สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สภาป่วน! สมศักดิ์ สั่งลงมติเมินสมาชิกจ้อ งัดค้อนทุบ สั่ง ตร.จับดะ เจอฝ่ายค้านรุมไล่ขี้ข้าทักษิณ

สภาป่วน! “สมศักดิ์” สั่งลงมติเมินสมาชิกจ้อ งัดค้อนทุบ สั่ง ตร.จับดะ เจอฝ่ายค้านรุมไล่ขี้ข้าทักษิณ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       ประชุมร่วมรัฐสภาสุดมัน! “นิพิฏฐ์” ยันแปรญัตติรับหลักการไม่ครบองค์ประชุม จ่อยื่นศาล รธน.ตีความแน่ ขู่ ปธ.รัฐสภาไม่ส่งเรื่องเจอกันที่ศาล “สมศักดิ์” ขึ้นบัลลังก์เล่นบทโหดไม่ให้ 57 สมาชิกแปรญัตติต่อ ก่อนโอนอ่อนให้ได้แค่ฝั่งละ 2 คน ประชาธิปัตย์รุมฉะจำกัดสิทธิ เจ้าตัวฉุนสั่งลงมติ ลั่นรับผิดชอบเอง กดออดเรียกโหวต ได้มติขัดหลักการ เจอโห่ไล่ตลอดจนทนไม่ไหว ขุดอาวุธลับค้อนสมฉายาทุบ 3 โป๊ก สั่งตำรวจลากตัวพ้นที่ประชุม พร้อมตั้ง กก.สอบ ก่อนพัก 10 นาที 2 ส.ส.สาวกรี๊ด ตร.ชายจะแต๊ะอั๋ง ฝ่ายค้านรุมด่าขี้ข้าทักษิณ
       
       


       
       


       
       


       
       


       
       


       
       

      วันนี้ (20 ส.ค.) ที่รัฐสภา การประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มา ส.ว. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ยืนยันว่าการแปรญัตติในช่วงรับหลักการที่องค์ประชุมไม่ครบในวันที่ 4 เม.ย. ระหว่างการกำหนดวันแปรญัตติ และมีการนัดประชุมรับรองระยะเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าหากมีการส่งไปตีความศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับเป็นโมฆะ ทั้งนี้ ตนพร้อมสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 10 จะยื่นเรื่องตีความ โดยอาศัยช่องทางตามมาตรา 291 วรรค 7 ประกอบมาตรา 154, 150 และ 151 เพราะได้รับการยืนยันจากคนที่เขียนกฎหมายรัฐธรรมนูญ 50 ว่าทำได้ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าประธานรัฐสภาจะระงับไว้และไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ และจะต้องเจอกับตนที่ศาลอาญาแน่นอน
       
       มีรายงานว่า บรรยากาศการประชุมเริ่มตรึงเครียดเมื่อมีการเปลี่ยนตัวประธานที่ประชุม จากนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา มานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา โดยนายสมศักดิ์ ได้ตัดบทไม่อนุญาตให้สมาชิก 57 คนที่ขอแปรญัตติ แต่ถูกประธานกรรมาธิการวินิจฉัยว่าขัดต่อหลักการไปแล้วได้อภิปราย แต่จะอนุญาตให้อภิปรายได้ฝั่งละ 2 คนเท่านั้น เพราะเกรงว่าจะพูดกันทั้งวันทั้งคืนก็ไม่จบ แต่ถูกประท้วงจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์เพราะเป็นการกำจัดสิทธิของสมาชิก รัฐสภา และเห็นควรให้ทุกคนมีสิทธิพูด แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดลดละ ทำให้นายสมศักดิ์เริ่มโมโห และขอให้ลงมติเลย พร้อมกลับระบุว่า “ผมจำเป็นต้องใช้อำนาจประธานสั่งให้ลงมติ เป็นไงเป็นกัน เกิดอะไรขึ้นผมรับผิดชอบเอง”
       
       จากนั้นนายสมศักดิ์ได้กดสัญญาณให้สมาชิกเข้าห้องประชุมเพื่อลงมติ ท่ามกล่างเสียงโห่ ที่แสดงความไม่พอใจจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติ 339 เสียงเห็นว่าขัดหลักการ ขณะที่ 15 เสียงเห็นว่าไม่ขัด
       
       ต่อมานายสามารถได้อ่านรายละเอียดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการพิจารณา ของกรรมาธิการแล้วเสร็จ แต่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งเสียงโห่ประท้วงเป็นระยะ แม้นายสมศักดิ์จะขอร้องให้รักษามารยาทโดยอ้างว่าประชาชนกำลังดูการถ่ายทอด อยู่ และให้ทุกคนโปรดอยู่ในความสงบเพราะที่นี่คือรัฐสภา แต่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ยังคงพากันลุกขึ้นส่งเสียงโห่โดยไม่สนใจต่อคำขอร้องของ นายสมศักดิ์ จนทำให้นายสมศักดิ์ต้องได้เดินไปหยิบค้อนออกมา โดยบอกว่าตนไม่เคยใช้เลย พร้อมกับเคาะ 3 ที จากนั้นได้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภามาคุมตัว ส.ส.ที่ไม่ยอมนั่งอย่างไม่ต้องรีรอ ถ้าไม่ปฏิบัติตนถือว่าขัดต่อคำสั่งผู้บังคับบัญชา ตนจะตั้งคณะกรรมการสอบสวน
       
       ทั้งนี้ บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างสับสนวุ่นวาย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา พยายามเข้าไปควบคุมตัว ส.ส.ตามคำสั่งของนายสมศักดิ์ โดยเดินไปล้อม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี นายวัชระ เพชรทอง ที่พากันยืนตะโกนว่า “สภาทาส”, “ขี้ข้าทักษิณ” ซึ่งขณะนั้น น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช และ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคประชาธิปัตย์ ได้กรีดร้องเพราะตกใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาชายพยายามจะเข้ามาจับตัว จนเมื่อสถานการณ์เริ่มบานปลาย ทำให้นายสมศักดิ์ได้สั่งพักการประชุม 10 นาที โดยระบุว่าเพื่อให้สมาชิกได้สงบสติอารมณ์
       
       อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการขว้างข้อบังคับการประชุมด้วย นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี ปชป. ชูป้าย “สภาทาส” เดินรอบห้องประชุมพร้อมกับไปยืนประท้วงหน้านายสมศักดิ์ ทั้งนี้มีการปะทะกันระหว่างตำรวจสภาและเหล่าบรรดา ส.ส.โดยได้มีการผลักกันไปมา ซึ่งมีรายงานว่าตำรวจได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 1 นาย
       
       ล่าสุดมีรายงานว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่หน่วยปราบจลาจลมาประจำที่หน้ารัฐสภา ประมาณ 1 กองร้อย หลังจากเกิดความวุ่นวายในสภา
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเปิดการประชุมอีกครั้ง เวลา 14.30 น. ได้มีการเปลี่ยนตัวนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา มาทำหน้าที่ประธานแทน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา โดยเริมพิจารณาในมาตรา 1 ชื่อร่างกฎหมาย และคำปรารถ ส.ส. พรรคฝ่ายค้านยังคงตะโกนประท้วงอย่างต่อเนื่อง โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าว่า บรรยากาศการประชุมในวันนี้ไม่พร้อม เพราะการทำหน้าที่ของ 2 ประธานวินิจฉัยคนละมาตรฐาน โดยนายนิคม บอกว่าเปิดโอกาสให้ผู้ที่แปรญัตติที่ทองว่าขัดหลักการจำนวน 57 คน แต่นายสมศักดิ์ ไม่อนุญาตดังนั้นหลังจากนี้จะทำอย่างไร เพราะนายสมศักดิ์ ไม่เคารพคำวินิจฉัยของท่านประธาน และการกระทำของนายสมศักดิ์ทำเหมือนพวกตนเป็นผู้ร้าย ประพฤติไม่ชอบต่อบ้านเมืองทำไมนายสมศักดิ์ทุบค้อนถึง 3 ครั้งแต่ไม่ได้ผล เพราะเป็นการทำหน้าที่ไม่เป็นธรรมและเป็นค้อนปลอม ต่อไปจากทำหน้าที่ได้อย่างไร
       
       นายนิคม ชี้แจงว่า ขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณา เข้าวาระ 2 ไปแล้ว ตนไม่สามารถย้อนไปวินิจฉัยเรื่องเดิมได้ นอกจากที่ประชุมจะมีมติยกเลิกมติดังกล่าวว่า ร่วมทั้งข้อบังคับการประชุมด้วย จากนั้นนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดประเด็นประท้วงกรณีการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาในห้องประชุมกระชาก แขนนายเทิดพงษ์ ไชยนันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์อายุกว่า 70 ปี และอุ้มนายนิพิฎฐ์ด้วย ขณะที่นายนิพิฎฐ์ อภิปรายว่า นายสมศักดิ์ ได้ประสาน บชน. เพื่อขอตำรวจปราบจลาจลเข้ามาในสภาฯ ขอให้นายสมศักดิ์ออกคำสั่งถอนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บริเวณด้านหน้ารัฐสภา เพราะเป็นการคุกคามข่มขู่การทำหน้าที่สมาชิกรัฐสภา จึงขอให้พักการประชุมจนกว่าตำรวจปราบจลาจลจะกลับไป ท่ามกลางสียงตะโกนสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์ว่าข่มขู่คุกคามสมาชิกรัฐสภา ที่นี่ไม่ใช่รัฐตำรวจ พร้อมกับมีเสียงนกหวีดจากฝั่ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ จนทำให้เมื่อเวลา 15.20 น. นายนิคม ต้องสั่งพักการประชุม 10 นาที เพื่อตรวจสอบว่ามีตำรวจดังกล่าวจริงหรือไม่
       
