สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Rio+20 เดินหน้าหรือหยุดชะงัก ? เทรนด์ ความยั่งยืน โลกถึงไทย

จากประชาชาติธุรกิจ

ที่ประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า "Rio+20" เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นับเป็นความหวังและความพยายามของผู้คนที่สนใจและตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่ง แวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการคิดหาทางรอดจากสภาวะอากาศแปรปรวน หรือ climate change พร้อมกับการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ กับการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและชุมชน

ความพยายามกว่า 20 ปี นับตั้งแต่การประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือ UNCED ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ในปี 2535 ด้วยการระดมกลุ่มคนจากทั้งภาครัฐ นักวิชาการ องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ ประชาสังคม เอ็นจีโอ และทุกองคาพยพในโลกนี้ ในนามของผู้มีอิทธิพลและแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการแสวงหาความร่วมมือทั้งในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล เอกชนกับชุมชน ฯลฯ จึงได้เกิดขึ้นอีกครั้งในปีนี้


แม้จะมีรายงานผ่านสื่อต่างประเทศออกมาระหว่างการประชุมเมื่อเดือนก่อน ถึงความล้มเหลว ถอยหลังเข้าคลอง

หรือการประชุมที่ไร้สุ้มเสียงแห่งการเปลี่ยนแปลงออกมาในการพยายามเยียวยาโลกที่ป่วยไข้

แต่ ในมุมของที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ที่มีแบ็กกราวนด์มาจากภาคธุรกิจแล้ว กลับมีความเห็นว่า การประชุมใน Rio+20 ไม่ได้สิ้นหวังเสียทีเดียว หากแต่การประชุมนี้ได้ระดมภาคธุรกิจระดับ

บิ๊ก ๆ ของโลกให้มาร่วมกันเสนอไอเดีย และประกาศจุดยืนในการทำธุรกิจไปพร้อมกับลดการทำลายธรรมชาติจากการดำเนินธุรกิจไปด้วย

"กุล เวช เจนวัฒนวิทย์" ที่ปรึกษาฝ่ายความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด หรือ PwC ประเทศไทย ในฐานะผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม Rio+20 ได้ถ่ายทอดให้ผู้สนใจผลการประชุมดังกล่าวในกิจกรรม PwC Sustainability Breakfast Briefing เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ผลการประชุมทำให้เห็นแนวโน้มการดำเนินการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม โลกร้อน การใช้ทรัพยากรน้ำ ปัญหาสังคม ว่าต้องประกอบด้วย

1) การแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม จะแก้ด้วยการใช้นโยบายระดับโลกอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องแก้ด้วยวิธีและวิถีของท้องถิ่น

2) Start Small and Scale up คือต้องจับมือกันดำเนินการ จะทำคนเดียวก็ไม่ไหวและไม่ทันแล้ว ดังนั้นจึงได้เห็นบริษัทหลายแห่งจับมือกับคู่แข่งหรือ

พันธมิตรทาง การค้า ไม่ว่าจะเป็นเป๊ปซี่, โคคา-โคล่า, วอล-มาร์ต, ดูปองต์ เข้ามาแก้ปัญหาและทำงานร่วมกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น

3) เริ่มเห็นผลข้างเคียงจากการแก้

ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่คาดคิดตามมาในอีกด้านหนึ่ง

4) มีภาคธุรกิจที่กล้าประกาศเป้าหมายและพันธกิจที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับสะท้อนออกมาในการติดตามแผนงานตามกลยุทธ์ธุรกิจที่แสดงให้เห็นในระยะ ต่อมาว่า นอกจากจะลดผล

กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้วยังเพิ่มมูลค่าของธุรกิจได้อย่างโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งด้วย เช่น กรณีของยูนิลีเวอร์ และพูม่า

"ด้วย โมเดลทางธุรกิจของยูนิลีเวอร์มีการซื้อวัตถุดิบจากผู้ผลิตหลายราย ขณะที่พูม่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬาซึ่งมีซัพพลายเออร์ น้อยกว่ารายแรก ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของทั้ง 2 บริษัทจึงต่างกัน แต่มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ

ด้วยการลดผลกระทบแง่ร้ายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน"

