สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดับเครื่องชน กสทช. ราคาคลื่นเป็นกำไร ผู้ประกอบการ

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์

เป็น หนึ่งในนักวิชาการที่ช่วงหลังออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ "กสทช." อย่างดุเดือด ตั้งแต่การออกประกาศครอบงำธุรกิจโดยคนต่างด้าว จนถึงการประมูลใบอนุญาต 3G ทั้งผลักดันแนวคิดในการเปิดเสรีโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรียกร้องให้ "กสทช." เร่งออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการ 3G "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์" ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดังนี้

- เชี่ยวชาญพลังงาน แต่หันมาจับสื่อสาร

จริง ๆ เป็นนักวิจัยด้านโทรคมนาคมมาก่อน แต่เมื่อ ดร.สมเกียรติ (ตั้งกิจวานิชย์) เข้ามาในทีดีอาร์ไอแล้วทำงานวิจัยด้านโทรคมนาคม ก็เห็นว่าทีดีอาร์ไอไม่ควรทำ 2 คน จึงหันไปทำวิจัยด้านพลังงาน จริง ๆ

ทำ งานวิจัยทุกด้านที่เกี่ยวกับการกำกับดูแล พลังงาน โทรคมนาคม ไฟฟ้า ขนส่ง ช่วงหลัง น.พ.ประวิทย์ (ลี่สถาพรวงศา) ดึงเข้ามาช่วยด้านโทรคมนาคม จึงกลับมาทำมากขึ้น พอหมอประวิทย์ไปเป็น กสทช. ก็ดึงเข้าไปเป็นคณะอนุกรรมการของ กสทช.อยู่ 2 คณะ แต่เขาไม่ค่อยได้ฟังเสียงเราหรอกนะ (หัวเราะ) ก็ผลักดันประเด็นต่าง ๆ ได้ลำบากเหมือนกัน

- รูปแบบประมูลมาจากคณะอนุฯ


คณะอนุกรรมการ เห็นว่า การลดเพดานการถือครองคลื่นจาก 20 MHz เป็น 15 MHz เป็นไปไม่ได้ เพราะเท่ากับแบ่งเค้กกันลงตัว 3 ราย เป็นการแจก ไม่ใช่การประมูลแล้ว และจะขัดกับกฎหมาย ใน

คณะอนุกรรมการตอนแรกจึงยุติกันที่ 20 MHz แล้ว กทค.นำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ ผู้ประกอบการทุกรายเสนอว่าจะเอาแค่ 15 MHz กทค.ก็ใช้เหตุผลนี้มาเปลี่ยน

- หลังประมูล 3G จะเป็นอย่างไรต่อ

เมื่อ มีคนยื่นต่อ ป.ป.ช.ไปแล้วว่า ผิดมาตรา 10 กับมาตรา 11 พ.ร.บ.ฮั้ว คือมาตรา 10 เห็นชอบในการประมูลที่มีการฮั้ว มาตรา 11 เป็นการออกแบบการประมูลที่รู้ว่าจะทำให้เกิดการฮั้วกัน เป็นกระบวนการตามกฎหมายที่จะมีการดำเนินการต่อไป แต่ไม่ทราบว่าจะมีการตีความอย่างไรโดยส่วนตัวดิฉันคิดว่ามันไม่ใช่ความผิด ของผู้ประกอบการ เพราะ กสทช.ออกแบบมาให้เป็นแบบนี้ มี 3 รายแข่งกันแย่งของ 9 ชิ้น ผลก็เป็นแบบนี้ คือไม่ได้แข่งขัน แต่ก็ไม่ได้ฮั้วกัน คนที่ผิดคือคนที่ออกแบบ เป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในความเห็นของดิฉันคือการแจกไลเซนส์ ไม่ใช่การประมูล

- ทางแก้

ให้ ประมูลใหม่ ให้เพดานคลื่นอยู่ที่ 20 MHz การแข่งขันก็จะเกิดขึ้น หรือกำหนดเป็น 15 MHz เท่าเดิม แต่ราคาตั้งต้นต้องขยับขึ้น คณะวิจัยุฬาฯที่เสนอมูลค่าคลื่น และราคาตั้งต้น 4,500 ล้านบาทต่อ 5 MHz

ที่ ใช้กันเป็นราคาขั้นต่ำในสภาพที่ตลาดมีการแข่งขัน ถ้าไม่มีการแข่งขันต้องปรับราคาให้สูงกว่านั้น ซึ่งก็มีการเสนอเป็นขั้นบันไดตามจำนวนคนเข้าร่วมประมูล

