สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นี่แหละสันดาน แขมร์

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ฟังถ้อยแถลงของ “เฒ่าฮอร์” นายฮอร์ นัม ฮง รอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาและทีมกฎหมายแล้ว ยิ่งเห็นชัดเจนว่า ประวัติศาสตร์แนวรบด้านตะวันออกของไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลง
       
       สมัย “พระยาละแวก” เป็นอย่างไร สมัยสมเด็จฮุนเซ็นฯ ก็เป็นเช่นนั้นเพราะยังคงดำรงตนเป็น “หอกข้างแคร่” ที่ไว้ใจไม่ได้อย่างเสมอตนเสมอปลาย
       
       ครั้งนี้ ถ้อยแถลงของเฒ่าฮอร์สำแดงความมุ่งมาดปรารถนาชัดเจน โดยระบุชัดว่า ต้องการให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกตีความเส้นเขตแดนบริเวณปราสาท พระวิหาร ซึ่งก็คือเส้นเขตแดนตามแผนที่ในภาคผนวกที่ 1 หรือแผนที่ระวางพนมดงรัก หรือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000
       
       นั่นแสดงให้เห็นว่า กัมพูชาต้องการให้ศาลโลกขยายขอบเขตคำพิพากษาออกไป มิใช่เพียงแค่ตีความในคำพิพากษาเดิม โดยหมายมั่นปั้นมือว่าจะสามารถครอบครองดินแดนของไทยในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรได้
       
       คำถามสำคัญมีอยู่ว่า งานนี้ใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ?
       
       ตอบตรงๆ ได้ทันทีว่า ไทยเสียเปรียบ
       
       และจะยิ่งเสียเปรียบหนัก ถ้าหากไทยไม่สามารถหาหลักฐานไปคัดง้างความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าวได้
       
       เพราะต้องไม่ลืมว่าการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้ใช้ “เหตุผล” ในเรื่อง “กฎหมายปิดปาก” กับแผนที่ภาคผนวก 1 ว่าไทยไม่ปฏิเสธ จึงเท่ากับยอมรับแผนที่ดังกล่าวมาเป็น “มูลฐาน” ในการตัดสินตัวปราสาทพระวิหารว่าตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
       
       ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศของไทยจึงต้องงัดหลักฐานทุกอย่างที่มีอยู่เพื่อให้ศาล โลกยังคงมีคำพิพากษาเหมือนเดิม โดยมิให้เกินขอบเขตของบทปฏิบัติการของคำพิพากษาในปี 2505
       
       งานนี้ บอกคำเดียวว่า.....เครียด
       
       ไปที่กิจกรรมดีๆ กันบ้างกับนวัตกรรมการผลิต “ไม้สอยมะละกอ” ฝีมือเด็กๆ จากวิทยาลัยการอาชีพนครนายกที่ร่วมกันตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “บริษัท บิดพิชิตมะละกอ จำกัด” และได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน10 ทีมที่เข้ารอบโครงการ “กรุงไทยยุววาณิช ปี 2555ที่ธนาคารกรุงไทยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11
       
       ชลนี มะลิมาตร ผู้ร่วมหุ้นบริษัท บิดพิชิตมะละกอ จำกัด เล่าว่า ชักชวนเพื่อในวิทยาลัย 6 คนทำบริษัทดังกล่าว ผลิตไม้สอยมะละกอเพื่อเข้าร่วมโครงการกรุงไทย ยุววาณิชปี 2555 โดยนำปัญหาเล็กๆน้อยอันเกิดมาจากคำบอกเล่าของอาจารย์ท่านหนึ่งถึงปัญหาการ สอยมะละกอ ที่มักจะบ่นให้ลูกศิษย์ฟังว่าเมื่อสอยมะละกอแล้วต้องประสบปัญหามะละกอลูกที่ ไม่พึงประสงค์ร่วงหล่นมา ซึ่งธรรมชาติของมะละกอเวลาออกลูกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และไม่ใช่เฉพาะอาจารย์เพียงคนเดียวคนใกล้ตัวในชุมชนมักประสบปัญหาเมื่อใช้ ไม้ตะกร้อสอยผลไม้ที่มีขายตามท้องตลาด ไปกระทบลูกอื่น ทำให้มะละกอผิวมีรอยขีดข่วนไม่สวยงาม เกิดการเสียดสีระหว่างตะกร้อซึ่งมีลักษณะผิวขรุขระทำให้ผลผลิตเกิดความเสีย หาย นอกจากนี้ยังพบปัญหาว่าเมื่อนำตะกร้อมาสอยมะละกอลงสู่พื้นลูกมะละกอจะหล่น จากปากตะกร้อ เนื่องจากปากตะกร้อเล็กและตื้นเกินไป ทำให้มะละกอช้ำเสียหาย
       
       ดังนั้น จึงได้ขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ แผนกเครื่องกลในการประดิษฐ์เครื่องมือสอยมะละกอให้ จนมาลงตัวที่ นำท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว มาผ่าให้เป็นแฉกซ้อนกัน 2 ชั้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นสามารถรองรับน้ำหนักของมะละกอได้ทุกขนาด แล้วใส่แผ่นกันกระแทกเข้าไปอีกทีเพื่อ ป้องกันผิวมะละกอช้ำและยังเป็นตัวยึดเกาะให้มะละกออยู่ในตะกร้อไม่หล่นลง มา ส่วนด้ามนั้นใช้อะลูมิเนียมเพราะคุณสมบัติมีน้ำหนักเบา แข็งแรง พร้อม คุณสมบัติที่ดีเยี่ยมอีกประการคือมีอายุใช้งานยาวนาน จนสามารถใช้สโลแกนได้ว่า “ถ้าไม่หาย ใช้นานยันลูกบวช” สนนราคาขายไว้ที่ราคา 189 บาท แต่ต้นทุนเมื่อรวมอุปกรณ์และค่าแรงแล้วอยู่ที่ 89 บาท
       
