สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จำนำข้าวเพื่อใคร? อจ.นิด้า-มธ.เฉลย ใครได้-ใครเสียประโยชน์

จำนำข้าวเพื่อใคร? อจ.นิด้า-มธ.เฉลย ใครได้-ใครเสียประโยชน์

จากประชาชาติธุรกิจ

มาตรการ "จำนำข้าว" ถูกต่อต้านมาตั้งแต่พรรคเพื่อไทย ชูเป็นหนึ่งในนโยบายที่ใช้เป็นประเด็นหาเสียงเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 ด้วยเหตุผลว่า ในอดีต โครงการนี้เปิดโอกาสให้เกิดการทุจริต เงินในโครงการนี้จะรั่วไหลจำนวนมาก

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ย้ำว่า ต้อง "ประกันราคาข้าว" เท่านั้นชาวนาถึงจะได้ประโยชน์ แต่พรรคเพื่อไทยยืนยันจะใช้นโยบายนี้มาตลอดเช่นกัน

ผลคือ พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 อย่างถล่มทลาย

มาตรการจำนำข้าวจึงเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 อย่างชัดเจน เป็นความชัดเจนที่พรรคซึ่งไม่ค่อยชนะเลือกตั้งอาจไม่เข้าใจ

การจำนำข้าว มีจุดเด่นที่ "รัฐ" รับซื้อข้าวทั้งหมด ในราคาที่กำหนดไว้ 1.5-2 หมื่นบาท ทำให้กลุ่มธุรกิจที่เคยทำกำไรจากราคาข้าวที่ขึ้นๆ ลงๆ เสียประโยชน์มหาศาล

ในแง่หนึ่ง มาตรการนี้ เท่ากับเปลี่ยนโครงสร้างการซื้อขายข้าวเกือบทั้งระบบ ผู้ที่ลืมตาอ้าปาก ล้างหนี้ได้ ย่อมเป็นชาวนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในชนบท แหล่งปลูกข้าว ในวิถีชีวิตของชาวนา ขณะที่คนเมืองผู้บริโภคข้าว ได้ยินแต่ข่าวร้ายจากนักธุรกิจค้าข้าว ข่าวร้ายจากนักวิชาการบางกลุ่ม

ข่าวร้ายที่ระบุว่า มีการทุจริต โกง ข้าวที่ไปอยู่ในมือรัฐบาลมีจำนวนมาก และราคาสูง ทำให้ไม่สามารถขายหรือระบายออกไปได้

ข่าวที่ระบุว่า ตลาดซื้อขายล่วงหน้าเสียหาย เพราะขายล่วงหน้าเอาไว้ในราคาถูก แต่ต้องซื้อข้าวราคาแพงไปส่งมอบ

ข่าวจาก "เสียงอเมริกา" หรือวอยซ์ออฟอเมริกา ระบุว่า มาตรการนี้ทำให้ไทยสูญเสียตำแหน่งผู้ส่งข้าวมากที่สุดให้เวียดนามไปแล้ว

แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตอกย้ำมาตลอดว่า การจำนำข้าวเป็นโครงการโคตรโกง ทุจริตทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

แต่สุดท้าย กลับเป็นนักวิชาการจากนิด้า หรือสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธรรมศาสตร์บางส่วน ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติโครงการนี้ เป็นการเคลื่อนไหวที่เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

ท่ามกลางคำถามว่า หากจำนำข้าวโคตรโกงจริง ทำไมไม่แก้ไขที่ต้นเหตุคือการทุจริต แทนที่จะล้มทั้งโครงการ

ความเห็นจาก นายวิโรจน์ อาลี แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็น่าสนใจ นายวิโรจน์กล่าวว่า หลักคิดเรื่องการไม่เข้าไปแทรกแซงราคาสินค้าในท้องตลาดนั้น เป็นโลกในอุดมคติ ไม่มีประเทศไหนในโลกทำได้

หลายประเทศก็เข้าไปแทรกแซงสินค้าเกษตรเช่นกัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรของเขา แม้กระทั่งสหภาพยุโรปยังใช้วิธีการนี้เช่นกัน  ขอตั้งข้อสังเกตว่าเพราะเหตุใดกลุ่มนักวิชาการกลุ่มนี้จึงออกมาคัดค้านเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว ทั้งที่ความเป็นจริงมีอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่กลุ่มทุนตามระบบทุนนิยมผูกขาดการค้า แต่กลับไม่ไปคัดค้านกัน
กรณีจำนำข้าว ชี้ให้เห็นปัญหาหลายประการ

