สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เอสเอ็มอี ประเมิน 3 เดือน เจ็บ-เจ๊ง เสนอรัฐ ตั้งกองทุน-จัดงานแฟร์หาตลาด

จากประชาชาติธุรกิจ

ถึงขณะนี้ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังตกอยู่ในสภาพเหมือนถูกเคราะห์ซ้ำกรรม ซัด จากสารพัดปัญหาที่รุมเร้าไล่ ทั้งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะกิจการที่จำเป็นต้องใช้แรงงานเป็นหลักในการผลิต ตลาดส่งออกที่ซบเซาลง ผลพวงจากวิกฤตหนี้ในสหภาพยุโรป และสหรัฐ รวมทั้งความผันผวนและการแข็งค่าของค่าเงินบาท ฯลฯ ปัจจัยลบเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ส่วนใหญ่เพิ่งฟื้นจากวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ขณะที่มาตรการช่วยเหลือเยียวยาที่ภาครัฐทยอยประกาศออกมาหลายระลอกไม่สามารถ ช่วยแบ่งเบาภาระได้ สาเหตุมาจากเอสเอ็มอีส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง


เอสเอ็มอีประเมินผลงานรัฐบาลช่วง 3 เดือน หลังการขึ้นค่าแรง 300 บาท ได้ข้อสรุปว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ยังเจ็บหนัก เพราะนอกจากต้องรับภาระต้นทุนสูงขึ้นแล้ว ยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ไม่สามารถแข่งกับคู่แข่งได้ ขณะเดียวกันก็มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปัญหาไม่สามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือกว่า 10 มาตรการ ทั้งเรื่องของภาษี กองทุน ตลอดจนการปล่อยกู้ผ่านสถาบันการเงิน

อุตฯรองเท้าเข้าไม่ถึงแหล่งทุน

นาย ครรชิต จันทนพรชัย นายกสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย กล่าวว่า ปัญหาที่พบในสามเดือนก็คือเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุน เพราะกองทุนต่าง ๆ ที่ต้องผ่านมาทางบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยให้ บสย.เป็นผู้ค้ำประกันและแบงก์รัฐเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อนั้น ผู้ประกอบการซึ่งมีในสมาคมถึง 300 รายเข้าไม่ถึง โดยเฉพาะเอสเอ็มอี เพราะแบงก์มองว่าอุตสาหกรรมรองเท้าเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาค รัฐ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่มีการเติบโต

และส่วนใหญ่ไม่มีความ พร้อม ไม่เข้าเกณฑ์ ธนาคารจึงไม่ปล่อยกู้ เพราะมองว่ามีความเสี่ยง ซึ่งหากเอสเอ็มอีมีความพร้อมก็จะไม่มาเข้าโครงการ ตนจึงมองว่าหากภาครัฐจะช่วยในกองทุนต่าง ๆ จริง น่าจะมีการเจาะจงลงไปเลยว่าจะช่วยในอุตสาหกรรมอะไร และมีเงื่อนไขที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมนั้น ๆ

ตอนนี้ใน กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าระดับล่าง ๆ มีความสามารถในการผลิต แต่หาตลาดไม่ได้ หากภาครัฐให้ความสนใจ การหาตลาดให้เอสเอ็มอีเป็นสิ่งแรกที่ควรจะทำ ขณะที่การช่วยเหลือตัวเองภายในกลุ่มมีการออกงานแสดงสินค้ากันภายในกลุ่มอยู่ แล้ว ปีละ 3 ครั้ง โดยที่ทางสมาคมเป็นคนดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยผู้ประกอบการได้

เครื่องหนัง หลายเด้ง ยอดตก

ขณะ ที่ ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นายกสมาคมเครื่องหนัง กล่าวว่า ตอนนี้ได้รับผลกระทบหลายด้านทั้งค่าเงินบาท ต้นทุน แม้ค่าแรงขึ้น แต่ค่าครองชีพก็ขึ้นตาม ไม่ได้ช่วยให้ขายกระเป๋าได้มากขึ้น เพราะการที่ค่าครองชีพขึ้น คนมีเงินเท่าเดิม ก็ต้องหันมาซื้อของที่จำเป็นก่อน ส่วนกระเป๋าไม่ใช่ของจำเป็น คนก็ไม่ซื้อ ยอดขายภายในประเทศของกลุ่มขณะนี้หายไปกว่า 30% ซึ่งถือว่าอันตรายมาก

ใน ส่วนตลาดต่างประเทศการเปิดตลาดใหม่ในเออีซี หรือในประเทศ CLMV อย่างที่ภาครัฐแนะนำ ก็ใช่ว่าจะได้ออร์เดอร์มาเลย เพราะตลาดเหล่านั้นก็มีเศรษฐกิจใกล้เคียงกับตลาดไทย และต้องใช้เวลาในการสร้างแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือซึ่งไม่ต่ำกว่าปี

ทั้ง นี้ ตนมองว่าที่พอจะช่วยได้คือ โครงการ SMEs Pro-Active โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่เริ่มเมื่อเดือนเมษายน 2556 ที่ผ่านมา เงื่อนไขคือผู้ประกอบการจะต้องออกเงินไปก่อนแล้วไปขอรับคืนตอนหลัง ในการออกงานต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการเองไม่มีเงินพอในช่วงเวลานี้

