว่าการทั้งหลายนี้จะ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าการดำเนิน การของรัฐบาล หรือของสภาจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุควรสงสัยควรจะได้พิจารณากันให้ถี่ถ้วนเสียก่อนเท่านั้น นี่เป็นกติกาของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ถ่ายเดียว ซึ่งในระบอบที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่นี้ถือหลักยอมให้คนกลางเป็นคนคอยตัดสินข้อ พิพาท และแน่นอนคนกลางอย่างศาลรัฐธรรมนูญต้องระวังอย่าใช้อำนาจยับยั้งตามอำเภอใจ และใช้อำนาจนี้เมื่อ “จำเป็น” อย่างยิ่งยวดเท่านั้น

ศาลรัฐธรรมนูญนั้นวิจารณ์กันได้ครับ แต่ต้องใจเย็น ๆ รับฟังกันให้รอบคอบถี่ถ้วนทุกทางเสียก่อนครับ

นิติราษฎร์ชี้ศาลรธน.ไม่มีอำนาจรับคำร้องตีความร่างแก้รธน.ผิดกม.


สยามประชาภิวัฒน์ยันศาลรธน.มีอำนาจรับวินิจฉัยรธน.

นักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ยันศาล รธน. มีอำนาจรับวินิจฉัย รธน. ตามมาตรา 7 หากรัฐสภาดื้อลงมติวาระ 3 ต้องรับผิดชอบ
นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หนึ่งในนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ รับวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และให้iy{l4k รอการดำเนินการไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย  ว่า ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ กระบวนการรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำล้มล้างรัฐธรรมนูญ ล้มล้างประชาธิปไตย ต้องยื่นให้อัยการสูงสุด เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ที่ผ่านมา ไม่เคยปรากฏว่าอัยการสูงสุด ส่งเรื่องเข้ามา จึงเกิดปัญหาเรื่องการดำเนินการ และถ้าสังคมเห็นว่ามีความไม่ปกติเกิดขึ้น เสนอให้ตรวจสอบ แต่ฝ่ายการเมืองไปล็อกอัยการสูงสุดเรื่องก็จบ

ดังนั้น จึงเห็นว่าการที่ศาลฯ รับวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ มีอำนาจที่จะสามารถดำเนินการได้ โดยใช้ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นายคมสัน กล่าวว่า การออกมาตีความของพรรคเพื่อไทย และกลุ่มนิติราษฎร์ ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถรับวินิจฉัยเรื่องนี้ได้นั้น ไม่ได้เป็นการตีความผิด แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่ายื่นไปแล้วอัยการสูงสุด ไม่มีการดำเนินการอะไรออกมา และถ้าลงมติวาระ 3 อาจเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ศาลฯ จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมา และรับวินิจฉัยเพื่อไม่ให้มีช่องว่าง

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากรัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายคมสัน กล่าวว่า ก็ต้องรับผิดชอบเพราะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 5 ระบุชัดว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ และการให้รอการดำเนินการไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ก็เป็นคำสั่งส่วนหนึ่งของศาลด้วย

'องอาจ'ดักคอประธานสภาอย่าลักไก่นัดประชุมสภา


'จรัล'ย้ำร่างรธน.วาระ3เป็นการต่อสู้ที่แหลมคมที่สุด


รองปธ.วุฒิสภาเห็นด้วยเดินหน้าลงมติแก้รธน.วาระสาม

รองปธ.วุฒิสภาเห็นด้วยเดินหน้าลงมติแก้รัฐธรรมนูญวาระสาม พร้อมหนุนชะลอพ.ร.บ.ปรองดอง
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธาน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา กล่าวว่า ตนจะเชิญ ส.ว.หารือต่อประเด็นที่ทางคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ระบุว่าจะให้มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาในประเด็นคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่สั่งให้ระงับการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสาม ว่าเห็นด้วยต่อประเด็นดังกล่าวของวิปรัฐบาลหรือไม่ อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าประเด็นคำสั่งศาลไม่มีอำนาจต่อการเดินหน้าพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ควรเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระสาม และในรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้ให้อำนาจดำเนินการได้
นายนิคม กล่าวต่อว่าสำหรับประเด็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ..... นั้น ตนสนับสนุนที่จะให้มีการชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว และจัดให้มีการทำความเข้าใจในเนื้อหาของร่างกฎหมายก่อน เพราะขณะนี้สังคมมีความสับสนว่าจะเกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และเงินที่ถูกยึดจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทอย่างไรบ้าง ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ตั้งเวทีคัดค้านนั้น ส่วนตัวมองว่าทางหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ควรเสนอร่างกฎหมายปรองดองเข้าสู่สภาฯ ให้พิจารณาด้วย