       ต่อมาเวลา 15.29 น. ได้มีการประชุมรัฐสภาต่อ นายนิคมได้แจ้งว่าขอให้ดำเนินการประชุมต่อไปได้อย่างสบายใจเพราะขณะนี้เจ้า หน้าที่ตำรวจได้กลับไปหมดแล้ว จากนั้นได้พยายามที่จะดันให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินต่อไป แต่ส.ส.ฝ่ายค้านก็ยังคงประท้วงต่อไป นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประท้วงนายนิคมว่า นายสมศักดิ์ได้กล่าวว่า เป็นอะไรเป็นกัน ซึ่งเป็นคำพูดที่ท้าทาย และไม่เหมาะสม นอกจากนี้การนำตำรวจปราบจราจลมาที่หน้ารัฐสภาถือเป็นการคุกคามการทำหน้าที่ ของฝ่ายค้าน นายนิคมพยายามปฏิเสธว่าไม่มีตำรวจปราบจราจลอยู่ที่หน้ารัฐสภา นายเทพไทโต้ว่าอยู่ในสวนสัตว์เขาดิน เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วงถึงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของสมาชิกรัฐสภา ขณะที่นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย อ้างว่าไม่มีตำรวจปราบจราจลบุกเข้าไปในรัฐสภา และกลับไปแล้ว พร้อมกับแสดงความไม่เห็นด้วยกับการนำตำรวจบีบในรัฐสภา นายนิคมให้วิปทั้งสองฝ่ายไปหารือกันอีกครั้ง
       
       นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเรียกร้องให้ผู้ที่สั่งให้ตำรวจปราบจราจลเข้ามาที่รัฐสภาออกมารับผิด ชอบ เนื่องจากขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 131 ตำรวจจะจับ ส.ส.ยังไม่ได้ ซึ่งตนจะยื่นถอดถอนและดำเนินคดีอาญา ขณะที่ รท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ประท้วงนายฉลอง กล่าวหาว่าทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียหาย และอ้างว่าที่ตำรวจปราบจราจลมาเพื่อดูแลความสบเรียบร้อย ซึ่งตำรวจรัฐสภาถูก ส.ส. ชกหน้าและบีบคอ เพื่อความเรียบร้อยทางสภาฯ จึงมีการประสาน จึงขอความเป็นธรรม ส่วน น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้กล่าวประท้วงว่า อย่าแสดงพฤติกรรมให้ผู้ชมทางบ้าน ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรู้สึกว่าไม่มีความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่มีตำรวจเข้ามาคุ้มกันพวกเรา จึงขอให้มีตำรวจคุ้มกันตนและ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล
       
       นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส.ส.ที่ไปชกตำรวจ ในภาพตนถูกตำรวจ 8 คนรุม ถ้าใครจะแจ้งความตน ตนจะแจ้งความกลับข้อหาแจ้งความเท็จ ซึ่งมี ส.ส.บางคนถ่ายวีดีโอคลิป ตนถามว่าเกิดอะไรขึ้นที่ประธานเอาค้อนมาทุบ 3-4 ครั้ง ตนบอกเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเป็นเรื่องในสภา ตำรวจกล่าวว่าขอเถอะครับ จำเป็นต้องทำเพราะถูกตั้งกรรมการสอบ ตนบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่กลัว ส่วนนางนาถยา เบญจศิริวรรณ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ประท้วงประธานว่าไม่เป็นกลาง ทุกคนในสภานี้เท่าเทียมกัน ตนถามว่าใครสั่งการให้ตำรวจมาปฏิบัติการในสภาฯ และผู้ประท้วงกล่าวว่าชะนีโหยหวนช่วยถอนคำพูด ในสภาผู้แทนฯ แห่งนี้ไม่ได้ใช้ความสวย แต่ใช้สติและปัญญา ความสวยไม่ใช่ว่าจะอภัยได้ทุกเรื่อง ขณะที่ น.ส.ขัตติยา กล่าวว่า ตนยังเด็กกว่า ใสกว่าคงต้องสู้กัน ส่วนที่จะให้ถอนคำพูดนั้น ตนไม่ได้ว่าใครโดยเฉพาะ แต่มีเสียงโหยหวน นึกว่ามาทำงานผิดที่ ตนจึงไม่ถอนคำพูด ทั้งนี้ นายนิคมได้สั่งให้ถอนคำพูด และไม่ให้ปรากฎในรายงานการประชุม น.ส.ขัตติยาจึงยอมถอนคำพูด
       
       น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงกล่าวว่าการทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง ใครสวยกว่าเลือกคนนั้น ตนติดใจว่าตั้งแต่นายสมศักดิ์มาถึงนายนิคม เป็นประธานที่ใช้ไม่ได้ กฎระเบียบข้อบังคับใช้ไม่ได้แล้วเพราะไม่เป็นกลาง และการสั่งตำรวจจับ ส.ส. กลับจับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำอะไร ซึ่งการสั่งการอะไรให้มีสติ ไม่ใช้ใช้อารมณ์แล้วใช้คนอื่นมากวาดต้อน อีกทั้งต้องหาคนที่สั่งตำรวจเข้ามาด้วย ซึ่งนายนิคมได้กล่าวว่าประธานจะชี้แจง
       
       นายสมศักดิ์กล่าวว่า ในช่วงที่มีเหตุการณ์วุ่นวาย ตนได้เชิญตำรวจรัฐสภาขึ้นมาที่ห้องประชุม ทำให้ไม่มีตำรวจรัฐสภาเข้ามาดูแลความเรียบร้อยรอบนอกบริเวณอาคารรัฐสภาทั้ง หมด ผอ.สำนักรักษาความปลอดภัยของสภาฯ รายงานว่าได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ประสานไปที่ตำรวจเพื่อดูแลแทนตำรวจรัฐสภา ถือว่าใช้ดุลยพินิจโดยตรงถูกต้องแล้ว แค่มาดูแลรอบนอก ซึ่งเป็นการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นเอง
       
       นายพุทธิพงศ์ ปุณรกันต์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วงโดยเรียกร้องให้เปิดวีดีโอคลิป นายนิคมพยายามตัดบทให้นายสมศักดิ์อนุญาตจึงค่อยนำมาฉาย ต่อมานายฉลองกล่าวว่า การพูดคำว่าเอาตำรวจมาบีบตนได้พูดผิดไป แต่ทางซีกฝ่ายค้านที่กล่าวว่าเป็นตำรวจปราบจราจลไม่จริง เป็นตำรวจนครบาล 50 คน ประจำการที่สวนสัตว์ดุสิต เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย หวั่นเกรงว่าจะมีมือที่สาม
       
       ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการจะเปิดภาพคลิปเหตุการณ์ความวุ่นวายระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสมาชิก ฝ่ายค้านในสภามาเปิดในห้องประชุม แต่นายนิคมไม่อนุญาต ให้เปิดในห้องประชุม แต่ให้นำมามอบให้กับตนดูก่อน
       
       จากนั้นนายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส. นครศรีธรรมราช กล่าวว่านายสมศักดิ์จะปัดความรับผิดชอบโดยโยนไปให้ผอ.สำนักรักษาความ ปลอดภัยฯไม่ได้ เพราะเป็นผู้บริหาร จะต้องรับผิดชอบด้วย หากไม่ดำเนินการก็ไม่เหมาะสมมานั่งเก้าอี้ประธาน และขอให้นายสมศักดิ์ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าว
       
       จากนั้นนายนิคมได้พยายามตัดเข้าสู่การประชุมมาตรา 1 โดยให้นายเทพไท เสนพงษ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นผู้สงวนคำแปรญัตติ ได้อภิปราย แต่นายเทพไทกลับประท้วงเรื่องตำรวจต่อไป โดยได้โต้เถียงกับประธานจน นายนิคมระบุว่า หากนายเทพไทไม่ใช้สิทธิ์จะให้ข้ามให้นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ซึ่งเป็นผู้สงวนคำแปรญัตติ เป็นผู้อภิปราย แต่หากไม่อภิปรายตนก็จะสั่งให้ไปพิจารณามาตรา 3 เลย
       
       แต่เมื่อนายวัชระลุกขึ้นอภิปราย ยังคงช่วยเพื่อส.ส.ประชาธิปัตย์ประท้วงนายสมศักดิ์ ระบุว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในเขาดิน เสือ สิงห์ กระทิง แรด และนายกฯเดือดร้อน เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาตำรวจ และยืนยันว่านายสมศักดิ์ ทำหน้าที่ไม่ได้ต้องลาออกและเสนอให้พักการประชุม
       
       แม้นายนิคมพยายามจะปัดว่านายสมศักดิ์ ได้รับผิดชอบเบื้องต้นไปแล้ว และจะตั้งกรรมการตรวจสอบต่อไป แต่สถานการณ์ในห้องประชุมก็ยังคงวุ่นวาย เพราะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากได้ยืนประท้วง จนในที่สุดต้องจึงตัดสินใจพักการประชุม 15 นาที ซึ่งถือว่าเป็นการพักการประชุมเป็นรอบที่ 3 ของวันนี้
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       

ค้อนปลอม” จนมุม ปชป.รับผิดส่งตำรวจคุมหน้าสภาฯ แต่โยนเลขาฯ สั่ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ปชป.แฉคลิปเตรียมการส่งกำลังตำรวจคุมหน้าสภาฯ ล่วงหน้า ส.ว.จันทบุรี สะเออะเตือน “ชวน-อภิสิทธิ์” ดูแลลูกพรรค เจอเสียงโห่ก่อนถูกสั่งถอนคำพูด ทำแหลอ้างหวังดี “รังสิมา” บี้ “ค้อนปลอม” โชว์แมนยอมรับผิดแทนโยนบาปให้ลูกน้อง งัดข้อบังคับประชุมท้วง ผอ.กองฯ ไม่มีอำนาจสั่งการแทนประธาน สุดท้ายอ้อมแอ้มขอโทษก่อนโยนกลองให้เลขาฯ เป็นคนสั่ง
       