       สำหรับวิธีการใช้งานนั้นแค่นำปลายแฉกไปสวมในลูกมะละกอแล้วแต่บิดปลิด ขั้วลงมา มะละกอลูกที่ต้องการจะอยู่ในแฉกนั้น ไม้สอยไม่ไปรบกวนมะละกอลูกอื่น ใช้สอยได้ทั้งมะละกอดิบและสุก
       
       ....สนใจสินค้าตะกร้อสอยมะละกอสอบถามรายละเอียดได้ที่ 081-259-3891
       
       และปิดท้ายกันที่นายคนิสร์ สุคนธมาน (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้การต้อนรับและพบปะหารือกับนายบัททูเมอ ชิมิดดอจน์ (ขวา) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย เกี่ยวกับโอกาสและความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับภาครัฐบาลและเอกชนมองโกเลียในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่าง ไทย-มองโกเลีย ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556
       
       พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ...
       
       คอลัมน์// หนังสือน่าอ่าน
       
       ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม
       
       เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นและบทกวีจากนักเขียนไทยและเวียดนามที่มี ความหนาชนิดที่แวบแรกเมื่อได้เห็นอาจถอดใจเสียก่อนจะได้สัมผัสอรรถรสจากผล งานชิ้นเยี่ยมที่อัดแน่นอยู่ในหนังสือเกือบ 800 หน้า แต่ถ้าลองได้หยิบอ่านแล้วจะรู้ว่า ไม่ได้หนาอย่างที่คิด แต่เหตุที่ทำให้หนังสือเล่มนี้มีขนาดยาวก็เพราะจัดทำเป็น 3 ภาษาด้วยกันคือ ภาษาไทย ภาษาเวียดนามและภาษาอังกฤษ
       
       ที่สำคัญคือผลงานของนักเขียนของทั้งสองชาติที่ได้รับการคัดเลือกมาตี พิมพ์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานชิ้นเอกที่คอวรรณกรรมของทั้งสองชาติไม่อาจพลาดได้
       
       ฝ่ายนักเขียนไทยประกอบด้วย...นิคม รายยวา,จะเด็จ กำจรเดช,มหรรณพ โฉมเฉลา,วัฒน์ ยวงแก้ว,อุรุดา โควินท์,อุชเชนี,วิทยากร เชียงกูล,พนม นันทพฤกษ์,คมทวน คันธนู,ศิวกานท์ ปทุมสูติ,แรคำ ประโดยคำ,วรภ วรภา,ชะการีย์ยา อมตยา,สายฝน ตรีณาวงษ์ และอาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ
       
       ขณะที่ฝ่ายนักเขียนเวียดนามประกอบด้วย...เหงวียน หง็อก ตือ,ตะ ซุย แอนท์, ดัง ทือ เกิว, เหงวียน มินท์ โจว, โด๋ ชู,โต๋ หิว,หิว ถิ๋นท์,ฝ่าม เตี๋ยน สวด,เหงวียน กวาง เถี่ยว,อินระสะรา,เหงวียน ซุย, แทนท์ ถาว,เหงวียน ดึ๊ก โหม่ว,เหงวียน ควา เดี่ยมและซวน กวิ่นห
       
       สำหรับผลงานฝ่ายไทยหลายคนอาจได้เคยผ่านตามากันมาบ้างแล้ว ดังนั้น จึงอยากจะยก “บทกวี” สั้นๆ สักบทหนึ่งของกวีชาวเวียดนามมาได้สัมผัสความงดงามกัน
       
       ฉันถามดิน ดินกับดินอยู่กันอย่างไร
       พวกเราเคารพซึ่งกันและกัน
       
       ฉันถามน้ำ น้ำกับน้ำอยู่กันอย่างไร
       พวกเราเติมเต็มซึ่งกันและกัน
       
       ฉันถามหญ้า หญ้ากับหญ้าอยู่กันอย่างไร
       พวกเราถักทอประสานเป็นฐานท้องฟ้า
       
       ฉันถามคน คนกับคนอยู่กันอย่างไร
       ฉันถามคน คนกับคนอยู่กันอย่างไร
       ฉันถามคน คนกับคนอยู่กันอย่างไร
       
       บทกวีบทนี้มีชื่อว่า “ถาม”
       
       เป็นผลงานของ “หิว ถิ๋นห์” ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเขียนเวียดนาม ทั้งนี้ บทกวีและงานเขียนของเขาได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งรางวัลซีไรต์ในปี 1999
       
       ส่วนผู้ที่แปลเป็นไทยก็คือ “มนธิรา ราโท”
       
       หนังสือเล่มนี้จัดทำโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ไม่แน่ใจว่ามีจำหน่ายหรือไม่ เพราะ “ลุงอ้วน” ได้รับแจกฟรีมา แต่ถ้าสนใจก็ลองสอบถามไปที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพราะจะได้รับตอบที่ชัดเจน โทร.0-2422-8828
       
       ลุงอ้วน
       managerweekend@yahoo.com


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : วีรชัย พลาศรัย นี่แหละ สันดาน แขมร์

view