สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผลต่อดัชนีนิกเคอิ จากการประกาศลดคิวอีของFED

ผลต่อดัชนีนิกเคอิ จากการประกาศลดคิวอีของFED

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ในเดือนเม.ย-พ.ค. เราเห็นภาพของการลงทุนที่เข้าสู่ Mode “RISK-ON” อย่างเต็มสูบ

ไม่ว่าจะเป็นดัชนี Dow Jones Industrial Index หรือ DJI ที่ Break ระดับ 15,000จุดตั้งแต่กลางเดือน พ.ค. และสามารถยืนเหนือระดับ 15,300 ซึ่งเป็น All-time HIGH มาจนถึงปลายเดือน และดัชนี VIX หรือ CBOE Volatility Index อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ 12-13% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 22% สะท้อนว่าแรงซื้อมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ค่อยๆผลักดันให้ดัชนีสูงขึ้นอย่างไม่หวือหวา และดัชนี NIKKEI 225 ซึ่งได้ทำ New High ในรอบ 5 ปี เป็นการปรับตัวขึ้นกว่า +70% จากระดับ 8,700จุด ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ...
อาจกล่าวได้ว่าพัฒนาการสำคัญที่นำไปสู่ RISK-ON mode ในรอบนี้มาจาก ตัวเศรษฐกิจของสหรัฐ และ Earnings ของบริษัทใน Nasdaq ที่สดใสขึ้น รวมถึงการประกาศนโยบาย Monetary Easing อย่าง Aggressive ผ่านการทำ QE ของ Bank of Japan เมื่อเดือนเม.ย ที่ผ่านมา
แผนการทำ QE ของประเทศญี่ปุ่น ได้รับการกล่าวขานถึงอย่างมาก ในมุมของความจริงจังและตั้งมั่นที่จะกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น และทำให้ญี่ปุ่นโดยเฉพาะดัชนี NIKKEI225 กลับมาเป็นที่สนใจอย่างมากอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ภาพของ “RISK-ON” Mode ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ค. เมื่อ NIKKEI ได้ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องอย่างน่าใจหายจาก High ที่ 15,627จุด ลดลงสู่ระดับ 12,889จุดในวันที่ 6 มิ.ย. หรือ -18% ภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์
หลายคำถามเกิดขึ้นมากมายจากความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นหลายประเทศ จนทำให้ต้องกลับไปนึกทบทวนถึงปัจจัยใดที่สนับสนุนให้ Nikkei ปรับตัวขึ้นรุนแรงก่อนหน้านี้ และปัจจัยใดที่ทำให้มุมมองของนักลงทุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจนส่งผลลบต่อดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดังที่เกิดในขณะนี้

หากเรามองย้อนไปในพ.ศ. 2552-2555 (ปี 2009-2012) เราเห็นได้ว่า เยนญี่ปุ่นมีทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ FED ดำเนินการด้าน QE มาโดยต่อเนื่อง เมื่อ QE หมายถึง การเพิ่ม Money supply (M2) ค่าเงินดอลลาร์ย่อมด้อยค่าลงเมื่อเทียบกับทั้งยูโรกับเยนญี่ปุ่น และ สกุลเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ … .และในเดือน เม.ย. ปี2556 ภาพของเยน ได้เปลี่ยนไปอย่างที่เรียกว่า “หน้ามือเป็นหลังมือ” เลยทีเดียวหลังจากที่ BoJ ประกาศทำ QE ครั้งใหญ่ครั้งนี้ เงินเยนอ่อนค่าจาก 75-78 JPY/USD เป็น 102 ในปัจจุบัน
การคาดการณ์ที่ตามมาคือ นักลงทุนคิดว่าการที่ค่าเงินอ่อนจะช่วยให้ บริษัทกลุ่มผู้ส่งออกมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น และมีกำไรเพิ่มขึ้น หรืออาจสามารถมองอีกมุมหนึ่งว่า เม็ดเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถซื้อหุ้นใน Nikkei ได้ในราคาถูกลง (เพราะเยนอ่อนค่า) จึงเกิดการเก็งกำไรในตลาดหุ้น หรือ Nikkei ในระดับที่เรียกว่าเป็น High ในรอบ 5ปี นี่เป็นผลมาจากแนวคิดในการทำ QE ของนายกรัฐมนตรีอาเบะ และผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ทำให้ต่างชาติขนานนามแนวคิดนี้ว่า “ABENOMICS”
หากพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์หรือ Correlation ระหว่าง NIKKEI 225 และ JPY/USD เราพบว่า ขยับเข้าใกล้ 1.00 มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่นย้อนไปยังต้นปี 2555 หรือ ปี2554 (วัดจนถึงปัจจุบัน 2 มิ.ย. 2556) และหากเรา plot AUD/JPY กับ Nikkei 225 จะได้ค่า Correlation ที่ชัดเจนมากขึ้นเพราะ Australian Dollar (AUD) จัดเป็น “High Beta Currency” (เพราะโครงสร้างของประเทศมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับราคา Commodities) ในขณะที่ JPY จัดเป็น “Carry Currency” สองสาเหตุนี้เองที่ทำให้ Trader กู้ JPY และนำไปลงทุนใน High-yield currency เช่น AUD นอกจากเงินสกุล AUD แล้วอีก Asset class ที่ได้รับอานิสงส์จาก Carry trade นี้คือ ดัชนี Nikkei นั่นเอง เรียกได้ว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้ NIKKEI อยู่ในขาขึ้น คือ การอ่อนค่าของเงินเยนนั่นเอง