       วันนี้ (20 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยที่มาของ ส.ว.ภายหลังจากเกิดเหตุความวุ่นวายระหว่าง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จนเกิดเหตุวุ่นวายขึ้น และสั่งพักการประชุมไปแล้ว 3 รอบ เมื่อเวลา 17.23 น. เริ่มมีการประชุมอีกครั้ง นายสมศักดิ์ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้อนุญาตให้นายพุทธิพงษ์ ปุณกันต์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ให้เปิดคลิป เพื่อยืนยันว่ามีการเตรียมการนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อนหน้านี้ และมีการเรียกกำลังมาหน้ารัฐสภา และมีการนำตำรวจปราบจลาจล ซึ่งที่ไม่ใช่ตำรวจจรตามที่ประธานอ้าง โดยในคลิปเป็นเหตุการณ์การเตรียมกองกำลังเจ้าหน้าที่ โดยช่วงหนึ่งแสดงให้เห็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งก้มดูนาฬิกา พร้อมกับพูดว่า “2 โมงกว่าแล้วนะให้เราเตรียมพร้อม” ซึ่งเป็นการ ยืนยันว่ามีการเตรียมการล่วงหน้า และเพื่อความสบายใจตนจะมอบเรื่องให้คณะกรรมาธิการกิจการสภา
       
       ด้าน นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนได้ใช้ดุลพินิจไปแล้ว และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายจะมอบหมายให้คณะกรรมาธิการกิจการซึ่ง มีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่แล้ว จากนั้นได้อนุญาตให้ พรรคเพื่อไทยได้เปิดคลิปวิดีโอบ้างโดยอ้างเพื่อความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย โดย ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ขอกล่าวว่า ตนดูคลิปของฝ่ายค้านแล้วไม่เห็นมีอะไรตื่นเต้น จากนั้นได้เปิดคลิปเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภายกกำลังเข้ามาในห้อง ประชุมเพื่อนำตัว ส.ส.ที่ประท้วงออกไปตามคำสั่งของนายสมศักดิ์ จนนำไปสู่ความวุ่นวาย นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งคลิปที่จะมอบให้กับคณะกรรมาธิการกิจการสภาเพื่อให้ ตรวจสอบด้วย
       
       นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นอภิปรายว่า ตนอยู่สภามานานไม่เคยเห็น เป็นครั้งแรกที่สถานการณ์รุนแรงอย่างนี้ ถ้าทุกอย่างดำเนินไปตามขั้นตอน ทำนองคลองธรรมที่ควรเป็นก็จะไม่เกิดปัญหา แต่เป็นเพราะไม่ทำตามครรลองคลองธรรม มีการดำเนินการต่างๆ ไม่ตรงไปตรงมาจริง ทำให้เหตุการณ์สะสมเรื่อยมา เมื่อมีการบอกว่าการยื่นแปรญัตติของสมาชิกผิดหลักการก็ควรนำมาพิจารณาในสภา ให้ตัดสินกันไปไม่ได้ยากเย็น แต่พอแยกส่วนออกมาดำเนินการ คนที่ต้องการยืนยันว่าไม่ผิดก็อยากจะชี้แจง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนประธานทำให้ไม่มีโอกาสได้ชี้แจง และมีรวบรัดขอมติกันเลย ทำให้เกิดการขัดแย้ง เดินหน้าท่าเดียวทำไม่ได้ อย่าคิดว่ามีเสียงข้างมาก หรือประธานมีอำนาจสามารถทำได้
       
       นายสมศักดิ์ กล่าวขอบคุณนายเทอดพงษ์ และนับถือในความอาวุโส แต่ตนได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาไปดูตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องนี้ควรจบและดำเนินการตามระเบียบวาระต่อไปได้แล้ว เราใช้เวลาไป 8 ชั่วโมงแล้ว ตนขอเริ่มต้นนับหนึ่งเรื่องนี้ ขณะที่ นายมงคล ศรีคำแหง ส.ว.จันทบุรี ได้อภิปรายเห็นด้วยที่ควรจะร่วมกันนับหนึ่งใหม่ ส.ว.หลายคนไม่เคยเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น และเรียกร้องให้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยกันดูแลลูกพรรคของตนเองด้วย เมื่อมาถึงตรงนี้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ต่างพากันโห่ฮือขึ้นมาอีกครั้ง จนนายสมศักดิ์ได้ขอให้นายมงคลถอนคำพูดที่ก้าวล่วงไปถึงบุคคลทั้งสอง
       
       ด้าน นายมงคล กล่าวว่า ตนยอมถอน แต่ไม่ได้มีเจตนาต่อว่า เพียงแต่หวังดี และอยากรู้ว่าผู้หลักผู้ใหญ่ของพรรคไปหลบอยู่ไหนกันหมด ทำให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เกิดอาการไม่พอใจ จนนายสมศักดิ์ ต้องรีบขอให้ถอนคำพูดอีกครั้ง เพราะเชื่อว่าผู้ใหญ่ในพรรคดูแลกันดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแม้นายสมศักดิ์จะพยายามประนีประนอม เพื่อให้ฝ่ายค้านยอมยุติและเดินหน้าพิจารณากฎหมายต่อไป แต่ฝ่ายค้านก็ยังคงอภิปรายตำหนินายสมศักดิ์ต่อไป โดย น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายสมศักดิ์ กล่าวชื่นชม ผอ.กองรักษาความปลอดภัยว่าตัดสินใจแก้สถานการณ์ได้ดี แต่ตามข้อบังคับการประชุมสภา ผอ.กองรักษาความปลอดภัยไม่มีอำนาจสั่งงานแทนประธานรัฐสภา นอกจากเลขาธิการรัฐสภา
       
       “ดังนั้นอย่าโยนขี้ให้ ผอ.รับผิด ลูกผู้ชายต้องรับมาเลย แค่นี้คนก็ชื่นชม ว่าเป็นลูกผู้ชายจริง อย่างนี้ไม่สมควรนั่งเป็นประธานเลย และที่บอกว่าจะยื่นให้กรรมาธิการกิจการสภา แต่นี่เป็นการประชุมรัฐสภา ไม่ใช่ประชุม ส.ส.ดังนั้นต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณา ไม่ต้องดูอะไร ประธานผิดเต็มประตูอยู่แล้ว ยอมรับดีกว่าว่าท่านเป็นคนสั่ง วันนี้ไม่ตัดสินเด็ดขาด ต่อไปตำรวจสภาก็สามารถสั่งได้ ถ้าเป็นผู้บริหารที่ดีต้องยอมรับผิด ในฐานะเป็นลูกผู้ชาย ดิฉันจะให้อภัย” น.ส.รังสิมา กล่าว
       
       ด้าน นายสมศักดิ์ กล่าวว่าตนก็อยากจะยอมรับผิด แต่จนใจจริงๆ เพราะไม่รู้จะรับอย่างไรเพราะไม่ได้สั่งจริงๆ แต่ น.ส.รังสิมา กล่าวว่า ถ้านายสมศักดิ์เป็นผู้บริหารที่ดีจริง ควรยอมรับแทนลูกน้อง แค่กล่าวยอมรับในสภา จะเสียหายตรงไหน ทุกคนพร้อมให้อภัยอยู่แล้ว ในที่สุด นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากขัดใจ น.ส.รังสิมา เอาเป็นว่าตนยอมรับผิด และขอให้เข้าสู่วาระต่อไป และตนมีหนังสือคำสั่งเลขาธิการสภา ลงวันที่ 20 ส.ค.ให้ ผอ.กองรักษาความปลอดภัยดำเนินการประสานไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาหน้ารัฐสภา
       
       จากนั้นนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา พยายามตัดบทอีกครั้งให้เข้าสู่มาตรา 1 อีกครั้ง แต่สมาชิกทั้งสองฝ่ายยังคงโต้เถียงกันไปมาในประเด็นสิทธิของ 57 ส.ส.ที่เสนอขอแปรญัตติ
       
       กระทั่งเวลา 19.30 น. นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ยกขึ้นหารือในที่ประชุมสภาว่า ทราบมาว่าขณะนี้มีการลักลอบเล่นการพนันไฮโลของคนขับรถและผู้ติดตาม ส.ส.ที่บริเวณศาลาไทยที่ตั้งอยู่ระหว่างลานจอดรถอาคารรัฐสภา 1 และอาคารรัฐสภา 2 นอกจากนี้ยังมีการให้ใครมานั่งแทนเลขาธิการรัฐสภา ทั้งที่ไม่ใช่ ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่ามีการจับกลุ่มเล่นไฮโลของคนขับรถและผู้ติดตาม ส.ส. จริงอย่างโจ๋งครึม ไม่สนใจสายตาผู้คนที่เดินผ่านไปมา โดยมีการจอดรถของ ส.ส. มาจอดบนฟุตบาทปิดบังสายตา มีชายฉกรรจ์จับกลุ่มกว่า 20 คน มีการจ่ายเงินสดๆเป็นธนบัตรจริง
       
       นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวประท้วงว่า ประธานปล่อยให้ฝ่ายค้านเล่นละครอยู่ได้อย่างไร ทำให้นายบุญยอด ขอให้ถอนคำพูดว่าเล่นละคร เพราะเป็นเรื่องจริง โดยนายสมศักดิ์ได้ให้นายฉลองถอนคำพูดเพราะเป็นเรื่องจริง ในที่สุดนายฉลอง ก็ยอมถอนคำว่าเล่นละคร แต่ยังยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง พร้อมจะอภิปรายต่อ แต่นายสมศักดิ์ได้ปิดไมค์ และเห็นว่าเหตุการณ์จะลุกลาม จึง สั่งปิดประชุมครั้งที่ 4 เป็นเวลา 10 นาที ในเวลา 19.15 น.


