สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปลัดคลังไขข้อข้องใจ... ปลด ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ-เดินหน้าลงทุน

จากประชาชาติธุรกิจ

ช่วงที่ผ่านมา การปลดผู้บริหารรัฐวิสาหกิจอย่าง "การบินไทย" และ "กองสลาก" ล้วนเป็นข่าวที่สร้างความระส่ำระสายไปอีกหลายรัฐวิสาหกิจที่หวาดผวาจะมี "ใครจะเป็นรายต่อไป" และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจะกระทบต่อการขับเคลื่อนรัฐวิสาหกิจที่มี ภารกิจต้องเร่งลงทุนเต็มที่ ตามนโยบายรัฐบาลที่ประกาศให้ปีนี้เป็น "ปีแห่งการลงทุน"

แค่ไหน...ต่อประเด็นเหล่านี้ "อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม" ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ไขคำตอบผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ตามบทสัมภาษณ์ที่ปรากฏต่อไปนี้

- ช่วงนี้มีการปลดผู้บริหารรัฐวิสาหกิจหลายคน

จริง ๆ มี 2-3 แห่งเท่านั้นเอง เพียงแต่ เกิดขึ้นต่างวาระแต่มาเกิดเหตุพร้อมกัน เลยเป็นเรื่องใหญ่ที่อยู่ในความสนใจ (กรณีเลิกจ้างนายสมชาติ วงศ์วัฒนศานต์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย)

จริง ๆ เป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระที่ไม่เกี่ยวกัน แต่ละบอร์ดจำเป็นต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้า อะไรที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อองค์กรก็ต้องตัดสินใจ กรณีการบินไทย ทางบอร์ดก็ได้มีการชี้แจงเหตุผลไปแล้ว

- ได้ยินว่าคลังกำลังปรับบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ (ไดเร็กเตอร์พูล)

การ ปรับบัญชีรายชื่อดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายที่ต้องให้แต่ละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เป็นคนคัดเลือก เวลารัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยดึงชื่อมาจาก 1 ใน 3 ของบัญชีนี้ ซึ่งเราตั้งใจไว้ว่าในส่วนนี้จะต้องเป็นกรรมการที่มีความรู้ด้านกฎหมายรัฐ วิสาหกิจและเป็นตัวยืนให้ ก็มีการคัดเลือกเข้ามา ซึ่งทั้งหมดจะมีประมาณ 600 คน แต่ปีที่แล้วมีคนเกษียณและคนที่ลาออกรวมประมาณ 70 คน ก็ต้องแต่งตั้งเสริม ตอนนี้อยู่ในกระบวนการ เพราะต้องมีไว้ในบัญชี 2 เท่าของความต้องการ โดยกรรมการตามบัญชีนี้จะแบ่งออกตามความเชี่ยวชาญ 20 สาขา อาทิ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านบัญชี ด้านวิศวะ ด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น

- บางทีเห็นรายชื่อกรรมการนั่งซ้ำกันในหลายรัฐวิสาหกิจ

ก็ แล้วแต่ เพราะการทำงานก็ต้องเป็นกรรมการที่ทำงานร่วมกันได้ บางคนก็มีความชำนาญเป็นที่นิยม แต่ทุกคนนั่งเป็นกรรมการได้ไม่เกิน 3 แห่ง บางรัฐวิสาหกิจตั้งคนใกล้ชิดเข้ามา ส่วนนั้นจะอยู่ในส่วน 2 ใน 3 ของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง แต่ต้องชัดว่าบุคคลนั้นมีความรู้ว่าเป็นบอร์ดจะมีหน้าที่อย่างไร ต้องไม่ล้วงลูก กำหนดขอบเขตอำนาจชัดเจน ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่ต้องติดตามให้ฝ่ายปฏิบัติการดำเนินการ คือจะมีระบบบริหารจัดการของบอร์ด

- จะมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารรัฐวิสาหกิจสังกัดคลังอีกหรือไม่

ในปีนี้จะมีคนที่หมดตามวาระซึ่งอยู่ระหว่างสรรหาคือ ธนาคารออมสิน ส่วนปลายปีมีธนาคารกรุงไทย แล้วก็มีธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

- หลังจากนี้จะเห็นรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนการลงทุนออกมาอย่างไร

เงิน ก้อนใหญ่จะอยู่รถไฟกับรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งเราต้องการให้เกิดขึ้น แต่ก็มีปัญหาการทำงานมาก เพราะบทบาทการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่หยุดการสร้างมานาน หลังจากสมัย ร.5 เพิ่ม

