สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สมชาย พูลสวัสดิ์ ภารกิจด่วนกรมศุลฯรับมือเปิดเออีซี

จากประชาชาติธุรกิจ

ประเทศภูมิภาคนี้จะรวมตัวกันในนามประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำแพงทางการค้าที่เป็นอุปสรรคจะถูกทลายลง โดยเฉพาะภาษีนำเข้าที่จะกลายเป็น "ศูนย์" ขณะที่การแข่งขันทางธุรกิจจะเพิ่มมากขึ้น หากไม่เตรียมพร้อมไว้แต่เนิ่น ๆ ก็อาจจะตกขบวน ขณะที่ภาครัฐต้องสนับสนุนภาคเอกชน ดังที่ "สมชาย พูลสวัสดิ์" อธิบดีกรมศุลกากร สะท้อนบทบาทของหน่วยงานรัฐแห่งนี้ผ่านบทสัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ดังต่อไปนี้

- กรมศุลกากรเตรียมพร้อมรับมือเปิดเออีซีอย่างไรบ้าง

เอ อีซีเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญ เพราะกรมศุลฯก็เหมือนเป็นประตูบ้าน โดย รมว.คลัง ได้ให้เตรียมพร้อม 3-4 ด้านคือ ด้านแรก "คน" ต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษา หลัก ๆ ก็มีภาษาอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น แต่ภาษาเพื่อนบ้านก็ต้องไม่ทิ้ง อย่างน้อยต้องสื่อสารกันได้ ด้านที่สอง "กฎหมาย" มีอยู่ 5-6 ฉบับที่ต้องแก้ ต้องอนุวัตรให้เป็นไปตามอนุสัญญาเกียวโตที่เอ็มโอยูกันไว้ ทุกประเทศต้องไปสู่มาตรฐาน WCO (องค์การศุลกากรโลก) ซึ่งการอำนวยความสะดวกเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมุ่งเน้น โดยในการผ่านพิธีการศุลกากรจะมีตัวชี้วัด (KPI) วัดอยู่ เช่น เรื่องความเร็ว เพราะถือว่าเวลาเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจ เป็นต้น

- ช่วยยกตัวอย่างกฎหมายสำคัญ ๆ ที่ต้องเร่งแก้

ก็ มีส่วนที่ต่างชาติสนใจอยู่ ถ้าเขาจะมาลงทุนในบ้านเรา หากกฎหมายเราล้าสมัย เขาก็ไม่แฮปปี้ ประเด็นแรก เรื่องอัตราโทษปรับ เดิมกำหนดว่าต้องปรับ 4 เท่า ราคาบวกอากร (เลี่ยงภาษี) แต่ปัจจุบันที่เราเสนอแก้ไขไปจะใช้คำว่าปรับไม่เกิน 4 เท่า นี่เป็นหัวใจ เพราะศาลจะสามารถใช้ดุลพินิจได้ว่า หากไม่เจตนาเลี่ยงภาษี อาจจะปรับแค่ 1 เท่า 2 เท่า 3 เท่า แต่ไม่เกิน 4 เท่า จากอดีตถ้าผิด ก็ปรับ 4 เท่าเลย ถ้าแก้แล้วผู้นำเข้าคงยินดีที่จะไปศาล ต่อมาเป็นประเด็นเรื่องสินบน รางวัล ซึ่งเราฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการจนได้ข้อยุติว่า จะกำหนดเพดาน (cap) ยอดเป็นสินบน 30% ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อคดี และรางวัลให้ 25% ไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อคดี ส่วนที่เหลือก็เข้าหลวงไป จากเดิมที่ไม่มีเพดาน แต่หลาย ๆ ประเทศที่ศึกษาดู บางประเทศไม่มีแล้ว บางประเทศยังมีแต่ให้ cap ยอด ของเราก็คิดว่าเบื้องต้นให้ถอยมาก้าวหนึ่ง คือให้ cap ยอด โดยตอนนี้บางฉบับก็อยู่กฤษฎีกา บางฉบับก็รอเข้าคณะรัฐมนตรี

- ยังต้องเตรียมการด้านอื่น ๆ อีกหรือไม่

ด้าน ที่สาม "ไอที" ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จุดเดียว หรือ National Single Window (NSW) ที่ต้องเกี่ยวโยงกับ 37 หน่วยงาน แต่ปัจจุบันบางหน่วยงานยังเป็นแมนวลอยู่ จะเสร็จในปี 2556 ตอนนี้การผ่านพิธีการศุลกากรเป็น e-Custom 100% แล้ว ครึ่งชั่วโมงก็จบ แต่ถ้าสินค้าที่สั่งเข้ามาต้องมีใบอนุญาต จะต้องขอกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ หรือกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งยังเป็นแมนวล ดังนั้นแม้ในส่วนศุลกากรจะเร็ว แต่ต้องรอการอนุญาตจากหน่วยงานอื่นอยู่ดี แต่ถ้าเสร็จแล้วพอไปขออนุญาตจากหน่วยงานอื่น ข้อมูลจะมาขึ้นที่กรมศุลกากร ปล่อยสินค้าได้เลย ครึ่งชั่วโมงก็จบ

