สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดร.โกร่ง มองดัชนีตลาดทุน ไม่ประมาทไว้ก่อนจะดีกว่า

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

เมื่อ ปลายเดือนพฤษภาคมศกนี้ ท่านผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขณะนี้มูลค่าหุ้นทั้งหมด กล่าวคือราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดและหุ้นที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทถือไว้ หรือ "Market Capitalization" เพื่อรักษาเสียงข้างมากในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่า ๆ กับมาเลเซีย และอยากจะให้เพิ่มขึ้นไปถึง 700 ล้านเหรียญใน 3 ปีข้างหน้า อยากจะให้แซงหรือมีมูลค่าใกล้เคียงกับสิงคโปร์และไต้หวัน ซึ่งขณะนี้มีมูลค่าหุ้นทั้งหมดสำหรับบริษัท

จด ทะเบียนประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะว่าปริมาณซื้อขายในตลาดหุ้นไทยแต่ละวันมีมูลค่าสูงกว่าตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน กล่าวคือประมาณวันละ 6-7 หมื่นล้านบาท สูงกว่าสิงคโปร์ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์

ฟัง ดูแล้วก็เป็นข่าวที่น่ายินดี แต่ก็อดกังวลใจแทนคนไทยไม่ได้ เพราะเป็นที่รู้ ๆ กันอยู่ว่า การที่ปริมาณการซื้อขายก็ดี การที่ดัชนีราคาหุ้นของเราโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดเป็นเวลากว่าปี ครึ่งแล้ว กล่าวคือตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีเพิ่มสูงขึ้นมากจากประมาณ 1,000 จุด ขึ้นไปแตะสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 1,640 จุดในเดือนพฤษภาคม 2556 

บรรยากาศ ตอนนี้อาจจะคล้าย ๆ กับสมัยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว คือเมื่อต้นปี 2534 ที่ดัชนีราคาหุ้นทะยานสูงขึ้นไปถึง 1,700 กว่าจุด แล้วหลังจากนั้นดัชนีหุ้นก็ลดลงอย่างรวดเร็วจนเกิดวิกฤตการณ์ "ต้มยำกุ้ง" อันโด่งดังในกลางปี 2540 และโรคต้มยำกุ้งก็กลายเป็นโรคระบาดไปทั่วทวีปเอเชีย แล้วข้ามไปถึงรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ยังความเสียหายให้กับคนไทยและผู้คนที่เกี่ยวข้องในประเทศอื่น ๆ อย่างมหาศาล

สาเหตุที่ปริมาณการซื้อขายของ

ดัชนี ตลาดหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯของเราในสมัยนั้นพุ่งสูงขึ้น ก็เพราะเงินทุนมหาศาลจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศไทย ประกอบกับเราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตรึงไว้กับตะกร้าเงินตราสกุลหลัก 2-3 สกุล แต่เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐมีน้ำหนักมากที่สุดประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ อัตราดอกเบี้ยก็สูงกว่าต่างประเทศเป็นอันมาก

ฝรั่ง ต่างชาติก็ยกย่องว่าประเทศไทยจะเป็นเสือตัวที่ 5 ต่อจากฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของนักลงทุน ดอกเบี้ยก็สูง ค่าเงินก็คงที่ ใครไม่กู้เงินดอลลาร์เข้ามาใช้ก็ถือว่าไม่ฉลาด

ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งห้างร้านต่าง ๆ ก็พากันกู้เงินดอลลาร์เข้ามาใช้ กินกำไรจากผลต่างของอัตราดอกเบี้ย ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ราคาก็พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน จนเศรษฐกิจกลายเป็น "ฟองสบู่" อย่างไม่รู้ตัว

ความ จริงถ้าสังเกตสักหน่อย มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนเริ่มสูงกว่ารายได้ประชาชาติหรือมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คิดในราคาตลาด หรือ Nominal GDP มาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2536 มาเรื่อย ๆ จนถึงเดือนธันวาคม 2538 คือประมาณ 4 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 105 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งขณะนั้นมีประมาณ 3.8 ล้านล้านบาท 

ขณะ ที่ดัชนีราคาหุ้นต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ Price-Earning Ratio หรือ P/E สูงถึง 27-28 เท่า ขณะที่ราคาหุ้นตามมูลค่าทางบัญชีในปี 2536-2537 ควรจะเป็นเพียง 4-5 เท่าเท่านั้น 

ใน ขณะนี้ราคาหุ้นเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของบริษัทอาจจะยังไม่สูงเท่ากับ สถานการณ์เมื่อปี 2536 กล่าวคือขณะนี้มีเพียงประมาณ 2.5 เท่า ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่ายังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน

