สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เศรษฐกิจถดถอยปมศึกดอกเบี้ยรอบใหม่

จาก โพสต์ทูเดย์

เศรษฐกิจถดถอยปมศึกดอกเบี้ยรอบใหม่

เศรษฐกิจถดถอยปมศึกดอกเบี้ยรอบใหม่

โดย...ชลลดา อิงศรีสว่าง

การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปลายไตรมาส 2 เป็นต้นมา เป็นเหมือนฝันร้ายของรัฐบาล เอกชน และประชาชน ที่จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจหดตัวกันทั่วหน้า

สิ่งที่รัฐบาลรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็คือ เรียกประชุมเชิงปฏิบัติการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาให้ข้อมูลและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา แม้จะยังไม่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลก็มีนโยบายเดิมๆ ที่ใช้อยู่ที่ยังสามารถพยุงให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ นั่นคือ การไขก๊อกการดำเนินนโยบายการคลังให้เข้มแข็งในการเบิกจ่ายงบประมาณที่ค้าง ท่อ เร่งรัดให้นำเงินออกมาใช้ให้รวดเร็วขึ้น

ทางด้านนโยบายการเงิน แน่นอนว่ารัฐบาลต้องการให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เพื่อประคองบรรยากาศการบริโภคในประเทศให้ดำเนินต่อไป แต่ความผันผวนของการไหลเข้าและออกของเงินทุนต่างชาติที่จะส่งผลต่อค่าเงิน บาท ทำให้การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยทำได้ไม่ง่าย

แต่ทว่า กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง กล่าวว่า “ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็บอกว่าอย่ากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่นักวิเคราะห์วิจารณ์ก็บอกว่า ถ้าแผ่วแล้วไม่กระตุ้นเศรษฐกิจต่อหรือ ถ้ากลัวจะแผ่วก็ลดดอกเบี้ยอีกสิ บางทีก็มองเห็นแต่คนอื่น แต่ไม่มองเห็นตัวเอง”

นั่นแสดงให้เห็นถึงการอยากเห็นดอกเบี้ยเป็นไปในทิศทางใด แต่ทาง ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงว่า การที่ กนง.ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ก็เพราะเห็นว่าเป็นระดับที่ผ่อนคลาย และเหมาะสมกับเศรษฐกิจในปัจจุบันแล้ว

ทาง กนง.ยืนยันว่า พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ตลอดเวลา หากสภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ ธปท.เป็นห่วง คือ การไหลออกของเงินที่มาเร็วไปเร็ว หลังภาวะเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มฟื้นตัวจนธนาคารกลางสหรัฐตั้งเป้าจะเลิกใช้ นโยบายผ่อนคลายทางการเงินในเชิงปริมาณ (คิวอี)

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ได้ออกรายงานเตือนว่า จะเกิดสภาวะทุนไหลออกจากภูมิภาคเศรษฐกิจเกิดใหม่ ท่ามกลางนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ถูกนำมาใช้เพื่อสกัดทุนไหลเข้าก่อนหน้า นี้ จะกลายเป็นปัญหาที่เร่งให้เงินไหลออกมากยิ่งขึ้น

การที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างพรวดพราด และพร้อมที่จะแข็งค่าในทันที หากมีเงินไหลกลับเข้ามา ทำให้ ธปท.ไม่แน่ใจว่าการกดดอกเบี้ยให้ต่ำจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ การที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง เสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสีย ธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายต่างชะลอการปล่อยกู้ตามไปด้วย ดอกเบี้ยน่าจะลดลง แต่ดอกเบี้ยในตลาดเงินก็ยังไม่ลง แถมธนาคารพาณิชย์ยังคงขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้น ในรูปแบบเงินฝากพิเศษไม่หยุด

แถมดอกเบี้ยที่ลดลง อาจจะไล่เงินฝากออกจากระบบธนาคาร ไปสร้างหนี้ครัวเรือนให้เบ่งบานขึ้นอีกก็เป็นได้

ทางด้านเงินเฟ้อ แม้ 6 เดือนแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7% เทียบกับปีก่อนที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% และเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาสินค้าจะไม่เพิ่มขึ้น เพราะราคาสินค้าได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว

จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ระบุว่า ราคาสินค้าที่พาเหรดราคา โดยเฉพาะสินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น 1025% จากเดือน ก.ย. 2554 จนถึงปัจจุบัน

ทั้งราคาผักสดเพิ่มขึ้น 25.8% ราคาผลไม้สดเพิ่มขึ้น 16.3% ราคาอาหารบริโภคในบ้านสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 5.4% ราคาไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 19.9% ราคาน้ำประปาเพิ่มขึ้น 12% ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 14.7% ราคายาสูบเพิ่มขึ้น 12.8% และราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 3.8%

เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้ ธปท.ยังไม่อาจไว้วางใจที่จะผ่อนคลายนโยบายดอกเบี้ยได้ ถึงเงินเฟ้อจะเกิดจากต้นทุนดัน (Cost Push) ไม่ได้เกิดจากความต้องการบริโภคสินค้ามากขึ้น (Demand Pull) แต่เงินเฟ้อก็คือเงินเฟ้อ ยังบั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาว

แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสที่ดอกเบี้ยในประเทศจะลดต่ำลงกว่าที่เป็นอยู่นี้ได้

การที่ ธปท.จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยตามก็มีหากตัวเลขการขยายตัวของสิน เชื่อในระบบธนาคารไม่ขยายตัว เงินเฟ้อขยายตัวติดลบ นั่นคือสัญญาณของเศรษฐกิจถดถอย ซึ่ง ธปท.จะต้องผ่อนนโยบายการเงินแน่นอน

แต่หากดูจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยยังเป็นแค่การชะลอตัว แต่ยังไม่ถึงขั้นถดถอย จึงยังไม่ใช่เวลาที่ดีที่จะลดดอกเบี้ย

บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ดอกเบี้ยนโยบายช่วงที่เหลือของปีนี้ มีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ 0.250.5% ตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นความแตกต่างของดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ดอกเบี้ยระยะสั้นปรับลดลง

แต่หากมองในระยะ 12 ปีข้างหน้าแล้ว การลงทุนที่เพิ่มขึ้นตามโครงการของรัฐบาล เช่น การลงทุนโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และลงทุนในโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของ ประเทศอีก 2 ล้านล้านบาท หากการลงทุนโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นจริง จะทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลได้ กดดันให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นได้อีก

ดังนั้น การลดดอกเบี้ยลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ดูแล้วก็ไม่ง่าย แต่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส ปัญหาคือการมองปัญหาคนละด้าน และถือหลักการที่ต่างกัน ของคลังและ ธปท.จะเกิดขึ้นอีก

ศึกดอกเบี้ยยกต่อไปของคลังและ ธปท.จะไม่ได้เกิดขึ้นเพราะค่าเงินบาท แต่รอบนี้จะเกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ฝ่ายหนึ่งอยากให้ลดดอกเบี้ย แต่อีกฝ่ายหนึ่งยังคงต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ

แต่ด้วยเหตุผลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ลุกลามมายังไทย คาดว่ารอบนี้รัฐบาลน่าจะได้เปรียบ เพราะมีเหตุมีผลที่จะร้องขอให้ลดดอกเบี้ย หากจะไม่สนองตอบ ธปท.ก็ต้องตั้งการ์ดสูงและให้เหตุผลที่ฟังขึ้นกับฝ่ายการเมือง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เศรษฐกิจถดถอย ศึกดอกเบี้ย รอบใหม่

view