สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธีระชัย เปิดข้อมูลแฉต้นเหตุ บาทแข็ง จับพิรุธเปิดช่องฟันส่วนต่าง ดบ.ในตลาดพันธบัตร

ธีระชัย” เปิดข้อมูลแฉต้นเหตุ “บาทแข็ง” จับพิรุธเปิดช่องฟันส่วนต่าง ดบ.ในตลาดพันธบัตร

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

อดีตขุนคลัง “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” โพสต์เฟซบุ๊ก ย้ำต้นเหตุที่แท้จริง “บาทแข็ง” แฉเม็ดเงินนอกพุ่งเป้าลุยตลาดบอนด์ ตัวเลขลงทุนสูงกว่าตลาดหุ้นถึง 3 เท่า พร้อมระบุ ปี 56 เม็ดเงินต่างชาติในตลาดหุ้นเป็นขายสุทธิ 1.6 หมื่นล้าน แต่ในตลาดบอนด์ยังซื้อสุทธิ 1.29 แสนล้าน จะไม่ให้บาทแข็งได้อย่างไรเล่าครับ เงินไหลเข้ามากินส่วนต่างดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรกันมากอย่างนี้
       
       นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวที่ใช้ชื่อว่า “Thirachai Phuvanatnaranubala” เกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาทว่า จะเห็นได้ว่าในปี 2555 มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น เป็นจำนวนเงิน 76,300 ล้านบาท
       
       ขณะที่มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตร เป็นจำนวนเงิน 242,700 ล้านบาท ตลาดพันธบัตรสูงกว่าตลาดหุ้นกว่า 3 เท่าตัว และในปี 2556 ตัวเลขสำหรับตลาดหุ้น ได้เปลี่ยนเป็นขายสุทธิไปแล้ว ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ขายสุทธิ 16,000 ล้านบาท แต่สำหรับตลาดพันธบัตร ยังเป็นซื้อสุทธิต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ซื้อสุทธิอีก 129,500 ล้านบาท เป็นผลทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
       
       ข้อความที่นายธีระชัยโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว
       
       สำหรับคนที่สนใจว่าเหตุใดเงินบาทจึงแข็งมาก ถามว่าเงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรมากหรือไม่ วิธีดูว่ามากหรือน้อย ให้ดูตารางนี้ครับ คือต้องใช้วิธีเปรียบเทียบมูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อในตลาด หุ้น กับมูลค่าที่ซื้อในตลาดพันธบัตร (ที่ต้องใช้ตัวเลขลักษณะนี้ เพราะสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาตินั้น ไม่สามารถคำนวณตัวเลขยอดคงค้างของเงินลงทุนได้สะดวกเท่ากับกรณีตลาด พันธบัตร)
       
       ตารางนี้จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. จะเห็นได้ว่า ในปี 2555 มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น เป็นจำนวนเงิน 76,300 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตร เป็นจำนวนเงิน 242,700 ล้านบาท ตลาดพันธบัตร สูงกว่าตลาดหุ้นกว่า 3 เท่าตัว
       
       โดยพบว่าในปี 2556 ตัวเลขสำหรับตลาดหุ้น ได้เปลี่ยนเป็นขายสุทธิไปแล้ว ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ขายสุทธิ 16,000 ล้านบาท แต่สำหรับตลาดพันธบัตร ยังเป็นซื้อสุทธิต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ซื้อสุทธิอีก 129,500 ล้านบาท จะไม่ให้บาทแข็งได้อย่างไรเล่าครับ เงินไหลเข้ามากินส่วนต่างดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรกันมากอย่างนี้


ห่วงเยนไหลเข้ากดบาทแข็ง แนะหาทางป้อง

อดีตรมว.คลัง "ธีระชัย" ห่วงเงินเยนไหลเข้ากดดันบาทแข็ง แนะคลัง-แบงก์ชาติ หามาตรการป้องกัน

วานนี้ (17 พ.ค.) สมาคมนักข่าวฯร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานราชดำเนินเสวนา ในหัวข้อ "บาทแข็ง!!! นโยบายการเงิน การคลังที่ควรจะเป็น" โดยเชิญ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง และนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมช.คลัง เป็นวิทยากร