มาแค่ร้อยกว่ากิโลเมตร เราก็บอกว่านี่เป็นเรื่องสำคัญ จะสร้างทางคู่หรืออะไรก็พูดกันมาหลายปี ใส่เงินไปให้ แต่ ร.ฟ.ท.เบิกจ่ายได้แค่ 30-40% มาตลอด ท่านนายกรัฐมนตรีก็เลยให้คลังกับกระทรวงคมนาคมมาร่วมกันทำงาน ช่วยเคลียร์ทุกโครงการ ทุกจุด ก็หวังว่าจะมีการลงทุนตรงนี้เกิดขึ้นเยอะ

- จะเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน

ก็ หวังเช่นนั้น เพราะตอนนี้การเบิกจ่ายภาครัฐยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเป็นสาเหตุที่นายกรัฐมนตรีให้จี้โครงการต่าง ๆ แต่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนสูงกว่าที่คาดการณ์ ถ้าดูตัวเลขเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังเหตุการณ์น้ำท่วมตั้งแต่ ธ.ค.ถึง มี.ค.ทุกอย่างกระดกหัวขึ้นหมด เกือบทุกสาขา อาจจะมีบางสาขาที่ยังไม่ค่อยดีคือรถยนต์กับอิเล็กทรอนิกส์ เพราะโรงงานปิดช่วงนั้น แต่ข้อมูลตั้งแต่เดือน เม.ย.เป็นต้นไป โรงงานรถยนต์ทุกแห่งผลิตเต็มที่แล้ว ด้านอิเล็กทรอนิกส์จะผลิตได้กลางปีนี้ 70-80% ส่วนสาขาอื่น นายกฯให้ดูว่าภาพใหญ่ทุกสาขา ไม่ว่าเกษตร ก่อสร้าง หรืออื่น ๆ กว่า 20-30 สาขา ใน 3-4 เดือนก็ปรับขึ้นหมดแล้ว จึงให้แยกดูเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีว่าการฟื้นตัวเป็นอย่างไร โดยภาพรวมขึ้นหมด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีบริษัทที่ขาดทุนในแต่ละสาขา แต่ภาพรวมดีขึ้นกว่าปีก่อน

- การเบิกจ่ายที่ว่ายังไม่ค่อยดีเกิดจากสาเหตุอะไร

ก็ มีคณะกรรมการเร่งรัดเบิกจ่าย กรมบัญชีกลางเป็นเลขานุการ ได้จี้ให้เร่งทั้งงบฯของรัฐบาลและของรัฐวิสาหกิจ ตอนนี้เริ่มดีขึ้นแล้ว เพราะทราบอยู่แล้วว่างบประมาณปีนี้ออกช้า ที่ผ่านมาก็ปลดล็อกมาตรการไปหลายอย่าง ตอนนี้ก็จะเร่งเอาของจริงมาทำงานกันเลย แต่ละโครงการต้องมีการประมูล เงินต้องออกจริง คอนเซ็ปต์อยู่ตรงนั้น นอกจากนี้ก็มีการกำหนด KPI ทั้งของรัฐวิสาหกิจด้วยว่า ถ้าทำไม่ได้คะแนนประเมินจะตก ส่วนภาครัฐชื่อก็จะถูกรายงานในที่ประชุม ครม. ส่วนงบฯลงทุนนอกจากงบประมาณ ยังมีงบฯลงทุนระบบน้ำภายใต้พระราชกำหนดอีก 3.5 แสนล้านบาท ที่เพิ่มจากงบประจำที่มีอยู่ปีละ 3 แสนล้านบาท ส่วนนี้จะเห็นใช้ในปี 2556 เยอะ ภาพปีนี้โครงการต่าง ๆ จะชัด แต่ก็มีกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ต้องไปทำ เช่น เรื่องรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เป็นต้น

- ประเมินภาวะเศรษฐกิจปีนี้อย่างไร

การ จัดเก็บรายได้ตอนนี้ก็เกินเป้า เห็นได้จากการบริโภคที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นคือ เอกชนบริโภคสูง ขณะที่การส่งออกแม้เป้าตกจากปีที่แล้วเหลือ 12-13% แต่ก็ยังใกล้เคียง ภาครัฐแม้จะต่ำไปบ้างแต่ก็ไม่มาก ฉะนั้นเกือบทุกตัวดีขึ้นหมด ทุกสำนักจึงปรับตัวเลขขึ้น คลังก็กำลังจะปรับเช่นกัน จากปัจจุบันคาดการณ์ปีนี้เศรษฐกิจโต 5.5%


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปลัดคลังไขข้อข้องใจ ปลด ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เดินหน้าลงทุน

view