สภาวุ่นต่อ “ค้อนปลอม”สั่งพักรอบที่ 5 ปชป.ตะโกนลั่น “ขี้ข้าแม้ว”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

       “สมศักดิ์” เข็น ร่างแก้ไข รธน.ไม่ไหว ต้องสั่งพักรอบที่ 5 เจอ ปชป.ป่วนหนักลุกฮือปิดล้อม ตะเพิด“ขี้ข้าแม้ว”ลงบัลลังก์ พร้อมเรียกหา “ยิ่งลักษณ์”อยู่ไหน ตำรวจส่งกำลังล้อมบัลลังก์ประธานฯ
      

      ผู้ สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ ส.ว.ว่า หลังจากที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาสั่งพักการประชุมและกลับมาเปิดประชุมมาอีกครั้งในเวลาประมาณ 19.50 น. ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. แม้จะล่วงเลยมาเกือบ 10 ชั่วโมง เพราะ ส.ส.ฝ่ายค้านยังคงประท้วงอย่างต่อเนื่อง ส่วนคนที่สงวนคำแปรญัติในมาตรา 1 ก็ไม่ยอมอภิปราย จนในที่สุดนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ตัดสินใจสั่งให้ผ่านมาตรา 1 ไปโดยไม่มีการลงมติ เพราะถือว่า ส.ส.ที่สงวนคำแปรญัตติไม่ติดใจ ทำให้นายเทพไท เสนพงษ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต้องเป็นผู้อภิปรายไม่ยอมให้ผ่านไปได้ โดยตะโกนว่า ตนยังติดใจที่จะอภิปรายในมาตรา 1 ประธานไม่มีสิทธิ์ตัดสิทธิ์ตน หากประธานจะเป็นขี้ข้าทักษิณก็เป็นไป แต่ตนไม่ยอม จะปิดปากได้อย่างไร ต้องลงมติมาตรา 1
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่การประชุมกำลังปั่นป่วนอยู่นั้น ได้มีการเรียกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเพื่อมาควบคุมสมาชิกอีกครั้ง ยิ่งทำให้บรรยากาศระอุมากขึ้น โดย ส.ส.ทั้งหมดของพรรคประชาธิปัตย์พากันลุกขึ้นยืน โดยบางส่วนได้มาล้อมบัลลังก์ของนายสมศักดิ์ พร้อมกับตะโกนด่านายสมศักดิ์ด้วยถ้อยคำที่เผ็ดร้อน อาทิ นายสมศักดิ์เป็นขี้ข้าทักษิณ เผด็จการ สภาทาส พร้อมกับมีการเป่านกหวีดตลอดเวลา
       
       นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ตะโกนให้ปิดประชุมไปเถอะ แล้วมาประชุมกันใหม่ เพราะตอนนี้เดินหน้าต่อไปไม่ได้แล้ว มีการเอากำลังมาล้อมแบบนี้ไม่ได้ ไม่สง่างาม นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ตะโกนเสริมว่า ประธานรับใช้ใคร ตอนนี้เป็นเรื่องจริงแล้วว่าประธานสภารับใช้ใคร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ไหน เห็นบอกว่าให้มาคุยกันในสภาแล้วทำไมไม่เห็นหน้า
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในที่ประชุมยากที่นายสมศักดิ์จะควบคุมได้ต่อไป จึงได้ตัดสินใจสั่งพักการประชุมอีกครั้งเป็นเวลา 10 นาที และเป็นการสั่งพักเป็นหนที่ 5 ล่าสุดได้มีการกลับมาประชุมอีกครั้ง โดยมีนายนิคม ไวรัชพานิช ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานการประชุม แต่เหตุการณ์ก็ยังเป็นไปด้วยความวุ่นวาย โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมายืนล้อมบัลลังก์ประธานรัฐสภาเอาไว้
       
       หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายตอบโต้กันไปมาจนกระทั่งเวลาประมาณ 20.50 น. นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอให้พักการประชุมเพื่อให้วิป 3 ฝ่ายไปหารือกันก่อน และกลับมาประชุมใหม่ ในวันพรุ่งนี้(21 ส.ค.) อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะพักการประชุมหรือไม่
       
       
       
       

ชมภาพบรรยากาศประชุมสภาป่วนหนัก

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

มื่อเวลาประมาณ 13.50 น. วันที่ 20 สิงหาคม ได้เกิดเหตุความวุ่นวายขึ้นระหว่าง การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มาของส.ว. โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้เรียก ตร.สภาฯ เข้ามาควบคุมตัว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์   ที่ลุกขึ้นโวยวายไม่รับมติ พร้อมประท้วงประธานรัฐสภา ที่ใช้อำนาจในการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ  ออกไปจากห้องประชุม

 



โดย เหตุการณ์ความวุ่นวายดังกล่าวเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้ามาควบคุมตัวส.ส.ประชาธิปัตย์และมีการขัดขืนกันเกิดขึ้นระหว่างนั้นได้มี เสียงกรีดร้ององผู้หญิงขึ้นมาอยู่เป็นระยะๆ เมื่อเห็นท่าไม่ดี และเกินการควบคุม  ประธานรัฐสภา ได้สั่งพักการประชุม เป็นเวลาทั้งหมด 10 นาที เมื่อเวลา 13.58 น.






ขณะที่ทวิตเตอร์ของผู้สื่อข่าวรัฐสภา @ นำเสนอภาพตำรวจที่ถูกลูกหลงเข้าข้างแก้มหลังจากพยายามปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบรัฐสภาโดยโพสต์ทวิตเตอร์ข้อความว่า

"สภาป่วนหนัก !!! แต่มีเอฟเฟ็ค ตร.ถูกตะบันหน้า แดงปั๊ดบริเวณขมับซ้าย"


ทั้งนี้หลังพักประชุม สภาฯกลับมาประชุมอีกคร้ังเมื่อเวลา 14.38 น.



14.34 น. สภาเปิดประชุมอีกครั้ง หลังพักนาน 30 นาที นายนิคม ไวรัชพาณิช กลับมานั่งเก้าอี้ประธานสภา ท่ามกลางเสียงประท้วงที่ยังมีอยู่ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิสิทธิ์ ลุกขึ้นอภิปรายการทำหน้าที่ของประธานสภาทั้ง 2 คน 

15.19 น. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.ประชาธิปัตย์ แฉประธานสภาฯ ใช้ตำรวจปราบจราจล 100 นายดูแลความเรียบร้อยในสภา ล่าสุด ประธานสภาฯสั่งพักการประชุมอีกครั้ง





15.25 น. สภากลับมาประชุมอีกครั้ง ประธานนิคม ขึ้นนั่งบัลลังก์ ส.ส.ปชป ยังข้องใจเรื่องตำรวจปราบจราจล 100 นาย คุมสภา

15.38 น. ประธานสภา นายนิคม ไวรัชพาณิช ที่ประชุมรัฐสภา ยืนยันสั่งตร.ปราบจลาจลพ้นหน้าสภาไปแล้ว ฝ่ายค้านตอกย้ำหนีเข้าเขาดิน ขณะที่การประชุมยังวุ่นวายและประท้วงไม่เลิก สุดท้ายมีการสั่งพักการประชุมอีกรอบเมื่อเวลา 16.46 น.


สภาวุ่น!รุมท้วง"นิคม"ไร้สิทธินั่งประธาน

จาก โพสต์ทูเดย์

สภาวุ่น ปชป.-สว.สรรหารุมท้วง "นิคม"ชี้ไร้สิทธินั่งบัลลังก์เหตุขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพื่อไทย-สว.เลือกตั้งหนุนนั่งประธานได้       

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 20 ส.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่มา ของ สว.ประกอบด้วย มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 มาตรา 241 เเละยกเลิกมาตรา 113 เเละ 114 โดยก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ สส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อาทิ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน)  นายธนา ชีรวินิจ สส.กทม.ปชป. เเละนายบุญยอด สุขถิ่นไทย สส.บัญชีรายชื่อ ปชป. ฯลฯ ต่างลุกขึ้นประท้วงการทำหน้าที่ประธานการประชุมของ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา โดยให้เหตุผลว่า การทำหน้าที่ประธานของนายนิคมขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 122 และมาตรา 125

ทั้งนี้นายธนา ระบุว่า ที่ประชุมสภาจะมีการพิจารณามาตราที่มาของ สว.เพื่อปลดล็อกให้ สว.สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ไม่จำกัดวาระ ซึ่งนายนิคมถือเป็นหนึ่งในสมาชิกวุฒิสภาถือว่ามีผลประโยชน์จากการพิจารณา ร่างนี้ จึงไม่สมควรทำหน้าที่ประธานการประชุม เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ที่ระบุว่า สส.และ สว.ย่อมเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และมาตรา 125 ที่ระบุว่าประธานสภา ประธานวุฒิสภา และผู้ทำหน้าที่แทน ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

นอกจากนี้ กลุ่ม สว.สรรหา ทั้งนายวันชัย สอนศิริ นายประสาร มฤคพิทักษ์ และนายสมชาย แสวงการ ยังลุกประท้วงการปฏิบัติหน้าที่ของ นายนิคมเช่นเดียวกัน โดยนายสมชายระบุว่า นายนิคมเคยให้สัมภาษณ์สื่อระบุว่า ในสมัยหน้าจะลงสมัครเลือกตั้ง สว.ดังนั้นถือว่าขัดกับผลประโยชน์อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามหากนายนิคมยังดึงดันจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ยืนยันว่าหากร่างผ่านการพิจารณาในวาระ 3 จะยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาภาย หลังแน่นอน       

ขณะที่นายนิคม กล่าวยืนยัน ว่า ไม่ได้ร่วมลงนามเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ จึงไม่ถือเป็นการทำหน้าที่อันขัดกันแห่งผลประโยชน์  ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นายนิคมสามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาฯ ต่อไปได้ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 265 และ มาตรา 266 อันเป็นหมวดว่าด้วยการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของ สส.และ สว.ไม่ได้มีการระบุถึงกรณีที่ฝ่ายค้านประท้วงแต่อย่างใด

ด้านนายสุพจน์  เลียดประถม สว.ตราด ลุกขึ้นอภิปรายว่า ไม่มีใครทราบว่าในอนาคตจะมี สว.คนใดไปลงสมัครรับเลือกตั้งบ้าง และไม่มีใครสามารถจับมือประชาชนกาบัตรเลือกตั้งได้ว่าจะเลือกใครแล้วจะเร่ง สรุปว่าเป็นการแก้ไขรัฐธรมนูญเอื้อผลประโยชน์ได้อย่างไร    ดังนั้นจึงเห็นว่า นายนิคมสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ สำหรับฝ่ายค้านที่ประท้วงนั้น อยากให้ทบทวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งของ สส.ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมี สส.หลายคนได้เปรียบและเสียเปรียบ จึงถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนั้นเหตุใด สส. จึงสามารถพิจารณาได้และไม่มีการประท้วงว่าขัดกันแห่งผลประโยชน์

อย่างไรก็ตามที่ประชุมร่วมรัฐสภาต้องใช้เวลาร่วมกว่า 2 ชั่วโมงในการประท้วงไปมา จึงจะเข้าสู่วาระการพิจารณาได้ในเวลาประมาณ 11.30 น.


