สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธีระชัย ยกบทความสื่อนอกชี้จำนำข้าวเหลว

ธีระชัย"ยกบทความสื่อนอกชี้จำนำข้าวเหลว

จาก โพสต์ทูเดย์

"ธีระชัย"ยกบทความสื่อนอกชี้จำนำข้าวเหลว

"ธีระชัย"ยกบทความThe Economist วิจารณ์นโยบายจำนำข้าว ชี้เป็นนโยบายที่ก่อภาระแก่ประเทศมากที่สุด

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว. ได้โพสต์บทความเรื่องสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยจากนิตยสาร The Economist ในเฟซบุ๊กส่วนตนตัว "Thirachai Phuvanatnaranubala โดยมีเนื้อหาดังนี้

ข้าวเป็นภูเขาเลากา The rice mountain

นิตยสาร The Economist ซึ่งเป็นนิตยสารกึ่งวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก(พิมพ์ที่ประเทศ อังกฤษ) ฉบับวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ได้วิจารณ์สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยใช้หัวข้อเรื่องข้างต้น และบรรยายนำไว้ว่า

“ถึงแม้คะแนนนิยมของรัฐบาลไทย จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ก็ตาม แต่รัฐบาลไทยก็ยังดื้อดึง ที่จะดำเนินนโยบายจำนำข้าวต่อไป ทั้งที่นโยบายนี้ เป็นนโยบายที่เลวที่สุด และเป็นนโยบายที่ก่อภาระแก่ประเทศไทยมากที่สุด ของรัฐบาลนี้ ”

คำแปลบทความ มีดังนี้

- เดือนสิงหาคมนี้ เป็นวันครบรอบปีที่สอง ของรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่วันครบรอบดังกล่าวนั้น กลับปรากฏว่า ไม่ใช่วันเวลาแห่งความสุขแต่อย่างใด เพราะมีผู้ที่ต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชุมนุมกัน ในถนนสาธารณะในกรุงเทพ ในวันที่ 7 สิงหาคม เพื่อประท้วงการออกกฎหมาย ที่อาจจะนำไปสู่การล้างผิดให้แก่ พ.ต.ท. ทักษิณ และอาจจะเปิดโอกาสให้ พ.ต.ท. ทักษิณ เดินทางกลับประเทศไทยโดยไม่ต้องรับโทษ แต่มาจนถึงวันนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ก็คงจะชินชาไปแล้ว กับเรื่องการประท้วงแบบนี้ รวมไปกับเรื่องข่าวลือเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหาร อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงมากกว่า ก็คือปัญหาและความไม่พอใจเกี่ยวกับการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ ทั้งที่เรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ น่าจะเป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน

- ในสัปดาห์นี้ มีผลโพลสำรวจความเห็นของประชาชน ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ที่แสดงผลว่า คะแนนนิยมของรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ตกต่ำลงไปถึงจุดต่ำสุด นับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล และนโยบายที่มีผลกระทบต่อรัฐบาลมากที่สุดนั้น ก็คือนโยบายจำนำข้าว ซึ่งเป็นนโยบายหลัก ที่ใช้ในการหาเสียง นโยบายนี้ เป็นแนวคิดของ พ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ที่กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ให้แก่รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ และนโยบายนี้ นับว่าเป็นหมัดเด็ดที่ช่วยให้พรรคชนะการเลือกตั้ง แต่มาบัดนี้ เมื่อนำนโยบายดังกล่าวมาใช้จริงๆ กลับทำให้กลายเป็นอันตราย ต่อฐานะการคลังของรัฐบาล และต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