ส่วนกระบวนการตรวจปล่อยก็ต้อง เอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งเราจะใช้การประเมินความเสี่ยง โดยมี Red line กับ Green line สินค้าตัวไหนต้องติด list ความเสี่ยง ก็ต้องดูว่าต้องตรวจ ก็ผ่านเครื่อง X-Ray 10-20 นาทีก็จบ และอีกด้าน "การปรับปรุงด่านศุลกากรตามแนวชายแดน" เพราะการค้าเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมี 46 แห่ง ด่านเล็กก็ต้องขยาย ตรงไหนยังไม่มีก็ต้องสร้างเพิ่ม อย่างเช่น ภูดู่ (จังหวัดอุตรดิตถ์) ก็ต้องทำด่านถาวร แล้วก็มีที่กาญจนบุรีกำลังหาพื้นที่สร้างด่านพุน้ำร้อนรองรับโครงการทวาย หรือด่านสะเดาก็ต้องขยาย ทางมาเลเซียเขาขอมา เพราะเวลาเทศกาลจะแน่น ทางเหนือ-อีสานก็ต้องขยาย การค้าจีนก็ลงมา เกิดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 ก็ต้องสร้างด่านเชียงของอีกแห่งรองรับตู้สินค้า ต้องมีระบบ X-Ray เพิ่มด้วย

- จำเป็นต้องขอเพิ่มเจ้าหน้าที่ด้วยหรือไม่

ตอน นี้เตรียมขออัตรากำลังเพิ่ม ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับด่านที่ดอนเมืองด้วย แล้วก็ตามแนวชายแดนอีก รวมแล้วขอไว้กว่า 400 อัตรา ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบของ อ.ก.พ. (คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน) ระดับกรม กับระดับกระทรวงการคลังแล้ว รอเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) พิจารณา

- ต้องใช้งบประมาณทำระบบไอทีกับขยายด่านแค่ไหน

สำหรับ ไอทีที่ขอปีนี้ (2555) ทำศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองได้งบฯมากว่า 500 ล้านบาท ส่วนเครื่อง X-Ray ก็ต้องเพิ่มเพื่ออำนวยความสะดวกอีกประมาณ 2,500 ล้านบาท อันนี้เสนอกระทรวงการคลังแล้ว ด่านแหลมฉบังต้องสร้างที่พัก (แฟลต) กว่า 500 ล้านบาท เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่ยังต้องเช่าบ้านอยู่ แล้วจะมีด่านทางอีสานอีกกว่า 200 ล้านบาท ส่วนการปรับด่านทางใต้จะใช้งบฯผูกพันปีก่อน ๆ ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ครม.มีมติให้แปลงงบประมาณ 100 ล้านบาท จากเดิมที่จะใช้สร้างด่านสะเดาแห่งใหม่มาใช้ปรับปรุงด่านเก่า เนื่องจากพื้นที่ใหม่ยังประนีประนอมกับชาวบ้านไม่ได้ข้อยุติ

- ในอนาคตกรมจะไม่เน้นรายได้ แต่จะเน้นอำนวยความสะดวกมากขึ้น

พอ เปิดเออีซี อัตราศุลกากรปี 2558 จะเป็นศูนย์หมด แต่ผมเรียนว่า ตั้งแต่ปี 2550 มา ซึ่งมี FTA เยอะมาก ก็เป็นศูนย์เกือบหมดแล้ว เหลือไม่กี่ตัวที่สงวนไว้ ดังนั้นเมื่อเออีซีเกิด โดยคาดการณ์จากเงื่อนไขสถานการณ์ปัจจุบัน จีดีพีโต 3-5% ต่อปี คิดว่ารายได้ภาษีศุลกากรอาจจะหายไปประมาณ 7-8 พันล้านบาท แต่ขณะเดียวกันจะทำให้มูลค่าการค้าเพิ่มสูง ภาษีทางอ้อม ไม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีเงินได้อื่น ๆ จะมาชดเชยตรงนี้ได้

แต่ ที่สำคัญคือ กรมศุลฯต้องอำนวยความสะดวกให้เป็นที่ยอมรับของสากล ส่วนระดับรายได้ของกรมก็น่าจะอยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาท ถึง 1 แสนล้านบาทต่อปีได้ ซึ่งในปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วก็มุ่งเน้นภาษีภายในมากกว่าจะเป็นภาษีนำเข้า


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สมชาย พูลสวัสดิ์ ภารกิจด่วน กรมศุลฯ รับมือเปิดเออีซี

view