- การควบคุมราคาไม่ช่วยอะไร

การ ควบคุมราคาเป็นอีกวิธี แต่จะยากมากเพราะเรากำลังถามว่า เงินที่เอกชนไม่ต้องเสียให้รัฐจะถ่ายออกมาเป็นราคาเท่าไร ต้องคิดต้นทุนหักกำไรคิดอีกหลายชั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และยังผิดหลัก ในประเทศอื่นธุรกิจบรอดแบนด์เป็นธุรกิจที่ไม่กำกับราคา แต่ปล่อยให้กลไกตลาดแข่งขันกัน ถ้า กสทช.ออกแบบดี ๆ ไม่จำเป็นต้องไปกำกับราคา ไม่ใช่มานั่งคิดว่าแจกคลื่นไปถูก ๆ แล้วมากำกับราคาค่าบริการ

สิ่งที่คนไม่เข้าใจคือ ราคาคลื่นความถี่คือกำไรของผู้ประกอบการ เป็นกำไรส่วนเกิน ไม่ใช่ต้นทุน

- ค่ายมือถือกำไรมาก เงินเข้ารัฐในรูปภาษี


เงินค่าประมูลรัฐได้ 100% แต่ถ้าเป็นรูปแบบภาษีเขาจ่ายแค่ 30% จากกำไร ทำไมรัฐต้องทิ้ง 70% ที่ควรจะได้ไปด้วย

- มีการอ้างความเสียหายจากความล่าช้า


ไม่ ได้ทำให้ช้าอะไรมาก แค่เปลี่ยนเพดานคลื่นจาก 15 MHz เป็น 20 MHz อ้างว่าต้องประชาพิจารณ์ใหม่ คงต้องถามว่าทำไมถึงตัดสินใจแบบนั้นตั้งแต่แรก นี่เป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ดิฉันคิดว่า กรรมการต้องรับผิดชอบที่ยืนยันนั่งยันว่าจะมีการแข่งขันแน่นอน ราคาที่จบจะไม่ใช่ราคาตั้งต้นขึ้นไปถึง 6 พันกว่าล้านบาท

ที่ผ่านมา กรรมการนำเอาความเสียหายต่าง ๆ มาอ้าง และเอาผู้บริโภคที่อยากใช้ 3G เป็นตัวประกัน ถ้าเรากลัวความเสียหายก็ปล่อยให้มันเดินต่อไป แต่ต้องเอาผิดกับคนที่ออกแบบการประมูลให้ประเทศชาติเสียหาย จะติดคุกอะไรก็ว่ากันไป เราอาจต้องยกประโยชน์ให้เอกชนที่เขาประมูลไปตามเกมที่ออกแบบไว้

แม้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐจะไม่ได้รับชดเชย แต่เราต้องเอาคนผิดมารับผิดชอบเพื่อไม่ให้มีใครกล้าทำแบบนี้อีก ทำให้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างว่า คุณทำแบบนี้ไม่ได้ ที่กล้าทำกันเพราะคิดว่าไม่ต้องรับผิดชอบ คนทั่วเมืองท้วงว่าไม่ใช่การประมูลแล้ว ผลออกมาแบบที่มีคนท้วงไว้แล้วก็ยังยืนยันจะรับรองผล

- ค่าบริการ 3G จะเป็นอย่างไร


ต้อง ดูที่ต้นทุนผู้ประกอบการ ผู้กำกับดูแลต้องมีข้อมูลต้นทุนที่ชัดเจน ต้นทุนของผู้ได้รับใบอนุญาต 3G ถูกกว่าระบบเดิม แต่ถ้าตลาดไม่แข่งขัน โอกาสที่เอกชนจะลดราคาลงก็ยาก ตัวอย่างที่เห็นได้เชิงประจักษ์คือ ค่าไอซีไม่ควรเป็น 1 บาท ที่เป็น 1 บาทเพราะไม่มีการแข่งขัน ทุกค่ายพอใจกำหนดราคาที่สูงกว่าต้นทุน สุดท้ายผู้บริโภครับภาระ 1 บาท/นาที ทั้ง ๆ ที่นักวิชาการคำนวณว่าควรอยู่ที่ 25 สตางค์