- การรับจำนำข้าวนั้น สะท้อนวิธีคิดนโยบายประชานิยมของ พ.ต.ท. ทักษิณ ได้อย่างชัดเจนที่สุด แนวคิดนี้อาศัยหลักการว่า ประชากรไทยมีชาวนา อยู่ถึงประมาณสองในห้าส่วนของประชากรทั้งหมด ดังนั้น ในการหาเสียง นางสาวยิ่งลักษณ์จึงได้สัญญาแก่ประชาชนว่า หากได้รับเลือกตั้ง รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ จะซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาแบบไม่อั้น ในราคาที่สูงกว่าตลาดประมาณสองเท่า คือตันละ 15,000 บาท โดยหวังว่ามาตรการนี้ จะทำให้เม็ดเงินผ่านลงไปถึงมือชาวนา และจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ถึงแม้ที่ผ่านมา จะได้มีผู้ที่แสดงความเห็นคัดค้าน เตือนว่านโยบายนี้จะทำให้รัฐบาลมีภาระการเงินที่สูงเกินไปก็ตาม แต่พวกที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณนั้น ก็ยืนกรานว่า การที่รัฐบาลไทย เก็บกักข้าว ไม่ให้เข้าไปในตลาดโลกนั้น จะมีผลบีบ ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ในอนาคตเมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นไปแล้ว รัฐบาลไทยก็จะสามารถขายข้าวที่กักเก็บไว้ ออกไปในราคาที่แพงขึ้น และรัฐบาลก็จะได้กำไร

- แต่ผลปรากฏว่า ทฤษฎีที่แปลกประหลาดดังกล่าวนั้น กลับไม่ได้ผล สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือประเทศผู้ปลูกข้าวอื่นๆ ได้กรูกันเข้าตลาดโลก และตัดราคาข้าวไทย ทำให้ยอดส่งออกข้าวของไทย ลดลงไปถึง 1 ใน 3 จากเดิม (กล่าวคือยอดส่งออกในปีแรกที่เริ่มนโยบายนี้ ได้ลดไปถึง 4 ล้านตัน) ทำให้ประเทศอินเดียและเวียดนาม ได้แซงประเทศไทย ในการส่งออกข้าวในตลาดโลก และเนื่องจากการขายข้าวนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่หวังไว้ รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องรับภาระ ต้องเก็บสต๊อกข้าวเอาไว้ เป็นจำนวนกว่า 18 ล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก เพราะเท่ากับเกือบครึ่งหนึ่ง ของจำนวนข้าวที่มีการซื้อขายกันในตลาดโลกในแต่ละปีทีเดียว และปริมาณสต๊อกข้าวของรัฐบาลไทย ก็มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันๆ นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดภาระแก่รัฐบาลอย่างมาก โดยเฉพาะเพียงปีแรกนั้น ก็ทำให้รัฐบาลขาดทุนสูงถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์ (370,000 ล้านบาท) และหากนับรวมถึงปีที่สอง ภาระขาดทุนของรัฐบาล จะสูงขึ้นไปเป็น 15 พันล้านดอลลาร์ (450,000 ล้านบาท) หรือสูงถึงร้อยละ 4 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ทั้งนี้ การเก็บสต๊อคข้าวนั้น มีทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหาร และการขนส่ง รวมทั้งโกดังจัดเก็บก็มีไม่พอเพียง ต้องมีการเสียเงินลงทุนก่อสร้างเพิ่ม

- นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวล เกี่ยวกับคุณภาพของข้าวในสต๊อกของรัฐบาลอีกด้วย เพราะข้าวย่อมเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ แต่นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ว่าอาจมีข้าวที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานปกติ เข้ามาปะปนอยู่ด้วย โดยมีข่าวว่า มีการสมคบกันระหว่างพ่อค้ากับข้าราชการไทย ในการนำเข้าข้าวคุณภาพต่ำ จากประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์ เพื่อนำมาหากำไร จากราคาจำนำที่สูง ดังนั้น เนื่องจากข้าวไทยนั้น เน้นชูเรื่องของคุณภาพ ดังเช่นข้าวหอมมะลิ การปะปนข้าวคุณภาพต่ำดังกล่าว จึงจะมีผลกระทบต่อชื่อเสียง และต่อความเชื่อมั่นในข้าวไทยต่อไปอย่างแน่นอน

- เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้พยายามให้มีการประมูลขายข้าวในสต๊อกออกไปบางส่วน แต่ผลปรากฏว่า รัฐบาลไทยขายข้าวออกไป ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเดิมรัฐบาลตั้งเป้าไว้ ต้องการจะขายข้าวออกไปประมาณ 1 ล้านตัน แต่ปรากฏว่า สามารถขายออกไปจริง ได้เพียง 210,000 ตันเท่านั้น ปัญหาส่วนหนึ่ง อาจจะเกิดจากข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพ แต่ปัญหาหลักจริงๆ อาจจะเป็นจากการที่นโยบายนี้ เป็นนโยบายที่สร้างอุปสรรค ให้แก่รัฐบาลในตัวของมันเอง ดังมีผู้บริหารของ Riceland International ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกข้าวรายหนึ่ง (นายวิชัย ศรีประเสริฐ) อธิบายความคิด ในแง่มุมของผู้ซื้อทั่วๆ ไป เอาไว้ว่า ผู้ซื้อย่อมจะคิด ว่าจะไปเร่งรีบซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยกันทำไม เพราะในระยะต่อไป เมื่อสต๊อกล้นขึ้นมา รัฐบาลไทยก็จะต้องถูกสถานการณ์บังคับ ให้ต้องระบายขายข้าวออกไป ไม่ว่าราคาจะต่ำลงไปอีกเท่าใด เอาไว้รอเวลานั้น ค่อยซื้อ จะไม่ดีกว่าหรือ

- นโยบายนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่เนื่องจากเป็นนโยบายหลัก ที่พรรคได้ใช้นำในการหาเสียง นางสาวยิ่งลักษณ์จึงได้ประกาศที่จะดำเนินนโยบายนี้ต่อไป โดยที่ผ่านมา ได้พยายามปรับแต่งนโยบายนี้ในบางจุด เช่น ปรับลดราคารับซื้อลง จากตันละ 15,000 บาท เหลือ 13,500 บาท แต่พอชาวนาโวยวาย นางสาวยิ่งลักษณ์ก็กลับลำ และในขณะนี้ รัฐบาลไทยก็วิ่งพล่าน เพื่อพยายามขายข้าวให้แก่รัฐบาลต่างประเทศ แต่การขายแบบนี้ ก็ลดสต๊อกลงไปได้เพียงจิ๊บจ๊อยเท่านั้น ตัวอย่าง เช่นประเทศอิหร่านได้ซื้อข้าวไทยไปก็จริง แต่ก็ซื้อไปเพียง 250,000 ตันเท่านั้น

- ขณะนี้มีข่าวแทบทุกวัน เกี่ยวกับปัญหาการทุจริต และการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ในโครงการจำนำข้าว ซึ่งการเปิดเผยดังกล่าว ก็มีผลบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือการที่นักลงทุนในตลาดทุนสากล มีข้อกังวลเกี่ยวกับฐานะการคลังของประเทศไทยมากขึ้น เพราะหนี้สาธารณะมีแต่เพิ่มขึ้นๆ จนถึงขั้นที่สถาบันจัดอันดับประเทศ (มูดี้ส์) ได้ออกมาเตือนแล้ว ว่านโยบายจำนำข้าวนั้น มีความเสี่ยงที่จะกระทบ ต่อวินัยการเงินการคลังของประเทศไทย


อดีตขุนคลัง "ธีระชัย" ยกบทความ "ข้าวเป็นภูเขาเลากา" ชำแหละนโยบายที่เลวที่สุดของรัฐบาล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

อดีตขุนคลัง "ธีระชัย" ยกบทความ The Economist วิจารณ์นโยบายจำนำข้าว ชี้ เป็นนโยบายที่เลวที่สุด และก่อภาระแก่ประเทศมากที่สุด แต่รัฐบาลไทยก็ยังดื้อดึง ที่จะดำเนินนโยบายนี้ต่อไป พร้อมแจงที่มาของคำว่า The rice mountain ที่หมายถึงข้าวเป็นภูเขาเลากา
       
       นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์บทความเรื่องสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยจากนิตยสาร The Economist ในเฟซบุ๊กส่วนตนตัว "Thirachai Phuvanatnaranubala โดยมีเนื้อหาดังนี้
       
       ข้าวเป็นภูเขาเลากา The rice mountain
       
       นิตยสาร The Economist ซึ่งเป็นนิตยสารกึ่งวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก(พิมพ์ที่ประเทศ อังกฤษ) ฉบับวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ได้วิจารณ์สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยใช้หัวข้อเรื่องข้างต้น และบรรยายนำไว้ว่า
       