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เงินทุนจากต่างประเทศอาจไหลเข้ามากดดันให้ค่าเงินบาทไทยกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะเงินเยนที่เกิดจากการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งในเวลานี้คนพูดกันเสมอว่า รถไฟได้ออกจากสถานีโตเกียวแล้ว รอว่าจะมาถึงประเทศไทยเมื่อไหร่เท่านั้น ดังนั้นธปท.ควรต้องหามาตรการในการรับมือ

เครื่องมือที่ธปท.สามารถนำมาใช้ในการดูแลค่าเงินบาทได้นั้นมี 3 เครื่องมือหลัก คือ การแทรกแซงในตลาดเงิน การลดดอกเบี้ยนโยบาย และการออกมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งในความเห็นส่วนตัวมองว่า การแทรกแซงในตลาดเงินเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสุดในกรณีที่ ธปท. ยังไม่ออกมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย

"การใช้เมนูในด้านการแทรกแซงผ่านตลาดการเงิน ยังเป็นวิธีที่เหมาะสม ซึ่งธนาคารกลางทั่วโลกเขาก็ทำกัน และกฎหมายไทยก็เปิดช่องให้สามารถทำได้ เพียงแต่การจะทำให้ได้ผลนั้น ต้องปิดทัศนคติเรื่องผลการขาดทุนของแบงก์ชาติ" นายธีระชัยกล่าว

ในอดีตธปท.ก็เคยใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการดูแลตลาดเงิน ซึ่งยอมรับว่ามีข้อเสียบ้างที่ทำให้ธปท.เกิดผลขาดทุนได้ ทั้งจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและจากการตีราคาในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพียงแต่การขาดทุนของธนาคารกลางนั้นเป็นที่ยอมรับในทั่วโลกว่า ขาดทุนได้ถ้าเป็นการขาดทุนที่เกิดจากการเข้าดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในภาพรวม

"เดิมนั้นแบงก์ชาติเขาก็เข้าไปดูแล ทั้งแบบที่ทำเงียบๆ และแบบที่ทำเพื่อให้ตลาดเงินได้รับทราบ เพียงแต่พอรัฐมนตรีคลังหยิบประเด็นการขาดทุนขึ้นมาพูด ก็ทำให้วิธีการนี้สะดุดไป ซึ่งผมคิดว่าไม่จำเป็นการขาดทุนของแบงก์ชาติทำได้ แม้จะขึ้นไปแตะ 1 ล้านล้านบาทก็ไม่เป็นไร ถ้าภาพรวมเศรษฐกิจยังดี และในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ผลขาดทุนเหล่านี้ก็จะลดลงตามไปด้วย" นายธีระชัยกล่าว

เครื่องมือที่ นายธีระชัย เห็นว่าเหมาะสมและตรงจุดที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาเงินทุนที่ไหลเข้าจนทำให้ค่าเงินบาทแข็ง คือ การออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ซึ่งตรงนี้นอกจากจะช่วยลดการแข็งค่าของเงินบาทแล้ว ยังลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย

นายธีระชัย กล่าวว่า ถ้าดูเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศไทยนั้น จะเข้าใน 3 ตลาดหลัก คือ ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดอื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไม่ได้น่ากลัวนัก เพราะเมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นไปมากการไหลเข้าก็ชะลอลงเอง ต่างจากการไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ ที่ปัจจุบันดูจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

"ถ้าดูผลตอบแทนของบอนด์ไทยอายุ 5 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 3.1% เทียบกับบอนด์สหรัฐในรุ่นเดียวกัน ผลตอบแทนอยู่เพียงแค่ 0.75% มีผลต่างกันถึง 4 เท่าจึงเป็นเหตุให้เงินทุนไหลเข้า และถ้าดูยอดถือบอนด์ของต่างชาติก็เพิ่มขึ้นมาต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 8.84 แสนล้านบาท คิดเป็น 6-7% ของสินเชื่อทั้งระบบ และถ้ามองย้อนหลังไปจะเห็นว่าเงินเข้ามาเฉลี่ยไตรมาสละ 7.8 หมื่นล้านบาท เทียบกับสินเชื่อที่โตเฉลี่ยไตรมาสละ 3.1 แสนล้านบาท ก็คิดเป็นเกือบๆ 1 ใน 5 ของสินเชื่อ" นายธีระชัยกล่าว

