สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ร้อง ผู้ตรวจการฯ พิจารณา พ.ร.บ.ปิโตรเลียม-ผู้ปกครองค้านนำโรงเรียนดังออกนอกระบบ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ผู้ตรวจการแผ่นดิน รับหนังสือร้องเรียนกลุ่มคนไทยหัวใจรักสงบ สอบ ครม.เห็นชอบผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ส่วน หน.พรรคพลังงานไทย ร้องพิจารณา พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ที่มีการแก้ไขไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเครือข่ายผู้ปกครองฯ คัดค้านโรงเรียนดังออกนอกระบบ ชี้เป็นการหนีการตรวจสอบ มุ่งหารายได้เข้าโรงเรียน ผู้บริหารรวยยากตรวจสอบ
       
       วันนี้ (21 มี.ค.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กลุ่มคนไทยหัวใจรักสงบ เข้ายื่นหนังสือต่อนายรักษเกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบ และรับทราบร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ เพราะขัดต่อหลักการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ที่จะต้องทำในรูป พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี และขัดหลักวินัยทางงบประมาณและการคลัง รวมทั้งขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านเศรษฐกิจ ที่กำหนดให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลังให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐ ธรรมนูญ แต่การกู้เงินของรัฐบาลเป็นการเลี่ยงการควบคุมและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ โดยรัฐสภา ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 3 เพราะโครงการดังกล่าวเป็นโครงการกว้างๆ ยังมีแผน หรือโครงการที่เป็นรูปธรรม ไม่มีการระบุกิจกรรม แผนงานโครงการในแต่ละรายของการใช้จ่ายงบประมาณที่ชัดเจน และไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพราะโครงการมีการใช้เงินเพียง 3 แสนล้านต่อปี สามารถจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลได้ ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ตรวจการฯตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่กับ ครม. รมว.คลัง และข้าราชการกระทรวงการคลัง ที่เกี่ยวข้องต่อไปจนถึงที่สุด โดยเมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า กรณีดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเห็นว่ามีการกระทำใดที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญก็ขอให้ส่งต่อไปยังศาล รัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยด้วย
       
       ต่อมา นายวิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ หัวหน้าพรรคพลังงานไทย และเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ ได้เข้ายื่นหนังสือเพื่อขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ การแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ที่กำหนดให้สัมปทาน การลดค่าสัมปทาน มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย กรณีสิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการ พิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในมาตรา 3 มาตรา 6 มาตรา 7 นั้นไม่ได้ให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการอนุมัติให้สัมปทาน ขยายอายุสัมปทาน ล้วนไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 57 มาตรา 58 นอกจากนี้ยังมีเรื่องกรณีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับ ประโยชน์ จากทรัพยากรแผ่นดินอย่างเป็นธรรม ในเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เกี่ยวกับพื้นที่ด้านพลังงาน โดยเฉพาะในมาตรา 13 ระบุว่า สิทธิในการถือสัมปทานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และมาตรา 76 ระบุว่า ผู้รับสัมปทานต้องรายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลี่ยม ต่อกรมทรัพยากรธรณีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมทรัพย์กำหนด จึงเห็นว่าสองมาตรานี้ล้วนตัดขาดจากการตรวจสอบ ปริมาณ น้ำมัน ที่ขุดเจาะได้ จากภาคสังคม นับเป็นความไม่โปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยขอให้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง พิจารณาวินิจฉัยต่อไปหากเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ปัญหาการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
       
       จากนั้น นายสมมาตร พรนที ตัวแทนสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติและเครือข่ายพ่อแม่-เยาวชน เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้เข้ายื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา กรณีขอให้ตรวจสอบกระทรวงศึกษาฯที่มีแนวทางกำหนดรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับ มัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนโยบายให้แต่ละโรงเรียนจำกัดจำนวนนักเรียนที่จะรับเข้ามาเรียนในชั้น ม.1 ไม่เกิน 40-45 คนต่อห้อง โดยให้สิทธิผู้บริหารโรงเรียนนั้นเป็นผู้ดำเนินการตัดสินใจ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ห้องเรียนไม่เพียงพอจำนวนมาก การสอนก็ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีนโยบายในการเอาโรงเรียนดีเด่นดังจำนวน 58 โรงเรียนออกนอกระบบ โดยทั้ง 2 กรณีทางเครือข่ายผู้ปกครองฯ เห็นว่าเป็นการดำเนินการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ที่ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิ เสมอกันในการรับการศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและไม่เก็บค่าใช้จ่าย จึงขอให้ทางผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริง หากพบว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญโปรดส่งเรื่องต่อไปยังศาลปกครอง หรือไม่ก็อยากให้ผู้ตรวจฯการมีคำแนะนำไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการขยายโรงเรียนดีเด่นดังให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนโดยไม่ เก็บค่าเทอม จัดการประเมินความถนัดของเด็กตั้งแต่ป.6 เพื่อจัดการศึกษาตามความถนัดและสนใจของผู้เรียน และยกเลิกการเอาโรงเรียนดีเด่นดังออกจากระบบ ซึ่งเรื่องเหล่านี้รัฐบาลไม่ให้ความสนใจทั้งที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคม
       
       อย่างไรก็ตาม นายวิวัฒน์ชัย ในฐานะประธานที่ปรึกษาเครือข่ายพ่อแม่ฯ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า การนำโรงเรียนดีเด่นดังและมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น อาจจะเข้าข่ายหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากระบบราชการ อีกทั้งองค์กรอิสระไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงานได้ นอกจากนี้มีการนำครูต่างชาติมาสอนแล้วเรียกเก็บเงินจากนักเรียน ปฏิบัติตนเหมือนโรงเรียนเอกชนโดยใช้พื้นที่และเงินเดือนข้าราชการในการสร้าง รายได้ ทั้งนี้ตนอยากให้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เข้าไปตรวจสอบ เพราะปัจจุบันมีสถานศึกษาที่ออกนอกระบบแล้วเน้นการสรรหารายได้มากกว่าการ มุ่งเน้นเป้าหมายและประสิทธิภาพของการศึกษา


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผู้ตรวจการฯ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ผู้ปกครองค้าน โรงเรียนดัง ออกนอกระบบ

view