       “ถึงแม้คะแนนนิยมของรัฐบาลไทย จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ก็ตาม แต่รัฐบาลไทยก็ยังดื้อดึง ที่จะดำเนินนโยบายจำนำข้าวต่อไป ทั้งที่นโยบายนี้ เป็นนโยบายที่เลวที่สุด และเป็นนโยบายที่ก่อภาระแก่ประเทศไทยมากที่สุด ของรัฐบาลนี้ ”
       
       คำแปลบทความ มีดังนี้
       
       - เดือนสิงหาคมนี้ เป็นวันครบรอบปีที่สอง ของรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่วันครบรอบดังกล่าวนั้น กลับปรากฏว่า ไม่ใช่วันเวลาแห่งความสุขแต่อย่างใด เพราะมีผู้ที่ต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชุมนุมกัน ในถนนสาธารณะในกรุงเทพ ในวันที่ 7 สิงหาคม เพื่อประท้วงการออกกฎหมาย ที่อาจจะนำไปสู่การล้างผิดให้แก่ พ.ต.ท. ทักษิณ และอาจจะเปิดโอกาสให้ พ.ต.ท. ทักษิณ เดินทางกลับประเทศไทยโดยไม่ต้องรับโทษ แต่มาจนถึงวันนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ก็คงจะชินชาไปแล้ว กับเรื่องการประท้วงแบบนี้ รวมไปกับเรื่องข่าวลือเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหาร อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงมากกว่า ก็คือปัญหาและความไม่พอใจเกี่ยวกับการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ ทั้งที่เรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ น่าจะเป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน
       
       - ในสัปดาห์นี้ มีผลโพลสำรวจความเห็นของประชาชน ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ที่แสดงผลว่า คะแนนนิยมของรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ตกต่ำลงไปถึงจุดต่ำสุด นับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล และนโยบายที่มีผลกระทบต่อรัฐบาลมากที่สุดนั้น ก็คือนโยบายจำนำข้าว ซึ่งเป็นนโยบายหลัก ที่ใช้ในการหาเสียง นโยบายนี้ เป็นแนวคิดของ พ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ที่กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ให้แก่รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ และนโยบายนี้ นับว่าเป็นหมัดเด็ดที่ช่วยให้พรรคชนะการเลือกตั้ง แต่มาบัดนี้ เมื่อนำนโยบายดังกล่าวมาใช้จริงๆ กลับทำให้กลายเป็นอันตราย ต่อฐานะการคลังของรัฐบาล และต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
       
       - การรับจำนำข้าวนั้น สะท้อนวิธีคิดนโยบายประชานิยมของ พ.ต.ท. ทักษิณ ได้อย่างชัดเจนที่สุด แนวคิดนี้อาศัยหลักการว่า ประชากรไทยมีชาวนา อยู่ถึงประมาณสองในห้าส่วนของประชากรทั้งหมด ดังนั้น ในการหาเสียง นางสาวยิ่งลักษณ์จึงได้สัญญาแก่ประชาชนว่า หากได้รับเลือกตั้ง รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ จะซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาแบบไม่อั้น ในราคาที่สูงกว่าตลาดประมาณสองเท่า คือตันละ 15,000 บาท โดยหวังว่ามาตรการนี้ จะทำให้เม็ดเงินผ่านลงไปถึงมือชาวนา และจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ถึงแม้ที่ผ่านมา จะได้มีผู้ที่แสดงความเห็นคัดค้าน เตือนว่านโยบายนี้จะทำให้รัฐบาลมีภาระการเงินที่สูงเกินไปก็ตาม แต่พวกที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณนั้น ก็ยืนกรานว่า การที่รัฐบาลไทย เก็บกักข้าว ไม่ให้เข้าไปในตลาดโลกนั้น จะมีผลบีบ ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ในอนาคตเมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นไปแล้ว รัฐบาลไทยก็จะสามารถขายข้าวที่กักเก็บไว้ ออกไปในราคาที่แพงขึ้น และรัฐบาลก็จะได้กำไร
       