เงินที่เข้ามาตรงนี้นอกจากทำให้เงินบาทแข็งค่าแล้ว ยังสร้างความเสี่ยงเรื่องฟองสบู่ด้วย เพราะเงินทุนเหล่านี้เปิดช่องให้ภาคเอกชนระดับทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ได้ง่ายขึ้น ที่ผ่านมาจึงเห็นการออกหุ้นกู้ของภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อไปทำโครงการต่างๆ กันจำนวนมาก โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เลย และเรื่องเหล่านี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของธปท.ด้วย

จากกรณีดังกล่าวทำให้ นายธีระชัย มองว่า การใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าน่าจะเป็นวิธีที่ตรงจุดสุดในการแก้ปัญาเงินบาทแข็งค่า และยังลดความเสี่ยงเรื่องฟองสบู่ลงได้ด้วย อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจมีผลเสียตามมา คือ เงินทุนที่ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรประเทศไทยอาจลดลง ทำให้รัฐบาลที่มีความจำเป็นต้องระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้เพื่อไปลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท มีต้นทุนการระดมทุนที่แพงขึ้นได้

ส่วนเครื่องมือเรื่องดอกเบี้ยนโยบายนั้น เครื่องมือนี้ถือเป็น หมากกล ถ้าใช้ไม่ดีอาจสร้างปัญหาให้ระบบเศรษฐกิจได้ ดังนั้นการจะใช้เครื่องมือดังกล่าวจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะดอกเบี้ยนโยบายนั้น เป็นเครื่องมือที่คุมอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอายุ 1 วัน ในขณะที่ดอกเบี้ยตลาดเงินมีหลายรุ่นมากตั้งแต่ 1 วันไปจนถึง 47 ปี

"แบงก์ชาติมีอำนาจบังคับดอกเบี้ยอายุ 1 วันเท่านั้น ไม่สามารถไปบังคับตัวยาวๆ อย่าง 47 ปีได้ เพราะดอกเบี้ยเหล่านี้จะขึ้นกับกลไกตลาด ยิ่งถ้าคนมองว่าแบงก์ชาติมีเข้มแข็ง สามารถคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบได้เขาก็พร้อมเข้าซื้อ แต่ถ้าเขามองว่าแบงก์ชาติอ่อนแอคุมเงินเฟ้อไม่อยู่ ดอกเบี้ยในตลาดแทนที่จะเป็น 3% ก็อาจขึ้นไป 4-5% ได้" นายธีระชัยกล่าว

ส่วนข้อที่ว่าให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อชะลอเงินทุนไหลเข้านั้น นายธีระชัย กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าคิดว่าจะทำได้หรือไม่ เพราะถ้าดูเงินที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตรนั้น 71% เข้าในรุ่นที่อายุเกิน 1 ปี ดังนั้นการลดดอกเบี้ยอาจไม่ช่วยชะลอเงินทุนไหลเข้าได้ ทั้งยังกลับไปเพิ่มความเสี่ยงเรื่องฟองสบู่ที่มากขึ้น เครื่องมือในเรื่องดอกเบี้ยจึงถือเป็นหมากกลที่ต้องระวัง

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ เชื่อว่า กนง.จะยึดหลักการในการดูภาพรวมเศรษฐกิจ เพื่อตัดสินใจคุมปริมาณเงินที่เหมาะสมในระบบเศรษฐกิจ หากกนง.เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวควรต้องเพิ่มปริมาณเงินเข้าระบบ ก็อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงมาได้ แต่หากกนง.เห็นว่าสัญญาณการชะลอตัวไม่ได้ชัดเจน ก็อาจยังไม่ตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบายลงก็เป็นได้