ปัญหาของรัฐบาล อาจจะอยู่ที่ความมั่นใจว่า ชาวนาพอใจมาตรการจำนำข้าว จึงไม่มีความพยายามจะสร้างความกระจ่างชี้แจงให้สังคมเห็นภาพ

ปัญหาของข่าวสารด้านเศรษฐกิจ ถูกยึดกุมอยู่โดยเครือข่ายธุรกิจและนักการเมือง  ขณะเดียวกัน ไม่มีข่าวจากชาวนาว่า พอใจมาตรการแค่ไหน อยากให้ปรับปรุงแก้ไข มีการรั่วไหลอย่างไร

การตอบโต้ระหว่างฝ่ายคัดค้าน และเห็นด้วย ยังเปิดโปงให้เห็นสภาพบางประการ อาทิ คำถามว่า ทำไมเมื่อธนาคาร สถาบันการเงินล้ม รัฐทุ่มเงินเข้าไปอุดอย่างไม่คิดชีวิต ไม่เคยมีใครว่ากล่าว

ครั้นเมื่อนำเงินมาสนับสนุนการจำนำข้าว กลับกลายเป็น "อาชญากรรม" ที่อาจจะต้องขึ้นโรงขึ้นศาล หรือความอาลัยอาวรณ์ตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก

ขณะที่ชาวไร่ชาวนา ผู้ผลิตข้าวเลี้ยงคนทั้งโลก แชมป์ตัวจริง กลับเป็นคนขี้โรคทางการเงิน ล้มละลายเรื้อรัง ทำให้บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ว่า "ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว" ที่เขียนไว้หลัง พ.ศ.2500

เวลาผ่านไปหลายสิบปี ยังเป็น "อมตะ" ด้วยฝีมือนักการเมือง นักวิชาการและกลุ่มทุนค้าข้าว


'ยิ่งลักษณ์'ยันจำนำข้าวไม่ได้ทำธุรกิจแข่งเอกชน

นายกฯ ยันนโยบายจำนำข้าวไม่ใช่การทำธุรกิจแข่งเอกชน รับรบ.ขาดทุนบ้าง แต่ไม่กระทบเศรษฐกิจโดยรวม ยินดีชี้แจงหลังอ.นิด้ายื่นร้องศาลรธน.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ถึงกรณีที่นักวิชาการโดยเฉพาะกลุ่มอาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ยื่นให้ศาลรัฐธรรมตีความนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 43 และ มาตรา 84(1)ว่า

ต้องเรียนว่าโครงการรับจำนำข้าวเป็นเจตนารมย์เริ่มแรกของรัฐบาลในเรื่องการดูแลความเป็นอยู่ของเกษตรกร จากที่เราลงไปสำรวจพื้นที่เกษตรกรก็ได้รับประโยชน์ในการที่จะดูแลเรื่องของการครองชีพ ถ้ามีการไปยื่นร้องเรียนต่าง ๆ เรายินดีให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปนำเสนอตามข้อเท็จจริงว่า รัฐบาลใช้โครงการนี้เพื่อพยุงราคาและรายได้ของเกษตรกร ขอความเห็นใจ เพราะหลายอย่างเป็นการตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ที่จะต้องใช้ และวันนี้ถ้าเราไม่ทำแบบนี้กลไกของการดูแลระบบราคาข้าวคงต้องมีปัญหา

ผู้สื่อข่าวถามว่า เราจะอุดรูรั่วอย่างไรโดยเฉพาะปัญหาทุจริต หรือปัญหาที่นักวิชาการเคลื่อนไหวเรียกร้องอยู่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ทุกความเป็นห่วงเรารับข้อไว้ หน่วยงานไหนร้องเรียนมาเราตรวจสอบอยู่แล้ว ให้ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ อย่างที่เรียนว่าโครงการนี้ทำทั้งประเทศแน่นอน ในการปฏิบัติต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข

เพราะบางอย่างไม่ได้เป็นปัญหาที่นโยบายหรือขั้นตอนการทำงานแต่เป็นวิธีการอาจจะเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่หรือคนต่าง ๆ คงต้องไปดูรายละเอียด ต้องขอไปดูในรายละเอียด ต้องขอเวลาในการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะของบางอย่างไม่สามารถที่จะออกมาได้เพอร์เฟ็กร้อยเปอร์เซ็นต์ คงต้องปรับอยากขอความเห็นใจว่าให้พิจารณาในประโยชน์โดยรวมเป็นที่ตั้ง ปัญหาตรงนี้จะน้อมรับและเร่งในการปรับปรุงแก้ไข