บริการ 3G เพื่อให้คุณภาพบริการดาต้าดีขึ้น เป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องการมาก แต่สิ่งที่เป็นกังวลคือในตลาดมีผู้ประกอบการแค่ 3 ราย มีแต่คนที่เป็นเจ้าของโครงข่าย กสทช.ควรมีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดไอเอสพี (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของโครงข่ายเอง เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก มีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้ประกอบการรายเล็กเสียเปรียบตลอด

- ให้ตลาดแข่งสมบูรณ์ กสทช.ควรทำอะไร


พูด มาตลอดว่า กฎเกณฑ์กำกับต่างด้าวของ กสทช.ไม่เข้าท่า ถ้าคุณต้องการให้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมต้องการเงินทุนจากต่างประเทศและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การเข้ามาของต่างชาติไม่ได้หมายความว่า เข้ามายึดครองประเทศไทย ทุกวันนี้โทรคมนาคมไทยล้าหลังเพื่อนบ้านเพราะปิดกั้นทุนจากต่างประเทศ กักตลาดให้ผู้ประกอบการไม่กี่รายในประเทศ

ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องการแชร์ใช้โครงข่าย กฎกติกายังไม่มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ว่าจะให้แชร์ส่วนไหนบ้าง แชร์ถึงระดับไหน เรื่องราคาจะไปบอกว่าให้เอกชนเจรจากันเอง ผลออกมาเหมือน

ค่า ไอซี ผู้บริโภคก็รับเคราะห์ไป เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องที่เอกชนเจรจากันเองได้ ต้องมีคนกลางเข้าไปกำกับทั้งเงื่อนไขและราคาที่ต้องแฟร์ทั้ง 2 ฝ่ายกสทช.ควรตั้ง KPI ตัวเองแบบง่าย กำหนดไปเลยว่าคุณภาพและราคาโทรคมนาคมทุกประเภทจะอยู่ในอันดับเท่าไรของอา เซียน

- เปิดเสรี มีคนติงว่าเป็นภัยความมั่นคง


สหรัฐ วิเคราะห์มาแล้วว่า การกำกับหุ้นส่วนบริษัทเป็นเรื่องไร้สาระ การจารกรรมข้อมูลทำด้วยวิธีอื่นง่ายกว่า การถือหุ้นต้องใช้เงินเยอะ เสียเวลาบริหาร แค่เอาคนที่มีความรู้มาบริหารข้อมูลในส่วนที่ต้องการดีกว่า สหรัฐจึงออกกฎควบคุมคนที่จะมาทำงานในส่วนนี้ว่าต้องมีการเช็กที่มาที่ไป ไม่ใช่ไปกำกับดูแลเจ้าของบริษัทเว้นกรณีจีนซึ่งใช้รัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่เอกชน แต่ไม่ได้ห้ามเอกชนมืออาชีพเข้ามา ซึ่งในไทยเขียนล็อกไว้หมดตั้งแต่รัฐวิสาหกิจถึงเอกชน

- 1 ปี กสทช. ให้คะแนนเท่าไร


ด้าน คุ้มครองผู้บริโภคให้ 0 คะแนน แต่ด้านอื่น ๆ ถามว่า กสทช.ทำอะไรบ้าง 1 ปี ก็ยังคิดไม่ออกถึงผลงานที่โดดเด่น เพราะที่ชูโรงที่สุดก็เรื่องประมูล 3G แล้วผลก็ออกมาแบบนี้

- จุดอ่อนที่อยากให้แก้ไข


การทำงานของ กสทช.ต้องโปร่งใสกว่านี้ กฎกติกาต่าง ๆ ที่จะออกมาบังคับใช้ ไม่ใช่นำไปประชาพิจารณ์แล้วกลับมาบอกว่า เสียงข้างมากเอาแบบนี้ก็เปลี่ยนตามนั้น แล้ว กสทช.เป็นอะไร แค่คนจัดเซอร์เวย์แล้วทำตามผลเซอร์เวย์หรือ กสทช. เป็นผู้กำกับดูแล ต้องคิดวิเคราะห์ผลได้ผลเสีย เดี๋ยวนี้จัดประชาพิจารณ์ คนที่มาก็หน้าเดิม ๆ เซตอัพมาหมด ซึ่งแย่มาก ต่างกับ กทช.ชุดก่อนที่ปัญหาประชาพิจารณ์คือรับฟัง แต่ไม่ค่อยได้ยิน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ดับเครื่องชน กสทช. าคาคลื่นเป็นกำไร ผู้ประกอบการ

view