สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักวิชาการนิด้าร้องศาลรัฐธรรมนูญเบรกจำนำข้าว เหตุทำระบบการค้าพัง และรัฐเจ๊งไปแล้ว 9.8 หมื่นล้าน

นักวิชาการนิด้าร้องศาลรัฐธรรมนูญเบรกจำนำข้าว เหตุทำระบบการค้าพัง และรัฐเจ๊งไปแล้ว 9.8 หมื่นล้าน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       นักวิชาการนิด้าสุดทน ล่ารายชื่อกว่า 100 รายร้องศาลรัฐธรรมนูญล้มโครงการรับจำนำข้าว ชี้ขัดมาตรา 84 วรรค 1 ฐานบิดเบือนกลไกตลาด กีดกันระบบการค้าปกติ เตรียมรุกต่อหาทุกช่องทางสกัดการเปิดรับจำนำอีก เผยข้อมูล ธ.ก.ส. รัฐเจ๊งแล้ว 9.8 หมื่นล้านบาทจากการจำนำรอบแรก
       
       นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยถึงการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการไต่สวนให้ยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินโครงการเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 84 (1) ที่ว่าถึงการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจระบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาดและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและหลักเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบท บัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค
       
       โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าว ได้แก่ 1. กลไกตลาดในการแยกแยะคุณภาพข้าวล้มเหลวเนื่องจากคุณภาพข้าวลดลงเพราะเป็นการ รับซื้อข้าวแบบคละเกรด 2. เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการผลิตข้าวคุณภาพดีโดยเน้นการปลูกข้าวที่มีระยะเวลา การเก็บเร็วได้ผลผลิตสูง 3. คุณภาพข้าวลดลงเนื่องจากการเก็บสต๊อกข้าวจำนวนมาก และไม่มีการระบายออกสู่ตลาด 4. การกำหนดราคาจำนำที่สูงเกินราคาตลาดเป็นการส่งสัญญาณทางราคาที่บิดเบือน ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวเกินศักยภาพนำไปสู่การบิดเบือนโครงสร้าง การผลิตในภาคเกษตร มูลค่าการผลิตสินค้าเกษตรอื่นๆ ลดลง 5. โครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวไทยที่พัฒนามาเป็นอย่างดีถูกทำลายลง 6. การประกาศราคาข้าวที่สูงขึ้นทำให้ประเทศไทยขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาด การค้าข้าวโลกปัจจุบัน ราคาข้าวที่สูงขึ้นทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกข้าวได้ทำให้มูลค่าการส่ง ออกข้าวของประเทศลดลง 46% (จาก 7.4 ล้านตัน ลดลงเหลือ 3.9 ล้านตัน) และ 7. การระบายข้าวของรัฐ ต้องทำโดยการขายระหว่างรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ในราคาขาดทุนอย่างมากซึ่งเท่ากับเป็นการใช้เงินภาษีประชาชนทั้งประเทศเพื่อ ให้ผู้บริโภคในต่างประเทศซื้อข้าวไทยในราคาถูก
       
       “เราได้มีการลงรายชื่อของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการรับจำนำข้าว รวม 127 คน เป็นนักวิชาการของนิด้ากว่า 50 คน อาจารย์ของ ม.ธรรมศาสตร์กว่า 20 คน รวมทั้งกลุ่มนักศึกษา ประชาชน และยังมีชาวนาบางส่วนที่เริ่มไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวที่จะทำให้ต้น ทุนการผลิตข้าวในอนาคตสูงมากขึ้น โดยหลังจากนี้หากมีช่องทางอื่นๆ ก็จะรวบรวมรายชื่อไปฟ้องร้องอีก โดยการยื่นครั้งนี้ไม่ต้องการถึงขั้นล้มโครงการแต่ต้องการให้มีการปรับเพดาน การรับจำนำข้าวที่เหมาะสมในราคาตลาดไม่เกิน 9 พัน-1 หมื่นบาทต่อตัน และต้องจำกัดครอบครัวละไม่เกิน 25 ตันเท่านั้น เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายแก่ประเทศ” นายอดิศร์กล่าว
       