เหตุการณ์ ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ก็มีส่วนคล้ายกับกรณีเหตุการณ์ก่อนปี 2537 กล่าวคือมีเงินทุนที่ไหลเข้ามาในประเทศจากผลของนโยบายการเงินของสหรัฐ อังกฤษ ยุโรป และญี่ปุ่น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยของเราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ เงินต่างประเทศจึงไหลเข้ามาในประเทศเพื่อซื้อหุ้นและตราสารหนี้ราคาหุ้นจึง ดิ่งลงอย่างรวดเร็วจนจุดต่ำสุดหลังเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งใน

ปี 2540 แล้วค่อยฟื้นตัวตื่นหลังจากปี 2546 เป็นต้นมา จนถึงเมื่อมีวิกฤตการณ์หนี้ด้อยคุณภาพเกิดขึ้นในปี 2550 และค่อยทะยานขึ้นในปี 2552 เป็นต้นมา จนบัดนี้เป็นเวลาประมาณ 4 ปีแล้ว

มา ในขณะนี้ เมื่อดัชนีราคาหุ้นได้พุ่งสูงขึ้นถึง 1,640 จุด มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนเมื่อเทียบกับบริษัทผลิตภัณฑ์มวลรวม ประชาชาติหรือรายได้ประชาชาติจะมีสัดส่วนถึงกว่า 120 เปอร์เซ็นต์ ราคาหุ้นจึงดำดิ่งลงมาถึง 1,480 จุด แม้ว่าสัดส่วนของราคาหุ้นต่อผลประกอบการจะอยู่ในระดับประมาณ 20 เท่า ราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีไม่ถึง 3 เท่า อาจจะยังถือว่าอยู่ในช่วงปกติก็ตามข้างหน้าจะเป็นอย่างไรก็คงต้องคาดการณ์ ให้ได้ เงินทุนยังจะไหลเข้ามาในตลาดทุนของเรา เพื่อซื้อพันธบัตรและหุ้นในตลาดทุนของเรามากน้อยเพียงใด ผลประกอบการของบริษัทในตลาดเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจพลังงาน บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย รวมทั้งแนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนของเรา เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกว่าจะยังสามารถแข็งค่าต่อไป และที่สำคัญคืออัตราการขยายตัวของการส่งออก และผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือรายได้ประชาชาติจะมีแนวโน้มสูงขึ้นหรือต่ำลง

เมื่อ มองไปข้างหน้า อัตราการขยายตัวของการส่งออก อัตราการขยายตัวของจีดีพีที่จะเป็นฐานรองรับผลประกอบการของบริษัทห้างร้าน เอกชน อัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มลดลงหรืออย่างน้อยก็ไม่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนถ้าแข็งขึ้นอีกก็จะเป็นการซ้ำเติมผู้ส่งออก ตลาดของเรามีแนวโน้มอ่อนตัวอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นยุโรป เอเชีย หรือแม้แต่อเมริกาและญี่ปุ่น แต่ถ้าอ่อนลงกำไรจากการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท สำหรับผู้ลงทุนที่จะนำเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาเก็งกำไรก็จะน้อยลง การเกินดุลการค้าและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดก็น่าจะน้อยลง

ด้วย เหตุผลทางเศรษฐกิจที่เป็นพื้นฐานดังกล่าว ผู้จัดการกองทุนต่าง ๆ ที่นำเงินเข้าออกเพื่อเก็งกำไรก็ต้องรู้ แต่พวกเรารายย่อยอาจจะไม่รู้หรือไม่ได้คาดการณ์ หรือไม่ก็ถูกกิเลสครอบงำ จึงต้องระมัดระวัง อย่าได้ประมาท

ใน ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการพูดกันมากว่า วิธีอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบอย่างที่อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นทำอยู่ไม่น่าจะได้ผลในระยะยาว เพราะไม่ทำให้ประเทศต่าง ๆ นั้นมีความสามารถแข่งขันได้สูงขึ้น เมื่อความสามารถในการแข่งขันไม่ได้สูงขึ้น ความสามารถในการผลิตหรือประสิทธิผลของแรงงาน หรือ Productivity ก็ไม่น่าจะสูงขึ้น การฟื้นตัวจากฟองสบู่ก็ไม่น่าจะยั่งยืน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเหล่านั้นคงจะเป็นฟองสบู่แล้วก็ได้ แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำในอเมริกาและญี่ปุ่นจะออกมาบอกว่ายังไม่เห็นฟอง สบู่ก็ตาม

คงต้องระมัดระวัง ไม่ประมาทไว้ก่อนจะดีกว่า


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ดร.โกร่ง มองดัชนี ตลาดทุน ไม่ประมาทไว้ก่อน จะดีกว่า

view