"อย่าง ยูนิลีเวอร์ตั้งเป้าหมายธุรกิจว่า เขาต้องเพิ่มผลประกอบการจาก 4 หมื่นล้านยูโร เมื่อปีที่ผ่านมา เป็น 8 หมื่นล้านยูโร ใน 2 ปีข้างหน้า ด้วยการสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้น ยูนิลีเวอร์จึงกำหนดประเด็นในการดำเนินโครงการเพื่อสร้างความยั่งยืนใน 3 เรื่อง คือสุขภาพ, สิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน พร้อมกับแผนการดำเนินการในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) การใช้ทรัพยากรน้ำ การลดและจำกัดขยะ และที่สำคัญการจัดซื้ออย่างยั่งยืน หรือ sustainable sourcing เพื่อให้มั่นใจว่าได้ซื้อวัตถุดิบมาจากแหล่งผลิตที่ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม พร้อมติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด และหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หากยังไม่เป็นไปตามแผนงาน"

"ขณะที่พู ม่าออกรายงานเมื่อปี 2553 เรื่องการแสดงบัญชีกำไรและความสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Puma"s enviromental profit and loss account ซึ่งทำให้บริษัทสามารถวัดและติดตามการจัดหาวัตถุดิบของซัพพลายได้ถึง 4 ขั้น โดยขั้นฐานคือเกษตรกร เพื่อชี้ให้เห็นต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่นำมาผลิตสินค้าของพูม่านั้นมีอะไรบ้าง และจะลดการใช้ทรัพยากรอย่างไร"

นี่คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจได้นำเรื่องการรักษาสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้ามาอยู่ในกลยุทธ์องค์กร

ตามหลักการสร้างความยั่งยืนที่คำนึงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจไปพร้อมกับความรักษาสมดุลของสังคมและสิ่งแวดล้อม

แต่ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา การแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในทางหนึ่ง ก็ได้ส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดในอีกทางหนึ่ง วันนี้จึงเกิดปัญหาที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ว่าสิ่งที่เราอยากแก้ปัญหาให้โลกสีเขียวมากขึ้น แต่มันกลับไปสร้างผลข้างเคียงโดยที่เรามองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โลกร้อน หรือการเพิ่มขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะกลายเป็นขยะอันตราย กำจัดด้วยการฝังกลบแบบโบราณไม่ได้แล้ว เป็นต้น

ยกตัวอย่างจากรายงาน ที่บอกว่า มี 40% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ห่างจากมหาสมุทรเพียง 100 กิโลเมตร และกำลังเผชิญปัญหาจากกรดที่เพิ่มขึ้นในทะเล

ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรม ทั้งที่มหาสมุทรเป็นปอดของโลก สามารถดูดซับคาร์บอนได้ถึง 25%

แต่ เมื่อกรดเพิ่มขึ้น ทำให้มหาสมุทรลดความสามารถในการดูดซับคาร์บอน เกิดเป็นมลพิษและทำให้แพลงตอนตาย ทั้งที่แพลงตอนเป็นตัวตนทางในวงจรอาหารที่กลับมาสู่คน นี่คือตัวอย่างของปัญหาที่ซับซ้อนและเวียนวน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง และยังเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจด้วย

"ปัญหามันซับซ้อนมากขึ้นจนคนไม่ รู้จะเริ่มจากไหน แต่คำแนะนำคือให้เริ่มจากทำร่วมกับคนที่พบปัญหาคล้ายกับเรา หรืออยู่ในซัพพลายเชนเดียวกันเรา"

ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องทบทวนตัวเองได้แล้วว่า วันนี้มีกลยุทธ์การเติบโตที่พิจารณาถึงความเสี่ยงอย่างรอบด้านแล้วหรือยัง ซึ่งสิ่งที่ "กุลเวช" แนะนำในระดับองค์กร คือการคิดถึงโมเดลทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดภารกิจของ ธุรกิจ และลงมือทำโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายหรือกฎข้อบังคับของรัฐสั่งการ

ส่วน ในระดับปัจเจกบุคคล "กุลเวช" บอกว่า เราต้องคิดถึงการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ และเป็นการบริโภคอย่างยั่งยืน เพราะความพอ มันเริ่มต้นที่ "คุณ"


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : Rio+20 เดินหน้าหรือหยุดชะงัก เทรนด์ ความยั่งยืน โลกถึงไทย

view