       - แต่ผลปรากฏว่า ทฤษฎีที่แปลกประหลาดดังกล่าวนั้น กลับไม่ได้ผล สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือประเทศผู้ปลูกข้าวอื่นๆ ได้กรูกันเข้าตลาดโลก และตัดราคาข้าวไทย ทำให้ยอดส่งออกข้าวของไทย ลดลงไปถึง 1 ใน 3 จากเดิม (กล่าวคือยอดส่งออกในปีแรกที่เริ่มนโยบายนี้ ได้ลดไปถึง 4 ล้านตัน) ทำให้ประเทศอินเดียและเวียดนาม ได้แซงประเทศไทย ในการส่งออกข้าวในตลาดโลก และเนื่องจากการขายข้าวนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่หวังไว้ รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องรับภาระ ต้องเก็บสต๊อกข้าวเอาไว้ เป็นจำนวนกว่า 18 ล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก เพราะเท่ากับเกือบครึ่งหนึ่ง ของจำนวนข้าวที่มีการซื้อขายกันในตลาดโลกในแต่ละปีทีเดียว และปริมาณสต๊อกข้าวของรัฐบาลไทย ก็มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันๆ นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดภาระแก่รัฐบาลอย่างมาก โดยเฉพาะเพียงปีแรกนั้น ก็ทำให้รัฐบาลขาดทุนสูงถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์ (370,000 ล้านบาท) และหากนับรวมถึงปีที่สอง ภาระขาดทุนของรัฐบาล จะสูงขึ้นไปเป็น 15 พันล้านดอลลาร์ (450,000 ล้านบาท) หรือสูงถึงร้อยละ 4 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ทั้งนี้ การเก็บสต๊อคข้าวนั้น มีทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหาร และการขนส่ง รวมทั้งโกดังจัดเก็บก็มีไม่พอเพียง ต้องมีการเสียเงินลงทุนก่อสร้างเพิ่ม
       
       - นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวล เกี่ยวกับคุณภาพของข้าวในสต๊อกของรัฐบาลอีกด้วย เพราะข้าวย่อมเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ แต่นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ว่าอาจมีข้าวที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานปกติ เข้ามาปะปนอยู่ด้วย โดยมีข่าวว่า มีการสมคบกันระหว่างพ่อค้ากับข้าราชการไทย ในการนำเข้าข้าวคุณภาพต่ำ จากประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์ เพื่อนำมาหากำไร จากราคาจำนำที่สูง ดังนั้น เนื่องจากข้าวไทยนั้น เน้นชูเรื่องของคุณภาพ ดังเช่นข้าวหอมมะลิ การปะปนข้าวคุณภาพต่ำดังกล่าว จึงจะมีผลกระทบต่อชื่อเสียง และต่อความเชื่อมั่นในข้าวไทยต่อไปอย่างแน่นอน
       
       - เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้พยายามให้มีการประมูลขายข้าวในสต๊อกออกไปบางส่วน แต่ผลปรากฏว่า รัฐบาลไทยขายข้าวออกไป ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเดิมรัฐบาลตั้งเป้าไว้ ต้องการจะขายข้าวออกไปประมาณ 1 ล้านตัน แต่ปรากฏว่า สามารถขายออกไปจริง ได้เพียง 210,000 ตันเท่านั้น ปัญหาส่วนหนึ่ง อาจจะเกิดจากข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพ แต่ปัญหาหลักจริงๆ อาจจะเป็นจากการที่นโยบายนี้ เป็นนโยบายที่สร้างอุปสรรค ให้แก่รัฐบาลในตัวของมันเอง ดังมีผู้บริหารของ Riceland International ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกข้าวรายหนึ่ง (นายวิชัย ศรีประเสริฐ) อธิบายความคิด ในแง่มุมของผู้ซื้อทั่วๆ ไป เอาไว้ว่า ผู้ซื้อย่อมจะคิด ว่าจะไปเร่งรีบซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยกันทำไม เพราะในระยะต่อไป เมื่อสต๊อกล้นขึ้นมา รัฐบาลไทยก็จะต้องถูกสถานการณ์บังคับ ให้ต้องระบายขายข้าวออกไป ไม่ว่าราคาจะต่ำลงไปอีกเท่าใด เอาไว้รอเวลานั้น ค่อยซื้อ จะไม่ดีกว่าหรือ
       
       - นโยบายนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่เนื่องจากเป็นนโยบายหลัก ที่พรรคได้ใช้นำในการหาเสียง นางสาวยิ่งลักษณ์จึงได้ประกาศที่จะดำเนินนโยบายนี้ต่อไป โดยที่ผ่านมา ได้พยายามปรับแต่งนโยบายนี้ในบางจุด เช่น ปรับลดราคารับซื้อลง จากตันละ 15,000 บาท เหลือ 13,500 บาท แต่พอชาวนาโวยวาย นางสาวยิ่งลักษณ์ก็กลับลำ และในขณะนี้ รัฐบาลไทยก็วิ่งพล่าน เพื่อพยายามขายข้าวให้แก่รัฐบาลต่างประเทศ แต่การขายแบบนี้ ก็ลดสต๊อกลงไปได้เพียงจิ๊บจ๊อยเท่านั้น ตัวอย่าง เช่นประเทศอิหร่านได้ซื้อข้าวไทยไปก็จริง แต่ก็ซื้อไปเพียง 250,000 ตันเท่านั้น
       
       - ขณะนี้มีข่าวแทบทุกวัน เกี่ยวกับปัญหาการทุจริต และการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ในโครงการจำนำข้าว ซึ่งการเปิดเผยดังกล่าว ก็มีผลบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือการที่นักลงทุนในตลาดทุนสากล มีข้อกังวลเกี่ยวกับฐานะการคลังของประเทศไทยมากขึ้น เพราะหนี้สาธารณะมีแต่เพิ่มขึ้นๆ จนถึงขั้นที่สถาบันจัดอันดับประเทศ (มูดี้ส์) ได้ออกมาเตือนแล้ว ว่านโยบายจำนำข้าวนั้น มีความเสี่ยงที่จะกระทบ ต่อวินัยการเงินการคลังของประเทศไทย


'ธีระชัย'อ้างThe Economistวิจารณ์จำนำข้าว

อดีตรมว.คลัง"ธีระชัย"อ้างThe Economist วิจารณ์"จำนำข้าว"เป็นนโยบายที่เลวที่สุด ก่อภาระแก่ประเทศมากที่สุดของรัฐบาลนี้

เฟซบุ๊คนายธีรชัย ภูวนารถนรานุบาล--19ส.ค.2556--นายธีรชัย ภูวนารถนรานุบาล อดีตรมว.คลังคนเเรกของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัววันนี้ว่า" ข้าวเป็นภูเขาเลากา The rice mountain

นิตยสาร The Economist ซึ่งเป็นนิตยสารกึ่งวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก(พิมพ์ที่ประเทศอังกฤษ) ฉบับวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ได้วิจารณ์สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยใช้หัวข้อเรื่องข้างต้น และบรรยายนำไว้ว่า“ ถึงแม้คะแนนนิยมของรัฐบาลไทย จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ก็ตาม แต่รัฐบาลไทยก็ยังดื้อดึง ที่จะดำเนินนโยบายจำนำข้าวต่อไป ทั้งที่นโยบายนี้ เป็นนโยบายที่เลวที่สุด และเป็นนโยบายที่ก่อภาระแก่ประเทศไทยมากที่สุด ของรัฐบาลนี้ ”

คำแปลบทความ มีดังนี้

เดือนสิงหาคมนี้ เป็นวันครบรอบปีที่สอง ของรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่วันครบรอบดังกล่าวนั้น กลับปรากฏว่า ไม่ใช่วันเวลาแห่งความสุขแต่อย่างใด เพราะมีผู้ที่ต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชุมนุมกัน ในถนนสาธารณะในกรุงเทพ ในวันที่ 7 สิงหาคม เพื่อประท้วงการออกกฎหมาย ที่อาจจะนำไปสู่การล้างผิดให้แก่ พ.ต.ท. ทักษิณ และอาจจะเปิดโอกาสให้ พ.ต.ท. ทักษิณ เดินทางกลับประเทศไทยโดยไม่ต้องรับโทษ แต่มาจนถึงวันนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ก็คงจะชินชาไปแล้ว กับเรื่องการประท้วงแบบนี้ รวมไปกับเรื่องข่าวลือเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหาร อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงมากกว่า ก็คือปัญหาและความไม่พอใจเกี่ยวกับการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ ทั้งที่เรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ น่าจะเป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน

ในสัปดาห์นี้ มีผลโพลสำรวจความเห็นของประชาชน ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ที่แสดงผลว่า คะแนนนิยมของรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ตกต่ำลงไปถึงจุดต่ำสุด นับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล และนโยบายที่มีผลกระทบต่อรัฐบาลมากที่สุดนั้น ก็คือนโยบายจำนำข้าว ซึ่งเป็นนโยบายหลัก ที่ใช้ในการหาเสียง นโยบายนี้ เป็นแนวคิดของ พ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ที่กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ให้แก่รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ และนโยบายนี้ นับว่าเป็นหมัดเด็ดที่ช่วยให้พรรคชนะการเลือกตั้ง แต่มาบัดนี้ เมื่อนำนโยบายดังกล่าวมาใช้จริงๆ กลับทำให้กลายเป็นอันตราย ต่อฐานะการคลังของรัฐบาล และต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

การรับจำนำข้าวนั้น สะท้อนวิธีคิดนโยบายประชานิยมของ พ.ต.ท. ทักษิณ ได้อย่างชัดเจนที่สุด แนวคิดนี้อาศัยหลักการว่า ประชากรไทยมีชาวนา อยู่ถึงประมาณสองในห้าส่วนของประชากรทั้งหมด ดังนั้น ในการหาเสียง นางสาวยิ่งลักษณ์จึงได้สัญญาแก่ประชาชนว่า หากได้รับเลือกตั้ง รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ จะซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาแบบไม่อั้น ในราคาที่สูงกว่าตลาดประมาณสองเท่า คือตันละ 15,000 บาท โดยหวังว่ามาตรการนี้ จะทำให้เม็ดเงินผ่านลงไปถึงมือชาวนา และจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ถึงแม้ที่ผ่านมา จะได้มีผู้ที่แสดงความเห็นคัดค้าน เตือนว่านโยบายนี้จะทำให้รัฐบาลมีภาระการเงินที่สูงเกินไปก็ตาม แต่พวกที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณนั้น ก็ยืนกรานว่า การที่รัฐบาลไทย เก็บกักข้าว ไม่ให้เข้าไปในตลาดโลกนั้น จะมีผลบีบ ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ในอนาคตเมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นไปแล้ว รัฐบาลไทยก็จะสามารถขายข้าวที่กักเก็บไว้ ออกไปในราคาที่แพงขึ้น และรัฐบาลก็จะได้กำไร

แต่ผลปรากฏว่า ทฤษฎีที่แปลกประหลาดดังกล่าวนั้น กลับไม่ได้ผล สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือประเทศผู้ปลูกข้าวอื่นๆ ได้กรูกันเข้าตลาดโลก และตัดราคาข้าวไทย ทำให้ยอดส่งออกข้าวของไทย ลดลงไปถึง 1 ใน 3 จากเดิม (กล่าวคือยอดส่งออกในปีแรกที่เริ่มนโยบายนี้ ได้ลดไปถึง 4 ล้านตัน) ทำให้ประเทศอินเดียและเวียดนาม ได้แซงประเทศไทย ในการส่งออกข้าวในตลาดโลก และเนื่องจากการขายข้าวนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่หวังไว้ รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องรับภาระ ต้องเก็บสต๊อกข้าวเอาไว้ เป็นจำนวนกว่า 18 ล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก เพราะเท่ากับเกือบครึ่งหนึ่ง ของจำนวนข้าวที่มีการซื้อขายกันในตลาดโลกในแต่ละปีทีเดียว และปริมาณสต๊อกข้าวของรัฐบาลไทย ก็มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันๆ นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดภาระแก่รัฐบาลอย่างมาก โดยเฉพาะเพียงปีแรกนั้น ก็ทำให้รัฐบาลขาดทุนสูงถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์ (370,000 ล้านบาท) และหากนับรวมถึงปีที่สอง ภาระขาดทุนของรัฐบาล จะสูงขึ้นไปเป็น 15 พันล้านดอลลาร์ (450,000 ล้านบาท) หรือสูงถึงร้อยละ 4 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ทั้งนี้ การเก็บสต๊อคข้าวนั้น มีทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหาร และการขนส่ง รวมทั้งโกดังจัดเก็บก็มีไม่พอเพียง ต้องมีการเสียเงินลงทุนก่อสร้างเพิ่ม

นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวล เกี่ยวกับคุณภาพของข้าวในสต๊อกของรัฐบาลอีกด้วย เพราะข้าวย่อมเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ แต่นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ว่าอาจมีข้าวที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานปกติ เข้ามาปะปนอยู่ด้วย โดยมีข่าวว่า มีการสมคบกันระหว่างพ่อค้ากับข้าราชการไทย ในการนำเข้าข้าวคุณภาพต่ำ จากประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์ เพื่อนำมาหากำไร จากราคาจำนำที่สูง ดังนั้น เนื่องจากข้าวไทยนั้น เน้นชูเรื่องของคุณภาพ ดังเช่นข้าวหอมมะลิ การปะปนข้าวคุณภาพต่ำดังกล่าว จึงจะมีผลกระทบต่อชื่อเสียง และต่อความเชื่อมั่นในข้าวไทยต่อไปอย่างแน่นอน

เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้พยายามให้มีการประมูลขายข้าวในสต๊อกออกไปบางส่วน แต่ผลปรากฏว่า รัฐบาลไทยขายข้าวออกไป ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเดิมรัฐบาลตั้งเป้าไว้ ต้องการจะขายข้าวออกไปประมาณ 1 ล้านตัน แต่ปรากฏว่า สามารถขายออกไปจริง ได้เพียง 210,000 ตันเท่านั้น ปัญหาส่วนหนึ่ง อาจจะเกิดจากข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพ แต่ปัญหาหลักจริงๆ อาจจะเป็นจากการที่นโยบายนี้ เป็นนโยบายที่สร้างอุปสรรค ให้แก่รัฐบาลในตัวของมันเอง ดังมีผู้บริหารของ Riceland International ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกข้าวรายหนึ่ง (นายวิชัย ศรีประเสริฐ) อธิบายความคิด ในแง่มุมของผู้ซื้อทั่วๆ ไป เอาไว้ว่า ผู้ซื้อย่อมจะคิด ว่าจะไปเร่งรีบซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยกันทำไม เพราะในระยะต่อไป เมื่อสต๊อกล้นขึ้นมา รัฐบาลไทยก็จะต้องถูกสถานการณ์บังคับ ให้ต้องระบายขายข้าวออกไป ไม่ว่าราคาจะต่ำลงไปอีกเท่าใด เอาไว้รอเวลานั้น ค่อยซื้อ จะไม่ดีกว่าหรือ

นโยบายนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่เนื่องจากเป็นนโยบายหลัก ที่พรรคได้ใช้นำในการหาเสียง นางสาวยิ่งลักษณ์จึงได้ประกาศที่จะดำเนินนโยบายนี้ต่อไป โดยที่ผ่านมา ได้พยายามปรับแต่งนโยบายนี้ในบางจุด เช่น ปรับลดราคารับซื้อลง จากตันละ 15,000 บาท เหลือ 13,500 บาท แต่พอชาวนาโวยวาย นางสาวยิ่งลักษณ์ก็กลับลำ และในขณะนี้ รัฐบาลไทยก็วิ่งพล่าน เพื่อพยายามขายข้าวให้แก่รัฐบาลต่างประเทศ แต่การขายแบบนี้ ก็ลดสต๊อกลงไปได้เพียงจิ๊บจ๊อยเท่านั้น ตัวอย่าง เช่นประเทศอิหร่านได้ซื้อข้าวไทยไปก็จริง แต่ก็ซื้อไปเพียง 250,000 ตันเท่านั้น

ขณะนี้มีข่าวแทบทุกวัน เกี่ยวกับปัญหาการทุจริต และการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ในโครงการจำนำข้าว ซึ่งการเปิดเผยดังกล่าว ก็มีผลบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือการที่นักลงทุนในตลาดทุนสากล มีข้อกังวลเกี่ยวกับฐานะการคลังของประเทศไทยมากขึ้น เพราะหนี้สาธารณะมีแต่เพิ่มขึ้นๆ จนถึงขั้นที่สถาบันจัดอันดับประเทศ (มูดี้ส์) ได้ออกมาเตือนแล้ว ว่านโยบายจำนำข้าวนั้น มีความเสี่ยงที่จะกระทบ ต่อวินัยการเงินการคลังของประเทศไทย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธีระชัย ยกบทความ สื่อนอก จำนำข้าวเหลว

view