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯมองว่านโยบายนี้ทำให้พ่อค้าข้าวเสียประโยชน์จึงออกมาเคลื่อนไหว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า คงไม่ขอคอมเม้นต์ตรงนั้น เราอยากดูแลราคาข้าว อาจะมีบ้างที่มีผลกระทบ คงต้องค่อยให้เวลาในการปรับตัวกันไป

ถามว่า นายกฯยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ผูกขาดทำธุรกิจแข่งกับเอกชน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ไม่ได้แข่ง เพราะเราเองไม่ได้คิดที่จะต้องมานั่งหากำไรเข้าไป แต่ส่งที่รัฐบาลต้องทำคือหน้าที่ในการที่จะรับจำนำเพื่อให้ระบบกลไก อุปสงค์อุปทานมีความสัมพันธ์กัน สามารถที่จะมีแหล่งในการระบายข้าว ถ้าเราไม่ทำด้วยระบบนี้ข้าวต่าง ๆ ที่เหลืออยู่ในท้องตลาดราคาตกแน่นอน ไม่มีทางในการปรับตัวขึ้นมาได้

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า วันนี้รัฐบาลไม่ได้ขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่ถามว่าขาดทุนเท่าไหร่คงต้องไปดูหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ปิดรอบ หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานมา เรียนว่ามีบ้าง

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ไม่กระทบ กระทรวงพาณิชย์ต้องทำอย่างเต็มที่คงต้องรอให้ปิดตัวเลขก่อน ช่วงนี้อยู่ในช่วงการระบายข้าว แน่นอนค่าใช้จ่ายต้องมีบ้างแต่เราอยากให้ดูว่าในส่วนต่างที่ราคาต่างๆเพิ่มขึ้นมานั้น ก็จะเป็นกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจกลับไป วงจรเศรษฐกิจที่กระตุ้นรายได้ที่ตกกลับไปอยู่ในส่วนของชาวนาทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถใช้หนี้สินต่าง ๆ ได้ จะเป็นวงจรหมุนเวียนเศรษฐกิจอยากให้ดูสองส่วนนี้ประกอบกัน

ต่อข้อถามว่า นายกฯได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์ไปคุยทำความเข้าใจกับภาคเอกชนหรือยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ได้บอกแล้วกระทรวงพาณิชย์คงดำเนินการ


กกล.บูรพาสนธิกำลังจับข้าวเปลือกที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

สระแก้ว -
กกล.บูรพา สนธิกำลังร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ สกัดจับข้าวเปลือกที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ประมาณ 200 ตัน

       
       วันที่ (2 ต.ค.) จากการสืบทราบของ พ.ต.อ.ดร.นริศ แสวงจิตร์ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายปฏิบัติการที่ 4 สศว.ศปป 4 ความมั่นคงพิเศษ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่ามีการลักลอบนำข้าวเปลือกเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน บริเวณด้านอำเภอโคกสูง จ.สระแก้ว ได้ประสานกับ พ.ต.ชัยณรงค์ กาสี หัวหน้าฝ่ายยุทธการกองกำลังบูรพา ร.อ.ภูมิณรินทร์ สุขเสพ หน.หน่วยเคลื่อนที่เร็ว กองกำลังบูรพา ได้เข้าปิดล้อมโรงเก็บข้าวเปลือกที่บ้านแชร์ออ หมู่ 11 ต.แชร์ออ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ลาน ป.ศุภโชค เจ้าของคือ นายพิชัย คนาสุข ซึ่งในโกดังเก็บข้าวเปลือก มีข้าวเปลือกกองอยู่หลายจุด และบรรจุกระสอบ รวมแล้วประมาณ 200 ตัน
       
