สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นานดอว์ วอน เดอ ลูเฮ ประธานหอการค้า ตปท.ฝากการบ้านรัฐตอบโจทย์นักลงทุน

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์พิเศษ


คร่ำ หวอดในวงการธุรกิจในเมืองไทยมาอย่างยาวนานถึง 24 ปี และเกือบ 5 ปีเต็มที่ "นานดอว์ วอน เดอ ลูเฮ" ได้รับความไว้วางใจให้เข้าดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย (เจเอฟซีซีที) ทำหน้าที่เป็นปากเสียงในฐานะตัวแทนของนักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งหอการค้าประเทศต่าง ๆ ในไทย 29 แห่ง ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองที่น่าเป็นห่วงอย่างปัจจุบัน ประธานเจเอฟซีซีที สะท้อนข้อคิดเห็นและมุมมองในสายตาของนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาปักหลักใน ประเทศไทย พร้อมนำเสนอประเด็นที่ฝากเป็นการบ้านให้รัฐบาลนำไปขบคิดแก้ไข

- การลงทุนของต่างชาติในไทยปีนี้ค่อนข้างสูง

ภาพรวม เศรษฐกิจของไทยถือว่าดีนะตอนนี้ ชัดเจนเลยว่าขณะนี้ไทยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญ การลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสาขานี้ต้องมาที่นี่ หรืออาจเรียกว่าไทยเป็น

"ดี ทรอยต์ตะวันออก" ก็ได้ นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ดึงนักลงทุนเข้ามาในประเทศ ไม่ว่าสถานการณ์การเมืองจะเป็นอย่างไร น้ำท่วมหรือไม่ นักลงทุนก็มา เพราะความแข็งแรงของอุตสาหกรรมนี้เป็นแม่เหล็กดึงดูด แต่สำหรับอุตสาหกรรมภาคอื่น ๆ นั้น ไม่แน่ใจนักว่าเป็นไปอย่างดีที่สุดเท่าที่ไทยมีศักยภาพหรือไม่

- ภาคธุรกิจไหนที่ไทยยังพัฒนาไม่เต็มศักยภาพ


น่า จะเป็นภาคการเงิน การธนาคาร ดูล่าช้า และยังไม่เปิดกว้างสำหรับการแข่งขัน ทั้งในภาพกว้างในระดับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และของไทย ตัวอย่างของไทยเช่น ยังมีผู้ทำธุรกิจรายใหญ่ที่ได้ประโยชน์สูงอยู่ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมกับธนาคารยังเสียค่าบริการสูงอยู่ อย่างการเงินโอนเห็นได้ชัด ผมโอนเงินไปชลบุรีผ่านตู้เอทีเอ็ม กับโอนไปสวิตเซอร์แลนด์ผ่านทางออนไลน์ โอนไประยะใกล้ กลับต้องเสียค่าธรรมเนียมมากกว่า

ทางออก เพื่อผู้บริโภคคือ เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง แต่สมาคมธนาคารไทยก็ยังไม่เปิดให้ทำเรื่องนี้ อ้างอิงจากรายงานผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก ในภาคบริการ จะพบว่าของไทยยังช้ามาก ที่ผ่านมาไทยประสบความสำเร็จมากในการเปิดทางเศรษฐกิจ หรือภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ภาคบริการค่อนข้างล่าช้า

นอกจากนี้ ยังไม่มีการเปิดกว้างในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างแท้จริง สะท้อนออกมาชัดเจนในภาพธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ที่ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้

ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ธุรกิจขนาดเล็กและกลางต้องแยกกัน ธุรกิจขนาดกลางในไทยมีอยู่ราว 4,500 บริษัท ที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่วนขนาดเล็กมีมากกว่า 2 ล้านบริษัทที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้เลย ถ้าเปิดให้มีการเข้ามาแข่งขัน ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์มากกว่านี้ อุปสรรคคือการไม่เปิดกว้างอย่างแท้จริง เพราะยังมีกลุ่มอำนาจที่ได้รับผลประโยชน์จากการปิดกั้น

- ปัญหาในส่วนไหนบ้างที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข

คิด ว่าเป็นเรื่องโทรคมนาคม ก่อนหน้านี้ระบบโทรคมนาคมของไทยถือว่าดีที่สุดในภูมิภาคนี้ น่าเสียดายที่ปัจจุบันไทยแย่ลงด้านนี้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่พัฒนาไปข้างหน้า การไม่มี 3G ก็เป็นหนึ่งในปัญหา บางครั้งปัญหาพื้น ๆ ก็กลายเป็นปัญหาได้ อย่างสัญญาณโทรศัพท์ขาดหาย เป็นต้น