ศาลรธน.ขู่พท.ดึงดันเดินหน้าโหวตรธน.อาจเจอยุบพรรค

หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ยันศาลฯ มีอำนาจสั่งชะลอโหวตรัฐธรรมนูญ ได้ แหล่งข่าวศาลรธน. ขู่หากคิดจะเดินหน้าต่ออาจเจอโทษถึงยุบพรรคได้
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษพรรคเพื่อไทย ระบุว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณา เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการรับคำร้องดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องรับคำร้องจากอัยการสูงสุด เท่านั้น ว่า เป็นการตีความของโฆษกพรรคเพื่อไทยเอง แต่ถ้าได้อ่านเอกสารของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2555 จะชัดเจนว่า คณะตุลาการได้ตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้ว่า ประชาชนสามารถสามารถใช้สิทธิในเรื่องนี้ผ่าน 2 ช่องทาง คือผ่านทางอัยการสูงสุดและยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

"คำให้สัมภาษณ์ ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้บอกชัดเจนแล้วว่า คณะตุลาการฯ เห็นว่า มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณาเรื่องนี้ ก่อนที่คณะตุลาการจะมีหนังสือไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ก็ได้มีการพูดคุยกันและพิจารณาแล้วว่า การชะลอการรับร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน  ไม่ได้เกิดความเสียหาย ซึ่งส่วนตัวเองเห็นว่า หากรัฐสภาเดินหน้าประชุมต่อ ก็ต้องรับผิดชอบกับผลที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ตุลาการได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้"

อย่างไรก็ตาม ยังบอกไม่ได้ว่า ถ้ามีการดำเนินการอย่างนั้นจริงศาลจะมีท่าทีอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น แต่คิดว่าตุลาการฯ คงจะต้องมีการหารือกัน

นายพิมล กล่าวถึงการตั้งข้อสังเกตว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาเรื่องนี้ค่อนข้างเร็วว่า ส่วนตัวมองถึงสภาพแวดล้อมทางการเมือง และสภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้นว่า เรารอได้หรือไม่ และได้ชี้แจงไปก่อนแล้วว่า การใช้อำนาจของคณะตุลาการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการใช้อำนาจในเชิงป้องกันไม่ใช่การแก้ไข ซึ่งการรับเรื่องไว้พิจารณาหรือไม่นั้น เป็นดุลยพินิจของคณะตุลาการฯ รวมถึงต้องพิจารณาว่า เป็นไปตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการกำหนดว่าเรื่องประเภทใดจะต้องพิจารณาจะรับหรือไม่รับภายในระยะเวลาเท่าใดนับแต่มีการยื่นคำร้องเข้ามา

ทั้งนี้ ปกติเมื่อเรื่องเข้ามายังสำนักงานฯ แล้วก็จะมีการแต่งตั้งตุลาการฯประจำคดี ว่าควรรับหรือไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย หากเห็นว่า สมควรรับ ก็ดำเนินการต่อ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับก็เสนอให้ที่ประชุมคณะตุลาการฯพิจารณา แต่ในกรณีคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้อำนาจตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และได้ให้ตุลาการทั้งหมดเป็นตุลาการประจำคดี คือทั้งองค์คณะช่วยกันพิจารณา ว่าจะรับหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ท่านเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญ

"การพิจารณาลักษณะเช่นนี้ก็เคยทำในกรณีการพิจารณา พ.ร.ก. ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ และกรณีของขอให้ตรวจสอบความถูกต้อง ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่จะมีการประชุม คณะตุลาการฯ ก็จะมีการพูดคุยแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองทุกครั้ง"

ผู้สื่อข่าวถามว่า  การรับเรื่องไว้พิจารณาของศาล ทำให้ถูกมองว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ทหารเข้ามาทำรัฐประหารเร็วขึ้นหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า คงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะการที่เราจะดำเนินการอะไรก็ระมัดระวังอยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญก็ไม่อยากให้ทหารเข้ามา

ขู่ ดึงดันเดินหน้าทำให้เสียหาย อาจถึงขั้นยุบพรรค

แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า สำหรับบทลงโทษกรณี หากประธานสภาไม่ฟังคำสั่งศาล ที่ออกคำสั่งให้ชะลอการพิจารณาการลงมติในการแก้รัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ไปก่อนจนกว่าศาลจะวินิจฉัยแล้วเสร็จ ถึงแม้ตามรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ แต่เมื่อศาลมีคำสั่งก็ต้องผูกพันองค์กร ตามรัฐธรรมนูญของมาตรา 68 วรรคสาม ระบุ ว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการ เนื่องจากเห็นว่า เห็นมีบุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการกล่าวแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมือง ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางล้มล้างได้

แหล่งข่าว ระบุด้วยว่า การที่เขาจะเดินหน้าต่อ บทลงโทษก็คงไม่มี แต่เมื่อแสดงพฤติการณ์ เจตนาจงใจฝ่าฝืน ศาลรัฐธรรมนูญคงไปห้ามไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการจงใจแสดงให้เห็นพฤติการณ์ว่า กำลังจะมีการพฤติการณ์ ส่อไปทางนั้นหรือไม่ ทั้งที่ศาลเองก็ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า การที่พ้น 15 วันไปแล้ว ไม่ลงวาระที่ 3 จะส่งผลเสียหายอะไร

"บ้านเมืองไม่ได้เสียหาย แต่ถ้าดันทุรังทำไปบ้านเมืองเสียหายหรือไม่ อย่ามาตั้งโจทย์ว่าศาลจะไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ" แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ
สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อำนาจสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน

view