       ทั้งนี้ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นจากข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) ระบุว่า ต้นทุนในการใช้รับจำนำรวม 2.9 แสนล้านบาท 90% ของมูลค่าทั้งหมดเป็นต้นทุนในการซื้อข้าว อีก 10% เป็นค่าบริหารจัดการโครงการ ขณะที่การคาดการณ์รายรับที่จะได้จากโครงการ 1.93 แสนล้านบาท ทำให้โครงการสร้างความเสียหายเบื้องต้น 9.8 หมื่นล้านบาท


นักวิชาการยื่นศาลรธน.ยับยั้งรับจำนำข้าว

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

นิด้า รวมนักวิชาการชื่อดัง 127 คน  ยับยั้งโครงการจำนำข้าว ต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ

นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) แถลงว่า วันนี้ได้นำรายชื่อนักวิชาการ 127 รายชื่อ ประกอบด้วบ อาจารย์ บุคลากร และนักวิชาการ ที่เห็นถึงปัญหาในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ยื่นต่อประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันนี้ เนื่องจากมองว่า การดำเนินการในโครงการดังกล่าว ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 และมาตรา 43 เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งการปรับปรุงหรือยับยั้งการดำเนินการดังกล่าวของ รัฐบาล เพราะมีส่วน สร้างความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจประเทศ

"การดำเนินการในโครงการนี้ เราเห็นว่า อาจจะขัดรธน. เพราะการจำนำข้าว นำไปสู่ตลาดผูกขาด และมีสาเหตุความล้มเหลว มีผู้ได้รับผลประโยชน์ ขณะเดียวกัน ก็จะเกิดหายนะในอนาคตข้าวไทย เพราะ ข้าวที่มีคุณภาพจะผลิตลดลง  จึงต้องการให้ศาลรธน. พิจารณายับยั้่ง"นายอดิศร์กล่าว

ทั้งนี้ รายชื่อผู้ร่วมยื่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ อาทิ นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศณษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และอดีตคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นางอัจนา ไวความดี อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมลงชื่อครั้งนี้

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กรณีที่คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และนักศึกษายื่นหนังสือต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญกรณีการจำนำข้าวของรัฐบาลขัด ต่อมาตรา 84 หรือไม่ว่า เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ในสังคมไทย ยังไม่ค่อยมีบรรทัดฐานที่ชัดเจน แต่ว่ามีเหตุผลของมันอยู่ เพราะโครงการรับซื้อทำให้รัฐกลายเป็นผู้ค้าข้าวรายใหญ่ เพราะฉะนั้นก็เป็นสิทธิ์ของคนที่จะตั้งคำถามได้ว่า การที่รัฐบาลออกนโยบายเพื่อให้ตัวเองเป็นผู้ค้ารายใหญ่ในสินค้าบางประเภท นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ถ้าจะมาทำในการเข้าไปแทรกแซงกลไกการค้าขายของประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิ เสรีภาพแล้ว ต้องมีเหตุผลเฉพาะที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม แต่ว่าคงต้องขอติดตามดูรายละเอียดจากการนำเสนอเหตุผลต่าง ๆ เพราะค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหม่ แต่แม้จะจำกัดประเด็นอยู่ในเรื่องของสาระ แต่คงจะมีผลกระทบทางการเมือง แต่ก็เชื่อว่าคนที่ไปยื่นเรื่องไม่ใช่ว่าไม่ต้องการช่วยเกษตรกร เพราะอาจจะโดนข้อหานี้ และถ้่าสมมติว่าถ้าเกิดชนะขึ้นมาจริง ๆ ก็เป็นไปได้ว่า ฝ่ายการเมืองก็จะสร้างกระแสอีกว่าศาลมีอำนาจมากไป แต่ว่าในที่สุดสังคมก็ต้องตัดสินใจว่าเรามีกฎ กติกาของบ้านเมืองที่กำหนดเอาไว้ แล้วเราจะทำกันอย่างไร กฎกติกานั้นมีเหตุมีผลหรือไม่


อาจารย์นิด้ายื่นศาล รธน.ระงับจำนำข้าว ชี้ขัด กม. ทำลายกลไกการค้า

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า นำรายชื่อคณาจารย์-นักศึกษารวม 146 คน ยื่นศาลรัฐธรรมนูญยับยั้งจำนำข้าว ระบุขัด ม.43 และ ม.84 (1) ชี้ทำรัฐผูกขาดซื้อ ทำลายกลไกราคา ทำข้าวแข่งขันตลาดโลกไม่ได้ แนะเปลี่ยนเงื่อนไข เชื่อโครงการส่งผลดีแค่ระยะสั้น จ่อยื่นผู้ตรวจฯ สัปดาห์หน้า