       พ.ต.อ.ดร.นริศ แสวงจิตร์ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายปฏิบัติการที่ 4 สศว.ศปป 4 ความมั่นคงพิเศษ สำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หน่วยตนได้รับรายงานมีการลักลอบนำข้าวเปลือกเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านแถว ตำบล 1 ตำบล 5 ช่องทางชกาโก อ.สมอพวก จ.บันเตียเมียนเจย ที่อยู่ตรงข้ามกับบ้านหนองหญ้าแล้ว ต.โคกสูง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ทางตนก็ได้ติดตามจนมาถึงโรงเก็บข้าวเปลือกที่ ป.ศุภโชค บ้านแชร์ออ จึงได้ขอกำลังจากกองกำลังบูรพา และ พ.ต.อ.บุญยก ไชยวงศ์ ผกก.สภ.หนองหมากฝ่าย นำกำลังประมาณ 20 นาย เข้าตรวจยึดข้าวเปลือก จำนวน 200 ตัน มูลค่าเกือบ 5 ล้านบาท
       
       นายพิชัย คนาสุข เจ้าของโรงเก็บกล่าวว่า ได้รับชื้อข้าวเปลือกจากคนไทยนำมาขายให้ไม่รู้ว่าเป็นข้าวเปลือกเขมร ข้าวเปลือกจำนวนดังกล่าวจะส่งไปที่พนมดงรักษ์ จ.สุรินทร์ เนื่องจากทางรัฐบาลกำลังเปิดรับจำนำข้าวเปลือก กลัวจะนำไปสวมสิทธิดังกล่าว จากนั้นนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.หนองหมากฝ่าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เพื่อสอบสวนขยายผลเพื่อดำเนินการต่อไป


ม็อบชาวนาเชียงใหม่ระดมพลต้านล้มจำนำข้าว จี้คณาจารย์ “นิด้า” ถอนเรื่อง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่
- กลุ่มชาวนาเชียงใหม่ระดมพลบุกศาลากลางคัดค้านคณาจารย์นิด้ายื่นศาล รธน.พิจารณาล้มโครงการรับจำนำข้าว เผยข้องใจทำไมถึงค้านทั้งที่เป็นโครงการดี-ชาวนาได้ประโยชน์ ชี้หากไม่ทำจะส่งผลกระทบรุนแรง แต่ถ้าจะเลิกจริงต้องหาวิธีใหม่ที่เกษตรกรได้ประโยชน์จริงมาใช้ พร้อมเตรียมเรียกร้องชาวนาออกมาแสดงพลังหากศาล รธน.รับเรื่อง

       
       วันนี้ (2 ต.ค.) ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มชาวนาจากสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ และสมาพันธ์เกษตรกรเชียงใหม่-ลำพูนจำนวนประมาณ 200 คน นำโดยนายสมาน ทัดเที่ยง เดินทางมาชุมนุมเพื่อคัดค้านกรณีที่คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ หรือนิด้า ได้ยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้พิจารณาและมีคำสั่งให้รัฐบาลยุติ หรือชะลอโครงการรับจำนำข้าวเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา
       
       การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมในครั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมเห็นว่าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นโครงการที่ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวนาเป็นอย่างมาก โดยช่วยให้ชาวนาได้รับรายได้ที่เป็นธรรมและสามารถนำรายได้ไปชำระหนี้สินที่ มีอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่เข้าใจว่าทำไมคณาจารย์จากนิด้าจึงคัดค้านนโยบายดังกล่าว
       
       อีกทั้งหากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินใจรับคำร้องของคณาจารย์นิด้าและตัดสิน ให้ชะลอหรือยุติการรับจำนำข้าวในปีนี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชาวนาทั้ง ประเทศที่กำลังทำการเพาะปลูก และเตรียมที่จะนำผลผลิตเข้าโครงการรับจำนำตามนโยบายของรัฐบาล
       
       ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้ปักหลักอยู่ที่บริเวณสนามหญ้าด้าน หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กล่าวปราศรัยโจมตีการออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการรับจำนำข้างของ คณาจารย์นิด้า พร้อมทั้งแสดงแผ่นป้ายข้อความต่อต้านการกระทำดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นป้ายโจมตีที่ระบุชื่อนายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้นำในการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นผู้ชุมนุมได้เคลื่อนมายังบริเวณบันไดอาคารอำนวยการ พร้อมทั้งส่งตัวแทนยื่นหนังสือต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านนายชูชาติ กีฬาแปง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
       
       กลุ่มผู้ชุมนุมได้เสนอข้อเรียกร้องรวม 4 ข้อ ผ่านหนังสือที่ยื่นถึงนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 1. ขอให้รัฐบาลดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี พ.ศ. 2555 ต่อไป 2. ขอให้คณาจารย์นิด้าหยุดการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การรับจำนำข้าวของรัฐบาลในปีนี้เสร็จสิ้นเสียก่อน
       