เฉลิม"มั่นใจแก้รธน.ที่มาสว.ผ่านฉลุย

จาก โพสต์ทูเดย์

“เฉลิม” เชื่อ แก้รัฐธรรมนูญที่มาส.ว.ผ่านฉลุย ไม่หวั่นถูกฝ่ายค้านยื่นศาลรธน.ตีความ เชื่อ"ปชป. – พธม."ยังประสานไม่ราบรื่น แต่สุดท้ายจะไหลรวมกัน

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน กล่าวถึงก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงสถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ว่า สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว.วันนี้คงผ่าน ใครขัดขวางจะเสียคะแนนทางการเมือง เพราะที่พรรคเพื่อไทยขอแก้ไขให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งมีจุดเชื่อมโยงกับ ระบอบประชาธิปไตยและเอาพี่น้องประชาชนเป็นหลัก การที่มีคนออกมาขัดขวางว่าจะเป็นสภาผัวเมียหรือสภาครอบครัวก็เป็นสิทธิ แต่ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง  เมื่อพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่เลือกมาย่อมต้องดีกว่าคน 6 คนเลือก บางครั้งเหลือ 5 คน และบางครั้งคนมาเลือกก็ถูกตั้งข้อสังเกต ตนจึงมองว่าเรื่องนี้ผ่าน

นอกจากนี้ อาจจะมีม็อบมาชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลวันที่ 3 ก.ย. แต่จะเป็นม็อบที่เดือดร้อนจริงๆ เรื่องราคายางพารา จะมาประมาณ 56 จังหวัด หากรัฐบาลแก้ไขได้คงไม่มีปัญหา ส่วนการชุมนุมของกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ (กปท.) ที่สวมลุมพินีนั้นอาจจะมีการรวมตัวกันเพิ่มได้มากขึ้น แต่การประสานระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (พธม.) ยังเป็นไปได้ในลักษณะไม่ราบรื่น สองฝ่ายยังไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ที่พธม.ออกมาให้เป็นข่าวลือข่าวปล่อยว่าสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะลาออกจาก ส.ส.ตนไม่เชื่อ เพราะพรรคประชาธิปัตย์มีบทเรียนมาแล้ว เนื่องจากสมัยพรรคความหวังใหม่ลาออก พรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นรัฐบาลจนครบเทอม ฉะนั้น หากพรรคประชาธิปัตย์ลาออกเพื่อให้พรรคเพื่อไทยลาออกคงผิดหวัง เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ลาออก ให้พรรคประชาธิปัตย์ตกงานไป

“แต่สุดท้ายเขาต้องไหลรวม แน่นอนพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางเลือก วันนี้พธม.ยังมีทางเลือกมากกว่า ถ้าพธม.อยู่เฉยๆ ก็ไม่ได้เดือดร้อน แต่หากพรรคประชาธิปัตย์อยู่เฉยๆ จะเป็นฝ่ายค้านไปตลอด เฉยไม่ได้ สุดท้ายเลยพวกนายทุนหลังจากโดนผมด่าแหลกคราวนั้นวันนี้มันก็กระดากๆ”ร.ต. อ.เฉลิม กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์และพธม.ไหลรวมกันจะเกิดขึ้นเมื่อไร ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า ต้องดูเงื่อนไขหากรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ แต่วันนี้คะแนนนิยมนายกฯยังดี การรวมตัวไม่เข้ม ครั้งที่แล้วตนบอกไว้แล้วว่าเหนื่อยฟรี มีที่ไหนไปปราศรัยถึงเช้า ซึ่งเขาต้องปราศรัยตอน 6 โมงเย็นแล้วกลับไปนอนให้หน้าตาสดชื่น และ 7 โมงเช้าค่อยมาใหม่ อีกทั้งพรรคประชาธิปัตย์เวลาปราศรัยนั้นดุ ตรงนี้เลยทำคะแนนตก

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ไม่มีอะไร ยังสบายๆ  เมื่อถามถึงการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มสันติอโศก ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า กลุ่มนี้ออกมาเบาไม่ได้ เพราะที่ปราศรัยเวลาถอดเทปออกมาหมิ่นเหม่เยอะ ใครกล้าปราศรัยอย่างนั้นบ้าง ยิ่งคืนวันก่อนปราศรัยแรงเข้าข่าย

เมื่อถามว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์เตรียมจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับจะทำให้สะดุดหรือไม่ รมว.แรงงานตอบว่า ทายใจศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ เป็นสิทธิ แต่ถ้าแก้ไขไม่ได้ก็เอาใหม่ ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อนอะไร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ชนะมาตลอด แก้ได้แก้เพราะบอกประชาชนไว้ แก้ไม่ได้ก็ไม่แก้ อย่างไรก็ตาม องค์กระอิสระที่ตนกังวลตอนนี้มี 2 ที่คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และศาลรัฐธรรมนูญ


สภาเดือด!ขุนค้อนสั่งตร.เชิญสส.พ้นห้องประชุม

จาก โพสต์ทูเดย์

สภาถกแก้รธน.เดือด หลังลงมติตัดตอนสมาชิกรัฐสภา 57 คน "ขุนค้อน"สั่งตร.รัฐสภาเชิญสส.ออก เหตุโห่ "สามารถ"ระหว่างเสนอร่างแก้รธน.

 

เมื่อเวลา 13.40 น. วันที่ 20 ส.ค. ภายหลังที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงข้างมาก 339 ต่อ 15 คะแนนไม่ให้สมาชิกรัฐสภาจำนวน 57 คนอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาได้เนื่องจากได้เสนอคำแปรญัตติที่ขัดหลักการของ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสว.ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 96  จากนั้นนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาได้เชิญให้นายสามารถ แก้วมีชัย สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)อ่านรายงานของคณะกมธ.เพื่อเข้าสู่เนื้อหาเป็นรายมาตรา 

โดยระหว่างที่นายสามารถอ่านรายงานการพิจารณาของคณะกมธ.ปรากฎว่าสส.พรรค ประชาธิปัตย์ได้ส่งเสียงโห่เป็นระยะ นายสมศักดิ์ ได้ขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบ โดยกล่าวว่า "ที่รัฐสภาขอให้อยู่ในความสงบ" แต่ไม่เป็นผลทำให้นายสมศักดิ์ต้องหยิบค้อนชูขึ้นมาเป็นครั้งแรกและทุบลงกับ โต๊ะถึง 3 ครั้ง พร้อมกับสั่งการให้ตำรวจรัฐสภาเข้ามาภายในห้องประชุม

"ขอให้ตำรวจรัฐสภาดำเนินการเชิญตัวสมาชิกรัฐสภาที่ไม่นั่งลงออกจากห้อง ประชุม นี่คือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหากตำรวจรัฐสภาไม่ทำตามจะถือว่าเป็นการขัดคำ สั่งผู้บังคับบัญชาและจะถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน" นายสมศักดิ์ กล่าวอย่างเสียงแข็ง

อย่างไรก็ตามเมื่อตำรวจรัฐสภากว่า 20 นายเข้ามา โดยส่วนหนึ่งประจำการล้อมบัลลังก์เพื่อป้องกันประธานสภาฯ  ปรากฏว่าทำให้บรรยากาศวุ่นหนัก เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตัดสินใจอุ้มนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ สส.พัทลุง พรรค ปชป.ออกนอกห้องประชุม ส่งผลให้ บรรดา สส.ปชป.ทั้งนายอภิชาติ สุภาแพ่ง สส.เพชรบุรี ปชป.นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ ปชป.นายกุลเดช พัวพัฒนกุล สส.อุทัยธานี ปชป.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ สส.บัญชีรายชื่รอ ปชป. และนายอาคม เอ่งฉ้วน สส.กระบี่ ปชป.ออกมากันเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ให้เข้ามาจับกุมสมาชิกพรรค ปชป.ทำให้เกิดการตะลุมบอนระหว่างตำรวจรัฐสภา และ สส.ปชป.โดยนายกุลเดช ชกหน้าตำรวจรัฐสภา ขณะที่นายวัชระ เพชรทอง สส.บัญชีรายชื่อ ปชป.พยายามปีนโต๊ะการอภิปรายเพื่อตะโกนประท้วง แต่โดนตำรวจรัฐสภารวบตัวลงมา

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าระหว่างการตะลุมบอนมี สส.หญิง พรรค ปชป.ส่งเสียงกรี๊ดลั่นห้องประชุม ทั้ง น.ส.นริศรา อดิเทพวรพันธุ์ สส.นครศรีธรรมราช และน.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุลรี สส.นครศรีธรรมราช พรรค ปชป.ช่วยกันส่งเสียงกรี๊ดเพื่อประท้วงการทำหน้าที่ของประธานสภา จนทำให้ สส.พรรคอื่นในห้องประชุมแตกตื่น ขณะที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ สส.พรรครักประเทศไทย เดินถ่ายคลิปตลอดเหตุการณ์ชุลมุน

ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ ตัดสินใจพักการประชุมจนเหตุการณ์ประท้วงสงบลง ก่อนจะมีการเริ่มประชุมอีกครั้งหลังพักการประชุมประมาณ 20 นาที


ปชป.เปิดคลิปขนตำรวจคุมหน้าสภา

จาก โพสต์ทูเดย์

ปชป.เปิดคลิปขนตำรวจคุมหน้าสภา

ฝ่ายค้าน เปิดคลิปกำลังตร.พร้อมรถขังผู้ต้องหาหน้าสภา "รัฐบาล"งัดคลิปสส.ปชป.ปะทะตำรวจสภา ขุนค้อนแจงเพื่อดูแลความปลอดภัย