       
       วันนี้ (27 ก.ย.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า พร้อมคณะราว 10 คนได้นำรายชื่อคณาจารย์จากนิด้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษา รวม 146 คน ยื่นต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล โดยนายอดิศร์กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลมีการเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการรับซื้อ แต่กลับยังใช้ชื่อโครงการรับจำนำข้าวหมือนเดิมนั้น ซึ่งรัฐบาลได้เข้ามาผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการทำลายกลไกการซื้อขายข้าว และท้ายสุดจะทำให้ข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ เนื่องจากราคาและต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคุณภาพข้าวที่ด้อยลง ทำให้เป็นห่วงเกษตรว่าในอนาคตข้าวไทยอาจไม่สามารถส่งออกในตลาดโลกได้ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ยุติหรือชะลอการดำเนินงานโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล และอยากให้รัฐบาลเปลี่ยนเงื่อนไขของโครงการ 3 ประการ คือ 1. ปรับราคาการรับซื้อที่ไม่ขัดกับกลไกการค้าเสรี 2. ทำให้โครงการรับจำนำข้าวเป็นการจำนำข้าวอย่างแท้จริง และ 3. มีการจำกัดจำนวนการรับซื้อข้าว
       
       “ถึงแม้เกษตรกรจะเรียกร้องให้ยังคงโครงการในรูปแบบนี้อยู่ แต่โครงการนี้จะส่งผลดีกับเกษตรกรในระยะสั้นเท่านั้น แต่ระยะยาวจะส่งผลกระทบให้ภาคการเกษตรเสียหายจำนวนมาก เราไม่อยากเห็นเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จึงขอร้องให้ศาลยุติเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งให้รัฐบาลปรับปรุงโครงการเพื่อให้ส่งผลแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง” นายอดิศร์กล่าว
       
       เมื่อถามว่า การมายื่นคำร้องต่อศาลโดยตรงศาลอาจจะไม่รับพิจารณาเพราะเป็นการข้ามขั้นตอน นายอดิศร์กล่าวว่า ที่มาในครั้งนี้ก็เพื่อมาแสดงเหตุผลต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง เพราะเรามองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 43 และ 84 (1) โดยตรง ที่ระบุว่า รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าจะเดินทางไปยื่นเรื่องดังกล่าวที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินต่อ ไป


“ยรรยง” โต้นักวิชาการ ยันจำนำข้าวเพื่อช่วยเพิ่มรายได้ชาวนา ไม่ใช่ทำธุรกิจแข่งเอกชน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      “ยรรยง” โต้นักวิชาการ ยันรัฐบาลไม่ได้จำนำเพื่อทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน แต่มีเป้าหมายเพื่อต้องการช่วยชาวนา
       
       นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีนักวิชาการล่ารายชื่อเตรียมร้องศาลรัฐธรรมนูญให้ทบทวนโครงการ รับจำนำข้าวว่า ยืนยันว่าการทำโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำธุรกิจและ แข่งขันกับภาคเอกชน เพราะหากทำเชิงธุรกิจจะต้องมีกำไร แต่โครงการจำนำไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อกำไร แต่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และยกระดับราคาข้าวในตลาดเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาซื้อข้าวในตลาดได้ด้วย
       
       ขณะเดียวกันก็ตั้งข้อสังเกตว่านักวิชาการสามารถฟ้องร้องได้หรือไม่ เพราะไม่ใช่เป็นผู้เสียหาย และหากสอบถามจากชาวนาส่วนใหญ่ที่มีส่วนได้เสียโดยตรง โดยมากพอใจกับโครงการจำนำเพราะได้รับเงินที่สูงกว่า ซึ่งไม่ได้รับเงินน้อยอย่างที่นักวิชาการระบุไว้


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : นักวิชาการนิด้า ร้องศาลรัฐธรรมนูญ เบรกจำนำข้าว ทำระบบการค้าพัง รัฐเจ๊ง 9.8 หมื่นล้าน

view