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า วิธีที่จะลดการแข็งค่าของเงินบาทให้ได้ผลมากที่สุด คือ ต้องแสดงให้นักลงทุนต่างชาติเห็นว่าประเทศไทยเอาจริงเอาจังกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งทำได้โดยรัฐบาลและธปท.ต้องถอยคนละก้าว โดยธปท.ควรต้องยอมลดดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25-0.5% พร้อมทั้งนำมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายมาใช้

"การลดดอกเบี้ยอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่จำเป็นต้องลด เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเงินจะไหลเข้ามาตลอด จึงควรต้องลดเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติรู้ว่าเราเริ่มเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหานี้ เพียงแต่นอกจากลดดอกเบี้ยแล้วยังต้องหามาตรการอื่นมารองรับด้วย ทั้งการใช้มาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย รวมทั้งการนำมาตรการด้าน Macro Prudential (การกำกับดูแลผ่านระบบสถาบันการเงิน) ขึ้นมาเพื่อป้องกันฟองสบู่ด้วย" นายพิชัยกล่าว

นอกจากการหาวิธีแก้ปัญหาเงินบาทระยะสั้นแล้ว จำเป็นต้องมองภาพในระยะยาวด้วยว่า มีวิธีใดบ้างที่จะนำเงินทุนที่ไหลเข้ามาเหล่านี้ไปทำให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ธปท.ควรต้องนำมาคิด


'ธีระชัย'ชี้ต่างชาติเก็งกำไรบอนด์ดันบาทแข็ง

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล,เงินบาท,แข็งค่า,พันธบัตร

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล"แจงเหตุเงินบาทแข็ง ต่างชาติแห่เก็งกำไรบอนด์ ฟันกำไรส่วนต่างดอกเบี้ย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัวที่ใช้ชื่อว่า "Thirachai Phuvanatnaranubala" เกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาทว่า จะเห็นได้ว่า ในปี 2555 มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น เป็นจำนวนเงิน 76,300 ล้านบาท

ขณะที่มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตร เป็นจำนวนเงิน 242,700 ล้านบาท ตลาดพันธบัตรสูงกว่าตลาดหุ้นกว่า 3 เท่าตัว และในปี 2556 ตัวเลขสำหรับตลาดหุ้น ได้เปลี่ยนเป็นขายสุทธิไปแล้ว ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ขายสุทธิ 16,000 ล้านบาท แต่สำหรับตลาดพันธบัตร ยังเป็นซื้อสุทธิต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ซื้อสุทธิอีก 129,500 ล้านบาท เป็นผลทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

ข้อความที่นายธีระชัยโพสต์ลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว

สำหรับคนที่สนใจว่าเหตุใดเงินบาทจึงแข็งมาก ถามว่าเงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรมากหรือไม่ วิธีดูว่ามากหรือน้อย ให้ดูตารางนี้ครับ คือต้องใช้วิธีเปรียบเทียบมูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ที่ซื้อในตลาดหุ้น กับมูลค่าที่ซื้อในตลาดพันธบัตร (ที่ต้องใช้ตัวเลขลักษณะนี้ เพราะสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาตินั้น ไม่สามารถคำนวนตัวเลขยอดคงค้างของเงินลงทุนได้สะดวกเท่ากับกรณีตลาดพันธบัตร)

ตารางนี้จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. จะเห็นได้ว่า ในปี 2555 มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น เป็นจำนวนเงิน 76,300 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตร เป็นจำนวนเงิน 242,700 ล้านบาท ตลาดพันธบัตร สูงกว่าตลาดหุ้น กว่า 3 เท่าตัว

และในปี 2556 ตัวเลขสำหรับตลาดหุ้น ได้เปลี่ยนเป็นขายสุทธิไปแล้ว ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ขายสุทธิ 16,000 ล้านบาท แต่สำหรับตลาดพันธบัตร ยังเป็นซื้อสุทธิต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด ซื้อสุทธิอีก 129,500 ล้านบาทจะไม่ให้บาทแข็งได้อย่างไรเล่าครับ เงินไหลเข้ามากินส่วนต่างดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรกันมากอย่างนี้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธีระชัย เปิดข้อมูล แฉต้นเหตุ บาทแข็ง จับพิรุธ เปิดช่อง ฟันส่วนต่าง ดบ. ตลาดพันธบัตร

view