เมื่อเวลา 17.30น. วันที่ 20 ส.ค. การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสว.ในวาระที่ 2 กลับมาประชุมอีกครั้ง หลังจากพักการประชุมไปนานกว่า 30 นาที แต่ยังไม่สามารถเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้ โดยสส.พรรคประชาธิปัตย์ยังคงเรียกร้องถึงการแสดงความรับผิดชอบนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ จากกรณีให้ตำรวจเข้ามาประจำการด้านหน้ารัฐสภา

ทั้งนี้ นายพุฒิพงศ์ ปุณณกัณฑ์ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดคลิปวีดีโอและภาพนิ่งเพื่อแสดงให้เห็นได้ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมายัง รัฐสภาจริงพร้อมกับรถขังผู้ต้องหา ขณะที่ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ได้เปิดคลิปวีดีโอตอบโต้เช่นกัน โดยเป็นภาพที่สส.พรรคประชาธิปัตย์เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัยของรัฐสภาระหว่างการควบคุมความสงบภายในห้องประชุมรัฐสภา

น.ส.รังสิมา รอดรัศมี สส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายท้วงติงว่า อยากถามว่าประธานรัฐสภาใช้อำนาจจากไหนไปสั่งการให้ผู้อำนวยการรักษาความ ปลอดภัยของรัฐสภาประสานงานกับตำรวจมายังที่รัฐสภา เพราะหน้าที่ต้องเป็นของเลขาธิการรัฐสภาในฐานะผู้รับผิดชอบการบริหารงานใน รัฐสภา

นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า การดำเนินการของผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของรัฐสภาเป็นไปอย่างถูกต้อง เพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ ประกอบกับคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจากนายสุวิจักษณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในฐานะเลขาธิการรัฐสภา

"วันนี้เราใช้เวลาไปกับการทะเลาะกันกว่า 8 ชั่วโมงแล้วถึงเวลาที่ควรจะดำเนินการตามระเบียบวาระได้แล้วและหากใครมี ประเด็นอะไรติดใจก็ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการกิจสภาผู้แทนราษฎรไปทำการ ตรวจสอบ" นายสมศักดิ์ กล่าว


ปชป.แถลงซัด"สมศักดิ์"ลุแก่อำนาจ

จาก โพสต์ทูเดย์

"กุลเดช"ปัดต่อยหน้าตร.สภาอ้างผลายมือโดนหน้า สส.ปชป.เรียงหน้าอัด "ขุนค้อน" ใช้อำนาจไม่ชอบ                

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่รัฐสภา การประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่มาของ สว.ภายหลังเกิดเหตุการณ์ชุลมุนระหว่าง สส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และตำรวจรัฐสภา ต่อมาเวลา 14.40 น. ส.ส.ปชป.ประกอบด้วย นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต สส.บัญชีรายชื่อ นายอรรถพร พลบุตร สส.บัญชีรายชื่อ นายสาธิต ปิตุเตชะ สส.ระยอง และนายกุลเดช พัวพัฒนกุล สส.อุทัยธานี ร่วมกันแถลงตำหนิการทำหน้าที่ประธานการประชุมของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเพราะนายสมศักดิ์ ลุแก่อำนาจไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุม แต่ส่งสัญญาณให้ที่ประชุมลงมติ ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าจะลงมติเรื่องอะไร รวมทั้งไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกทราบข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมใช้คำพูดท้าทายว่า “เป็นไงเป็นกัน” นำไปสู่การออกคำสั่งให้ตำรวจรัฐสภาทั้งหมดเข้ามาภายในห้องประชุมรัฐสภา เพื่อเชิญตัวสส.ออกภายนอก

นายชวนนท์ กล่าวว่า คำสั่งของนายสมศักดิ์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ อย่างไรก็ตามเข้าใจว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเข้าใจการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ตำรวจรัฐสภาที่ต้องทำคำสั่งผู้บังคับบัญชา โดยทางพรรคจะไม่แจ้งความ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของประธานรัฐสภา เเต่หากเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาจะแจ้งความนั้นก็ไม่เป็นไร

ด้านนายกุลเดช กล่าวว่า ในระหว่างความวุ่นวาย เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา จะเข้ามาลากตัว สส.ของพรรค จึงเข้าไปพูดคุยว่าเป็นเรื่องภายใน แต่กลับถูกล็อกโดยไม่รู้ตัว จนเจ็บไหล่และได้สะบัดแขน จึงผายมืออาจจะไปถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐเท่านั้น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของมนุษย์ และยืนยันว่าตนไม่ได้ชกเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาแต่อย่างใด ขณะที่ตนก็มีรอยฟกช้ำที่บริเวณไหล่เช่นกัน หลังจากนี้จะให้แพทย์ตรวจเพื่อลงบันทึกไว้ด้วย แต่คงจะไม่แจ้งความผิด   


สภาหักดิบตัดสิทธิ57สส.-สว.อภิปรายรธน.

จาก โพสต์ทูเดย์

รัฐสภาลงมติตัดสิทธิ์ 57 สส.-สว.อภิปรายชำแหละร่างแก้รัฐธรรมนูญรื้อวุฒิสภา อ้างเหตุเสนอคำแปรญัตติล้มเลือกตั้งสว.ขัดข้อบังคับ

เมื่อเวลา 11.30น. การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสว.ในวาระที่ 2 ได้เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมอย่างเป็นทางการ ภายหลังได้ใช้เวลานานกว่า 1.30ชั่วโมงในการประท้วงการทำหน้าที่ประธานที่ประชุมของนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภา

ทั้งนี้ นายสามารถ แก้วมีชัย สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ได้อ่านรายงานการพิจารณาของคณะกมธ.โดยได้มีข้อสังเกตว่าเนื่องจากมีสมาชิก รัฐสภาจำนวน 57 คนจากทั้งหมด 202 คนได้เสนอคำแปรญัตติเพื่อแก้ไขถ้อยคำในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขัดกับหลักการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 96 วรรค 3 กำหนดไว้ว่าการเสนอแก้ไขถ้อยคำที่ขัดกับร่างแก้ไขในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ ผ่านการขั้นตอนการรับหลักการจะกระทำไม่ได้

"สมาชิกรัฐสภาทั้ง 57 คนได้เสนอคำแปรญัตติที่หลากหลาย เช่น การเสนอตัดบทบัญญัติทุกมาตรา และให้การได้มาซึ่งสว.กลับไปสู่ระบบสรรหาผสมกับการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าขัดกับหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาได้รับเอาไว้ โดยในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 ที่รัฐสภารับหลักการไว้ คือ ให้สว.มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น การเสนอคำแปรญัตติเพื่อยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าวจะไม่สามารถกระทำได้" นายสามารถ กล่าว

นายสามารถ กล่าวว่า ดังนั้นในฐานะประธานคณะกมธ.จึงขอเสนอให้ที่ประชุมเป็นผู้ตัดสินว่าจะให้ สมาชิกรัฐสภาทั้ง 57 คนสามารถใช้สิทธิ์อภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาได้หรือไม่ต่อไป

ด้านนายนิคม กล่าวว่า การวินิจฉัยในปัญหานี้จะต้องดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 117 ที่กำหนดให้ใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ ดำเนินการวินิจฉัยให้เด็ดขาด

ต่อมา สส.พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายธนา ชีรวินิจ สส.กรุงเทพมหานคร อภิปรายเรียกร้องให้นายสามารถชี้แจงว่าทำไมถึงไม่บรรจุคำแปรญัตติของนายนิ พิฏฐ์ อินทรสมบัติ สส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ไว้ในรายงานของคณะกมธ.เพื่อให้นายนิพิฏฐ์มีสิทธิ์อภิปรายในรัฐสภาในฐานะผู้ เสนอคำแปรญัตติแก้ไขถ้อยคำในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นายสามารถ ชี้แจงว่า ปัญหาของนายนิพิฏฐ์มาจากการที่นายนิพิฏฐ์ไม่ได้ส่งคำแปรญัตติภายในเวลา15 วันตั้งที่ประชุมรัฐสภามีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 4 เม.ย.ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 19 เม.ย. ดังนั้น ในเมื่อนายนิพิฏฐ์เสนอคำแปรญัตติไม่ทันตามกำหนดคณะกมธ.ก็ไม่สามารถดำเนินการ บรรจุคำแปรญัตติของนายนิพิฏฐ์ได้

ขณะที่ นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า การเสนอคำแปรญัตติของตนเองเป็นการยึดตามมติของที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 เม.ย. ซึ่งเป็นการประชุมรัฐสภานัดพิเศษหลังจากการประชุมเมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ไม่สามารถดำเนินการกำหนดระยะเวลาแปรญัตติได้เพราะองค์ประชุมล่ม ดังนั้น ส่วนตัวจึงยึดถือตามมติของที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 เม.ย. ซึ่งเท่ากับว่าวันสิ้นสุดครบกำหนดการเสนอคำแปรญัตติจะครบกำหนดในช่วงต้น เดือนพ.ค.เท่านั้น

สส.พัทลุง กล่าวอีกว่า ที่สำคัญรัฐธรรมนูญมาตรา 291 กำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการเป็น 3 วาระ ในเมื่อวาระที่ 1 ยังไม่เสร็จสิ้นทั้งกระบวนการ คือ ลงมติรับหลักการและการกำหนดวันแปรญัตติ จะทำให้รัฐสภาไม่สามารถพิจารณาในวาระถัดไปได้ แต่หากรัฐสภายังยืนยันที่จะดำเนินการต่อไปก็เท่ากับว่ากำลังกระทำการที่ขัด กับรัฐธรรมนูญและสามารถเป็นประเด็นส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้

จากนั้นในเวลา 13.00 น.สส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากได้เรียกร้องให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาผู้เสนอคำแปรญัตติจำนวน 57 คนได้ใช้สิทธิ์ชี้แจงต่อที่ประชุมว่าทำไมถึงได้เสนอคำแปรญัตติที่มีลักษณะ ขัดกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา แต่นายสมศักดิ์ ไม่เห็นด้วยโดยอ้างว่าในทางปฏิบัติไม่สามารถกระทำได้ เพราะหากให้สมาชิกรัฐสภาทั้ง 57 คนอภิปรายจะใช้เวลานานเกินไปจนไม่สามารถเข้าสู่เนื้อหาเป็นรายมาตราได้

