สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มจธ.มหาลัยน้องใหม่ก้าวอย่างไรสู่มหาลัยโลก

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ Education Idea

โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)


ขอ แสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือ "ม.บางมด" ที่ได้รับการคัดเลือกจากการสำรวจของ The Times Higher Education World Rankings ประจำปี 2555 (THE World University Ranking 2012) ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาของไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดี ที่สุดในโลก ในลำดับที่ 389 โดย มจธ.เป็นเพียงหนึ่งใน 57 มหาวิทยาลัยจากทวีปเอเชีย และ 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยจากประชาคมอาเซียนที่ได้รับการยกย่องเป็นสุดยอดมหาวิทยาลัยระดับ โลกในปีนี้

สำหรับวิธีการพิจารณาคัดเลือกมหาวิทยาลัยทั้ง 400 แห่งของ The World University Ranking 2012 นั้น ใช้ตัวชี้วัดทั้งสิ้น 13 ตัว ใน 5 มิติคุณภาพของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

1) คุณภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย (น้ำหนัก 30%) 2) คุณภาพงานวิจัย (น้ำหนัก 30%) 3) จำนวนการอ้างอิงงานผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (น้ำหนัก 30%) 4) รายได้ต่อหัวนักวิจัยจากการรับทุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพื่อวิจัยพัฒนา นวัตกรรม (น้ำหนัก 2.5%) และ 5) ความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยทั้งในแง่

ของ ผู้เรียน ผู้สอน และงานวิจัย (น้ำหนัก 7.5%) โดย มจธ.นั้นทำคะแนนได้ดีในมิติที่ 3 การอ้างอิงงานผลงานวิจัย และมิติที่ 4 รายได้นักวิจัยจากภาคธุรกิจอุตสาหกรรม

สอดคล้องกับที่ รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มจธ. ออกมายอมรับถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้ มจธ.ติดอันดับยอดเยี่ยม เพราะมีเอกสารการทำวิจัยต่อหัวมากที่สุดในประเทศไทย และเผยว่า อันดับโลกของ มจธ.ได้อันดับ 389 ในการจัดอันดับของ QS World University Rankings ในปี พ.ศ. 2555 ในประเภทวิศวกรรมศาสตร์และไอที

นอก จากการจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกแล้ว ยังมีการจัดอันดับที่น่าสนใจของ "มหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่ดีที่สุดในโลก 100 แห่ง" (Times Higher Education 100 Under 50) ของ Time Education Higher ซึ่งคัดเลือกเฉพาะมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีเท่านั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นความพยายามที่จะ "จุดประกาย" ให้สังคมปรับ "ค่านิยมเก่า" ที่เชื่อว่ามหาวิทยาลัยที่ดีจะต้องมีประวัติมายาวนาน อย่างมหาวิทยาลัย Harvard, Yale, Oxford หรือ Cambridge ซึ่งมีอายุกว่า 300-800 ปีขึ้นไปเท่านั้น ให้มาสนใจมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่ที่ก้าวเข้ามาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกใน ปัจจุบัน ซึ่งถ้าย้อนมาดูมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก็พบว่าแม้แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันเก่าแก่

ที่สุดใน ประเทศไทยมีอายุเพียง 96 ปีเท่านั้น แม้ว่าในอดีตการแข่งขันเพื่อมุ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังและมีประวัติยาว นาน เพื่อให้ตัว เองมีภาษีเหนือกว่าในตลาดแรงงาน แทนที่จะสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยน้องใหม่ จะเป็นค่านิยม

ที่สังคม ต่างยอมรับตรงกัน แต่ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมานี้เอง ตลาดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้มหาวิทยาลัยน้อง

ใหม่สามารถก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยได้ ดังเช่น 100 มหาวิทยาลัยใน "Times Higher Education 100 Under 50" นี้ ปัจจัยสำคัญที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่ในตลาดอุดมศึกษาใน รอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา มีอยู่ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 การเพิ่มขึ้น