ใน ส่วนของภาษีนิติบุคคลที่ปรับเหลือร้อยละ 20 ก็เช่นเดียวกัน ตนมองว่าถ้าเอสเอ็มอีมีกำไร ก็สามารถที่จะจ่ายภาษีได้ แต่ถ้าเอสเอ็มอีไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่มีการขายสินค้า การลดภาษีก็ไม่ได้ช่วยผู้ประกอบการมากนัก

อุตฯแม่พิมพ์ขอ "วันสต็อปเซอร์วิส"

ด้าน นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย กล่าวว่า หลังจากขึ้นค่าแรง 300 สมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรม แม่พิมพ์เอง มีการลดต้นทุนโดยหากมีคนงานลาออก จะไม่มีการจ้างเพิ่ม และหันไปใช้แรงงานเดิมให้มีคุณภาพมากขึ้น ในรูปแบบที่ 2 คือมีการปรับใช้เครื่องจักรกลมาทดแทนคน แต่ปัญหาคือการใช้เครื่องจักรก็ต้องใช้ระยะเวลาเป็นปีในการปรับตัว เพราะการปรับจากแรงงานคนมาใช้เครื่องมือกล แขนกล ต้องมีการอบรมเรียนรู้ ซึ่งภาครัฐไม่มีการเตรียมความพร้อมตรงนี้ให้กับเอสเอ็มอี

ส่วนเรื่อง กองทุนที่จะให้เอสเอ็มอี ตนมองว่าอุปสรรคสำคัญก็คือ ขั้นตอนที่ภาครัฐใช้ตรวจสอบเอสเอ็มอี ก่อนที่จะอนุมัติเงินทุน เช่น การไปดูโรงงาน รวมทั้งการอนุมัติมีระยะเวลานาน ซึ่งการที่เอสเอ็มอีไปกู้เอง ยังรู้สึกว่าง่ายกว่าการเข้าถึงกองทุนดังกล่าว

จึงอยากเสนอว่า หากภาครัฐต้องการแก้ปัญหาดังกล่าว ก็ควรปรับกระบวนการโดยอนุมัติไปก่อน แล้วไปตรวจสอบทีหลังแบบระบบภาษี และควรจะมีระบบ "วันสต็อปเซอร์วิส" คือ ถ้าเอสเอ็มอี

ติดต่อผ่านทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนของกรมสรรพากร หน่วยงานกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อช่วยให้การดำเนินการรวดเร็วขึ้น ที่ผ่านมาเอกชนต้องไปหลายที่เสียเวลา

ขณะที่ปัญหาแรงงาน ภาครัฐควรมีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานในอาชีวศึกษา เพื่อป้อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ที่ขาดแคลนด้วย

5 มาตรการช่วยเอสเอ็มอี

เกี่ยว กับกรณีดังกล่าว นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ สสวท. กล่าวว่า ทางสมาคมมีการหารือร่วมกับรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายนิวัฒน์ธำรง เป็นประธานการทำงานในการออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ขณะนี้มีเรื่องอยู่ในกระบวนการทำงาน 5 เรื่อง คือ

1.การ จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีในรูปแบบคล้ายกับสหกรณ์ เป็นกองทุนที่รัฐออกให้ส่วนหนึ่ง และมีเอกชนมาเป็นสมาชิกร่วม โดยรัฐมีงบประมาณผูกพัน 5 ปี ปีละ 2 หมื่นล้านบาท อยู่ในระหว่างการเขียนแผนว่ารูปแบบจะออกมาอย่างไร

รูปแบบนี้จะช่วย ให้เกิดความยั่งยืน แก้ปัญหาเรื่องของกฎเกณฑ์ที่ภาคเอกชนเข้าไม่ถึง เพราะภาคเอกชนที่เข้ามาใช้กองทุนจะต้องเป็นสมาชิกของกองทุน และมีหุ้นในกองทุน เมื่อมีการนำเงินของกองทุนไปใช้ ภาคเอกชนก็จะต้องนำมาคืนด้วย

2.ด้านการตลาด การโรดโชว์ของคณะนายกรัฐมนตรีในต่างประเทศจะต้องมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไป ด้วย 3.สมาคมเตรียมการที่จัดงานเอสเอ็มอี เอ็กซ์โป ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องมีการจัดขึ้นทุกปีเพื่อให้คนจดจำได้ 4.มีการพัฒนาทักษะแรงงาน โดยการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับเออีซีเพื่อแก้ปัญหาแรงงาน และ 5.เรื่องการค้าชายแดน มีการเสนอจัดตั้งศูนย์ประสานงานการค้าชายแดนโดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ 6.จะมีการจัดทำระบบข้อมูลของเอสเอ็มอี เพื่อให้ภาครัฐเข้าถึงได้มากขึ้น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เอสเอ็มอี ประเมิน 3 เดือน เจ็บ เจ๊ง เสนอรัฐ ตั้งกองทุน จัดงานแฟร์ หาตลาด

view