"ถ้าว่ากันตามข้อบังคับจริงๆท่านประธานคณะกรรมาธิการสามารถใช้ดุลยพินิจ ได้เลยโดยไม่ต้องเสนอมาให้ที่ประชุมตัดสินว่าจะให้สมาชิกรัฐสภาทั้ง 57คนอภิปรายในสภาได้หรือไม่ แต่ที่ท่านสามารถทำเพราะต้องการให้เกียรติสภา ดังนั้น ในฐานะประธานสภาขอใช้ดุลยพินิจให้ที่ประชุมลงมติ เป็นไงก็เป็นกัน" นายสมศักดิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติทันทีว่าจะให้สมาชิกรัฐสภาทั้ง 57 คนมีสิทธิ์อภิปรายหรือไม่โดยที่ยังไม่สมาชิกรัฐสภาเหล่านั้นได้ใช้สิทธิ์ อภิปรายชี้แจงก่อน

อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ได้ตัดสินใจให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติว่าสมาชิกรัฐสภาทั้ง 57 คนได้แปรญัตติขัดกับหลักการหรือไม่ ผลปรากฏว่าที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงข้างมาก 339 ต่อ 15 คะแนนเห็นว่าการแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภา 57 คนขัดกับหลักการตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 96 และไม่สามารถอภิปรายในรัฐสภาได้


สภาประท้วงวุ่น"เดียร์"แขวะเสียงชะนีโหยหวน

จาก โพสต์ทูเดย์

8 ชั่วโมงถกแก้รธน.ไม่คืบ "ปชป."ประท้วงหนัก เหตุตำรวจคุมหน้าสภา "ขุนค้อน"แจงแค่ดูแลความเรียบร้อยด้านหน้าเท่านั้น "ขัตติยา"แขวะเสียงชะนีโหยหวนในห้องประชุม 

เมื่อเวลา 16.00น.การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสว.ในวาระ ที่ 2 ผ่านมาแล้วประมาณ 8 ชั่วโมงตั้งแต่เปิดประชุมเมื่อเวลา 9.30น. แต่ยังไม่สามารถเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้ เพราะสส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ประท้วงแสดงความไม่พอใจกับหน้าที่ของนายสม ศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา อย่างต่อเนื่องจากกรณีที่ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลมาประจำการด้านหน้า รัฐสภา

น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ส่วนตัวสนับสนุนการที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาหน้ารัฐสภาเพราะรู้สึกว่าการทำ หน้าที่ในฐานะสมาชิกรัฐสภาของตนเองมีความปลอดภัยหลังจากเกิดเหตุการณ์ วุ่นวายและมีเสียงเหมือนชะนีโหยหวน

จากนั้นสส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งเสียงโห่การอภิปรายของน.ส.ขัตติยา ทำให้นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภาที่ทำหน้าที่ควบคุมการประชุมต้องตำหนิ สส.พรรคประชาธิปัตย์ว่า "ขอให้สมาชิกรัฐสภาที่เป็นสุภาพบุรุษกรุณาให้เกียรติสุภาพสตรีด้วย"

นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวท้วงติงนายนิคมว่า การที่นายนิคมพูดแบบนี้ไม่มีความถูกต้องเพราะการตัดสินว่าใครทำหน้าที่ได้ดี หรือไม่ดีอยู่การกระทำและสติปัญญาไม่ใช่หน้าตา และอยากให้น.ส.ขัตติยาถอนคำพูดที่ระบุว่ามีเสียงชะนีโหยหวนด้วย

ต่อมานายนิคม ได้สั่งให้น.ส.ขัตติยาถอนคำพูดซึ่งน.ส.ขัตติยาได้ถอนคำพูดดังกล่าว

จากนั้น นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ชี้แจงกรณีที่มีตำรวจมาที่หน้ารัฐสภาว่า เนื่องจากมาที่ตนเองได้สั่งการให้ตำรวจรัฐสภาทุกนายเข้ามาภายในห้องประชุม รัฐสภาเพื่อควบคุมความเรียบร้อยเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ส่งผลให้ไม่มีตำรวจรัฐสภาประจำการด้านหน้ารัฐสภา จึงมีความจำเป็นที่ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐสภาต้องตัดสิน ใจประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอให้มีตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยหน้า รัฐสภา ซึ่งตนเองก็คิดว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาได้ตัดสินใจถูกต้องแล้ว

ด้าน นายกุลเดช พัวพัฒนกุล สส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าได้ำร้ายร่างกายตำรวจรัฐสภาระหว่างประชุมว่า ขณะนั้นได้ถูกตำรวจรัฐสภาถึง 8 คนเข้ามารุมล้อม และตนเองได้เข้าไปห้ามไม่ให้ไปดำเนินการเชิญตัวสส.ออกจากห้องประชุมพร้อมกับ ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ว่าขอให้เป็นเรื่องที่สมาชิกรัฐสภาจัดการกันเอง โดยขอยืนยันว่าไม่มีเรื่องทะเลาะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ซึ่งตำรวจรัฐสภาเองก็บอกกลับมาว่าขอให้เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วยเพราะ ถ้าไม่ดำเนินการอย่างนั้นก็อาจถูกสอบสวนทางวินัย

"โดนคนรุมล้อมอยู่ 8 คนไม่ชกไม่สะบัดก็บุญแล้ว หากจะแจ้งความกับผมผมก็จะแจ้งกลับ ไม่ได้ทะเลาะกับตำรวจแต่ทะเลาะกับท่านประธานสภา" นายกุลเดช กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่านายสมศักดิ์จะได้ชี้แจงถึงการให้ตำรวจมาที่หน้ารัฐสภาแล้วแต่สส.พรรค ประชาธิปัตย์ต้องการให้นายสมศักดิ์แสดงความรับผิดชอบมากกว่าการอ้างว่าเป็น เรื่องของเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาดำเนินการเองเท่านั้น

ทั้งนี้นายนิคม กล่าวว่า ในเมื่อนายสมศักดิ์ได้ชี้แจงไปก่อนหน้านี้ก็ถือว่าสมเหตุสมผลแล้วและถ้าอยาก จะขยายผลให้มากกว่านั้นก็ส่งเรื่องให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายหลังได้ โดยเวลานี้อยากให้ที่ประชุมรัฐสภาเข้าสู่การพิจารณาระเบียบวาระการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะนี้ยังเป็นการประท้วงของสส.พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเรียกร้องให้นายสมศักดิ์แสดงความรับผิดชอบ จนกระทั่งนายนิคมต้องสั่งพักการประชุมเป็นครั้งที่ 3 ในเวลา 16.45 น.


สวย-ใส-สมอง-สภา ?

จาก โพสต์ทูเดย์

สวย-ใส-สมอง-สภา ?

"เรื่องความสวย ช่วยไม่ได้  เด็กกว่า ใสกกว่า ต้องสู้กันนิดหนึ่ง ส่วนจะให้ถอนคำว่า ชะนีโหยหวนไม่ได้ว่าใครเฉพาะเจาะจง ทางบ้านส่งมา คิดว่าที่นี่ไม่ใช่รัฐสภานึกว่าสวนสัตว์ดุสิต ออนุญาตไม่ถอน"

-น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.พรรคเพื่อไทย


สว.จี้พรรคเตือนสส.ทำสภาไทยเสื่อม

จาก โพสต์ทูเดย์

สว.จี้พรรคเตือนสส.ทำสภาไทยเสื่อม

กลุ่ม สว.ร้องผู้ใหญ่เตือนลูกพรรคฉุดสภาไทยเสื่อม ชี้ประจานฉาวทั่วโลก เล็งหารือวิป 3 ฝ่ายอีกรอบ ร้อง สส.ยึดกฎหมาย-ข้อบังคับ               

เมื่อเวลา 17.45 น.วันที่ 20 ส.ค. ที่รัฐสภา กลุ่ม สว.ประกอบด้วย นายดิเรก ถึงฝั่ง สว.นนทบุรี นางนฤมล ศิริวัฒน์ สว.อุตรดิตถ์ พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี สว.สรรหา นายกฤช อาทิตย์แก้ว สว.กำแพงเพชร นายประวัติ  ทองสมบูรณ์ สว.มหาสารคาม  และนายมานะ พีระทัศน์ สว.ลำปาง ร่วมแถลงเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุม และกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาสว.ภาย หลังเกิดเหตุวุ่นวายก่อนเข้าสู่วาระการพิจารณากฎหมายดังกล่าว ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศเกิดความเสียหาย และบ้านเมืองไม่ได้รับประโยชน์ จึงขอให้ทุกฝ่ายยุติการกระทำ เพื่อให้การประชุมหน้าไปได้

นายดิเรก กล่าวว่า ขอให้ผู้ใหญ่ของแต่ละพรรคการเมืองออกมาตักเตือน สส.พรรคที่ทำให้ภาพลักษณ์สภาไทยสูญเสีย เพราะภาพถูกส่งออกไปทั้งในประเทศและทั่วโลก ขณะนี้ชัดเจนว่ามีความพยายามไม่ต้องการให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณา  อย่างไรก็ตามเห็นว่าทาง สว.จะต้องมีการหารือร่วมกับวิป 3 ฝ่ายอีกครั้งเพื่อวางกรอบที่ชัดเจนในการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับ นี้                   

นางนฤมล กล่าวว่า รู้สึกอับอาย อึดอัด เพราะความวุ่นวายในสภา เกิดความเสียหายไปทั่วโลก ถ้าทุกคนไม่เคารพพฤติกรรมการอภิปราย การประชุมก็ดำเนินต่อไปไม่ได้ รู้สึกผิดหวังกับการทำหน้าที่ของประธาน เพราะไม่สามารถควบคุมการประชุมให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แต่วินิจฉัยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำให้การประชุมยุ่งยากมากขึ้น ส่วนที่สส.พรรคประชาธิปัตย์ว่ามีการใช้กำลังตำรวจจากภายนอกคุกคามสส. อยากถามว่าคุกคามตรงไหน เพราะยังเห็นประชุมได้ตามปกติ สส.ทำหน้าที่ได้ทุกคน การที่สส.อภิปรายไม่อยากให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านใช่หรือไม่


ฝ่านค้านฮือต้าน"สภา"ลุยโหวตผ่านแก้รธน.