อาจกล่าวได้ว่าจุดเปลี่ยนของ RISK-ON สู่ RISK-OFF mode นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ FED รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจแก่สภาฯ ในวันที่ 22 พ.ค. ในสาระสำคัญได้มีการกล่าวถึงความจำเป็นที่ FED จะต้องเริ่มพิจารณาลดปริมาณการทำ QE (ที่ใช้คำว่า “Tapering”) ลง คาดว่าที่มาของแนวคิดที่ FED ประกาศจะลดปริมาณ QE ลงน่าจะมาจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งตัวเลขการจ้างงาน (Private-sector jobs และ Service-sector jobs) อสังหาฯ และภาคการผลิต (ISM Manufacturing, New orders และ ISM Non-Manufacturing) ต้องยอมรับว่า 3-4 ปีที่ผ่านมาราคา Risky assets และ Commodities ได้รับอานิสงส์จาก QE เพราะสภาพคล่องที่ล้นโลกย่อมทำให้นักลงทุนวิ่งเข้าหาสินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนสูง และเมื่อ FED ประกาศจะลดปริมาณ QE ลง นั่นย่อมส่งผลโดยตรงต่อราคา Risky assets โดยเฉพาะตลาดหุ้นหลายประเทศที่ปรับขึ้นอย่างร้อนแรงในรอบปีที่ผ่านมา .....แน่นอนว่า NIKKEI และเปโซของฟิลิปปินส์ถูกรวมอยู่ในดัชนีที่ปรับตัวลงมากที่สุดใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดูเหมือนข่าวร้ายจากการลด QE ยังไม่ทันจางหาย ตลาดหุ้นทั่วโลกถูกกระหน่ำซ้ำเติมอีกครั้งเมื่อตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ ดัชนี DJI ปรับลดลง -1.7% ตามด้วย NIKKEI, PSE และ SET Index
แม้หลายฝ่ายกล่าวว่า SET Index ถูกกระหน่ำด้วยประเด็นการอาจถูก downgrade จาก Moody’s แต่โดยส่วนตัวผมกลับไม่คิดว่าประเด็นนั้นจะมีผลรุนแรงต่อทั้งหุ้นและบอนด์บ้านเรา เพราะรัฐฯ สามารถ Fiscalize ความเสียหายจากการรับจำนำข้าว (จาก -160,000 เป็น -260,000ล้านบาท) เข้าไปในปีงบประมาณ หรือให้ธกส.ออกบอนด์ไปเรื่อยๆ ฯลฯ...ความหวังสุดท้ายในระยะอันใกล้นี้จะอยู่ที่ตัวเลข Non-Farm Payroll ในวันศุกร์ที่ 7 พ.ค.นี้ จริงอยู่ที่ ตัวเลข NFP ที่ออกมาต่ำกว่า consensus อาจจะดีเพราะอาจเป็นผลให้ FED จะกลับลำประกาศต่ออายุ QE แต่อย่าลืมว่าในอีกมุมหนึ่งย่อมกดดันดัชนีดาวโจนส์ และนิกเคอิ ในทันทีเช่นกัน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผลต่อดัชนี นิกเคอิ ประกาศลดคิวอี FED

view