สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ซัดรถไฟเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่ประโยชน์ตกคนรวย

จาก โพสต์ทูเดย์

เปิดประชุมวันที่2ปชป.สับรถไฟฟ้าความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่ประโยชน์ไม่ตกคนจน ชี้ค่าโดยสารเกิน 1,400 บ. ปชช.เลือกใช้บริการอื่น

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ( นัดพิเศษ) วันที่สอง เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งของประเทศ จำนวน 2 ล้านล้านบาท ที่มี นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม

โดยนายกนก วงษ์ตระหง่าน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายว่าจากการรวมตัวเลขโครงการดังกล่าวและวิเคาระห์เฉพาะกรณีรถไฟฟ้า ความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่ ซึ่งเอกสารประกอบระบุว่าต้องใช้เงิน 3.8 แสนล้านบาท ชำระคืน 50 ปี แต่จากการได้ข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญด้านรถไฟในกระทรวงคมนาคมระบุว่า สมุติฐานรถไฟความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่ มีผู้โดยสาร 4.9 หมื่นคนต่วัน ระยะทาง 700 กม. วิ่ง 365 วัน คำถามคือค่าโดยสารเท่าไหร่

นอกจากนี้ ตัวเลขค่าโดยสารของกระทรวงคมนาคม 1.3-3.5 บาทต่อกม. ดังนั้น เมื่อคำนวนเงินลงทุนดังกล่าวต้องคืนปีหนึ่งประมาณ 7.7 พันล้านบาทต่อปี การวิ่งรถจะมีค่าบำรุงรักษากรณีกทม.-เชียงใหม่ ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาทต่อปี หากความสามารถของรัฐบาลในการกู้ในอัตราดอกเบี้ย 2% จากวงเงินดังกล่าว รัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ย 7.7 พันล้านบาทต่อปี ถ้ากู้ 3%  ต้องจ่าย 1.1 หมื่นล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ดี หากนำตัวเลขทั้งหมดมาคำนวนภาระทางการเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายคืนต่อปี กรณี 2% อยู่ที่ 3.2 หมื่นล้านบาทต่อปี หากเป็น 3% จะอยู่ที่ 3.6 หมื่นล้านบาทต่อปี และเมื่อนำมาหักค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการเดินรถทั้งหมดออกหารด้วย 700 กม. กรณีดอกเบี้ย 2% ค่าโดยสารอยู่ที่ 2.58 บาทต่อกม. และกรณีดอกเบี้ย 3% ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 2.89 บาทต่อกม. ดังนั้น ราคาค่าโดยกู้ 2% อยู่ที่ 1,800 บาท และกู้ 3% จะอยู่ที่ 2,000 บาท

“หากจะให้ราคาค่าโดยสารต่ำกว่า 1,800 บาท รัฐบาลต้องชดเชยเอง หากสูงกว่า 1,800 บาทต่อเที่ยว เมื่อเทียบกับโลว์คอสแอร์ไลน์ ก็จะไม่มีคนมาใช้บริการรถไฟจะหันมาใช้เครื่องบินแทน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง หากผู้โดยสารไม่ถึง 4.9 หมื่นคนต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น และอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ 2-3% ตัวเลขก็จะสูงกว่านี้ ยิ่งกว่านั้นในการสำรวจพบว่าหากค่าโดยสารเกิน 1,400 บาท คนจะไม่ขึ้น และหันไปเลือกใช้บริการอื่น”นายกนก กล่าว

นายกนก กล่าวด้วยว่า หากค่าโดยสาร 1,800 บาทต่อเที่ยวจะมีแต่นักธุรกิจและคนรวยเท่านั้นจะได้ขึ้น แต่คนจนจะไม่มีสิทธิ ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนจนทั้งประเทศ เพราะการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นตกอยู่กับนักธุรกิจและคนรวย และอย่าลืมว่าประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประเทศ แม้จีดีพีโดยรวมประเทศจะโตขึ้น แต่คนจนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน และเรื่องดังกล่าว “ไม่ใช่ความกล้าหาญของรัฐบาล แต่เป็นความบ้าบิ่น” จึงไม่ควรเอาประเทศมาใช้ความบ้าบิ่น เพราะจะเป็นอันตรายได้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รถไฟเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ ประโยชน์ ตกคนรวย

view