จาก โพสต์ทูเดย์

สภาถกรัฐธรรมนูญเดือด! ฝ่ายค้านลุกฮือต้านสภาหักดิบลุยโหวตผ่านร่างแก้ไขรธน. ขณะที่ตำรวจสภาล้อมบัลลังก์ประธาน

เมื่อเวลา 20.00น. วันที่ 20 ส.ค. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้สั่งพักการประชุมรัฐสภาระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ สว.อีกครั้งเป็นครั้งที่ 5 หลังจากเกิดการประท้วงอย่างต่อเนื่องของฝ่ายค้านเพราะไม่พอใจที่นายสมศักดิ์ พยายามจะให้สมาชิกรัฐสภาเริ่มอภิปรายในรายมาตรา

นายสมศักดิ์ กล่าวกับที่ประชุมว่า รัฐสภาใช้เวลามานานกับการประท้วงมาพอสมควรแล้วเกือบ 10 ชั่วโมงแต่ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ ดังนั้น นายเทพไท เสนพงศ์ สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ได้สิทธิ์อภิปรายคนแรกหากไม่ใช้สิทธิ์ดังกล่าวก็ให้ถือว่าไม่ติดใจ และให้นายวัชระ เพชรทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีชื่ออภิปรายในลำดับมาอภิปรายในมาตรา1ว่าด้วยชื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แทน

ทั้งนี้ แม้ว่านายวัชระได้พยายามอภิปรายแต่ปรากฎว่าเป็นไปด้วยความยากลำบากเมื่อ สส.พรรคประชาธิปัตย์ยังคงส่งเสียงประท้วงนายสมศักดิ์เป็นระยะทำให้นายวัชระ ต้องยุติการอภิปราย ซึ่งนายสมศักดิ์ได้กล่าวว่าในเมื่อนายวัชระไม่อภิปรายก็ให้ถือว่าที่ประชุม ไม่ติดใจและให้เดินหน้าไปพิจารณาในมาตรา 2 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะมีผลบังคับ ใช้ภายหลังจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ปรากฎว่านายเทพไทและสส.พรรคประชาธิปัตย์อีกจำนวนมากได้เดินมายังบริเวณ ด้านหน้าบัลลังค์ประธานรัฐสภา เข้ามาประท้วงนายสมศักดิ์เนื่องจากกยังมีฝ่ายค้านต้องการใช้สิทธิ์อภิปราย อยู่ ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของรัฐสภาต้องเข้ามายืนล้อมนายสมศักดิ์ เพื่อรักษาความปลอดภัย ส่งผลให้นายสมศักดิ์ต้องสั่งพักการประชุม 10 นาที

ถัดมาในเวลา 20.17 น.นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้สั่งเปิดการประชุมอีกครั้ง ทั้งนี้นายนิคมได้สั่งที่ประชุมรัฐสภาให้ลงมติว่าจะเห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญในมาตรา 1 หรือไม่ โดยระหว่างนี้สส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ต่างตะโกนว่า "ขี้ข้าไม่มีศักดิ์ศรี" ซึ่งที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 330 ต่อ 6 เสียงเห็นด้วยกับร่างแก้ไขมาตรา 1 

ต่อมานายนิคม ได้ขอเข้าสู่การพิจารณาในมาตรา 2 และเรียกให้นายเทพไทอภิปรายเป็นคนแรกตามการจัดลำดับ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะนายเทพไทพยายามโต้แย้งว่าในเมื่อตนเองยังไม่ ได้อภิปรายในมาตรา 1 ก็ไม่ควรพิจารณาในมาตรา 2 และสภาพที่มีตำรวจรัฐสภาล้อมรอบอยู่อย่างนี้ทำให้ยากที่ประชุมต่อไปได้จึงขอ ให้สั่งปิดประชุม

"นายนิคมทำแบบนี้มันเสียศักดิ์ศรี มีตำรวจล้อมประธานอยู่อย่างนี้จะประชุมต่อไปได้อย่างไร ไปอยู่ดูไป อย่ามาเสียคนตอนแก่" นายเทพไท กล่าว

ทั้งนี้ระหว่างที่ สส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ประท้วงนั้น สส.ปชป.หลายสิบคน อาทิ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม สส.พิษณุโลก นายอรรถพร พลบุตร สส.บัญชีรายชื่อ นายชุมพล จุลใส สส.ชุมพร นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ นายเกียรติ สิทธิอมร สส.บัญชีรายชื่อ ฯลฯ เดินไปรวมตัวหน้าบัลลังก์ประธานรัฐสภา โดยต่างส่งเสียงตะโกนคัดค้านการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยนายอรรถพรได้ฉีกเอกสารประกอบการประชุมขว้างไปยังหน้าบัลลังก์ด้วย ขณะที่ สส.รายอื่นส่งเสียงดัง โห่ร้อง นำเอกสารทุบโต๊ะ คัดค้านการประชุมตลอดเวลา 

 

 

 


ประท้วงหนัก!"นิคม"สั่งปิดประชุม-นัดใหม่21ส.ค.

จาก โพสต์ทูเดย์

ประท้วงหนัก!"นิคม"สั่งปิดประชุม-นัดใหม่21ส.ค.

"นิคม"สั่งพักประชุมสภาถกแก้รธน.หลังฝ่ายค้านประท้วงหนักนัดใหม่21ส.ค.วิป3ฝ่ายนัดเจรจาหาทางประนีประนอม

เมื่อเวลา 21.30 น.วันที่ 20 ส.ค. การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสว.ในวาระที่ 2 ยังไม่สามารถเดินหน้าพิจารณาในมาตรา 2 ได้ ซึ่งในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 2 ระบุว่า "รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป" โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะสมาชิกสภา กล่าวว่า ขอให้เลื่อนการประชุมรัฐสภาออกไปก่อนและในวันที่ 21 ส.ค.เวลา 9.00น. โดยจะไปหารือกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหาทางออก

ต่อมาเวลา 21.40นนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานการประชุม ได้สั่งพักการประชุมและให้กลับมาประชุมอีกครั้งในวันที่ 21 ส.ค.เวลา 9.30น. โดยในเวลา9.00น.จะมีการประชุมวิป 3 ฝ่ายก่อน

ก่อนหน้านี้ ฝ่ายค้านได้เสนอให้นายนิคม เลื่อนการประชุมออกไปก่อนเพราะบรรยากาศการประชุมในขณะนี้ไม่สามารถเดินต่อไป ได้ แต่นายนิคม กล่าวว่า ทันทีที่พิจารณาในมาตรา 2 เสร็จจะสั่งปิดประชุมต่อไป ส่งผลให้ฝ่ายค้านแสดงความไม่พอใจกับท่าทีของนายนิคมเป็นอย่างมาก ขณะที่ นายกฤช อาทิตย์แก้ว สว.กำแพงเพชร ได้เสนอญัตติให้รัฐสภาดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ

ต่อมานายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะสมาชิกรัฐสภา กล่าวว่า ได้ประสานงานกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน สส.ประจวบคีรีขันธ์และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา โดยมีความเห็นร่วมกันว่าขอให้เลื่อนการประชุมรัฐสภาออกไปก่อนเพื่อให้คณะ กรรมการประสานงาน(วิป)พรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ วุฒิสภาไปหารือให้ได้ข้อสรุปจากนั้นค่อยกลับมาประชุมอีกครั้ง

ด้านนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการวิป 3 ฝ่าย กล่าวว่า ยินดีที่จะเปิดประชุมวิป 3 ฝ่ายแต่ต้องถามความชัดเจนจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้านว่าจะเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือไม่

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่วิป 3 ฝ่ายแต่อยู่ที่การใช้ดุลยพินิจของนายสมศักดิ์และนายนิคม ซึ่งไปตัดสิทธิ์การอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาเสียงข้างน้อยจำนวน 57 คนที่ถูกตีความว่าได้เสนอคำแปรญัตติเพื่อแก้ไขถ้อยคำไปขัดกับหลักการในร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ดังนั้น การจะให้การประชุมเดินหน้าไปได้จะต้องมีหลักประกันว่าจะมีการโอกาสให้เสียง ข้างน้อยได้ใช้สิทธิ์ตามสมควร

น.ส.รสนา โตสิตระกูล สว.กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในทางกลับกันถ้ารัฐสภายอมเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภา 57 คนดำเนินการอภิปรายเชื่อว่าเวลากว่า10ชั่วโมงที่ผ่านมาเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภา ดังกล่าวคงอภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่เมื่อรัฐสภาใช้เสียงข้างมากดำเนินการตัดสิทธิ์แบบนี้ก็ย่อมหนีไม่พ้นข้อ ครหา

"ไม่เข้าใจว่าเร่งรีบไปไหนเวลานี้กำลังเหมือนเป็นซินเดอเรลล่าที่กลัวไม่ ทันเวลาเที่ยงคืนที่รถม้าจะกลายเป็นฝักทอง โดยในอดีตก็เคยมีการอภิปรายแบบ 7 วัน 7 คืนมาแล้ว ทำไมจะทำอย่างนั้น ไม่ทราบจะกลัวอะไร" น.ส.รสนา กล่าว

นายสุนัย จุลพงศธร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาเร่งรัดหรือเป็นการไม่ให้ ความสำคัญกับร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2557 ที่ค้างการพิจารณาของสภาฯอยู่ แต่เป็นเพราะร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้บรรจุระเบียบวาระเอาไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยไม่คาดคิดว่าร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯจะเกิดความล่าช้า


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สภาป่วน สมศักดิ์ สั่งลงมติ เมินสมาชิกจ้อ งัดค้อนทุบ ตร.จับดะ ฝ่ายค้าน รุมไล่ ขี้ข้าทักษิณ

view