       3. หลังเสร็จสิ้นการรับจำนำแล้ว ให้รัฐบาลเชิญกลุ่มคณาจารย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยหารือกัน เพื่อวางแผนการรับจำนำข้าวใหม่ โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับความเป็นธรรม และ 4. เสนอให้มีตัวแทนเกษตรกรในแต่ละภาคเข้าร่วมในการพูดคุยดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันตัวแทนเกษตรกรไม่เคยได้รับโอกาสให้เข้าไปมีส่วนในการแก้ไข ปัญหาของเกษตรกร โดยจะรอฟังคำตอบจากรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายใน 1 สัปดาห์
       
       นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมยังได้กล่าวปราศรัยเรียกร้องให้นายอดิศร์และคณะที่ยื่นเรื่องคัด ค้านการรับจำนำข้าวหาวิธีการใหม่ที่ชาวบ้านจะได้ประโยชน์เทียบเท่ากับ โครงการจำนำข้าวมาใช้แทนหากต้องการให้ยกเลิกการรับจำนำ พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มชาวนาออกมาเคลื่อนไหวแสดงพลังหากศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินใจรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา รวมทั้งให้ชุมนุมเคลื่อนไหวประท้วงนายอดิศร์และกลุ่มคณาจารย์ที่คัดค้าน เรื่องดังกล่าวอีกด้วย
       
       ขณะเดียวกัน ในการชุมนุมดังกล่าว กลุ่มชาวนายังได้สอบถาม เพื่อขอความชัดเจนจากทาง จ.เชียงใหม่ถึงปัญหาในกระบวนการรับจำนำ เนื่องจากกลุ่มชาวนาเห็นว่าตัวเลขค่าเฉลี่ยผลผลิตของ จ.เชียงใหม่นั้นต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะหลายพื้นที่ของ จ.เชียงใหม่สามารถผลิตข้าวได้เกิน 1,000 กก.ต่อไร่ อีกทั้งจุดรับจำนำที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ยังไม่ทั่วถึงและมีปัญหาในส่วนของ เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดำเนินการ
       
       นางนิยดา หมื่นอนันต์ การค้าภายในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ชี้แจงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมว่า การกำหนดตัวเลขค่าเฉลี่ยผลผลิตนั้นเป็นการคิดจากยอดรวมของทั้งจังหวัด ซึ่งอาจจะมีบางพื้นที่ที่ผลิตได้น้อยจึงทำให้ค่าเฉลี่ยไม่สูง อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้มากก็สามารถนำข้าวเข้าโครงการรับจำนำได้ทั้งหมด เพียงแต่ส่วนที่เกินจากค่าเฉลี่ยจะต้องแสดงสิทธิเพื่อยืนยันว่าเป็นข้าวที่ ตนเป็นผู้ผลิตจริงๆ เท่านั้น
       
       ส่วนกรณีจุดรับจำนำนั้น นางนิยดาชี้แจงว่า ในปีที่ผ่านมามีการเปิดจุดรับจำนำแล้วถึง 19 จุด ซึ่งมากที่สุดตั้งแต่ดำเนินการรับจำนำมา ส่วนในปีนี้ได้มีการอนุมัติจุดรับซื้อเพิ่มเติมแล้ว ขอให้เกษตรกรติดตามข่าวสารต่อไป
       
       สำหรับกรณีที่มีการเสนอให้ใช้สหกรณ์หรือเครือข่ายเกษตรเป็นแหล่งรวบ รวมหรือจุดรับซื้อนั้นจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานที่ประกอบด้วย ขณะที่ในเรื่องการจัดเจ้าหน้าที่เข้าประจำที่จุดรับจำนำนั้น ได้เพิ่มสัดส่วนของตัวแทนเกษตรกรเป็นจุดละ 3 คน รวมทั้งเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 นายเข้าประจำการ ณ จุดรับจำนำ
       
       ดังนั้น ขอให้เกษตรกรดูแลในเรื่องการส่งตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ ณ จุดรับจำนำ รวมทั้งติดตามดูการรับจำนำให้ถูกต้องตามขั้นตอนและระเบียบของทางราชการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเกษตรกรเองด้วย


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จำนำข้าว เพื่อใคร อจ.นิด้า-มธ.เฉลย ใครได้-ใครเสีย ประโยชน์

view