อย่างมหาศาล ของปริมาณแรงงานผู้ต้องการการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากตลาดแรงงานทั่วโลก ซึ่งความต้องการเหล่านี้มีมากกว่าปริมาณที่มหาวิทยาลัยชื่อดังสามารถตอบสนอง ได้ จึงทำให้เกิด "โอกาส" ขึ้นสำหรับมหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่จะเข้ามารับความต้องการด้านการเรียนการสอน และการวิจัยในตลาดนานาชาติ ซึ่งสร้างรายได้สำหรับการพัฒนามหาวิทยาลัยรุ่นใหม่เหล่านี้อย่างมหาศาล

ประการ ที่ 2 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาแทนที่ "คลังความรู้" ที่เคยปิดกั้นไว้เฉพาะในห้องสมุดในมหาวิทยาลัยชั้นนำเท่านั้น ซึ่งเมื่อการ "ผูกขาดทางความรู้" ของมหาวิทยาลัยเก่าแก่หมดไป บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่มีคุณภาพ ก็สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ทัดเทียมกับผู้จบจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยอายุน้อยกว่า 50 ปี จึงสามารถสะสมทุนที่จำเป็นในการพัฒนาการคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัย สู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศระดับโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น

ใน รายชื่อมหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่ดีที่สุด 100 แห่งนี้ 20% มาจากทวีปเอเชีย โดยมี 2 มหาวิทยาลัยในประชาคมอาเซียนจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 100 มหาวิทยาลัยนี้ด้วย ส่วนทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์นั้น ต่างมีมหาวิทยาลัยอยู่ในการจัดอันดับครั้งนี้ทวีปละ 20% เท่า ๆ กัน แต่ที่น่าสนใจคือมหาวิทยาลัยอีก 20% ที่เหลือใน 100 อันดับนี้มาจากประเทศเดียวกันคือสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) มหาวิทยาลัย Bath Essex Warwick และ York ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เป็นผลผลิตของนโยบายด้านการศึกษาที่ สำคัญในยุคทศวรรษที่ 1960s หรือที่เรียกกันติดปากว่ากลุ่ม "มหาวิทยาลัยกระจก" (Plateglass Universities) ซึ่งแสดงถึงมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่ที่สร้างด้วยคอนกรีตเหล็กและกระจกบานใหญ่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและประชากรในประเทศ อังกฤษยุค 1960-80 ที่จะเปลี่ยนจาก "อุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงาน" เป็น "อุตสาหกรรมที่เน้นการใช้ความรู้เพื่อสร้างบริการทางการเงินและการธนาคาร" ฉะนั้นมหาวิทยาลัยน้องใหม่จึงตอบโจทย์การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวด เร็วทันต่อความต้องการ จนทำให้มหาวิทยาลัยรุ่นเก่าอย่าง Oxbridge Universities ที่เคยยึดติดค่านิยมเก่า ๆ ต้องหันมาปฏิวัติการเรียนการสอนใหม่ ด้วยการเปิดการเรียนการสอนด้านธุรกิจ (Business Schools) ขึ้นมาเมื่อไม่ถึง

20 ปี เพื่อรักษาความเป็นผู้นำจากบทเรียนของ Times Higher Education 100 Under 50 และ

Plateglass Universities ของประเทศอังกฤษ จึงแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยน้องใหม่จากทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยสามารถ ก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ทัดเทียมนานาชาติได้ภายในไม่กี่สิบปี ปัจจัยสู่ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่เหล่านี้คือการที่รัฐมีนโยบาย ชัดเจนในการกำหนดทิศทางของประเทศ และให้อิสระมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการตัวเองให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เหล่านั้น ทำให้เกิดระบบการศึกษาและบุคลากรที่มีคุณภาพสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเท่าทัน

ความฝันที่มหาวิทยาลัยของไทยหลายแห่งก้าวสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับโลกในอนาคตอันใกล้นี้จึงอาจไม่ไกลเกินเอื้อม


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มจธ.มหาลัย น้องใหม่ก้ าวอย่างไร มหาลัยโลก

view