รัฐวิสาหกิจไม่ควรลงมาแข่งกับเอกชน แต่ควรเล่นบทบาทเป็นผู้กำกับดูแล ตัวอย่าง ทีโอที (บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่น) หรือแคท (บมจ.กสทฯ) ไม่ควรลงมาแข่งกับเอกชน

เรื่องต่อมาคือ ความสามารถในการรองรับของสนามบิน การขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ควรเริ่มและเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นจะเสียประโยชน์จากการมีทำเลที่ตั้งที่ดีในภูมิภาคนี้

เช่น เดียวกับปัญหาแรงงาน เวลานี้ไทยอยู่ในภาวะขาดแรงงาน เริ่มเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีแรงงานมากและมีอายุเฉลี่ยต่ำ ต้องมองด้วยว่าการเปิดเสรีแรงงานทักษะ 7 สาขา ไม่ได้รวมเอาแรงงานไร้ทักษะเข้ามา ทั้ง ๆ ที่เป็นภาคแรงงานที่ไทยยังขาดแคลนสูง

ดังนั้นหากไทยกำหนดนโยบายโดยมองไปข้างหน้า ก็ต้องมองว่าไม่เหมาะจะเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก ๆ แล้ว ทางที่ดีต้องผันตัวเองไปพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น พัฒนาด้านเทคโนโลยี ด้านการศึกษาวิจัยหรืออาร์แอนด์ดี แต่ไทยก็ยังติดที่เรื่องเหล่านี้อีกเช่นกัน

อีกประเด็นคือ คอร์รัปชั่น ไทยน่าจะก้าวไปเป็น "โมเดิร์นไทยแลนด์" ได้แล้ว ไม่น่าติดอยู่กับระบบเก่าที่ต้องมีเส้นสาย นักธุรกิจไม่ควรต้องจ่ายใต้โต๊ะ ให้ได้ใบอนุญาต ต้องกำจัดเรื่องนี้ให้ได้

- สายตานักลงทุนต่างชาติต่อตลาดไทย

นัก ลงทุนต่างชาติกำลังมองภาพรวมตลาดภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มีจำนวนประชากรรวม 600 ล้านคน แต่สำคัญมากที่ไทยต้องวางตำแหน่งตัวเอง ให้เป็นศูนย์กลางในการดึงดูดการลงทุน ต้องมารวมอยู่ที่ไทยก่อนออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

ก่อนอื่นต้อง มองอย่างเปิดกว้าง มองแค่มุมนักลงทุนของบริษัทต่าง ๆ ที่ออกไปลงทุนข้างนอกไม่ได้ ต้องมองในมุมผู้บริโภคและประชาชนด้วยว่าจะได้รับอะไรจากตลาดที่ใหญ่ขึ้น เพราะจากการแข่งขันต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะภาคบริการ เนื่องจากเราจะได้รับบริการที่ดีขึ้นในราคาที่ถูกลง ก็ต่อเมื่อข้อตกลงต่าง ๆ ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเสร็จสิ้นและสามารถนำมาใช้จริง

การ เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมาพร้อมกับการแข่งขันของธุรกิจ และการปิดประเทศเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายต่อประชาชน เห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีการเปิดประเทศของพม่า ทุกฝ่ายพยายามวิ่งเข้าหา เพื่อคว้าเค้กชิ้นนี้ ประเทศได้ประโยชน์จากการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจแน่นอน

ไทย ก็เช่นกัน ที่ผ่านมาผมเคยเข้าพบและหารือกับรัฐบาลในหลาย ๆ เรื่อง แต่ปรากฏว่าให้ผมพูดสิบรอบ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น คิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายตระหนักว่าประเทศจะได้ ประโยชน์

- ช่องทางการลงทุนในพม่าน่าสนใจมาก

พม่าน่าสนใจ แต่คิดว่ายังต้องการเวลาอีกนับสิบปี เพื่อพัฒนาประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือถ้าเทียบกับไทยยังต้องพัฒนาอีกหลายระดับ คิดว่ารอยต่อบริเวณชายแดนไทย-พม่าน่าสนใจมาก น่าจะได้รับการพัฒนาสูง เพราะพม่ามีแนวโน้มที่จะเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานสูง เพราะแรงงานถูกกว่าไทยมาก เป็นแรงจูงใจที่ดีสำหรับการเข้าไปลงทุนของต่างชาติ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : นานดอว์ วอน เดอ ลูเฮ ประธานหอการค้า ตปท. ฝากการบ้านรัฐ ตอบโจทย์นักลงทุน

view